หัดญี่ปุ่น โรคคาวาซากิ ไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคแน่ชัด อาการไข้สูง ปากแดง ตาแดง มือเท้าบวมลอก ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต ผื่นขึ้นตามร่างกาย สามารถหายได้เอง

โรคคาวาซากิ โรคหัดญี่ปุ่น โรคเด็ก โรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคคาวาซากิ ( Kawasaki disease ) เรียกอีกชื่อว่า หัดญี่ปุ่น คือ โรคที่พบมากในเด็ก ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเมื่อมีการติดเชื้อโรคแล้ว ส่งผลให้ร่างกายกระตุ้นภูมิคุ้มกันผิดปกติจึงส่งผลต่อลักษณะอาการของโรค เป็นสาเหตุของอาการหัวใจอักเสบ และหลอดเลือดแดงอักเสบในเด็ก โรคนี้พบครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2510 ในประเทศญี่ปุ่น และ ประเทศไทยพบครั้งแรก เมื่อพ.ศ.2519

สาเหตุของการเกิดโรคคาวาซากิ

โรคคาวาซากิ ยังไม่สามารถบอกสาเหตุของการเกิดโรคได้อย่างชัดเจน แต่ผู้ป่วยจะมีอาการกระทันหัน คือ มีไข้สูง มีผื่นตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต และตาแดง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญคาดว่าเกิดจากเมื่อร่างกายได้รับเชื้อโรคจึงเกิดการสร้างภูมิต้านทานโรคผิดปกติส่งผลต่อร่างกายิดปรกติต่างๆตามมา

กลุ่มผู้เสี่ยงเกิดโรคคาวาซากิ

สำหรับผู้เสี่ยงเกิดโรคคาวาซากิ จะเป็นเด็กที่อายุไม่เกิน 5 ขวบ เนื่องจากภูมิต้านทานโรคยังไม่แข็งแรง เท่ากับคนที่มีอายุมากกว่า โดย ในคนอายุ 2 ถึง 3 ขวบ มีอัตราการเกิดโรคมากที่สุด และ เพศชายมีอัตรการเกิดโรค มากกว่าเพศหญิง

อาการของผู้ป่วยโรคคาวาซากิ

ลักษณะอาการของผู้ป่วยโรคคาวาซาอก ลักษณะอาการกระทันหัน ซึ่งสามาถสรุปลักษณะของอาการของผู้ป่วยให้เห็นชัดมากขึ้น มีดังนี้

  1. มีไข้สูง และมีไข้นาน 1 – 4 สับดาห์
  2. มีอาการตาแดง อาการตาแดงจะเกิดหลังจากผู้ป่วยมีไข้สูงประมาณ 1-2 วันและอาการตาแดงจะเป็นประมาณ 1-2 สัปดาห์
  3. ริมฝีปากแดง แห้ง และริมฝีปากแตก หลังจากนั้นบริเวณลิ้นแดง
  4. ฝ่ามือกับฝ่าเท้าจะมีอาการบวม ไม่มีอาการเจ็บ จากนั้นหนังโคนเล็บจะลอก และลามไปถึงฝ่ามือฝ่าเท้า บางรายถึงขั้นเล็บหลุดเลย
  5. เกิดผื่นตามตัว แขนและขา จะเกิดเมื่อมีไข้แล้ว 2-3 วัน รวมถึงมีอาการคันที่ผื่นด้วย
  6. ที่บริเวณคอ จะมีอาการโต เป็นอาการต่อมน้ำเหลืองที่คอโต

การรักษาอาการของโรคคาวาซากิ

สำหรับแนวทางการรักษาโรค เนื่องจากโรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุ จึงยังไม่มียารักษาโรคคาวาซากิโดยเฉพาะ ซึ่งสิ่งที่แพทย์ใช้ในการรักษาโรค คือ การป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ โดบการรักษาด้วยอิมมูโนโกลบุลิน ชนิดฉีด ( intravenous immunoglobulin , IVIG ) เพื่อลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนที่หัวใจและหลอดเลือด สำหรับการรักษา สามารถแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเฉียบพลัน และ ระยะต่อเนื่องของโรค รายละเอียด ดังนี้

  • การรักษาโรคในระยะเฉียบพลันของโรค ใช้การรักษาโดยให้ ้ IVIG ขนาด 2 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กก. ร่วมกับรับประทานยาแอสไพริน (aspirin) ขนาด 80-120 มก./กก./วัน
  • การรักษาในช่วงไม่เฉียบพลันและต่อเนื่อง ให้ aspirin ขนาด 3-5 มก./น้ำหนักตัว 1 กก./วัน  รับประทานหลังไข้ลดลงนานประมาณ 2 เดือน  ถ้าผู้ป่วยมีเส้นเลือดโป่งพอง จะต้องให้ติดต่อไปนานจนกว่าเส้นเลือดโป่งพองจะกลับเป็นปกติ บางรายต้องได้รับยานานหลายปี

ภาวะแทรกซ้อนของโรคคาวาซากิ

อาการแทรกซ้อนที่อันตรายต่อชีวิค คือ อาการที่ส่งผลต่อหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจอาจอักเสบโป่งพอง ( coronary aneurysm )  กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ลิ้นหัวใจอักเสบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวมีความอันตรายต่อสุขภาพทำให้เสียชีวิตได้ การตรวจรักษาจึงต้องรักษาอย่างทันท่วงที

การป้องกันโรคคาวาซากิ

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคเนื่องจากโรคนี้ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค การป้องกันโดยรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อเตรียมพร้อมร่างกายเมื่อเกิดโรค จึงเป็นแนวทางที่ดีที่สุด แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • ป้องกันความเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดการติดเชื้อโรค เช่น การสูดดมอากาศ การเกิดแผล การรับประทานอาหาร เป็นต้น
  • ดูแลร่างกายให้แข็งแรง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

หัดญี่ปุ่น หรือ โรคคาวาซากิ โรคที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของโรค อาการสำคัญ คือ ไข้สูง ปากแดง ตาแดง มือเท้าบวมลอก ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต และผื่นตามร่างกาย สามารถหายได้เอง แต่หากไม่ถูกต้องอาจเสียชีวิตได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

ไวรัสอีโบลา ( Ebola ) การติดเชื้อไวรัสอีโบลา โรคติดต่ออันตราย อาการมีไข้ เจ็บคอ ปวดหัว ปวดตัว คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ยังไม่มียารักษาโรค การป้องกันทำอย่างไร

ไวรัสอีโลบ่า ไข้เลือดออกอีโบล่า โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

ไวรัสอีโบลา ปรากฏตัวครั้งแรกในปี ค. ศ. 1976 ในประเทศซูดานใต้ และ สาธารณะรัฐประชาธิปไตยคองโก รวมถึงในหมู่บ้านที่ตั้งอยู้ใกล้กับแม่นํ้าอโบลา จึงตั้งชื่อไวรัสว่า อีโบล่า ซึ่งโรคในเวลาต่อมายังปรากฎให้เห็นเป็นระยะๆ ซึ่งมีรายงานยืนยันว่า มีการระบาดของโรคไขเลือดออกอีโบลา ( EVD ) ในแอฟริกาใต้  การระบาดของโรคอีโบลาเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 2014 การโรคระบาดที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่พบเชื้อไวรัสอีโบล่า เหตุการณ์ครั้งนั้น มีผู้ป่วยรวมกันถึง 28,646 คน เสียชีวิตถึง 11,323 คน และได้พบผู้ป่วยนอกทวีปแอฟริกา รวมทั้งมีการนำผู้ป่วย ซึ่งเป็นบุคลากรทางการแพทย์กลับไปรักษาเช่น ที่สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร  แต่ก็โชคดีที่สามารถควบคุมโรคได้

สำหรับประเทศไทย ได้ประกาศให้ โรคไวรัสอีโบลา เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ 2558 เนื่องจาก โรคนี้จะส่งผลกระทบต่อประเทศได้มาก หากเกิดการระบาด กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับโรคนี้ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน

เชื้อไวรัสอีโบลา ( Ebola ) คือ ไวรัสที่เกิดขึ้นในสัตว์ป่า สามารถติดต่อสู่คนได้ เป็นโรค ที่เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ โรคติดต่อ ชนิดหนึ่ง ยังไม่มียารักษาได้ อัตราการเสียชีวิตสูง ดังนั้นการป้องกันจึงดีที่สุด โรคไวรัสอีโบลา หรือ ไข้เลือดออกอีโบลา เป็น โรคติดต่อ ที่เกิดจากไวรัสอีโบลา โดยจะเริ่มมีอาการป่วย ภายในสามสัปดาห์หลังจากได้รับเชื้อโรค อาการจะมีไข้ เจ็บคอ ปวดหัวและปวดกล้ามเนื้อ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนและท้องร่วง ส่งผลใด้การทำงานของตับและไตลดลง

สาเหตุของการติดเชื้ออีโบล่า

สำหรับสาเหตุของการติดเชื้อไวรัสอีโบลา เกิดจากเชื้อไวรัสอีโบล่าในลิงซิมแปนซี ซึ่งสามารถติดสู่คนได้จากการสัมผัส สารคัดหลั่งจากสัตว์ชนิดนี้ และการรับประทานสัตว์ป่าที่ไม่ถูกสุขอนามัย โดยเชื้อไวรัสอีโลบ่าจะอยู่ในสารคัดหลั่งของสัตว์หรือคนที่มีเชื้อไวรัสอีโบล่า ซึ่งปัจจัยเสียงการติดเชื้อไวรัสอีโบล่า โดยปรกติแล้วอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งความเสี่ยงอาจเพิ่มมากขึ้นหากมีปัจจัยต่างๆเหล่านี้มาประกอบ ซึ่งปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อการติดเชื้อไวรัสอีโบล่า มีดังนี้

  • การเดินทางไปใกล้แหล่งที่มีเชื้อโรคอีโบล่าระบาดอยู่แล้ว
  • กลุ่มคนที่การสำรวจและวิจัยเกี่ยวกับโรคนี้
  • การสัมผัสศพ หรือ ผู้มีเชื้อโรค
  • การรับประทานอาหารที่ไม่สุก

อาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสอีโบล่า

สำหรับจะมีอาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้ออีโบล่านั้น จะมีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ  ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ท้องร่วง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ถ่ายเป็นเลือด ตาแดง มีผื่นนูน ไอ เจ็บหน้าอก จุกแน่นบริเวณกระเพาะอาหาร เลือดออกทางจมูก ปาก หู ตา อาการของโรคไวรัสอีโบลา จะเริ่มแสดงอาการภายใน 2 ถึง 21 วัน หลังจากการรับเชื้อไวรัสอีโบลา เข้าสู่ร่างกาย โดยสามารถสรุปอาการได้ดังนี้

  • มีไข้สูง
  • ปวดหัวอย่างรุนแรง
  • มีอาการเหนื่อยล้า
  • ปวดตามข้อและกล้ามเนื้อ
  • มีอาการเจ็บคอ
  • ท้องเสีย
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ปวดท้อง
  • เบื่ออาหาร
  • มีรอยช้ำ และเหมือนมีเลือดออกโดยไม่ทราบสาเหตุ

อาการของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา นั้นเหมือนโรคไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้สูง ปวดตามกล้ามเนื้อ เจ็บคอ แต่แต่อาการของโรคอีโบลาจะปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย และอาการเลือดไหลโดยไม่ทราบสาเหตุ รวมอยูด้วย

แนวทางการวินิจฉัยโรคไวรัสอีโบล่า

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคอีโบลา แพทย์จะสังเกตุและสอบถามจากประวัติของผู้ป่วย ลักษณะของอาการโรคเบื้องต้น และ ตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อไวรัส

การรักษาผู้ป่วยจากการติดเชื้อไวรัสอีโบล่า

สำหรับการรักษาโรคไวรัสอีโบล่าในปัจจุบันยังไม่ยาที่สามารถรักษาโรคได้ สิ่งที่สามารถทำได้ คือ การประคับประครองตามอาการของโรค เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ให้น้ำเกลือเพื่อให้ผู้ป่วยมีแรง รักษาระดับความดันเลือดและอ็อกซิเจนในร่างกาย  เฝ้าระวังอาการแทรกซ้อน เช่น อวัยวะล้มเหลว เลือดออกอย่างรุนแรง อาการดีซ่าน อาการชัก หมดสติ อาการตับอักเสบ ตาอักเสบ อัณฑะอักเสบ เป็นต้น

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสอีโบลา

การป้องกันโรคระบาดจากการติดเชื้อไวรัสอีโบล่า เนื่องจากยังไม่มียารักษาโรคนี้ การหลีกเลี่ยงการติดเชื้อโรคเป็นสิ่งที่ควรกระทำที่สุด โดยการป้องกันการติดเชื้อไวรัสอีโบลา มีรายละเอียดดังนี้

  • หลีกเลี่ยงเดินทางหรือไปท่องเที่ยวในพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อโรค
  • ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ
  • ไม่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีความเสี่ยงการติเชื้อโรค
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยที่ติดเชื้อ
  • ล้างอาหารให้สะอาด และ ปรุงอาหารที่สุก รวมถึงหลีกเลี่ยงการกินอาหารป่า
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อโรค เช่น น้ำเหลือง เลือด น้ำลาย น้ำจากช่องคลอด เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับผู้ติดเชื้อ เช่น เสื้อผ้า ผ้าคลุมเตียง เข็ม อุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น
  • สำหรับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ต้องสวมถุงมือ หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove