กระชาย หรือ ขิงจีน Finger root สมุนไพร ฉายา โสมไทย สรรพคุณช่วยขับลม บำรุงหัวใจ ปรับสมดุลย์ฮอร์โมนร่างกาย บำรุงกำลัง ช่วยเจริญอาหาร ทำความรู้จักกระชาย

กระชาย ขิงจีน โสมไทย สมุนไพร

กระชาย ภาษาอังกฤษ เรียก Fingerroot ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระชาย คือ  Boesecnergia pandurata ( Roxb. ) Schltr. ส่วนชื่อเรียกอื่นๆของกระชาย เช่น ว่านพระอาทิตย์ กระแอน ระแอน ขิงทราย จี๊ปู ซีฟู เป๊าะสี่ เป๊าซอเร้าะ เป็นต้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระชาย พบว่ามีสารอาหารสำคัญต่างๆ เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และวิตามินหลายชนิด มีสรรพคุณยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ดี

กระชาย เป็นส่วนประกอบของยาสมุนไพรหลายตำรับ วงการแพทย์แผนไทยให้ฉายาว่าเป็น โสมไทย ลักษณะเด่นของกระชาย คือ เป็นพืชที่สะสมอาหารที่เหง้าอยู่ใต้ดิน กระชายมีลักษณะคล้ายกับรูปร่างมนุษย์เหมือนกับโสมเกาหลี

ชนิดของกระชาย

กระชายที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย มี 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และ กระชายเหลือง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • กระชายดำ ลักษณะเด่น คือ เนื้อกระชายมีสีดำ รสชาติเผ็ดร้อน
  • กระชายแดง ลักษณะเด่นเนื้อกระชายสีเหลืองแกมส้ม คล้ายกับกระชายเหลือง
  • กระชายเหลือง ลักษณะเด่นเนื้อกระชายเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว นิยมนำมาประกอบอาหาร

ลักษณะของต้นกระชาย

ต้นกระชาย เป็นพืชล้มลุก มีความสูงประมาณ 1 เมตร ใบมีกลิ่นหอม สามารถขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ ชอบดินที่ร่วนซุย การระบายน้ำได้ดี หรือ ดินเหนียว ลักษณะของต้นกระชาย มีดังนี้

  • เหง้ากระชาย ลักษณะมีเหง้าสั้นๆ เป็นหน่อรูปทรงกระบอกค่อนข้างยาว ผิวมีสีน้ำตาลอ่อน ส่วนเนื้อในมีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
  • ใบกระชาย ลักษณะเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบเป็นรูปรี โคนใบมนหรือแหลม ปลายใบเรียวแหลม มีขอบเรียบ  ก้านใบยาว ใบเป็นสีเขียว
  • ดอกกระชาย ลักษณะดอกเป็นช่อ มีสีขาวหรือสีขาวอมชมพู กลีบดอกเป็นรูปใบหอก
  • ผลกระชาย ผลกระชาย ผลแก่จะแตกเป็น 3 เสี่ยง มีเมล็ดค่อนข้างใหญ่

สรรพคุณของกระชาย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระชายด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก เหง้า และ ใบ ของกระชย โดยสรรพคุณของกระชาย มีดังนี้

  • เหง้าของกระชาย สรรพคุณแก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด แก้บิด แก้โรคกระเพาะ ช่วยขับปัสสาวะ ใช้รักษาริดสีดวงทวาร รักษาแผลในปาก แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหารและแก้โรคในช่องปาก
  • ใบของกระชาย สรรพคุณบำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ แก้โลหิตเป็นพิษ ถอนพิษต่างๆได้

โทษของกระชาย

การใช้ประโยชน์จากกระชายมีข้อควรระวัง เพื่อความปลอดภัย จำเป็นต้องใช้อย่างถูกวิธีและใช้ในปริมาณที่เหมาะสม โทษของกระชายมีรายละเอียด ดังนี้

  • กระชายมีฤทธิ์ร้อน ไม่ควรกินกระชายจำนวนมาก อาจทำให้เกิดแผลร้อนในที่ปากได้
  • ผู้ป่วยเกี่ยวกับตับ ไม่ควรกินกระชายในประมาณมาก กระชายมีผลต่อการทำงานของตับ

กระชาย หรือ ขิงจีน ( Fingerroot ) ฉายา โสมไทย สรรพคุณหลากหลาย เช่น ช่วยขับลม บำรุงหัวใจ เพิ่มสมรถภาพทางเพศ ปรับสมดุลย์ฮอร์โมนร่างกาย บำรุงกำลัง ช่วยให้เจริญอาหาร

ต้นโสน สมุนไพร พืชท้องถิ่น มีประโยชน์ในการรักษาโรค เช่น แก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ รักษาแผล ลดไข้ แก้ปวดท้อง แก้พิษแมลงกัดต่อย สรรพคุณต้นโสน ดอกโสนเป็นอย่างไรโสน ดอกโสน สมุนไพร สมุนไพรไทย

ดอกโสน เป็น ดอกไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โสน อ่านออกเสียงว่า สะ-โหน ภาษาอังกฤษ เรียก Sesbania มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sesbania javanica Miq สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของโสน เช่น ผักฮองแฮง โสนกินดอก โสนหิน โสนดอกเหลือง สี่ปรีหลา เป็นต้น จัดเป็นพืชท้องถิ่นมีสรรพคุณด้านการรักษาโรค เช่น ช่วยแก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ รักษาแผล ลดไข้ แก้ปวดท้อง แก้พิษจากแมลงกัดต่อย

ต้นโสน มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชียจากอินเดียไปทางตะวันออกจนถึงประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ รวมถึงประเทศไทย เป็นไม้เนื้ออ่อน เติบโตได้ในบริเวณที่มีน้ำขังในดินแถบภาคกลางและดินเหนียว ต้นโสยมักพบตามพื้นที่ที่มีน้ำขัง แถบลุ่มน้ำ ริมทาง ริมหนองน้ำ คลองบึง

สายพันธุ์โสนในประเทศไทย

ต้นโสน จากการศึกษาสายพันธ์ต้นโสนในประเทศไทย พบว่ามี 4 สายพันธ์ ประกอบด้วย โสนแอฟริกัน โสนอินเดีย โสนหิน และ โสนคางคก ซึ่งรายละเอียดของสายพันธ์โสนแต่ละสายพันธ์ มีดังนี้

  • โสนอินเดีย ลักษณะรากมีปม ลำต้นสูง 2-3 เมตร ดอกมีสีเหลือง สามารถออกดอกเมื่อต้นมีอายุประมาณ 90 วัน มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย
  • โสนแอฟริกัน มีลักษณะเด่นของโสนแอฟริกัน คือ รากมีปม ลำต้นสูง เป็นต้นโสนที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา กรมพัฒนาที่ดินนำเมล็ดเข้ามากปลูกครั้งแรก โดย ดร. สมศรี อรุณินท์ เมื่อปี พ.ศ. 2526
  • โสนคางคก นิยมใช้ประโยชน์จากไม้โสน ไม้โสนนำมาประดิษฐ์เป็นดอกไม้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นวัสดุจากธรรมชาติที่สามารถสร้างรายได้เสริมกับชาวบ้านในท้องถิ่น
  • โสนหิน หรือ โสนกินดอก นิยมใช้ยอดอ่อน และดอกมาประกอบอาหารมากกว่าโสนทุกชนิด ลำต้นสูงประมาณ 4 เมตร

ประโยชน์ของต้นโสน

ต้นโสนมีการนำมาใช้ประโยชน์หลากหลาย โดยมานิยมนำดอกโสนมารับประทานเป็นอาหาร ซึ่งอาหารเมนูดอกโสน ที่นิยมทำกินกัน เช่น ดอกโสนผัด ดอกโสนผัดน้ำมันหอย ดอกโสนผัดไข่ ไข่เจียวดอกโสน ดอกโสนชุบแป้งทอด ยำดอกโสน ข้าวเหนียวดอกโสน เป็นต้น สีเหลืองของดอกโสนนำมาทำสีผสมอาหาร ใช้ในการแต่งสีอาหารให้สีเหลือง ส่วนเนื้อไม้ นำมาทำเป็นของใช้ต่างๆ เช่น ของเล่นเด็ก ดอกไม้ประดิษฐ์ รวมถึงนำมาทำเป็นเชื้อเพลิง

ปัจจุบันใบและดอกโสน สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพื่อสุขภาพ เช่น ชาดอกโสน และ ชาจากยอดใบโสน  เป็นชาที่มีกลิ่นหอมอ่อนๆ รสชาติอ่อนนุ่ม

ลักษณะของต้นโสน

ต้นโสน เป็นไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก มีอายุประมาณ 1 ปี โสน เป็น พืชชายน้ำที่ชอบเติบโตบริเวณพื้นที่ชุ่ม สามารถพบทั่วไปในประเทศไทย มักพบริมแม่น้ำลำคลอง ริมอ่างเก็บน้ำ บ่อน้ำ และ พื้นที่ที่มีความชื้น สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นโสน มีดังนี้

  • ลำต้นโสน ความสูงประมาณ 1 เมตร เปลือกลำต้นเรียบ เนื้อไม้อ่อนและกลวง
  • ใบโสน ลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับบนลำต้น ใบเป็นรูปรี ปลายใบมน โคนใบมน ขอบใบเรียบ ใบเป็นสีเขียว ก้านใบมีหนามแหลม
  • ดอกโสน ลักษณะดอกเป็นช่อกระจุก ออกดอกตามซอกใบ ซอกกิ่ง และปลายกิ่ง ดอกเป็นสีเหลือง ดอกโสนจะออกดอกในช่วงปลายฤดูฝน ประมาณเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคมของทุกปี
  • ผลโสน ลักษณะเป็นฝักยาว ฝักอ่อนเป็นสีเขียว ฝักแก้เป็นสีม่วงและสีน้ำตาล ภายในมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก เมล็ดเป็นรูปทรงกลม สีน้ำตาลเป็นมันเงา

คุณค่าทางโภชนาการของโสน

สำหรับการรับประทานโสนเป็นอาหาร นิยมรับประทานดอกโสนเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของดอกโสน ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย ไขมัน 0.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 5.9 กรัม โปรตีน 2.5 กรัม กากใยอาหาร 2.2 กรัม ความชื้น 87.7 กรัม วิตามินเอ 3,338 หน่วยสากล วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.26 มิลลิกรัม วิตามินซี 51 มิลลิกรัม แคลเซียม 62 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.1 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม

ดอกโสน มีสารเควอเซทิน ไกลโคไซด์ ( Quercetin 3-2 (G)-rhamnosylrutinoside ) เป็นสารฟลาโวนอยด์ มีฤทธิ์หยุดยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ลดอาการอักเสบ

สรรพคุณของโสน

สำหรับการนำโสนมาใช้ประประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากดอก ราก ลำต้น ใบ ซึ่งสรรพคุณของโสน มีดังนี้

  • ดอกโสน สรรพคุณแก้พิษร้อน ลดไข้ เป็นยาสมานลำไส้ แก้อาการปวด ถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  • รากโสน สรรพคุณแก้ร้อน
  • ลำต้นโสน สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ
  • ใบของโสน สรรพคุณรักษาแผล รักษาแผลฝี

โทษของโสน

ดอกโสนนิยมนำมาทำอาหารรับประทาน ซึ่งดอกโสนมีสรรพคุณแก้พิษร้อน ลดไข้ เป็นยาสมานลำไส้ แก้อาการปวด ถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย การนำดอกโสนมารับประทานควรทำความสะอาด ไม่ให้มีสิ่งเจือปน

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรไทยน่ารู้

สมุนไพร หมายถึง พืช สัตว์หรือแร่ธาตุที่ใช้เป็นยารักษาโรคหรือเสริมสุขภาพ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพืชโดยใช้ส่วนต่างๆของพืช เช่น ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เป็นต้น นำมาแปรสภาพ เพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ทั้ง รับประทานสด การนำมาพอก การต้ม เป็นต้น
กัญชา สรรพคุณของกัญชา สมุนไพร น้ำมันกัญชา
กัญชา
ตะขบ สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตะขบ
ตะขบ
ลูกใต้ใบ สมุนไพร สรรพคุณของลูกใต้ใบ สมุนไพรรสขม
ลูกใต้ใบ
หญ้าหวาน สตีเวีย สมุนไพร สมุนไพรให้ความหวาน
หญ้าหวาน
โรคต่างๆและการรักษาโรค
โรค ( Disease ) หมายถึง ความผิดปรกติของระบบการทำงานของร่างกาย รวมถึงความผิดปกติของระบบอวัยวะและเนื้อเยื่อของร่างกาย ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคมีหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม การทำงานผิดปรกติของอวัยวะ เรามาทำความรู้จักกับโรคต่างๆ
แก้วหูทะลุ โรคหูคอจมูก การรักษาแก้วหูทะลุ โรคหู
แก้วหูทะลุ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ โรคพยาธิ โรคไม่ติดต่อ โรคติดเชื้อ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ
ข้อหลุด ข้อเคลื่อน โรคข้อและกระดูก ข้อหลุดรักษาอย่างไร
ข้อหลุด
เหงือกร่น รักษาเหงือกร่น โรคในช่องปาก โรคเหงือกและฟัน
เหงือกร่น