ตำลึง นิยมปลูกริมรั้วบ้าน สรรพคุณของตำลึง ช่วยแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงสายตา รักษาแมงสัตว์กัดต่อย ลดน้ำตาลในเลือด ใช้รักษาแผล โทษของตำลึงเป็นอย่างไร

ตำลึง สมุนไพร ผักพื้นบ้าน

ต้นตำลึง ภาษาอังกฤษ เรียก Lvy Gourd, Coccinia ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของตำลึง คือ Cocconia grandis (L.) Voigt สำหรับชื่อเรียกอื่นๆ ของผักตำลึง เช่น ผักแคบ แคเด๊าะ สี่บาท ผักตำนิน เป็นต้น สังคมไทยรู้จักผักตำลึงเป็นอย่างดี ผักตำลึงนิยมนำมาทำอาหารรับประทาน ทานเป็นผักสด หรือ นำมาผัด มาต้มกิน ผักตำลึงมีสารเอนไซม์อะไมเลส สรรพคุณช่วยย่อยแป้ง และมีบีตาแคโรทีน ช่วยซ่อมแซมส่วนของร่างกายที่สึกหรอ

ประโยชน์ของตำลึง  สามารถนำมารับประทานและยังนำมาเป็นส่วนประกอบของเครื่องประทินผิวและยารักษาโรคในการแพทย์แผนโบราณ เช่น นำเถาและใบมาตำผสมกับปูนแดงใช้ทาบริเวณรักแร้ ช่วยระงับกลิ่นกาย ยอดตำลึงนำมาผสมน้ำผึ้ง นำมาพอกหน้าช่วยให้ผิวพรรณเต่งตึง เป็นต้น สำหรับอาหารไทย นิยมใช้ยอดและใบตำลึงกินเป็นผักสด และใช้ประกอบอาหารได้หลายเมนู เช่น  แกงจืด ต้มเลือดหมู แกงเลียง ก๋วยเตี๋ยว ผัดไฟแดง ไข่เจียว เป็นต้น

ลักษณะของต้นตำลึง

ต้นตำลึง เป็นพืชล้มลุก ไม้เลื้อยซึ่งลำต้นจะเลื้อยเกาะตามหลัก เช่น แนวรั้วบ้าน ต้นไม้ สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นตำลึง มีดังนี้

  • ต้นตำลึง เป็นไม้เถาเลื้อยขึ้นตามหลักเสา ตามรั้วบ้านหรือพันต้นไม้อื่น อายุยืนยาวหลายปี มีมือเกาะยึดออกตรงข้ามใบ ลำต้นเล็กยาว เมื่ออายุมากลำต้นหรือเถาจะใหญ่และแข็งแรงมากขึ้น
  • ใบตำลึง เป็นใบเดี่ยว สีเขียว รูปสามเหลี่ยม กว้าง 5 ซม. ยาว 6-7 ซม. สลับข้างกัน ตำลึงตัวผู้ใบหยักเว้าลึก 3-5 หยัก ต่างจากใบของต้นตำลึงตัวเมียที่เป็นรูปสามเหลี่ยม อยู่แยกต้นออกจากกัน
  • ดอกตำลึง สีขาวปลายกลีบ 5 แฉก ข้างในมีเกสรสีเหลืองอ่อน มองคล้ายรูประฆัง
  • ผลตำลึง เป็นรูปไข่คล้ายผลแตงกวาแต่เล็กกว่ามาก กว้าง 1 -2 ซม. ยาว 3-4 ซม. เมื่ออ่อนจะมีสีเขียวมีลายขาว ผลสุกเต็มที่สีแดงสด ภายในมีเมล็ดมากมาย ส่วนตำลึงตัวผู้มีแต่ดอกแต่ไม่มีผล

คุณค่าทางโภชนาการของตำลึง

สำหรับการบริโภคตำลึงเป็นอาหารนิยมรับประทานใบและยอดอ่อนตำลึงเป็นอาหาร นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของตำลึงขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 35 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน กากใยอาหาร 1 กรัม เบตาแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม  ธาตุฟอสฟอรัส และ ธาตุเหล็ก

สรรพคุณของตำลึง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากตำลึงด้านการบำรุงร้างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ใบ ดอก เมล็ด ราก ลำต้น ซึ่งสรรพคุณของตำลึง มีดังนี้

  • รากของตำลึง สรรพคุณลดไข้ แก้อาเจียน ลดความอ้วน แก้ฝี แก้ปวดบวม แก้พิษร้อนใน แก้พิษแมลงป่องหรือตะขาบข่อย
  • ลำต้นของตำลึงสรรพคุณแก้อาการวิงเวียนศรีษะ  รักษาโรคผิวหนัง ลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ใบของตำลึง สรรพคุณลดวามร้อนในร่างกาย รักษาโรคผิวหนัง แก้ผื่นคันจากหมามุ้ย แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้แมลงสัตว์กัดต่อย แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้จุกเฉียด
  • ดอกของตำลึง สรรพคุณรักษาอาการคันผิวหนัง
  • เมล็ดของตำลึง สรรพคุณใช้รักษาหิด

โทษของตำลึง

การรับประทานตึลึงหรือใช้ในการรักษาโรคต่างๆ ไม่พบอันตรายจากการใช้ประโยชน์จากตำลึงในด้านต่างๆ แต่ตำลึงมีฤทธิ์เป็นยาเย็น ลดความร้อนในร่างกาย สำหรับคนที่มีภาวะตัวเย็นอยู่แล้วหากรับประทานตำลึงมากเกินไปอาจทำให้ตัวเย็น เกินอาการชา

ดอกมะลิมีกลิ่นหอม เป็นไม้มงคล ดอกไม้ประจำวันแม่ ดอกมะลิใช้แต่งกลิ่นอาหาร ทำขนม เพิ่มความหอม สรรพคุณของมะลิ ช่วยสมานแผล บำรุงหัวใจ แก้อักเสบ โทษของมะลิมีอะไรบ้าง

มะลิ ดอกมะลิ สมุนไพร ดอกไม้

ต้นมะลิ ภาษาอังกฤษ เรียก jasmine ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะลิ คือ Jasminum  สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของต้มมะลิ เช่น มะลิขี้ไก่ มะลิหลวง มะลิป้อม มะลิซ้อน มะลิมะลิลา เตียมูน ข้าวแตก บักหลี่ฮวย เซียวหน่ำเคี้ยง หม้อลี่ฮวา เป็นต้น สำหรับมะลิ เป็นพืชมีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปเอเชีย เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ดอกมะลิ เป็นดอกไม้ประจำวันแม่แห่งชาติ มะลิ เป็นไม้มงคล เชื่อกันว่าการปลูกมะลิในบริเวณบ้านจะทำให้มีความสงบสุข คนในบ้านจะมีแต่ความบริสุทธิ์ เอื้ออาทรต่อกัน มีแต่ความรักความคิดถึงให้แก่กัน เกื้อหนุนให้มีความกตัญญูต่อบุพการีและผู้มีพระคุณด้วย 

ดอกมะลิมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว นิยมนำมาร้อยมาลัยหรือสกัดทำน้ำมันหอมระเหย แต่มะลิยังมีสรรพคุณด้านการรักษาโรคสรรพคุณของมะลิ เช่น ขับประจำเดือน ช่วยสมานแผล บำรุงหัวใจ รักษาหลอดลมอักเสบ แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้เครียด ช่วยให้นอนหลับ บำรุงสายตา

มะลิในประเทศไทย

สำหรับต้นมะลิในประเทศไทย เป็นพืชที่อยู่คู่สังคมมาช้านาน ดอกมะลิ นำมาใช้ประโยชน์หลากหลายทั้งในวัฒรธรรม ประเพณี และ ในอาหาร ดอกมะลิ เป็นพืชเศรษฐกิจ นิยมนำมาร้อยพวงมาลัยบุชาพระ พวงมาลัยแสดงถึงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ นอกจากนี้ ต้นมะลิยังเป็น ไม้มงคล คนไทยโบราณยังเชื่ออีกว่า บ้านใดปลูกต้นมะลิไว้ประจำบ้าน จะทำให้คนในบ้านมีความบริสุทธิ์

ลักษณะของต้นมะลิ

ต้นมะลิ เป็นไม้พุ่มมีทั้งชนิดไม้ผลัดใบและไม้ไม่ผลัดใบ สามารถขยายพันธ์โดยการตอนกิ่ง ลักษณะของต้นมะลิ มีดังนี้

  • ลำต้นมะลิ ลักษณะลำต้นตั้งตรงหรือกางออก เป็นไม้พุ่มและไม้เถา แตกกิ่งก้านสาขามากมาย
  • ใบะลิ เป็นใบเดี่ยว ใบเรียงใบแบบตรงข้ามหรือเรียงใบแบบสลับ ใบสีเขียว ผิวใบเรียบเป็นมัน
  • ดอกมะลิ ดอกมีสีขาว ออกดอกแบบช่อกระจุก หนึ่งกระจุกมีอย่างน้อยสามดอก ดอกมีกลิ่นหอม

สรรพคุณของมะลิ

ต้นมะลิ เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคและบำรุงร่างกาย ซึ่งสามารถใช้ได้ทุกส่วน เช่น ดอกมะลิ ใบมะลิ และ รากของต้นมะลิ โดย สรรพคุณของมะลิ มีรายละเอียด ดังนี้

  • น้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิ ( jasmine oil ) สรรพคุณทำให้ความรู้สึกผ่อนคลาย ลดความตึงเครียด บรรเทาอาการปวดหัว นำมาใช้เป็นวัตถุดิบทำเครื่องสำอางค์
  • รากมะลิ สรรพคุณแก้ร้อนใน ขับประจำเดือน แก้เสียดท้อง รักษาหลอดลมอักเสบ แก้ปวดเคล็ดขัดยอก
  • ใบมะลิ สรรพคุณแก้ไข้ รักษาแผลฟกชำ แก้ปวดท้อง แก้แน่นท้อง รักษาอาการท้องเสีย รักษาแผลเรื้อรัง บำรุงสายตา ช่วยขับถ่าย โรคผิวหนัง
  • ดอกมะลิ สรรพคุณช่วยผ่อนคลาย ลดความเครียด แก้ปวดหัว แก้หืดหอบ บำรุงหัวใจ

โทษของมะลิ

ต้นมะลิมีกลิ่นหอม ซึ่งมาจากน้ำมันหอมระเหยที่ออกมาจากดอกของมะลิ การนำเอามะลิมาใช้ประโยชน์นั้น ต้องใช้ในปริมาณที่พอดี จึงจะเกิดประโยชน์ โดยรายละเอียดของการข้อควรระวังการใช้ต้นมะลิมีดังนี้

  • รากของมะลิ หากรับประทานมาก ๆ อาจทำให้สลบได้
  • ดอกมะลิ นำมาใช้แต่งกลิ่น แต่ไม่ควรนำมารับประทานเป็นประจำ เพราะอาจส่งผลต่อระบบประสาทและสมองได้
  • ดอกมะลิ มีฤทธิ์เป็นยาหอมเย็น แต่อย่าใช้มากเกินไป เพราะ อาจเกิดภาวะจุกเสียดแน่นท้องได้
  • การดื่มน้ำลอยดอกมะลิ นั้นในปัจจุบันการปลูกต้นมะลิเพื่อการค้าอาจมีสารเคมีปนเปื้อนได้ต้องล้างให้สะอาด แต่หากเป็นมะลิที่เชื่อได้ว่าไม่มีสารตกค้างหรือสารเคมี ก็สามารถนำมารับประทานได้
  • น้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิ สามารถใช้ทาภายนอกเท่านั้น ห้ามรับประทาน หรือใส่ในอาหาร หรือ ขนม จะเป็นอันตรายมากในสตรีมีครรถ์

ดอกมะลิ มีกลิ่นหอม เป็นไม้มงคล ดอกไม้ประจำวันแม่ นิยมนำดอกมะลิใช้แต่งกลิ่นอาหาร ทำขนมไทย เพิ่มความหอม สรรพคุณของมะลิ เช่น ช่วยสมานแผล บำรุงหัวใจ แก้อักเสบ โทษของมะลิ มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรไทยน่ารู้

สมุนไพร หมายถึง พืช สัตว์หรือแร่ธาตุที่ใช้เป็นยารักษาโรคหรือเสริมสุขภาพ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพืชโดยใช้ส่วนต่างๆของพืช เช่น ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เป็นต้น นำมาแปรสภาพ เพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ทั้ง รับประทานสด การนำมาพอก การต้ม เป็นต้น
กัญชา สรรพคุณของกัญชา สมุนไพร น้ำมันกัญชา
กัญชา
ตะขบ สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตะขบ
ตะขบ
ลูกใต้ใบ สมุนไพร สรรพคุณของลูกใต้ใบ สมุนไพรรสขม
ลูกใต้ใบ
หญ้าหวาน สตีเวีย สมุนไพร สมุนไพรให้ความหวาน
หญ้าหวาน
โรคต่างๆและการรักษาโรค
โรค ( Disease ) หมายถึง ความผิดปรกติของระบบการทำงานของร่างกาย รวมถึงความผิดปกติของระบบอวัยวะและเนื้อเยื่อของร่างกาย ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคมีหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม การทำงานผิดปรกติของอวัยวะ เรามาทำความรู้จักกับโรคต่างๆ
แก้วหูทะลุ โรคหูคอจมูก การรักษาแก้วหูทะลุ โรคหู
แก้วหูทะลุ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ โรคพยาธิ โรคไม่ติดต่อ โรคติดเชื้อ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ
ข้อหลุด ข้อเคลื่อน โรคข้อและกระดูก ข้อหลุดรักษาอย่างไร
ข้อหลุด
เหงือกร่น รักษาเหงือกร่น โรคในช่องปาก โรคเหงือกและฟัน
เหงือกร่น