มะลิ ดอกมะลิมีกลิ่นหอม นิยมนำดอกมะลิมาใช้ประโยชน์ ลักษณะของต้นมะลิเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะลิ เช่น ช่วยสมานแผล บำรุงหัวใจ แก้อักเสบ โทษของมะลิ มีอะไรบ้าง

มะลิ ดอกไม้ สมุยไพร สรรพคุณของมะลิ

ต้นมะลิ ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Jasminum  ชื่อเรียกอื่นๆ ของต้มมะลิ มีหลายชื่อ เช่น มะลิขี้ไก่ มะลิหลวง มะลิป้อม มะลิซ้อน มะลิมะลิลา เตียมูน ข้าวแตก บักหลี่ฮวย เซียวหน่ำเคี้ยง หม้อลี่ฮวา เป็นต้น ไม้พุ่ม มะลิมีประมาณ 200 ชนิด ถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน ดอกมะลิ มีกลิ่นหอม ไม้ประดับ เป็น สมุนไพรไทย พืชสมุนไพรไทย สรรพคุณของมะลิ เช่น ขับประจำเดือน ช่วยสมานแผล บำรุงหัวใจ รักษาหลอดลมอักเสบ แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้เครียด ช่วยให้นอนหลับ บำรุงสายตา

มะลิ เป็นพืชมีถิ่นกำเนิด ดั้งเดิมอยู่ในแถบประเทศเอเชีย เช่น อินเดีย คาบสมุทรอาระเบีย เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เป็นทรงพุ่ม ใบแน่น ความสูงประมาณ 5 ฟุต แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบ ๆ  คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นมะลิไว้ประจำบ้าน ซึ่งมะลิจะทำให้เกิดความรักความคิดถึงในครอบครัว เพราะ ดอกมะลิ เป็นดอกไม้ประจำวันแม่แห่งชาติ เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความรักของลูกที่มีต่อแม่ คนไทยนิยมใช้ดอกมะลิร้อยเป็นพวงมาลัยแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ คนไทยโบราณยังเชื่ออีกว่า บ้านใดปลูกต้นมะลิไว้ประจำบ้าน จะทำให้คนในบ้านมีความบริสุทธิ์ เพราะดอกมะลิมีสีขาวบริสุทธิ์ ขาวสะอาด ซึ่งดอกมะลิใช้เป็นเครื่องสักการะบูชาพระ

สรรพคุณของมะลิ

ต้นมะลิ เราสามารถนำมาใช้เป็นสมุนไพรได้อย่างไรบ้าง ซึ่งสามารถใช้ได้ทุกส่วน เช่น ดอกมะลิ ใบมะลิ และ รากของต้นมะลิ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ดอกมะลิ สามารถนำมาทำเป็นน้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิ(jasmine oil) ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย ลดความตึงเครียด บรรเทาอาการปวดหัว น้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลินำมาใช้เป็นวัตถุดิบทำเครื่องสำอางค์ ข้อควรระวังในการใช้น้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิ สามารถใช้ทาภายนอกเท่านั้น ห้ามรับประทาน หรือใส่ในอาหาร หรือ ขนม จะเป็นอันตรายมากในสตรีมีครรถ์
  • ดอกมะลิกับการทำอาหาร สามารถนำดอกมะลิมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร และ ขนมไทย เพื่อเพิ่มความหอมของอาหารและขนมไทย เช่น ซ่าหริ่ม ทับทิมกรอบ ลอดช่องน้ำกะทิ
  • ดอกมะลิแก่ นำมาเป็นส่วนผสมของยาหอม สรรพคุณ แก้หืดหอบและบำรุงหัวใจ
  • ใบของต้นมะลิ สามารถนำมาทำยา แก้อาการไข้ พอกแก้ฟกชำ ปวดท้อง แน่นท้อง ท้องเสีย แผลเรื้อรัง บำรุงสายตา ช่วยขับถ่าย โรคผิวหนัง
  • รากของต้นมะลิ สามารถนำมาทำเป็นยา แก้ร้อนใน ขับประจำเดือน เสียดท้อง รักษาหลอดลมอักเสบ แก้ปวดเคล็ดขัดยอก

ต้นมะลิ ภาษาอังกฤษ เรียก Arabian jasmine ในหลายท้องที่ในประเทศไทย เรียก ต้นมะลิว่า ข้าวแตก เตียงมุน มะลิป้อม มะลิหลวง แต่ชื่อเหล่านี้ก็คือ ต้นมะลิแต่แตกต่างกันออกไปตามท้องถิ่น ต้นมะลิ เป็นพืช ที่มีต้นกำเนิดในประเทศอินเดีย เป็นไม้พุ่ม ความสูงไม่เกิน 200 เซ็นติเมตร กลีบดอกเป็นสีขาว มีกลิ่นหอม ต้นมะลิมีมากมายรวม 200 สายพันธ์

โทษของมะลิ

ต้นมะลิมีกลิ่นหอม ซึ่งมาจากน้ำมันหอมระเหยที่ออกมาจากดอกของมะลิ การนำเอามะลิมาใช้ประโยชน์นั้น ต้องใช้ในปริมาณที่พอดี จึงจะเกิดประโยชน์ โดยรายละเอียดของการข้อควรระวังการใช้ต้นมะลิมีดังนี้

  • รากของมะลิ หากรับประทานมาก ๆ อาจทำให้สลบได้
  • ดอกมะลิ นำมาใช้แต่งกลิ่น แต่ไม่ควรนำมารับประทานเป็นประจำ เพราะอาจส่งผลต่อระบบประสาทและสมองได้
  • ดอกมะลิ มีฤทธิ์เป็นยาหอมเย็น แต่อย่าใช้มากเกินไป เพราะ อาจเกิดภาวะจุกเสียดแน่นท้องได้
  • การดื่มน้ำลอยดอกมะลิ นั้นในปัจจุบันการปลูกต้นมะลิเพื่อการค้าอาจมีสารเคมีปนเปื้อนได้ต้องล้างให้สะอาด แต่หากเป็นมะลิที่เชื่อได้ว่าไม่มีสารตกค้างหรือสารเคมี ก็สามารถนำมารับประทานได้

มะลิ คือ พืชท้องถิ่น ดอกมะลิ มีกลิ่นหอม นิยมนำดอกมะลิมาใช้ประโยชน์ ลักษณะของต้นมะลิเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะลิ เช่น ช่วยสมานแผล บำรุงหัวใจ แก้อักเสบ โทษของมะลิ มีอะไรบ้าง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ตำลึง ( Lvy Gourd, Coccinia ) สมุนไพร นิยมปลูกริมรั้วบ้าน ประโยชน์และสรรพคุณช่วยขับลม บำรุงสายตา บำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันมะเร็ง ลดน้ำตาลในเลือด ลดไข้ รักษาแผล

ตำลึง ผักสวนครัว สมุนไพร

ต้นตำลึง ภาษาอังกฤษ เรียก Lvy Gourd, Coccinia มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Cocconia grandis (L.) Voigt ชื่ออื่น ๆ ของผักตำลึง เช่น ผักแคบ แคเด๊าะ สี่บาท ผักตำนินตำลึงนิยมนำมาทำอาหาร

ลักษณะของต้นตำลึง

ตำลึง เป็นไม้เลื้อย ลำต้นจะเกาะตามหลัก เช่น แนวรั้วบ้าน ต้นไม้ เถาของตำลึงจะมีสีเขียว ใบของตำลึงเป็นใบเดี่ยว สลับกันไปมาตามเถา โคนของใบมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจ ดอกของตำลึง จะมีลักษณะเป็นดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ มีสีขาว ผลของตำลึง เหมือนแตงกวาแต่มีขนาดเล็กกว่า ผลสีเขียวมีลายสีขาว พอสุกจะกลายเป็นสีแดง

  • ต้นตำลึง เป็นไม้เถาเลื้อยขึ้นตามหลักเสา ตามรั้วบ้านหรือพันต้นไม้อื่น อายุยืนยาวหลายปี มีมือเกาะยึดออกตรงข้ามใบ ลำต้นเล็กยาว เมื่ออายุมากลำต้นหรือเถาจะใหญ่และแข็งแรงมากขึ้น
  • ใบตำลึง เป็นใบเดี่ยว สีเขียว รูปสามเหลี่ยม กว้าง 5 ซม. ยาว 6-7 ซม. สลับข้างกัน ตำลึงตัวผู้ใบหยักเว้าลึก 3-5 หยัก ต่างจากใบของต้นตำลึงตัวเมียที่เป็นรูปสามเหลี่ยม อยู่แยกต้นออกจากกัน
  • ดอกตำลึง สีขาวปลายกลีบ 5 แฉก ข้างในมีเกสรสีเหลืองอ่อน มองคล้ายรูประฆัง
  • ผลตำลึง เป็นรูปไข่คล้ายผลแตงกวาแต่เล็กกว่ามาก กว้าง 1 -2 ซม. ยาว 3-4 ซม. เมื่ออ่อนจะมีสีเขียวมีลายขาว ผลสุกเต็มที่สีแดงสด ภายในมีเมล็ดมากมาย ส่วนตำลึงตัวผู้มีแต่ดอกแต่ไม่มีผล

คุณค่าทางโภชนาการของตำลึง

การศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบและยอดอ่อนตำลึงขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 35 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน กากใยอาหาร 1 กรัม เบตาแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม  ธาตุฟอสฟอรัส และ ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม

นักโภชนาการได้ทำการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของตำลึง ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย วิตามินบี1 0.17 มิลลิกรัม โปรตีน 3.3 กรัม แคลเซียม 126 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 699.88 ไมโครกรัม  ไนอาซีน 1.2 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม  และใยอาหาร 2.2 กรัม

สรรพคุณของตำลึง

เราสามารถนำตำลึงมาใช้ได้ทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็น ใบ ดอก เมล็ด ราก เถา รายละเอียดการใช้ประโยชน์ของตำลึงมีดังนี้

  • ใบของตำลึง เป็นยาลดวามร้อนในร่างกาย นำมาบดเป็นยาพอกผิวหนัง แก้ผื่นคันจากหมามุ้ย ต้นตำแย แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้แมลงสัตว์กัดต่อย รักษาผื่นคันที่เกิดจาก หมามุ่ย ตำแย  นำมารับประทาน แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้จุกเฉียด
  • ดอกของตำลึง นำมาใช้รักษาอาการคันผิวหนัง
  • เมล็ดของตำลึง นำมาผสมกับน้ำมันมะพร้าว ใช้ทาแก้หิด
  • รากของตำลึง นำมาใช้ ลดไข้ แก้อาเจียน ลดความอ้วน แก้ฝี แก้ปวดบวม แก้พิษร้อนใน แก้พิษแมลงป่องหรือตะขาบข่อย
  • เถาของตำลึง นำมาชงกับน้ำดื่มแก้อาการวิงเวียนศรีษะ  นำมาบดใช้พอกผิวหนังแก้โรคผิวหนัง เถาของตำลึงมีสรรพคุณ ลดระดับน้ำตาลในเลือด

นำตำลึงทั้งต้น มาใช้ทั้ง ราก ใบและเถา นิยมนำมาเป็นยารักษาแก้โรคผิวหนัง ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้หลอดลมอักเสบ กำจัดกลิ่นตัว

โทษของตำลึง

สำหรับการบริโภคตำลึงเป็นอาหารไม่พบประวัติการเป็นอันตรายจากการบริโภคตำลึงเป็นอาหาร หรือ การนำมารักษาโรค แต่ตำลึงมีฤทธิ์เป็นยาเย็น เมื่อทาน้ำตำลึงที่ผิวหนังแล้วไม่รู้สึกเย็นแปลว่าไม่ถูกโรค ให้หยุดใช้ทันที การทาน้ำตำลึงไม่ควรถูแรงจนเกินไปในบริเวณที่เป็นผิวบอบบาง เพราะจะทำให้เกิดอาการอักเสบเพิ่มมากขึ้น

ตำลึง ( Lvy Gourd, Coccinia ) คือ สมุนไพร พืชล้มลุก นิยมปลูกริมรั้วบ้าน ประโยชน์และสรรพคุณของตำลึง ช่วยแก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงสายตา รักษาหลอดลมอักเสบ รักษาเบาหวาน แก้แมงสัตว์กัดต่อย ช่วยบำรุงกระดูก บำรุงฟัน ป้องกันมะเร็ง ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงเลือด ใช้ลดไข้ รักษาแผล รักษาหิด


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove