ชิคุนกุนยา ไข้ปวดข้อ พบบ่อยในฤดูฝน สาเหตุจากยุงลาย อาการคล้ายไข้เลือดออก มีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดข้อ มีผื่นแดงตามแขนขา ตาแดง ปวดหัว อ่อนเพลีย คลื่นไส้ชิคุนกุนยา ไข้ปวดข้อ โรคติดต่อ โรคจากยุง
โรคชิคุนกุนยา 
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อ Chikungunya virus ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรคเหมือนโรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่ไม่มียา หรือ วัคซีนป้องกันโรค แต่พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก เมื่อเกิดโรคป่วยจะมีอาการนอนซม ปวดข้อจนเดินไม่ได้ สำหรับการแพร่ระบาดของโรคนี้ในประเทศไทย พบว่ามีรายงานการแพร่กระจายของโรคในภาคใต้ตอนล่างของไทย ช่วงปี พ.ศ. 2552 โดยมาตรการที่สำคัญในขณะนั้น กระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่เร่งให้ความรู้ประชาชนเพื่อรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย

ความเป็นมาของโรคชิคุนกุนยา

โรคชิคุนกุนยา ไม่ใช่โรคอุบัติใหม่เป็นโรคที่รู้จักกันมานานกว่า 50 ปีแล้ว เคยเป็นโรคที่ระบาดใหญ่ในอดีตโดยเฉพาะประเทศไทย เมื่อกว่า 40 ปีมาแล้ว หลังจากนั้นก็มีการพบประปรายจนกระทั่งในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา โรคดังกล่าวได้สงบลงและไม่ได้มีการกล่าวถึงกันมากนัก ซึ่งในปี พ.ศ.2547 เกิดการระบาดของโรคชิคุนกุนยาเป็นบริเวณกว้างประเทศฝรั่งเศส บริเวณหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดีย (La Reunion Island) และได้แพร่กระจายเข้าสู่ประเทศต่างๆ ในแอฟริกาตะวันออก และเข้าสู่ประเทศอินเดีย ลงมาสู่ศรีลังกา เข้าอินโดนีเซีย แหลมมลายู และเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณชายแดนจังหวัดภาคใต้ ในปลายเดือนกันยายน-ตุลาคม และระบาดมาจนถึงทุกวันนี้ โดยขยายวงกว้างขึ้น 15 จังหวัด ทางภาคใต้ และเริ่มพบในจังหวัดอื่นบ้างโดยเฉพาะผู้ที่เดินทางไปจังหวัดภาคใต้มา ตั้งแต่มีการระบาดของโรคเชื่อว่ามีผู้ป่วยแล้วมากกว่า 1 ล้านคนทั่วโลก

สาเหตุของการติดเชื้อไวรัส

โรคชิคุนกุนยาเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสในตระกูล Togaviridae โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งสามารถพบได้ทั่วไปในช่วงฤดูฝนและบริเวณที่มีน้ำขัง ยุงลายเป็นสัตว์ที่มักชุกชุมช่วงกลางวัน สถานที่เสี่ยงคือสถานที่ที่มียุงจำนวนมาก เช่น โรงเรียน สวนสาธารนะ เป็นต้น

ระยะของโรคชิคุนกุนยา

สำหรับระยะฟักตัวของโรคโดยทั่วไปประมาณ 1-12 วัน แต่ที่พบบ่อยประมาณ 2-3 วัน จากนั้นจะเข้าสู่ระยะติดต่อดรคเป็นช่วงระยะเวลาที่ผู้ป่วยไข้สูง ประมาณวันที่ 2 – 4 เนื่องจากเป็นระยะที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาอยู่ในกระแสเลือดมากที่สุด

อาการของโรคชิกุนย่า

ผู้ป่วยโรคชิคุณกุนย่า จะมีไข้สูงอย่างกระทันหัน คันตามร่างกาย ตาแดง ไม่มีแรง ปวดตามข้อกระดูก บางรายอาจมีอาการข้ออักเสบร่วม ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการปวดข้อ ภายใน 10 วัน หลังจากได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย จะเกิดผื่นบริเวณลำตัวและแขนขา แต่ไม่มีอาการคัน ผื่นนี้จะหายได้เองภายใน 10 วัน และพบอาการปวดกล้ามเนื้อ เมื่อยล้า มีไข้ และต่อมนํ้าเหลืองโต แต่ไม่พบว่ามีอาการชาหรือเจ็บบริเวณฝ่ามือหรือเจ็บฝ่าเท้า ร่วมด้วย สามารถสรุปลักษณะอาการของโรคชิคุนกุนยา ได้ดังนี้

