แอสเปอร์จิลโลซิส โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เกิดจากการติดเชื้อรา ทำให้มีไข้ ไอมีเสมหะ น้ำมูกเหม็น ปอดอักเสบ การรักษาโรคแอสเปอร์จิลโลซิส และ การป้องกันการเกิดโรคแอสเปอร์จิโลสิส ติดเชื้อรา โรคจากนก โรคติดต่อ

แอสเปอร์จิลโลซิส ภาษาอังกฤษ เรียก Aspergillosis เป็นโรคระบาด คือ โรคติดต่อที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา โรคนี้พบว่าเกิดกับคนครั้งแรกปี พ ศ. 2390 ปัจจุบันโรคนี้มีอัตราการเกิดโรคสูงขึ้นเรื่อยๆ โรคนี้เป็นโรคเกิดกับสัตว์ต่อมาได้ติดต่อสู่คน เชื้อราที่พบ คือ แอสเปอร์จิลลัส ฟูมิกาตัส ( Aspergillus fumigatus ) ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆที่ระบบทางเดินหายใจ การรักษาโรคแอสเปอร์จิลโลซิส และ การป้องกันการเกิดโรค

โรคแอสเปอร์จิลโลซิส Aspergillosis โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

โรคแอสเปอร์จิลโลซิส พบว่ามี 3 แบบ คือ  โรคแพ้เชื้อรา (Allergic aspergillosis)  โรคเชื้อราชนิดอยู่เฉพาะที่ ( aspergilloma) และ โรคเชื้อราชนิดกระจายในเนื้อเยื่อปอด ( invasive aspergillosis )

  • โรคแพ้เชื้อรา ( Allergic aspergillosis ) คนไข้ จะมีอาการหอบ หืด พบว่ามีเม็ดเลือดขาว ชนิดอีโอซิโนฟิล ( eosinophils ) สูง เกิดจากการแพ้เชื้อรา ซึ่งเชื้อราเข้าไปในร่างกายและเจริญเติบโตบนเยื่อบุทางเดินลมหายใจ หลอดลม ผู้ป่วยมักมีอาการเช่นเดียวกับ โรค asthma แต่มีอาการเรื้อรังและรุนแรง  และอาจจะทำให้เกิดการอุดตันภายในหลอดลม
  • โรคเชื้อราชนิดอยู่เฉพาะที่ ( aspergilloma ) เกิดจากเชื้อราเข้าสู่ร่างกายและไปเจริญเติบดตในโพรงปอด จนทำให้ โพรงหลอดลมพอง และเกิดโรคภายในปอดตามมา ผู้ป่วยจะมีอาการ อาการไอ มีเสมหะ อาจไอเป็นเลือด
  • โรคเชื้อราชนิดกระจายในเนื้อเยื่อปอด ( invasive aspergillosis ) เชื้อราเข้าสู่ร่ายกายไปเจริญเติบโตที่ปอด ส่งผลให้เกิดโรคเกี่ยวกับปอด ทำให้ภูมิต้านทานร่างกายต่ำลง ผู้ป่วยมักมีอาการปอดบวม และมีไข้สูงไอ หายใจลำบาก มีเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติ เชื้อโรคอาจลามไปสู่หัวใจและสมองได้

สาเหตุของการติดเชื้อแอสเปอร์จิลโลซิส

โรคแอสเปอร์จิลโลซิส เกิดจากการติดเชื้อรา แอสเปอร์จิลลัส ฟูมิกาตัส ( Aspergillus fumigatus ) ที่พบในสัตว์ปีก คือ นก ซึ่งเกิดการระบาดทางการหายใจ ทำให้ระบบทางเดินหายใจมีปัญหา

อาการของโรคแอสเปอร์จิลโลซิส 

โรคแอสเปอร์จิลโลสิส จะแสดงอาการที่ระบบทางเดินหายใจ หายใจติดขัด ไอ และ มีเสมหะ ทำให้ปอดอักเสบ ซึงลักษณะของอาการโรคนี้มี 3 ลักษณะ ประกอบด้วย การแพ้เชื้อรา แบบก้อนเชื้อรา แบบทำลายปอดเรื้อรัง และ แบบลุกลาม โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • อาการแบบแพ้เชื้อรา ( ABPA ) เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายต่อการยึดครองพื้นที่ในทางเดินหายใจของเชื้อ Aspergillus fumigatus มักเกิดในผู้ป่วยที่เป็นโรคทางเดินหายใจอยู่ก่อน เช่น โรคซิสติคไฟโบรสิส (cystic fibrosis) หรือผู้ป่วยโรคหอบหืด (asthma) อาการ คือ มีไข้ ไอ เสมหะเหนียวอุดหลอดลม เอ็กซเรย์พบฝ้าในปอด บางรายมีอาการไอเป็นเลือด บางคนมีอาการคัดจมูกเรื้อรัง น้ำมูกเป็นหนองปนเลือด มีกลิ่นเหม็น แบบไซนัสอักเสบเรื้อรัง ไม่ดีขึ้นแม้จะรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
  • อาการแบบก้อนเชื้อรา ( aspergilloma )  เป็นเชื้อราที่รวมตัวกันเป็นก้อนอยู่ภายในปอด มักเกิดในปอดที่มีโพรงของถุงลมอยู่ก่อน ก้อนของเชื้อราจะอยู่ภายในโพรงถุงลม กลิ้งไปมาได้ภายในโพรง ในระยะแรกจะไม่มีอาการ อาจตรวจพบโดยบังเอิญจากการเอ็กซเรย์ ต่อมาจึงจะมีอาการไอเป็นเลือด และมักออกมาเป็นจำนวนมากจนถึงขั้นเสียชีวิต
  • อาการแบบทำลายปอดเรื้อรัง ( chronic necrotizing pulmonary aspergillosis, CNPA ) มักพบในผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง ( COPD ) ที่ต้องพึ่งยาสเตอรอยด์ ผู้ป่วยที่ติดสุรา อาการคือมีไข้ ไอ หอบ เจ็บหน้าอก เป็นสัปดาห์ถึงเดือน เสมหะมีเลือดปนหนอง น้ำหนักลด เอ็กซเรย์พบมีปอดอักเสบหรือเป็นฝีในปอด แต่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะโดยทั่วไป
  • อาการแบบลุกลาม ( invasive aspergillosis ) มักพบในผู้ป่วยที่มีระดับเม็ดเลือดขาวในเลือดต่ำ เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะและต้องรับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยที่เป็นลูคีเมีย มะเร็งของต่อมน้ำเหลือง เชื้อแอสเปอร์จิลลัสจะลุกลามจากปอดเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้มีไข้สูง หนาวสั่น ไอเป็นเลือด หายใจเร็ว หอบ เขียว และเกิดการติดเชื้อของอวัยวะต่าง ๆ ได้ทั่วรางกาย ในรายที่เริ่มเป็นที่ไซนัส เมื่อเชื้อลุกลามจะมีการทำลายกระดูกบริเวณใบหน้า ทำให้เจ็บปวด มีเลือดออกจากจมูก

การรักษาโรคแอสเปอรืจิลโลซิส

สำหรับการรักษาโรคนี้ สามารถรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรคแอสเปอร์จิลโลสิสที่ได้ผลดี คือ Voriconazole , Posaconazole , Amphothericin B , Itraconazole , และ Caspofungin ในช่วงแรกที่ผลการตรวจยังไม่ยืนยันกลับมาทั้งหมดควรให้ยา Amphothericin B ไปก่อน เพราะเป็นยาครอบจักรวาลของโรคติดเชื้อราแทบบทุกชนิด แต่ยา Voriconazole ใช้ไม่ได้ผลกับเชื้อ Zygomycetes ที่ทำให้เกิดโรค Mucormycosis ที่มีอาการคล้ายกันแบบไซนัสอักเสบ

โรคแอสเปอร์จิลโลสิสแบบก้อนเชื้อราที่ยังไม่แสดงอาการอะไรอาจยังไม่ต้องรักษา เพราะยารับประทานหรือฉีดโดยทั่วไปได้ผลเพียง 60% แต่เมื่อเริ่มมีอาการไอเป็นเลือดแล้วควรรักษาทันที เพราะบางครั้งเลือดออกมากจนหายใจไม่ทันและอาจเสียชีวิต การรักษามีทั้งการผ่าตัดและการใช้ยาฆ่าเชื้อราหยดเข้าไปในก้อนโดยตรง ขึ้นกับขนาดและตำแหน่งของก้อน

โรคแอสเปอร์จิลโลสิสแบบแพ้เชื้อราเป็นอาการที่เกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้ การรักษาต้องใช้ยา Corticosteroids ชนิดรับประทาน (ชนิดสูดดมที่ใช้กันเป็นประจำในภาวะหลอดลมตีบไม่ได้ผล) และอาจให้ยา Itraconazole ร่วมด้วยก็ได้ นอกจากนั้นควรใส่ผ้าปิดจมูกกันฝุ่นละอองเมื่อเข้าไปในแหล่งกักตุนของเชื้อ เช่น ฟาร์มไก่ กรงนก และในห้องปรับอากาศ

โรคแอสเปอร์จิลโลซิสจะควบคุมและป้องกันอย่างไร ควรหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค ใส่ผ้าปิดจมูกกันฝุ่นละออง ในคนที่มีประวัติการแพ้เชื้อราควรหลีกเลี้ยงการทำงานใกล้กับสัตว์ปีก

ตับอ่อนอักเสบ ( Pancreatitis ) เกิดจากนิ่วในท่อน้ำดี เนื้องอกในตับอ่อน เป็นต้น ปวดท้องตรงกลางส่วนบนอย่างรุนแรง ท้องอืด ไข้สูง อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็วตับออนอักเสบ โรคตับ โรคไม่ติดต่อ

ตับอ่อน นอกจากย่อยอาหารแล้ว แล้ว ตับอ่อนจะสร้างฮอร์โมน เข้ากระแสเลือด เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อ ตับอ่อนอักเสบ จะทำให้ ระบบการย่อยอาหาร และ การลดระดับน้ำตาลในเลือด มีปัญหา ตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis) เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของเซลล์ของตับอ่อน (Pancreas) โดยมีทั้งการอักเสบชนิดเฉียบพลันที่เกิดขึ้นทันทีทันใด แต่ส่วนใหญ่อาการจะเป็นอยู่ไม่นานและมักจะทุเลาดีขึ้นได้เอง และการอักเสบชนิดเรื้อรังซึ่งจะมีการทำลายเซลล์ของตับอ่อนจนไม่สามารถฟื้นตัวได้ โดยสาเหตุของโรคนี้หลัก ๆ แล้วจะมาจากโรคนิ่วในถุงน้ำดี และจากการดื่มแอลกอฮอล์จัด การอักเสบของตับอ่อน นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ ตับอ่อนอักเสบชนิดเฉียบพลัน และ ตับอ่อนอักเสบชนิดเรื้อรัง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ( Acute pancreatitis ) เกิดการอักเสบขึ้นกับเซลล์ของตับอ่อนอย่างเฉียบพลัน ผู้ป่วยบางรายอาจพบว่ามีอาการรุนแรง
  • โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง (Chronic pancreatitis) การอักเสบของตับอ่อนอย่างต่อเนื่องจนเกิดอาการเรื้อรัง โดยอาจจะเกิดขึ้นตามหลังการอักเสบเฉียบพลัน รักษาไม่หาย ซึ่งในการอักเสบเรื้อรังนี้เซลล์ของตับอ่อนจะค่อย ๆ ถูกทำลายจนไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่

ตับอ่อนอักเสบ โรคตับ การติดเชื้อ อาการโรคตับ

สาเหตุที่ทำให้ตับอ่อนอักเสบ

โรคตับอ่อนอักเสบเกิดจากนิ่วในท่อน้ำดีไปอุดตัน ทางเดินน้ำย่อยของตับอ่อน และ การดื่มสุรา เกิดจาก ยาบางชนิด ระดับไขมันในเลือดสูง  การผ่าตัด ซึ่งส่งผลให้ เลือดไปเลี้ยงตับอ่อนน้อยลง อุบัติเหตุที่หน้าท้อง เนื้องอกในตับอ่อน

ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคตับอ่อน

ปัจจัยเสี่ยง สำหรับการเกิดโรคตับอ่อนอักเสบ พบว่า ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับถุงน้ำดี นักดื่มสุรา คนสูบบุหรี่ การฝ่าตัด และคนทีมีไขมันในเลือดสูง มีความเสี่ยงในการเป็น โรคตับอ่อนอักเสบสูง

อาการของโรคตับอ่อนอักเสบ

สำหรับอาการของโรคตับอ่อนอักเสบ ผู้ป่วยจะมีอาการ ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ ลามไปถึงด้านหลัง คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ เหงื่อออกมาก เจ็บเวลากดที่หน้าท้อง หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว อาการตับอ่อนอักเสบ ใหแต่ละชนิด มีรายละเอียด ดังนี้

อาการตับอ่อนอักเสบชนิดเฉียบพลัน

  • ปวดท้องตรงกลางส่วนบน มีอาการปวดอย่างรุนแรง โดยจะปวดแบบตื้อ ๆ ต่อเนื่องกันหลายวัน ปวดร้าวไปถึงหลัง
  • มีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย แน่นท้อง
  • มีไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียน
  • กดหน้าท้องจะเจ็บ
  • หัวใจเต้นเร็วและหายใจเร็ว
  • ผู้ป่วยจะมีอาการของภาวะขาดน้ำและมีอาการจากการอักเสบของอวัยวะต่าง ๆ ร่วมด้วย เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ปอดอักเสบ หรือไตวายเฉียบพลัน

อาการตับอ่อนอักเสบชนิดเรื้อรัง

  • อาการเบื้องต้นเหมือนตับอ่อนอักเสบชนิดเฉียบพลัน
  • มีอาการท้องเสียแบบเรื้อรัง อุจจาระมีลักษณะเป็นไขมัน และมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ
  • คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการท้องผูกน้ำหนักตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง
  • มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะมีสีเข้ม และน้ำดีไหลลงลำไส้ไม่ได้
  • บางรายอาการปวดท้องอาจหายไปแม้ว่าโรคจะเลวลงก็ตาม

การตรวจวินิจฉัยโรคตับอ่อนอักเสบ
สำหรับการตรวจวินิจฉัย โรคเราจะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคตับอ่อนอักเสบ เราสามารถตรวจได้โดย การ ตรวจเลือด ทำอัลตราซาวน์

การรักษาโรคตับอ่อนอักเสบ 

การรักษาโรคตับอ่อนอักเสบ จะต้องให้ผุ้ป่วยงดน้ำและอาหาร เพื่อให้กระเพาะอาหารทำงานน้อยลง ให้สารอาหารทางน้ำเกลือ ให้ยาแก้ปวด และยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาโรคติดเชื้อ หากพบว่ามีนิ่วที่ถุงน้ำดี ต้องทำการผ่าตัด เฝ้าระวังอาการแทรกซ้อนตามมา เช่น เกิดภาวะโลหิตเป็นพิษ โรคเบาหวาน โรคไตวาย ขาดอาหาร

การป้องกันตับอ่อนอักเสบ

สำหรับการป้องกันการเกิดโรค สามารถทำได้โดย งดการดื่มสุรา รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ รายละเอียด ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคนิ่วในถุงน้ำดี
  • งดการดื่มแอลกอฮอล์
  • งดการสูบบุหรี่
  • ควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์เสมอก่อนที่จะซื้อยาใด ๆ มารับประทานเอง
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้ดี เพื่อช่วยลดโอกาสการติดเชื้อต่าง ๆ

ตับอ่อนอักเสบ ( Pancreatitis ) สาเหตุเกิดจากนิ่วในท่อน้ำดี การดื่มสุรา การกินยาบางชนิด ไขมันในเลือดสูง เนื้องอกในตับอ่อน เป็นต้น อาการปวดท้องตรงกลางส่วนบนปวดอย่างรุนแรง ท้องอืด มีไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว การรักษาโรคตับอ่อนอักเสบ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove