กระชาย หรือ ขิงจีน Finger root สมุนไพร ฉายา โสมไทย สรรพคุณช่วยขับลม บำรุงหัวใจ ปรับสมดุลย์ฮอร์โมนร่างกาย บำรุงกำลัง ช่วยเจริญอาหาร ทำความรู้จักกระชาย

กระชาย ขิงจีน โสมไทย สมุนไพร

กระชาย ภาษาอังกฤษ เรียก Fingerroot ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระชาย คือ  Boesecnergia pandurata ( Roxb. ) Schltr. ส่วนชื่อเรียกอื่นๆของกระชาย เช่น ว่านพระอาทิตย์ กระแอน ระแอน ขิงทราย จี๊ปู ซีฟู เป๊าะสี่ เป๊าซอเร้าะ เป็นต้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระชาย พบว่ามีสารอาหารสำคัญต่างๆ เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และวิตามินหลายชนิด มีสรรพคุณยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ดี

กระชาย เป็นส่วนประกอบของยาสมุนไพรหลายตำรับ วงการแพทย์แผนไทยให้ฉายาว่าเป็น โสมไทย ลักษณะเด่นของกระชาย คือ เป็นพืชที่สะสมอาหารที่เหง้าอยู่ใต้ดิน กระชายมีลักษณะคล้ายกับรูปร่างมนุษย์เหมือนกับโสมเกาหลี

ชนิดของกระชาย

กระชายที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย มี 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และ กระชายเหลือง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • กระชายดำ ลักษณะเด่น คือ เนื้อกระชายมีสีดำ รสชาติเผ็ดร้อน
  • กระชายแดง ลักษณะเด่นเนื้อกระชายสีเหลืองแกมส้ม คล้ายกับกระชายเหลือง
  • กระชายเหลือง ลักษณะเด่นเนื้อกระชายเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว นิยมนำมาประกอบอาหาร

ลักษณะของต้นกระชาย

ต้นกระชาย เป็นพืชล้มลุก มีความสูงประมาณ 1 เมตร ใบมีกลิ่นหอม สามารถขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ ชอบดินที่ร่วนซุย การระบายน้ำได้ดี หรือ ดินเหนียว ลักษณะของต้นกระชาย มีดังนี้

  • เหง้ากระชาย ลักษณะมีเหง้าสั้นๆ เป็นหน่อรูปทรงกระบอกค่อนข้างยาว ผิวมีสีน้ำตาลอ่อน ส่วนเนื้อในมีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
  • ใบกระชาย ลักษณะเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบเป็นรูปรี โคนใบมนหรือแหลม ปลายใบเรียวแหลม มีขอบเรียบ  ก้านใบยาว ใบเป็นสีเขียว
  • ดอกกระชาย ลักษณะดอกเป็นช่อ มีสีขาวหรือสีขาวอมชมพู กลีบดอกเป็นรูปใบหอก
  • ผลกระชาย ผลกระชาย ผลแก่จะแตกเป็น 3 เสี่ยง มีเมล็ดค่อนข้างใหญ่

สรรพคุณของกระชาย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระชายด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก เหง้า และ ใบ ของกระชย โดยสรรพคุณของกระชาย มีดังนี้

  • เหง้าของกระชาย สรรพคุณแก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด แก้บิด แก้โรคกระเพาะ ช่วยขับปัสสาวะ ใช้รักษาริดสีดวงทวาร รักษาแผลในปาก แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหารและแก้โรคในช่องปาก
  • ใบของกระชาย สรรพคุณบำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ แก้โลหิตเป็นพิษ ถอนพิษต่างๆได้

โทษของกระชาย

การใช้ประโยชน์จากกระชายมีข้อควรระวัง เพื่อความปลอดภัย จำเป็นต้องใช้อย่างถูกวิธีและใช้ในปริมาณที่เหมาะสม โทษของกระชายมีรายละเอียด ดังนี้

  • กระชายมีฤทธิ์ร้อน ไม่ควรกินกระชายจำนวนมาก อาจทำให้เกิดแผลร้อนในที่ปากได้
  • ผู้ป่วยเกี่ยวกับตับ ไม่ควรกินกระชายในประมาณมาก กระชายมีผลต่อการทำงานของตับ

กระชาย หรือ ขิงจีน ( Fingerroot ) ฉายา โสมไทย สรรพคุณหลากหลาย เช่น ช่วยขับลม บำรุงหัวใจ เพิ่มสมรถภาพทางเพศ ปรับสมดุลย์ฮอร์โมนร่างกาย บำรุงกำลัง ช่วยให้เจริญอาหาร

กระเทียม พืชเศรษฐกิจ สมุนไพรกลิ่นฉุน ลักษณะของต้นกระเทียม คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของกระเทียม เช่น ลดความดัน รักษาแผลสด ฆ่าเชื้อ ช่วยขับลม แก้ท้องอืด เป็นต้น  

กระเทียม สมุนไพร สรรพคุณของกระเทียม

ต้นกระเทียม ( Garlic ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเทียม คือ Allium sativum L. สำหรับชื่อเรียกอื่นไของกระเทียม เช่น กระเทียมขาว กระเทียมจีน ปะเซ้วา หอมขาว หอมเทียม หัวเทียม เป็นต้น การปลูกกระเทียมในประเทศไทย นิยมปลูกมากในทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระเทียมที่มีคุณภาพดีต้องกระเทียมศรีสะเกษ

กระเทียมในประเทศไทย

กระเทียม เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญในการทำอาหาร ทั้งการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก อาหารไทย นิยมมีกระเทียมเป็นส่วนผสมของอาหาร ซึ่งกระเทียมสามารถปลูกได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย แต่นิยมปลูกกันมากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากมีสภาพดินและสภาวะอากาศที่เหมาะสมมากกว่าภาคอื่นๆ ทำให้กระเทียมเจริญเติบโตได้ดี ได้ผลผลิตสูงและมีรสชาติที่ดีกว่า

ลักษณะของกระเทียม

กระเทียม เป็นพืชล้มลุก ที่มีกลิ่นแรง ลำต้นสูงประมาณ 2 ฟุต สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นกระเทียม มีลักษณะดังนี้

  • หัวกระเทียม มีลักษณะกลมแป้น ด้านนอกเป็นกลีบเล็กๆ เนื้อของกระเทียมมีสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นฉุนจัด
  • ใบกระเทียม เป็นใบเดี่ยว ลักกษณะแบนยาว ขึ้นมาจากดินและเรียงซ้อนสลับ แบนเป็นแถบแคบ ปลายใบแหลม ปลายใบสีเขียวและสีจะค่อย ๆจางลงจนกระทั่งถึงโคนใบ
  • ดอกกระเทียม ช่อดอกแบบช่อซี่ร่ม ก้านช่อดอกเป็นก้านโดด เรียบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกรูปใบหอกปลายแหลม สีขาวหรือขาวอมชมพู
  • เมล็ดกระเทียม อยู่ที่ดอกแก่ ลักษณะเมล็ดเล็กเป็นกระเปาะสั้นๆรูปไข่ เมล็ดขนาดเล็กสีดำ

คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม

สำหรับการบริโภคกระเทียม สามารถรับประทานทั้งใบและหัวกระเทียม ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวกระเทียมสด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้ลังงาน 149 กิโลแคลอรี มีสารสำคัยประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 33.06 กรัม น้ำตาล 1 กรัม กากใยอาหาร 2.1 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม โปรตีน 6.36 กรัม วิตามินบี 1 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.7 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.596 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 1.235 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 3 ไมโครกรัม วิตามินซี 31.2 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 181 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.672 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 153 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 401 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 1.16 มิลลิกรัม และธาตุซีลีเนียม 14.2 ไมโครกรัม

สารสำคัญที่พบในกระเทียม พบว่ามีสารประกอบกำมะถัน ( Organosulfur ) เช่น อัลลิซาติน (Allisatin) อะโจอีน (Ajoene) ไดแอลลิล ซัลไฟด์ (Diallyl Sulfide) อัลเคนีล ไตรซัลไฟด์ (Alkenyl trisulfide) และ สารกลุ่มฟลาวานอยด์ เช่น เควอซิทิน (Quercetin) ไอโซเควอซิทิน (Isoquercitrin) เรย์นูทริน (Reynoutrin) แอสตรากาลิน (Astragalin)

สรรพคุณของกระเทียม

สำหรับการนำกระเทียมมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นิยมใช้ประโยชน์จากหัวกระเทียม ซึ่งสรรพคุณของกระเทียม มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิวหนัง ทำให้มีสุขภาพผิวดี
  • ช่วยการเจริญอาหาร ทำให้อยากกินอาหาร เพิ่มความแข็งแรงจของร่างกาย
  • มีเบต้าเคโรทีนสูง ช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้
  • บำรุงร่างกาย ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคในร่างกาย รักษาโรคหวัด รักษาอาการไอ รักษาน้ำมูกไหล ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ
  • ช่วยระงับการเจริญเติบดตของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยระงับกลิ่นปาก รักษาเชื้อราตามหนังศีรษะและเล็บ รักษาฝีหนอง รักษาคออักเสบ รักษาปอดบวม รักษาเชื้อวัณโรค เป็นต้น
  • บำรุงเลือด ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง
  • ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะและปวดศีรษะ
  • เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ควบคุมฮอร์โมนทั้งหญิงและชาย ช่วยทำให้มดลูกบีบตัว เพิ่มพละกำลังให้มีเรี่ยวแรง
  • บำรุงเส้นผม มีประโยชน์ด้านผมและหนังศีรษะโดยช่วยแก้ปัญหาผมบาง ยาวช้า มีสีเทา
  • ช่วยขับพิษและสารพิษอันตรายที่ปนเปื้อนในเม็ดเลือด ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยขับพยาธิ เช่น พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย พยาธิเข็มหมุด พยาธิไส้เดือน เป็นต้น
  • บรรเทาอาการปวดข้อและปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • ช่วยไล่ยุงได้

โทษของกระเทียม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระเทียม หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมจะทำให้ไม่เกิดโทษ ข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากกระเทียม มีดังนี้

  1. การบริโภคกระเทียม เนื่องจากกลิ่นฉุนของกระเทียมหากบริโภคมากเกินไปจะเสียรสชาติของอาหาร การใช้กระเทียมในการบริโภคสดให้ใส่ในปริมาณที่เหมาะสม
  2. สารอาหาร จำพวกอาหารเสริมที่เป็นสารสกัดมาจากกระเทียม จำเป็นต้องศึกษาอย่างละเอียดถึงปริมาณในการบริโภคที่เหมาะสมต่อร่างกาย
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรไทยน่ารู้

สมุนไพร หมายถึง พืช สัตว์หรือแร่ธาตุที่ใช้เป็นยารักษาโรคหรือเสริมสุขภาพ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพืชโดยใช้ส่วนต่างๆของพืช เช่น ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เป็นต้น นำมาแปรสภาพ เพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ทั้ง รับประทานสด การนำมาพอก การต้ม เป็นต้น
กัญชา สรรพคุณของกัญชา สมุนไพร น้ำมันกัญชา
กัญชา
ตะขบ สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตะขบ
ตะขบ
ลูกใต้ใบ สมุนไพร สรรพคุณของลูกใต้ใบ สมุนไพรรสขม
ลูกใต้ใบ
หญ้าหวาน สตีเวีย สมุนไพร สมุนไพรให้ความหวาน
หญ้าหวาน
โรคต่างๆและการรักษาโรค
โรค ( Disease ) หมายถึง ความผิดปรกติของระบบการทำงานของร่างกาย รวมถึงความผิดปกติของระบบอวัยวะและเนื้อเยื่อของร่างกาย ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคมีหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม การทำงานผิดปรกติของอวัยวะ เรามาทำความรู้จักกับโรคต่างๆ
แก้วหูทะลุ โรคหูคอจมูก การรักษาแก้วหูทะลุ โรคหู
แก้วหูทะลุ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ โรคพยาธิ โรคไม่ติดต่อ โรคติดเชื้อ
โรคพยาธิใบไม้ในตับ
ข้อหลุด ข้อเคลื่อน โรคข้อและกระดูก ข้อหลุดรักษาอย่างไร
ข้อหลุด
เหงือกร่น รักษาเหงือกร่น โรคในช่องปาก โรคเหงือกและฟัน
เหงือกร่น