  • มีไข้สูงเฉียบพลัน หลังจากนั้น 2 – 3 วัน ไข้จะเริ่มลดลง
  • ปวดตามข้อกระดูกและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • ผื่นแดงขึ้นตามแขนและขา
  • ตาแดง
  • เบื่ออาหาร
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดศีรษะ
  • อ่อนเพลีย
  • ท้องเสีย

การรักษาโรคชิกุนย่า

สำหรับแนวทางการรักษาโรคชิคุนกุนยาในปัจจุบันยังไม่มียารักษาไวรัสชิกุนคุนยา รวมถึงยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคชิคุนกุนยา ซึ่งแนวทางการรักษาโรค คือ ประคับประครองตามอาการของโรค เช่น การรับประทานยาลดไข้ยาแก้ปวด จากนั้นพักผ่อนให้ร่างกายได้พักฟื้นรักษาตนเอง ซึ่งแนวทางการปฏิบัติตัวเมื่อมีอาการป่วยโรคชิคุนกุนยา คือ ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย พักผ่อนให้เต็มที่และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

การป้องกันโรคชิกุนย่า

เนื่องจากโรคชิกุนยา ไม่มียารักษาโรค หรือวัคซีนป้องกันโรค แนวทางการป้องกันการเกิดโรคจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งแนวทางการป้องกันโรคชิคุนกุนยา มีแนวทางดังนี้

  1. ป้องกันไม่ให้ถูกยุงลายกัด
  2. สวมใส่เสื้อผ้าที่ป้องกันไม่ให้ยุงกัด ติดมุ้งลวดในบ้าน หรือทายากันยุงขณะทำงานและออกนอกบ้าน
  3. ยาทากันยุงชนิดที่มีส่วนผสมของไพรีธรอยด์ช่วยป้องกันได้พอสมควร
  4. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยเฉพาะแหล่งน้ำขัง เริ่มจากในบ้านก่อน ไม่ว่าจะเป็นแจกันดอกไม้ที่ใส่น้ำไว้ ขาตู้ใส่น้ำกันมด ตุ่มใส่น้ำไม่ปิดฝา จากนั้นขยายอกบริเวณรอบบ้าน เช่น ขวดพลาสติก แก้วพลาสติกที่มีน้ำขัง ยางรถยนต์เก่าและแอ่งน้ำตามธรรมชาติ ฯลฯ
  5. ร่วมมือช่วยกันในชุมชนดูแลไม่ให้เกิดน้ำขังขึ้น จะเห็นได้ว่ามาตราการป้องกันยุงลาย นอกจากจะป้องกันไข้เลือดออกแล้ว ยังช่วยป้องกันโรคชิคุนกุนยาได้อีกด้วย

โรคชิคุนกุนยา โรคไข้ปวดข้อ พบบ่อยในฤดูฝน สาเหตุจากยุงลาย ลักษณะอาการคล้ายไข้เลือดออก มีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดข้อและกล้ามเนื้อ มีผื่นแดงตามแขนขา ตาแดง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ท้องเสีย

มือเท้าปาก เกิดจากเชื้อไวรัสเอนเทอโร Enterovirus พบบ่อยเด็ก อาการมีไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว มีตุ่มเล็กๆบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ในปาก หายได้เอง

โรคมือเท้าปาก โรคติดต่อ โรคเด็ก โรคติดเชื้อ

โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย หรือ โรคมือเท้าปาก คือ โรคติดต่อที่พบบ่อยในเด็ก โดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี เกิดบ่อยในช่วงฤดูฝน เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเตอโรไวรัส ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ ลักษณะอาการของโรคส่วนใหญ่ ไม่มีมีอาการรุนแรง โดยลักษณะอาการ คือ มีไข้ และ มีตุ่มเล็กๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และ ในปาก สามารถหายได้เอง แต่ประมาทไม่ได้หากเกิดอาการติดเชื้อขึ้นสมองและมีอาการสมองอักเสบร่วมด้วย จะเป็นอันตรายอาการรุนแรง ทำให้เสียชีวิตได้

สาเหตุของโรคมือเท้าปาก

โรคมือเท้าปาก หรือ โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอนเทอโร ( Enterovirus ) ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์ เช่น ค็อกแซคกีเอและบี ( Coxsackie A , B ), ไวรัสเอนเทอโรชนิด 71 ( Enterovirus 71 – EV71 ) , ไวรัสเอ็คโคไวรัส ( Echovirus )  แต่ไวรัสที่พบว่าเป็นสาเหตุการติดเชื้อมากที่สุด คือ ไวรัสค็อกแซคกีเอชนิด 16  (Coxsackievirus A 16 ) อาการมักจะไม่รุนแรง ผู้ป่วยสามารถหายได้เอง แต่หากติดเชื้อจาก ไวรัสเอนเทอโรชนิด 71 อาการจะหนัก และหากเกิดภาวะแทรกซ้อน อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

สำหรับช่องทางการติดเชื้อไวรัสสู่ร่างกายมนุษย์เกิดจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งจาก จมูก ลำคอ ละอองน้ำมูกน้ำลาย หรือ น้ำเหลือง ของผู้มีเชื้อโรค การดูดเลียนิ้วมือ รวมถึงจากการรับประทานอาหาร การดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค โดยสถานที่ที่มักมีการระบาดของโรค เช่น โรงเรียนอนุบาล และ สถานรับเลี้ยงเด็ก เป็นต้น

ระยะของการเกิดโรคมือเท้าปาก

สำหรับระยะการเกิดโรคมี 2 ระยะ คือ ระยะฟักตัวของโรค และ ระยะเกิดซ้ำ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ระยะฟักตัวของโรค เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ภายใน 7 วัน ผู้ป่วยจึงจะแสดงอาการ
  • ระยะการเป็นซ้ำ โรคนี้สามารถเกิดซ้ำได้ หากเชื้อไวรัสเป็นคนละสายพันธุ์ กับที่เคยเกิด

อาการของโรคปากเท้าเปื่อย

โรคมือเท้าปากมีระยะฟักตัวของโรคภายใน 7 วัน หลังจากเชื้อโรคฟักตัวผู้ป่วยจะมีอาการมีไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว แต่อาการป่วยสามารถหายได้เองได้ภายใน 14 วัน จะเห็นแผลแดงเล็กๆตามปาก ลักษณะเป็นตุ่มน้ำ โรคมือเท้าปาก ต้องระวังการเกิดแทรกซ้อน เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ อัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก หรือ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นต้น ซึ่งอาการแทรกซ้อนเหล่านี้อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยสัญญาณเตือนของภาวะแทรกซ้อน ที่ควรสังเกตุ มีดังนี้

  • เด็กมีอาการซึมลง ไม่เล่น ไม่อยากรับประทานอาหารหรือนม
  • บ่นปวดศีรษะมาก ปวดทนไม่ไหว
  • มีอาการพูดเพ้อไม่รู้เรื่อง สลับกับการซึมลง หรือเห็นภาพแปลกๆ
  • ปวดต้นคอ คอแข็ง มีการรับรู้สับสน ซึมลง และอาเจียน
  • มีอาการสะดุ้งผวา ตัวสั่นๆ แขนหรือมือสั่นบ้าง
  • มีอาการไอ หายใจเร็ว ดูเหนื่อยๆ หน้าซีด มีเสมหะมาก โดยอาจมีหรือไม่มีไข้ร่วมด้วยก็ได้

แนวทางการรักษาโรคมือเท้าปาก

สำหรับโรคมือเท้าปากปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคเฉพาะทาง ซึ่งการรักษาโรคนั้นสามารถทำได้โดยการประคับประครองรักษาตามอาการของโรค และ การป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรค ผู้ป่วยต้องพักผ่อนให้มากๆ และ หากเกิดอาการอ่อนเพลียมากๆเกิดไปให้ไปรับน้ำเกลือที่โรงพยาบาลหรือทานเกลือแร่เสริม

การป้องกันโรคมือเท้าปาก

เนื่องจากโรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อโรค สิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันการเกิดโรค คือ การรักษาสุขอนามัยของสภาพแวดล้อมที่ดี  ลดการเกิดเชื้อโรคในภาวะรอบตัว แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการคลุกคลีหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย
  • ควรล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบจับอาหารให้เด็กรับประทาน
  • รับประทานอาหารที่สุก สะอาด และ ปรุงใหม่ๆ
  • ไม่ใช้ภาชนะร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะช้อน จาน ชาม แก้วน้ำ และ ขวดนม
  • สำหรับผู้ดูแลเด็ก เมื่อเช็ดน้ำมูกหรือน้ำลายให้เด็กแล้วต้องล้างมือให้สะอาดโดยเร็ว
  • ทำความสะอาดเสื้อผ้าหรือผ้าอ้อมให้สะอาด

โรคมือเท้าปาก เกิดจากเชื้อไวรัสเอนเทอโร ( Enterovirus ) พบบ่อยเด็ก ลักษณะอาการ คือ มีไข้สูง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว และ มีตุ่มเล็กๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในปาก สามารถหายได้เอง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove