ดอกมะลิมีกลิ่นหอม เป็นไม้มงคล ดอกไม้ประจำวันแม่ ดอกมะลิใช้แต่งกลิ่นอาหาร ทำขนม เพิ่มความหอม สรรพคุณของมะลิ ช่วยสมานแผล บำรุงหัวใจ แก้อักเสบ โทษของมะลิมีอะไรบ้าง

มะลิ ดอกมะลิ สมุนไพร ดอกไม้

ต้นมะลิ ภาษาอังกฤษ เรียก jasmine ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะลิ คือ Jasminum  สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของต้มมะลิ เช่น มะลิขี้ไก่ มะลิหลวง มะลิป้อม มะลิซ้อน มะลิมะลิลา เตียมูน ข้าวแตก บักหลี่ฮวย เซียวหน่ำเคี้ยง หม้อลี่ฮวา เป็นต้น สำหรับมะลิ เป็นพืชมีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปเอเชีย เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ดอกมะลิ เป็นดอกไม้ประจำวันแม่แห่งชาติ มะลิ เป็นไม้มงคล เชื่อกันว่าการปลูกมะลิในบริเวณบ้านจะทำให้มีความสงบสุข คนในบ้านจะมีแต่ความบริสุทธิ์ เอื้ออาทรต่อกัน มีแต่ความรักความคิดถึงให้แก่กัน เกื้อหนุนให้มีความกตัญญูต่อบุพการีและผู้มีพระคุณด้วย 

ดอกมะลิมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว นิยมนำมาร้อยมาลัยหรือสกัดทำน้ำมันหอมระเหย แต่มะลิยังมีสรรพคุณด้านการรักษาโรคสรรพคุณของมะลิ เช่น ขับประจำเดือน ช่วยสมานแผล บำรุงหัวใจ รักษาหลอดลมอักเสบ แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้เครียด ช่วยให้นอนหลับ บำรุงสายตา

มะลิในประเทศไทย

สำหรับต้นมะลิในประเทศไทย เป็นพืชที่อยู่คู่สังคมมาช้านาน ดอกมะลิ นำมาใช้ประโยชน์หลากหลายทั้งในวัฒรธรรม ประเพณี และ ในอาหาร ดอกมะลิ เป็นพืชเศรษฐกิจ นิยมนำมาร้อยพวงมาลัยบุชาพระ พวงมาลัยแสดงถึงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ นอกจากนี้ ต้นมะลิยังเป็น ไม้มงคล คนไทยโบราณยังเชื่ออีกว่า บ้านใดปลูกต้นมะลิไว้ประจำบ้าน จะทำให้คนในบ้านมีความบริสุทธิ์

ลักษณะของต้นมะลิ

ต้นมะลิ เป็นไม้พุ่มมีทั้งชนิดไม้ผลัดใบและไม้ไม่ผลัดใบ สามารถขยายพันธ์โดยการตอนกิ่ง ลักษณะของต้นมะลิ มีดังนี้

  • ลำต้นมะลิ ลักษณะลำต้นตั้งตรงหรือกางออก เป็นไม้พุ่มและไม้เถา แตกกิ่งก้านสาขามากมาย
  • ใบะลิ เป็นใบเดี่ยว ใบเรียงใบแบบตรงข้ามหรือเรียงใบแบบสลับ ใบสีเขียว ผิวใบเรียบเป็นมัน
  • ดอกมะลิ ดอกมีสีขาว ออกดอกแบบช่อกระจุก หนึ่งกระจุกมีอย่างน้อยสามดอก ดอกมีกลิ่นหอม

สรรพคุณของมะลิ

ต้นมะลิ เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคและบำรุงร่างกาย ซึ่งสามารถใช้ได้ทุกส่วน เช่น ดอกมะลิ ใบมะลิ และ รากของต้นมะลิ โดย สรรพคุณของมะลิ มีรายละเอียด ดังนี้

  • น้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิ ( jasmine oil ) สรรพคุณทำให้ความรู้สึกผ่อนคลาย ลดความตึงเครียด บรรเทาอาการปวดหัว นำมาใช้เป็นวัตถุดิบทำเครื่องสำอางค์
  • รากมะลิ สรรพคุณแก้ร้อนใน ขับประจำเดือน แก้เสียดท้อง รักษาหลอดลมอักเสบ แก้ปวดเคล็ดขัดยอก
  • ใบมะลิ สรรพคุณแก้ไข้ รักษาแผลฟกชำ แก้ปวดท้อง แก้แน่นท้อง รักษาอาการท้องเสีย รักษาแผลเรื้อรัง บำรุงสายตา ช่วยขับถ่าย โรคผิวหนัง
  • ดอกมะลิ สรรพคุณช่วยผ่อนคลาย ลดความเครียด แก้ปวดหัว แก้หืดหอบ บำรุงหัวใจ

โทษของมะลิ

ต้นมะลิมีกลิ่นหอม ซึ่งมาจากน้ำมันหอมระเหยที่ออกมาจากดอกของมะลิ การนำเอามะลิมาใช้ประโยชน์นั้น ต้องใช้ในปริมาณที่พอดี จึงจะเกิดประโยชน์ โดยรายละเอียดของการข้อควรระวังการใช้ต้นมะลิมีดังนี้

  • รากของมะลิ หากรับประทานมาก ๆ อาจทำให้สลบได้
  • ดอกมะลิ นำมาใช้แต่งกลิ่น แต่ไม่ควรนำมารับประทานเป็นประจำ เพราะอาจส่งผลต่อระบบประสาทและสมองได้
  • ดอกมะลิ มีฤทธิ์เป็นยาหอมเย็น แต่อย่าใช้มากเกินไป เพราะ อาจเกิดภาวะจุกเสียดแน่นท้องได้
  • การดื่มน้ำลอยดอกมะลิ นั้นในปัจจุบันการปลูกต้นมะลิเพื่อการค้าอาจมีสารเคมีปนเปื้อนได้ต้องล้างให้สะอาด แต่หากเป็นมะลิที่เชื่อได้ว่าไม่มีสารตกค้างหรือสารเคมี ก็สามารถนำมารับประทานได้
  • น้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิ สามารถใช้ทาภายนอกเท่านั้น ห้ามรับประทาน หรือใส่ในอาหาร หรือ ขนม จะเป็นอันตรายมากในสตรีมีครรถ์

ดอกมะลิ มีกลิ่นหอม เป็นไม้มงคล ดอกไม้ประจำวันแม่ นิยมนำดอกมะลิใช้แต่งกลิ่นอาหาร ทำขนมไทย เพิ่มความหอม สรรพคุณของมะลิ เช่น ช่วยสมานแผล บำรุงหัวใจ แก้อักเสบ โทษของมะลิ มีอะไรบ้าง

มะเฟือง สมุนไพร นิยมรับประทานผลมะเฟืองเป็นอาหาร ต้นมะเฟืองเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะเฟือง เช่น ช่วยขับปัสสาวะ ขับเสมหะ บำรุงร่างกาย โทษของมะเพือง มีอะไรบ้าง

มะเฟือง สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณมะเฟือง

ต้นมะเฟือง ( Star fruit ) ชื่อวิทาศาสตร์ของมะเฟือง คือ acerrhoa carambola L เป็น ผลไม้ สมุนไพรรูปทรงเหมือนดวงดาว รสเปรี้ยวอมหวาน เป็นพืชท้องถิ่นของอินโดนีเซีย อินเดีย ศรีลังกา ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไทย มาเลเซีย

มะเฟือง นิยมรับประทานผลเป็นอาหาร ซึ่งอาหารที่มีมะเฟือง เช่น น้ำมะเฟือง แหนมเนือง สลัดหมูย่าง เป็นต้น สรรพคุณของมะเฟือง บำรุงผิว ลดการเกิดสิว ช่วยขับปัสสาวะ แก้เครียด ช่วยให้นอนหลับ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้ร้อนใน บำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลีย ลดความร้อนในร่างกาย ป้องกันโรคโลหิตจาง รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน รักษานิ่ว

สายพันธ์มะเฟือง

สำหรับสายพันธุ์มะเฟืองที่พบในไทย มี 4 สายพันธ์ ได้แก่ สายพันธ์พื้นเมือง สายพันธ์กวางตุ้ง สายพันธ์ไต้หวัน และ สายพันธ์มาเลเซีย รายละเอียด ดังนี้

  • มะเฟืองสายพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะเด่น คือ รสเปรี้ยว มีทั้งลูกใหญ่และลูกเล็ก
  • มะเฟืองสายพันธุ์กวางตุ้ง ลักษณะเด่น คือ ผลสีขาว ขอบสีเขียว รสหวาน
  • มะเฟืองสายพันธุ์ไต้หวัน ลักษณะเด่น คือ ผลใหญ่ กลีบบาง ขอบบิด รสหวาน
  • มะเฟืองสายพันธุ์มาเลเซีย ลักษณะเด่น คือ ผลใหญ่ น้ำเยอะ หวานอมเปรี้ยว

ลักษณะของต้นมะเฟือง

ต้นมะเฟือง เป็นไม้ผล ไม้ผลยืนต้นขนาดกลาง ลักษณะเป็นทรงพุ่ม ซึ่งมีทั้งลักษณะตั้งตรง และกึ่งเลื้อย ความสูงไม่เกิน 10 เมตร ลำต้นเปราะ เป็นไม้เนื้ออ่อน แกนกลางมีไส้คล้ายฟองน้ำมีสีแดงอ่อน ใบของมะเฟืองคล้ายใบมะยม ใบประกอบสีเขียว ประกอบด้วยใบย่อย 5-11 ใบ ดอกเป็นสีม่วงขาว ดอกจะออกเป็นพวง ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง และตาข้างตามกิ่งและลำต้น มีดอกสีชมพูอ่อนไปจนถึงเกือบแดง ผลของมะเฟือง ผลมีก้นแหลมเป็นเหลี่ยมมีร่องลักษณะเป็นพูประมาณ 4-6 พู สีเขียว ผลสุกจะมีสีเหลือง รสชาติ เปรี้ยว อมหวาน

คุณค่าทางอาหารของมะเฟือง

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของผลมะเฟืองสุก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 31 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.73 กรัม น้ำตาล 3.98 กรัม กากใยอาหาร 2.8 กรัม ไขมัน 0.33 กรัม โปรตีน 1.04 กรัม ลูทีนและซีแซนทีน 66 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.014 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.016 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.367 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.391 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.017 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 12 ไมโครกรัม โคลีน 7.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 34.4 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.15 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 3 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.08 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.037 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 12 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 133 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.12 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะเฟือง

มะเฟือง สามารถนำมาใช้เป็นสรรพคุณทางสมุนไพร โดยการบริโภคผลของมะเฟือง ผลมะเฟืองสด สามารถบริโภคสดได้ เช่น เป็นเครื่องเคียง แหนมเนือง ในอาหารเวียดนาม การกินมะเฟืองสด ต่อเนื่องประมาณ 15 วัน จะช่วยให้ขับปัสสาวะสะดวก นอกตากนี้สามารถนมาทำเป็นน้ำมะเฟืองได้ ได้สรรพคุณทางยาครบ และรสชาติอร่อย

มะเฟือง นั้นมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลบริ้วรอยแผลเป็น มีประโยชน์ต่อผิวพรรณลดการเกิดสิว ลดจุดด่างดำ ทำให้ผิวใบหน้าขาวสดใสและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยการผ่าผลสุกและนำมาแตะทั่วใบหน้า ทิ้งไว้สักครู่จึงล้างออก

ข้อควรระวังในการรับประทานมะเฟือง

ในผลของมะเฟืองนั้นมีกรดออกซาลิกสูง ซึ่งกรดชนิดนี้ส่งผลต่อการทำงานของไต การรับสารออกซาลิกเข้าสู่ร่างกายเป็นจำนวนมาก จะเพิ่มโอกาสเป็นโรคนิ่ว หรือ ไตวายเฉียบพลัน สำหรับ คนที่อยู่ในภาวะขาดน้ำจากอาการท้องเสีย หากรับประทานมะเฟือง หรือดื่มน้ำมะเฟืองมากๆ จะเป็นอันตรายต่อไต ดังนั้น การรับประทานมะเฟืองต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม จึงจะทำให้ได้ประโยชน์สูงสุด

มะเฟือง คือ ไม้ผล สมุนไพร นิยมรับประทานผลมะเฟือง เป็นอาหาร ลักษณะของต้นมะเฟืองเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะเฟือง เช่น ช่วยขับปัสสาวะ ขับเสมหะ บำรุงร่างกาย โทษของมะเพือง มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรไทยน่ารู้

สมุนไพร หมายถึง พืช สัตว์หรือแร่ธาตุที่ใช้เป็นยารักษาโรคหรือเสริมสุขภาพ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพืชโดยใช้ส่วนต่างๆของพืช เช่น ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เป็นต้น นำมาแปรสภาพ เพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ทั้ง รับประทานสด การนำมาพอก การต้ม เป็นต้น
กัญชา สรรพคุณของกัญชา สมุนไพร น้ำมันกัญชา
กัญชา
ตะขบ สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตะขบ
ตะขบ
ลูกใต้ใบ สมุนไพร สรรพคุณของลูกใต้ใบ สมุนไพรรสขม
ลูกใต้ใบ
หญ้าหวาน สตีเวีย สมุนไพร สมุนไพรให้ความหวาน
หญ้าหวาน
โรคต่างๆและการรักษาโรค
โรค ( Disease ) หมายถึง ความผิดปรกติของระบบการทำงานของร่างกาย รวมถึงความผิดปกติของระบบอวัยวะและเนื้อเยื่อของร่างกาย ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคมีหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม การทำงานผิดปรกติของอวัยวะ เรามาทำความรู้จักกับโรคต่างๆ
แก้วหูทะลุ โรคหูคอจมูก การรักษาแก้วหูทะลุ โรคหู
แก้วหูทะลุ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ โรคพยาธิ โรคไม่ติดต่อ โรคติดเชื้อ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ
ข้อหลุด ข้อเคลื่อน โรคข้อและกระดูก ข้อหลุดรักษาอย่างไร
ข้อหลุด
เหงือกร่น รักษาเหงือกร่น โรคในช่องปาก โรคเหงือกและฟัน
เหงือกร่น