ไตวายฉับพลัน ( Acute Kidney Injury ) ขาดเลือดไปเลี้ยงไต ส่งผลให้เกิดอาการกระหายน้ำ ปัสสาวะลดลง เวียนหัว ความดันต่ำ หายใจไม่ออก การรักษาไตวายเฉียบพลันทำอย่างไรไตวายฉับพลัน โรคไต ไตวาย โรคไม่ติดต่อ

ไต เป็นอวัยวะที่ทำงานเกี่ยวกับช่วยกรองของเสียในร่างกาย ไตจะกรองของเสียออกจากเลือด การที่ไตทำงานหนักมากเกิน อาจส่งผลต่อการเกิดภาวะไตวายได้ การเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันมักเกิดจากการขาดเลือดที่ไต

ภาวะไตวายเฉียบพลัน คือ ภาวะการสูญเสียการทำงานของไตอย่างรวดเร็ว เป็นภาวะที่ไต แยกน้ำปัสสาวะจากเลือดลงมาสู่กระเพาะปัสสาวะได้น้อย ซึ่งเกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงไต โดยสาเหตุมีหลายปัจจัย

สาเหตุของโรคไตวายเฉียบพลัน

สาเหตุของการเกิดโรคไตวายเฉียบพลัน เกิดจากภาวะการทำงานหนักของไต ภาวะเกี่ยวกับความดันเลือด ระดับเลือดที่ไปเลี้ยงไตลดลงไม่เพียงพอ ซึ่งสามารถแบ่งสาเหตุขอโรคได้ เป็น 4 สาเหตุ คือ การขาดน้ำ การเสียเลือด การได้รับบสารพิษ และการติดเชื้อ รายละเอียด ดังนี้

  1. การสูญเสียน้ำและเกลือแร่ในร่างกายอย่างรุนแรง เช่น ท้องเสีย หากเป็นหนักมากทำงห้ร่างกายอ่อนเพลีย เกิดภาวะความดันลดต่ำลง ทำให้เกิดไตวายและช็อกได้
  2. การเสียเลือดจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นการเกิดอุบัตติเหตุ การผ่าตัด หากไม่ได้รับเลือดทดแทนอย่างทันท่วงที จะส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงไตไม่เพียงพอ สามารถทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้
  3. การได้รับสารพิษบางชนิด สารพิษหลายชนิด มีผลกระทบต่อไต เช่น ยาแก้ปวดบางชนิด ยาฆ่าหญ้า เมื่อสารพิษเข้าสู่ร้างกายทำให้ไตต้องทำงานหนัก อาจทำให้เกิดไตวายเฉียบพลันได้
  4. การติดเชื้อรุนแรง การติดเชื้อส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกาย รวมถึงไตด้วย ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย หากเชื้อโรคเข้าถึงไต สามารถทำให้ระบบไตผิดปรกติได้ หากรักษาไม่ทันทำให้เกิดไตวายเฉียบพลัน

นอกจากสาเหตุ 4 ประการที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ภาวะไตวายเฉียบพลันสามารถแยกสาเหตุของโรคได้เป็น 2 สาเหตุหลักๆ คือ ภาวะความดันเลือดต่ำเป็นเวลานาน และภาวะความผิดปรกติของระบบทางเดินปัสสาวะ รายละเอียด ดังนี้

การเกิดโรคไตอักเสบจากภาวะความดันเลือดต่ำเป็นเวลานาน เช่น

  1. การติดเชื้อในกระแสเลือด
  2. การเกิดโรคไตชนิดรุนแรง
  3. การที่ร่างกายมีเฮโมโกลบินอิสระไหลเวียนอยู่ในเลือด
  4. การที่ร่างกายถูกทำลายเนื้อเยื่ออย่างรุนแรง
  5. การแพ้ยาหรือสารบางชนิดที่มีพิษต่อไต
  6. ภาวะการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ

การอักเสบของทางเดินปัสสาวะ  เช่น

  1. ระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างอักเสบเฉียบพลัน
  2. ไตและกรวยไตอักเสบเฉียบพลัน
  3. ไตและกรวยไตอักเสบเรื้อรัง

ระยะของโรคไตวายเฉียบพลัน
ระยะของโรคนี้สามารถแบ่งระยะของโรคได้เป็น 3 ระยะใหญ่ๆ คือ ระยะก่อนไตวาย ระยะไตวายและระยะหลังไตวาย รายละเอียดของระยะต่างๆ มีดังนี้

