ชิคุนกุนยา โรคพบบ่อยในฤดูฝน ยุงลายเป็นพาหะนำโรค ไข้ปวดข้อ

ชิคุนกุนยา ไข้ปวดข้อ พบบ่อยในฤดูฝน สาเหตุจากยุงลาย อาการคล้ายไข้เลือดออก มีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดข้อ มีผื่นแดงตามแขนขา ตาแดง ปวดหัว อ่อนเพลีย คลื่นไส้ชิคุนกุนยา ไข้ปวดข้อ โรคติดต่อ โรคจากยุง
โรคชิคุนกุนยา 
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อ Chikungunya virus ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรคเหมือนโรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่ไม่มียา หรือ วัคซีนป้องกันโรค แต่พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก เมื่อเกิดโรคป่วยจะมีอาการนอนซม ปวดข้อจนเดินไม่ได้ สำหรับการแพร่ระบาดของโรคนี้ในประเทศไทย พบว่ามีรายงานการแพร่กระจายของโรคในภาคใต้ตอนล่างของไทย ช่วงปี พ.ศ. 2552 โดยมาตรการที่สำคัญในขณะนั้น กระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่เร่งให้ความรู้ประชาชนเพื่อรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย

ความเป็นมาของโรคชิคุนกุนยา

โรคชิคุนกุนยา ไม่ใช่โรคอุบัติใหม่เป็นโรคที่รู้จักกันมานานกว่า 50 ปีแล้ว เคยเป็นโรคที่ระบาดใหญ่ในอดีตโดยเฉพาะประเทศไทย เมื่อกว่า 40 ปีมาแล้ว หลังจากนั้นก็มีการพบประปรายจนกระทั่งในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา โรคดังกล่าวได้สงบลงและไม่ได้มีการกล่าวถึงกันมากนัก ซึ่งในปี พ.ศ.2547 เกิดการระบาดของโรคชิคุนกุนยาเป็นบริเวณกว้างประเทศฝรั่งเศส บริเวณหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดีย (La Reunion Island) และได้แพร่กระจายเข้าสู่ประเทศต่างๆ ในแอฟริกาตะวันออก และเข้าสู่ประเทศอินเดีย ลงมาสู่ศรีลังกา เข้าอินโดนีเซีย แหลมมลายู และเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณชายแดนจังหวัดภาคใต้ ในปลายเดือนกันยายน-ตุลาคม และระบาดมาจนถึงทุกวันนี้ โดยขยายวงกว้างขึ้น 15 จังหวัด ทางภาคใต้ และเริ่มพบในจังหวัดอื่นบ้างโดยเฉพาะผู้ที่เดินทางไปจังหวัดภาคใต้มา ตั้งแต่มีการระบาดของโรคเชื่อว่ามีผู้ป่วยแล้วมากกว่า 1 ล้านคนทั่วโลก

สาเหตุของการติดเชื้อไวรัส

โรคชิคุนกุนยาเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสในตระกูล Togaviridae โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งสามารถพบได้ทั่วไปในช่วงฤดูฝนและบริเวณที่มีน้ำขัง ยุงลายเป็นสัตว์ที่มักชุกชุมช่วงกลางวัน สถานที่เสี่ยงคือสถานที่ที่มียุงจำนวนมาก เช่น โรงเรียน สวนสาธารนะ เป็นต้น

ระยะของโรคชิคุนกุนยา

สำหรับระยะฟักตัวของโรคโดยทั่วไปประมาณ 1-12 วัน แต่ที่พบบ่อยประมาณ 2-3 วัน จากนั้นจะเข้าสู่ระยะติดต่อดรคเป็นช่วงระยะเวลาที่ผู้ป่วยไข้สูง ประมาณวันที่ 2 – 4 เนื่องจากเป็นระยะที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาอยู่ในกระแสเลือดมากที่สุด

อาการของโรคชิกุนย่า

ผู้ป่วยโรคชิคุณกุนย่า จะมีไข้สูงอย่างกระทันหัน คันตามร่างกาย ตาแดง ไม่มีแรง ปวดตามข้อกระดูก บางรายอาจมีอาการข้ออักเสบร่วม ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการปวดข้อ ภายใน 10 วัน หลังจากได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย จะเกิดผื่นบริเวณลำตัวและแขนขา แต่ไม่มีอาการคัน ผื่นนี้จะหายได้เองภายใน 10 วัน และพบอาการปวดกล้ามเนื้อ เมื่อยล้า มีไข้ และต่อมนํ้าเหลืองโต แต่ไม่พบว่ามีอาการชาหรือเจ็บบริเวณฝ่ามือหรือเจ็บฝ่าเท้า ร่วมด้วย สามารถสรุปลักษณะอาการของโรคชิคุนกุนยา ได้ดังนี้

  • มีไข้สูงเฉียบพลัน หลังจากนั้น 2 – 3 วัน ไข้จะเริ่มลดลง
  • ปวดตามข้อกระดูกและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • ผื่นแดงขึ้นตามแขนและขา
  • ตาแดง
  • เบื่ออาหาร
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดศีรษะ
  • อ่อนเพลีย
  • ท้องเสีย

การรักษาโรคชิกุนย่า

สำหรับแนวทางการรักษาโรคชิคุนกุนยาในปัจจุบันยังไม่มียารักษาไวรัสชิกุนคุนยา รวมถึงยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคชิคุนกุนยา ซึ่งแนวทางการรักษาโรค คือ ประคับประครองตามอาการของโรค เช่น การรับประทานยาลดไข้ยาแก้ปวด จากนั้นพักผ่อนให้ร่างกายได้พักฟื้นรักษาตนเอง ซึ่งแนวทางการปฏิบัติตัวเมื่อมีอาการป่วยโรคชิคุนกุนยา คือ ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย พักผ่อนให้เต็มที่และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

การป้องกันโรคชิกุนย่า

เนื่องจากโรคชิกุนยา ไม่มียารักษาโรค หรือวัคซีนป้องกันโรค แนวทางการป้องกันการเกิดโรคจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งแนวทางการป้องกันโรคชิคุนกุนยา มีแนวทางดังนี้

  1. ป้องกันไม่ให้ถูกยุงลายกัด
  2. สวมใส่เสื้อผ้าที่ป้องกันไม่ให้ยุงกัด ติดมุ้งลวดในบ้าน หรือทายากันยุงขณะทำงานและออกนอกบ้าน
  3. ยาทากันยุงชนิดที่มีส่วนผสมของไพรีธรอยด์ช่วยป้องกันได้พอสมควร
  4. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยเฉพาะแหล่งน้ำขัง เริ่มจากในบ้านก่อน ไม่ว่าจะเป็นแจกันดอกไม้ที่ใส่น้ำไว้ ขาตู้ใส่น้ำกันมด ตุ่มใส่น้ำไม่ปิดฝา จากนั้นขยายอกบริเวณรอบบ้าน เช่น ขวดพลาสติก แก้วพลาสติกที่มีน้ำขัง ยางรถยนต์เก่าและแอ่งน้ำตามธรรมชาติ ฯลฯ
  5. ร่วมมือช่วยกันในชุมชนดูแลไม่ให้เกิดน้ำขังขึ้น จะเห็นได้ว่ามาตราการป้องกันยุงลาย นอกจากจะป้องกันไข้เลือดออกแล้ว ยังช่วยป้องกันโรคชิคุนกุนยาได้อีกด้วย

โรคชิคุนกุนยา โรคไข้ปวดข้อ พบบ่อยในฤดูฝน สาเหตุจากยุงลาย ลักษณะอาการคล้ายไข้เลือดออก มีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดข้อและกล้ามเนื้อ มีผื่นแดงตามแขนขา ตาแดง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ท้องเสีย

Last Updated on March 12, 2024