ไมยราบ ใบไมยราบจะหุบตัวได้หากโดนสัมผัส ลักษณะของต้นไมยราบเป็นอย่างไร สรรพคุณของไมยราบ เช่น ช่วยขับปัสสาวะ แก้ไอ ขับเสมหะ โทษของไมยราบ มีอะไรบ้าง

ไมยราบ สมุนไพร วัชพืืช สรรพคุณของไมยราบ

ไมยราบ เป็นพืชล้มลุกที่มีลักษณะพิเศษ คือ หากได้รับแรงสั่นสะเทือน ก้านและใบก็จะตอบสนองด้วยการหุบตัวลงอย่างรวดเร็ว และยังเป็นพืชที่จัดอยู่ในตระกูลและมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับผักกระเฉด

ต้นไมยราบ ( Sensitive plant ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของไมยราบ คือ Mimosa pudica L. พืชตระกูลถั่ว วัชพืช พืชคลุมดิน สมุนไพร  สรรพคุณของไมยราบ เช่น ขับปัสสาวะ รักษาโรคกระเพาะ รักษาลำไส้อักเสบ แก้เครียด ช่วยให้นอนหลับสบาย แก้ไอ ขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ช่วยย่อยอาหารในเด็ก รักษาโรคกระเพาะอาหาร แก้บิด ช่วยบรรเทาปวดประจำเดือน แก้คลื่นไส้ แก้อาเจียน รักษาริดสีดวงทวาร แก้ปวดข้อ ป้องกันและรักษาไตพิการรักษาโรคเริม รักษาโรคงูสวัด

ต้นไมยราบ มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกาใต้ ซึ่งประเทศไทยได้มีการนำเข้ามาโดย กรมทางหลวง ใช้ในการนำมาใช้คลุมหน้าดิน มักแผ่ทอดเลื้อยตามพื้นดิน บางครั้งจะสูงถึง 1 เมตร ต้นมีน้ำตาลแดง มีขนาดเล็ก และมีขนหยาบ ๆ ปกคลุมที่ลำต้น แกนก้านใบ ท้องใบ รวมไปถึงช่อดอก และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด

ลักษณะของต้นไมยราบ

ไมยราบ เป็น พืชล้มลุก พืชคลุมดิน ยาวประมาณ 1 เมตร มีขนหยาบปกคลุมที่ลำต้น ท้องใบ แกนก้านใบแลช่อดอก ใบของต้นไมยราบเป็นแบบแขนก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 4 เซ็นติเมตร มีดอกจำนวนมาก กลีบดอกรูประฆังแคบและมีขนแข็งตามขอบ

  • ใบไมยราบ จัดเป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น แกนกลางรวมกับก้านใบ มีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ส่วนใบย่อยมี 2 ใบ มีความยาวประมาณ 7 เซนติเมตร โดยใบย่อยจะมีอยู่ประมาณ 25 คู่ ลักษณะคล้ายรูปขอบขนานหรือคล้าย ๆ รูปเคียวยาวประมาณ 1 เซนติเมตร
  • ดอกไมยราบ ออกดอกเป็นช่อกลมสีชมพู เป็นดอกเดี่ยวหรือดอกคู่ ออกที่บริเวณซอกใบ ก้านดอกมีความยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ดอกมีจำนวนมาก ไร้ก้าน มีกลีบเลี้ยงขนาดเล็กมาก ประมาณ 0.1 มิลลิเมตร กลีบดอกจะคล้ายกับรูประฆังแคบ มีความยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร กลีบดอกจะมนกลม มีความยาวประมาณ 0.8 มิลลิเมตร มีเกสรตัวผู้อยู่ 4 อัน และมีรังไข่ยาวประมาณ 0.5 มิลลิกรัม
  • ผลไมยราบ มีลักษณะเป็นฝักแห้ง แบน ยาวเรียว ฝักมีหลายฝักในแต่ละช่อดอก ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ตรง และยาวประมาณ 1.8 เซนติเมตร มีขนแข็งปกคลุมตามสันขอบผล ส่วนเมล็ดมีสีน้ำตาลอ่อน เมล็ดแบนเป็นสันนูนตรงกลาง หนึ่งผลมีเมล็ดประมาณ 5 เมล็ด ผลหักตามรอยคอด

ต้นไมยราบ ชื่อสามัญ เรียก Sensitive plant มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mimosa pudica L. จัดเป็นพืชในตระกูลถั่ว จัดเป็นวัชพืช ที่มีประโยชน์ในด้านสมุนไพรมาก ไมยราบ ภาษาอังกฤษ เรียก Sensitive plant มีชื่ออื่นๆ เช่น หนามหญ้าราบ กะหงับ ก้านของ ระงับ หงับพระพาย หญ้าจิยอบ หญ้าปันยอด

สรรพคุณของไมยราบ

สรรพคุณของไมยราบ เราสามารถนำไมยราบมาใช้เป็นสมุนไพร ได้ทั้ง ส่วน ราก ลำต้นและใบ

  • รากของไมยราบ สามารนำมาใช้ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ช่วยย่อยอาหารในเด็ก รักษาโรคกระเพาะอาหาร แก้ลำไส้อักเสบ แก้บิด ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยบรรเทาปวดประจำเดือน แก้คลื่นไส้ แก้อาเจียน รักษาริดสีดวงทวาร ปวดข้อ
  • ลำต้นของไมยราบ เรานำมาใช้ ช่วยขับปัสสาวะ ป้องกันและรักษาไตพิการ แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ขับโลหิต
  • ใบของไมยราบ ใช้รักษาโรคเริม โรคงูสวัด
ข้อควรระวังในการใช้ไมยราบ
สำหรับการใช้ไมยราบ ต้องมีการระวังในการใช้ ต้องใช้ให้เหมาะสมกับและเลือกใช้อย่างถูกต้อง โดย คำแนะนำมีดังนี้
  • ไม่ควรรับประทานไมยรายต่อเนื่องเป็นเวลานาน เนื่องจากไมยราบมีฤทธิ์ต่อสมองส่วนกลาง
  • ห้ามรับประทานในสตรีมีครรภ์ และ สตรีหลังคลอดบุตร
  • ห้ามใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี

ต้นไมยราบ พืชล้มลุก ต้นสีน้ำตาลแดง แผ่ไปตามพื้น ชูยอดขึ้นข้างบน มีหนามขนาดสั้น ใบประกอบ ดอกเป็นช่อกลมสีชมพู ก้านดอกยาว ฝักยาวเรียวแบน มีขนเหนียวติดมือ เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน ไมยราบ ใบสามารถพับเข้าหากันด้านใน เมื่อถูกสัมผัส ในทางสมุนไพร ไมยราบ มีรสจืดเฝื่อน มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ระดูขาว แก้ไตพิการ ต้มกับน้ำกินแก้อ่อนเพลีย ตานขโมย โรคกระเพาะอาหาร ใช้ทาแก้ผื่นคันและหัด ใบสดตำผสมกับเกลือและพิมเสน ใช้พอกแผลพุพอง รากแห้ง ต้มน้ำแก้ปวดประจำเดือน ปวดศีรษะ

ไมยราบ วัชพืช พืชท้องถิ่น ใบไมยราบจะหุบตัว หากโดนสัมผัส ลักษณะของต้นไมยราบเป็นอย่างไร สรรพคุณของไมยราบ เช่น ช่วยขับปัสสาวะ แก้ไอ ขับเสมหะ โทษของไมยราบ มีอะไรบ้าง

มะลิ ดอกมะลิมีกลิ่นหอม นิยมนำดอกมะลิมาใช้ประโยชน์ ลักษณะของต้นมะลิเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะลิ เช่น ช่วยสมานแผล บำรุงหัวใจ แก้อักเสบ โทษของมะลิ มีอะไรบ้าง

มะลิ ดอกไม้ สมุยไพร สรรพคุณของมะลิ

ต้นมะลิ ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Jasminum  ชื่อเรียกอื่นๆ ของต้มมะลิ มีหลายชื่อ เช่น มะลิขี้ไก่ มะลิหลวง มะลิป้อม มะลิซ้อน มะลิมะลิลา เตียมูน ข้าวแตก บักหลี่ฮวย เซียวหน่ำเคี้ยง หม้อลี่ฮวา เป็นต้น ไม้พุ่ม มะลิมีประมาณ 200 ชนิด ถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน ดอกมะลิ มีกลิ่นหอม ไม้ประดับ เป็น สมุนไพรไทย พืชสมุนไพรไทย สรรพคุณของมะลิ เช่น ขับประจำเดือน ช่วยสมานแผล บำรุงหัวใจ รักษาหลอดลมอักเสบ แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้เครียด ช่วยให้นอนหลับ บำรุงสายตา

มะลิ เป็นพืชมีถิ่นกำเนิด ดั้งเดิมอยู่ในแถบประเทศเอเชีย เช่น อินเดีย คาบสมุทรอาระเบีย เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เป็นทรงพุ่ม ใบแน่น ความสูงประมาณ 5 ฟุต แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบ ๆ  คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นมะลิไว้ประจำบ้าน ซึ่งมะลิจะทำให้เกิดความรักความคิดถึงในครอบครัว เพราะ ดอกมะลิ เป็นดอกไม้ประจำวันแม่แห่งชาติ เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความรักของลูกที่มีต่อแม่ คนไทยนิยมใช้ดอกมะลิร้อยเป็นพวงมาลัยแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ คนไทยโบราณยังเชื่ออีกว่า บ้านใดปลูกต้นมะลิไว้ประจำบ้าน จะทำให้คนในบ้านมีความบริสุทธิ์ เพราะดอกมะลิมีสีขาวบริสุทธิ์ ขาวสะอาด ซึ่งดอกมะลิใช้เป็นเครื่องสักการะบูชาพระ

สรรพคุณของมะลิ

ต้นมะลิ เราสามารถนำมาใช้เป็นสมุนไพรได้อย่างไรบ้าง ซึ่งสามารถใช้ได้ทุกส่วน เช่น ดอกมะลิ ใบมะลิ และ รากของต้นมะลิ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ดอกมะลิ สามารถนำมาทำเป็นน้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิ(jasmine oil) ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย ลดความตึงเครียด บรรเทาอาการปวดหัว น้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลินำมาใช้เป็นวัตถุดิบทำเครื่องสำอางค์ ข้อควรระวังในการใช้น้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิ สามารถใช้ทาภายนอกเท่านั้น ห้ามรับประทาน หรือใส่ในอาหาร หรือ ขนม จะเป็นอันตรายมากในสตรีมีครรถ์
  • ดอกมะลิกับการทำอาหาร สามารถนำดอกมะลิมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร และ ขนมไทย เพื่อเพิ่มความหอมของอาหารและขนมไทย เช่น ซ่าหริ่ม ทับทิมกรอบ ลอดช่องน้ำกะทิ
  • ดอกมะลิแก่ นำมาเป็นส่วนผสมของยาหอม สรรพคุณ แก้หืดหอบและบำรุงหัวใจ
  • ใบของต้นมะลิ สามารถนำมาทำยา แก้อาการไข้ พอกแก้ฟกชำ ปวดท้อง แน่นท้อง ท้องเสีย แผลเรื้อรัง บำรุงสายตา ช่วยขับถ่าย โรคผิวหนัง
  • รากของต้นมะลิ สามารถนำมาทำเป็นยา แก้ร้อนใน ขับประจำเดือน เสียดท้อง รักษาหลอดลมอักเสบ แก้ปวดเคล็ดขัดยอก

ต้นมะลิ ภาษาอังกฤษ เรียก Arabian jasmine ในหลายท้องที่ในประเทศไทย เรียก ต้นมะลิว่า ข้าวแตก เตียงมุน มะลิป้อม มะลิหลวง แต่ชื่อเหล่านี้ก็คือ ต้นมะลิแต่แตกต่างกันออกไปตามท้องถิ่น ต้นมะลิ เป็นพืช ที่มีต้นกำเนิดในประเทศอินเดีย เป็นไม้พุ่ม ความสูงไม่เกิน 200 เซ็นติเมตร กลีบดอกเป็นสีขาว มีกลิ่นหอม ต้นมะลิมีมากมายรวม 200 สายพันธ์

โทษของมะลิ

ต้นมะลิมีกลิ่นหอม ซึ่งมาจากน้ำมันหอมระเหยที่ออกมาจากดอกของมะลิ การนำเอามะลิมาใช้ประโยชน์นั้น ต้องใช้ในปริมาณที่พอดี จึงจะเกิดประโยชน์ โดยรายละเอียดของการข้อควรระวังการใช้ต้นมะลิมีดังนี้

  • รากของมะลิ หากรับประทานมาก ๆ อาจทำให้สลบได้
  • ดอกมะลิ นำมาใช้แต่งกลิ่น แต่ไม่ควรนำมารับประทานเป็นประจำ เพราะอาจส่งผลต่อระบบประสาทและสมองได้
  • ดอกมะลิ มีฤทธิ์เป็นยาหอมเย็น แต่อย่าใช้มากเกินไป เพราะ อาจเกิดภาวะจุกเสียดแน่นท้องได้
  • การดื่มน้ำลอยดอกมะลิ นั้นในปัจจุบันการปลูกต้นมะลิเพื่อการค้าอาจมีสารเคมีปนเปื้อนได้ต้องล้างให้สะอาด แต่หากเป็นมะลิที่เชื่อได้ว่าไม่มีสารตกค้างหรือสารเคมี ก็สามารถนำมารับประทานได้

มะลิ คือ พืชท้องถิ่น ดอกมะลิ มีกลิ่นหอม นิยมนำดอกมะลิมาใช้ประโยชน์ ลักษณะของต้นมะลิเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะลิ เช่น ช่วยสมานแผล บำรุงหัวใจ แก้อักเสบ โทษของมะลิ มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรไทยน่ารู้

สมุนไพร หมายถึง พืช สัตว์หรือแร่ธาตุที่ใช้เป็นยารักษาโรคหรือเสริมสุขภาพ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพืชโดยใช้ส่วนต่างๆของพืช เช่น ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เป็นต้น นำมาแปรสภาพ เพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ทั้ง รับประทานสด การนำมาพอก การต้ม เป็นต้น
กัญชา สรรพคุณของกัญชา สมุนไพร น้ำมันกัญชา
กัญชา
ตะขบ สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตะขบ
ตะขบ
ลูกใต้ใบ สมุนไพร สรรพคุณของลูกใต้ใบ สมุนไพรรสขม
ลูกใต้ใบ
หญ้าหวาน สตีเวีย สมุนไพร สมุนไพรให้ความหวาน
หญ้าหวาน
โรคต่างๆและการรักษาโรค
โรค ( Disease ) หมายถึง ความผิดปรกติของระบบการทำงานของร่างกาย รวมถึงความผิดปกติของระบบอวัยวะและเนื้อเยื่อของร่างกาย ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคมีหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม การทำงานผิดปรกติของอวัยวะ เรามาทำความรู้จักกับโรคต่างๆ
แก้วหูทะลุ โรคหูคอจมูก การรักษาแก้วหูทะลุ โรคหู
แก้วหูทะลุ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ โรคพยาธิ โรคไม่ติดต่อ โรคติดเชื้อ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ
ข้อหลุด ข้อเคลื่อน โรคข้อและกระดูก ข้อหลุดรักษาอย่างไร
ข้อหลุด
เหงือกร่น รักษาเหงือกร่น โรคในช่องปาก โรคเหงือกและฟัน
เหงือกร่น