  1. ระยะก่อไตวาย ภาษาอังกฤษ เรียก Prerenal Failure ในระยะนี้ มีอาการภาวะร่างกายขาดน้ำ ผู้ป่วยมีอาการกระหายน้ำ ปัสสาวะได้ลดลง เวียนศีรษะ ระดับความดันเลือดต่ำ หายใจลำบาก และเหนื่อย แต่อาการเหล่านี้จะกลับมาปรกติ หลังจากที่ไตกลับมาทำงานได้ตามปรกติ
  2. ระยะไตวาย ภาษาอังกฤษ เรียก Intrinsic renal failureในระยะนี้ ผู้ป่วยจะมีไตวายเรื้อรัง ผู้ป่วยจะบวมน้ำ ระดับความดันเลือดสูง ปัสสาวะออกมาเป็นเลือด ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดฝอยที่ไตถูกทำลาย ในระยะนี้ ไตจะเกิดภาวะกล้ามเนื้อลายสลายและเม็ดเลือดแดงแตก
  3. ระยะหลังไตวาย ภาษาอังกฤษ เรียก Postrenal failure ผู้ป่วยจะมีอาการรอุดตันที่ทางเดินปัสสาวะ มีอาการต่อมลูกหมากโต มีความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในไต

โรคไตวายเฉียบพลันกับโรคไตวายเรื้อรังมีความแตกต่างกันอย่างไร

โรคไตวายเฉียบพลัน จะมีอาการเฉียบพลัน กระทันหัน แต่อาการไตวายเฉียบพลัน สามารถรักษาให้หายได้ แต่การเกิดโรคไตวายเรื้อรัง เกิดจากอาการสะสมของโรคไตเป็นเวลานาน การรักษามักไม่หายขาด ผู้ป่วยทั้ง 2 โรคต้องทำการรักษาและควบคุมการบริโภคยาและอาหาร และหากเกิดโรคในระยะสุดท้ายต้องทำการฟอกไตช่วย

การรักษาภาวะไตวายเฉียบพลัน
การรักษาโรคไตวายเฉียบพลัน สามารถรักษา โดย การรักษาสาเหตุของการเกิดโรค ใช้ยาแก้ไขภาวะไตวายเฉียบพลัน ประคับประคองและรักษาโรคแทรกซ้อน การให้สารอาหารกับผู้ป่วยภาวะไตวายเฉียบพลัน และการล้างไต การรักษาต้องใช้ 5 วิธีนี้ตามลำดับของโรค รายละเอียดดังนี้

  1. การรักษาสาเหตุของการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน ซึ่งสาเหตุของกการเกิดโรคคือ การขาดน้ำ สารอาหาร และการขาดเลือดที่ไต ต้องให้เกลือแร่ น้ำ และให้ระดับเลือดในไตเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  2. ใช้ยารักษาไตวายเฉียบพลัน ยาที่ใช้ในการรักษา เช่น ยาช่วยเพิ่มปริมาณของปัสสาวะ ยากระตุ้นหลอดเลือด
  3. การประคับประคองโรคและรักษาอาการแทรกซ้อนของโรค เป็นการรักษาในช่วงที่รอไตฟื้นตัว ได้แก่ การควบคุมปริมาณน้ำ หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อไต แก้ภาวะความเป็นกรดในเลือด
  4. ให้สารอาหารต่อผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันให้เพียงพอต่อความต้องการ
  5. ล้างไต ภาษาอังกฤษ เรียก Dialysis การล้างไตเป็นการรักษาแบบมาตรฐานสำหรับผู้ป่วยไตวายเฉียบพลัน สำหรับผู้ป่วยที่รักษาแบบประคับประคองแล้วไม่ได้ผล

โรคไตวายฉับพลัน ( Acute Kidney Injury ) ภาวะที่ไตแยกน้ำปัสสาวะจากเลือดลงมาสู่กระเพาะปัสสาวะได้น้อย เกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงไต ส่งผลให้เกิดอาการกระหายน้ำ ปัสสาวะได้ลดลง เวียนหัว บความดันเลือดต่ำ หายใจลำบาก ตัวบวมน้ำ ทำให้ไตวาย โดยสาเหตุมีหลายปัจจัย ระยะของโรคไตวายมีกี่ระยะ การรักษาไตวายเฉียบพลันต้องทำอย่างไร

ไตวายเฉียบพลัน พยาธิสภาพ ไตวายเฉียบพลัน รักษาหายไหม อาการไตวายระยะสุดท้าย ไตวายเฉียบพลัน ภาษาอังกฤษ อาหาร และ โรค ไต วาย เฉียบพลัน ใหม่ โรค ไต วาย เฉียบพลัน มี กี่ ระยะ ไตวายเฉียบพลัน หายได้ไหม โรคไตวายฉับพลันจากเหตุต่างๆ ไตวายเฉียบพลัน ภาวะไตวายเฉียบพลัน โรคไตเฉียบพลัน ไตวายเฉียบพลัน สาเหตุ ไตวายเฉียบพลันเกิดจากอะไร สาเหตุไตวายเฉียบพลัน

ต่อมทอนซิลอักเสบ ( tonsillitis ) ติดเชื้อโรคที่ต่อมทอนซิล ทำให้เจ็บคอบริเวณด้านข้างของช่องปากทั้งสองข้าง หนาวสั่น คัดจมูก น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวต่อมทอนซิลอักเสบ โรคติดเชื้อ ต่อมทอนซิล เจ็บคอ

ต่อมทอนซิลอักเสบ ( tonsillitis ) คือ ภาวะการอักเสบของต่อมทอนซิล เกิดจากเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หรือเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ที่น้ำลายและเสมหะของผู้ป่วยโรคต่อมทอนซิลอักเสบ ส่งผลให้เกิดอาการ เจ็บคอ เจ็บมากบริเวณด้านข้างของช่องปากทั้งสองข้าง หนาวสั่น คัดจมูก น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

วันนี้เราขอเสนอ โรคต่อมทอลซิลอักเสบ ก่อนอื่นเราควรทำความรู้จักกับเจ้าต่อมทอนซิลก่อน ว่ามันคืออะไร มีหน้าที่ทำอะไร ต่อมทอนซิล ภาษาอังกฤษ เรียก tonsils คือ ต่อมตัวหนึ่งในร่างกาย อยู่บริเวณคอ มีหน้าที่ ดักจับและทำลายเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางคอ ต่อมทอนซิลจึงเป็นต่อมที่ต้องเผชิญกับเชื้อโรคบ่อยที่สุดในร่างกาย รองจากผิวหนัง ในตัวต่อมทอนซิล เป็นเนื้อเยื่อในกลุ่มต่อมน้ำเหลือง ภายในต่อมมีเม็ดเลือดขาวหลายชนิด โดยปรกติต่อมทอนซิล จะมีอยู่ 3 ตำแหน่ง คือ

ต่อมทอนซิล ในคนคอมีอยู่ 3 ตำแหน่งคือ ต่อมทอนซิลที่อยู่ด้านข้างของช่องปาก เรียก พาลาทีนทอนซิล(palatine tonsil) ต่อมทอนซิลที่อยู่บริเวณโคนลิ้น เรียก ลิงกัวทอนซิล(lingual tonsil) และ ต่อมทอนซิลที่ช่องหลังโพรงจมูก เรียก อาเดียนอยทอนซิล (adenoid tonsil)

การที่ ต่อมทอนซิลอักเสบ นั้น หมายถึง ภาวะการอักเสบของต่อมทอนซิล ที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย ซึ่งการอักเสบอาจจะสามารถลามไปถึงโคนลิ้น และที่ด้านหลังโพรงจมูกได้ สามารถลามจนเกิดโรคคออักเสบได้

สาเหตุของการเกิดโรคต่อมทอนซิลอักเสบ

โดยมากเกิดจากเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่  และบางส่วนเกิดจาก เชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อโรคจะอาศัยอยู่ที่น้ำลายและเสมหะของผู้ป่วย สามารถติดต่อได้จากการหายใจและการสัมผัสเชื้อโรคในช่องทางต่างๆ และมีเชื้อโรคชนิดหนึ่ง ชื่อ บีตาฮีโมไลติกสเตรปโตค็อกคัส  กลุ่มเอ(group  A beta-hemolytic streptococcus) ซึ่งทำให้เกิดหนองที่ต่อมทอนซิลได้

อาการของผู้ป่วยโรคต่อมทอนซิลอักเสบ

จะมีอาการคล้ายกับคออักเสบทั่วไป โดยผู้ป่วยจะเจ็บคอ และจะเจ็บมากบริเวณด้านข้างของช่องปากทั้งสองข้าง โดยปรกตอแล้วผู้ป่วยจะเจ็บมากกว่า 2 วัน ทำให้การกลืนน้ลาย หรืออาหารทำได้ลำบาก ผู้ป่วยจะมีไข้ หนาวสั่น คัดจมูก มีน้ำมูกไหล ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ในผู้ป่วยบางรายอาจเจ็บหู มีการอาเจียนหลังรับประทานอาหาร มีกลิ่นปาก เป็นต้น

การรักษาผู้ป่วยโรคต่อมทอนซิลอักเสบ

สามารถทำการรักษาได้หลายระดับ ตั้งแต่ การรักษาทั่วไป การให้ยารักษาโรค การรักษาโรคแทรกซ้อน และการผ่าตัด รายละเอียดของการรักษาในระดับต่างๆ มีดังนี้

  • การรักษาในระดับทั่วไป แนะนำให้ผู้ป่วยหยุดทำงาน และหยุดทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ร่างกายได้หยุดพักผ่อน และหยุดการแพร่กระจายเชื้อโรค ให้ดื่มน้ำมากๆ รับประทานอาหารอ่อนๆ ให้รักษาความสะอาดของสุขอนามัยต่างๆ รวมถึงอาหาร ทานยาลดไข้ ให้บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ อมยาอมแก่เจ็บคอ และหากอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง ให้เข้ารับยาปฏิชีวนะ จากแพทย์
  • การรักษาในระดับใช้ยารักษา ซึ่งหาการพักผ่อน การทานอาหารเบาๆและสะอาดยังไม่ทำให้อาการดีขึ้น จำเป็นต้องให้ยารักษาเพิ่ม ซึ่งให้ยารักษาตามอาการของโรค เช่น ยาบรรเทาอาการเจ็บคอ ยาลดน้ำมูก ยาลดไข้ ยาแก้อักเสบ เป็นต้น
  • การรักษาในระดับรักษาอาการแทรกซ้อน ซึ่งโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากสาเหตุของต่อมทอนซิลอักเสบ เช่น เกิดหนองที่ต่อมทอนซิล โรคหัวใจ โรคไต ภาวะการหายใจอุดตัน จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาให้ทันท่วงที
  • การรักษาในระดับที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด  สังเกตุจากการที่ต่อมทอนซิลเกิดอักเสบ เป็นหนอง และไม่ตอบสนองการรักษา ทำให้ต่อมทอนซิลโต มีโอกาสทำใหเเกิดมะเร็งที่ต่อมทอนซิลหรือ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง จำเป็นต้องผ่าตักเอาเนื้อร้ายออก

การป้องกันการเกิดโรคต่อมทอนซิลอักเสบ

สามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยง การสัมผัสกับเชื้อโรค และการสร้างภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย โดยรายละเอียดดังนี้

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เมื่อเกิดโรคก็สามารถสร้างภูมิคุ้มกันรักษาให้หายได้เอง
  • พักผ่อนให้เพียงพอ หากร่างกายอ่อนเพลีย ก็จะทำให้ร่างกายขาดภูมิต้านทานเชื้อโรคต่างๆได้
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม เจ็บคอ

อาการหนึ่งเมื่อเกิด โรคต่อมทอนซิลอักเสบ คือ อาการมีไข้ ซึ่งเราขอนำเสนอ สมุนไพรไทย สรรพคุณ ช่วยลดไข้ เมื่อเรามีไข้หากไม่ทำการควบคุมไข้ไม่ให้สูงก้จะ ช่วยลดอาการช็อก เนื่องจากความร้อนในร่างกายสูงเกินไป สมุนไพรช่วยลดไข้ มีดังนี้

หญ้าปักกิ่ง สมุนไพร หญ้าเทวดา สรรพคุณหญ้าเทวดาหญ้าปักกิ่ง ตรีผลา สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตรีผลาตรีผลา
ตะลิงปลิง ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของตะลิงปลิงตะลิงปลิง ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพรถั่วเขียว
อะโวคาโด ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของอะโวคาโดอะโวคาโด ทองพันชั่ง สมุนไพร พืชท้องถิ่น สรรพคุณของทองพันชั่งทองพันชั่ง

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove