วัณโรค Tuberculosis ติดเชื้อแบคทีเรียที่ระบบทางเดินหายใจ เป็นโรคติดต่อร้ายแรง อาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เบื่ออาหาร หากไม่รักษาอย่างถูกวิธีทำให้เสียชีวิตได้

วัณโรค ปอดติดเชื้อ โรคทางเดินหายใจ โรคติดต่อ

สำหรับ โรควัณโรค นี้ถือเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนบนโลก 10 อันดับแรก จากสถิติขององค์กรอนามัยโรค เมื่อปี 2558 แแต่สำหรับวัณโรคไม่ใช่สาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยมาก ไม่ติดอันดับ 10 แรกของสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย ปัจจุบันวัณโรคนถือเป็นโรคที่เกิดมากในกลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์ เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่บกพร่องจะทำให้เชื้อวัณโรคสามารถติดได้ง่าย

สาเหตุของการเกิดวัณโรค

เกิดจากการติดเชื้อไมโครแบคทีเรียมทูเบอร์คูโลซิส ( Mycobacterium Tuberculosis ) ซึ่งเป็นเชื้อโรคที่แพร่กระจายได้ทางอากาศ ผ่านการการไอ การจาม และการหายใจ รวมถึงการใกล้ชิดและสัมผัสผู้ติดเชื้อวัณโรค

อาการของวัณโรค

อาการของวัณโรคสามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ อาการของผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรค และ อาการของวัณโรคปอด โดยอาการที่แสดงออกมีดังนี้

  • อาการของผู้ป่วยวัณโรค พบว่าผู้ป่วยที่ติดโรควัณโรค จะมีอาการ ไข้สูง เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ครั่นเนื้อครั่นตัว เหงื่อออกกลางคืน เม็ดเลือดขาวจะต่ำลงในผู้ป่วยบางรายจะมีภาวะโลหิตจาง
  • อาการของวัณโรคปอด พบว่าผู้ป่วยจะมีอาการไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ แต่หากไม่รักษา จะมีอาการอักเสบมมากขึ้น และเชื้อโรคจะเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อทำให้มีเสมหะ ไอเป็นเลือด

อาการของวัณโรค สามารถแบ่งได้ 2 ระยะ คือ ระยะแฝง และ ระยะแสดงอาการ เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อวัณโรค เชื้อโรคนั้นจะพัฒนาตัวเองอย่างช้า ๆ ใช้เวลาหลายวัน โดยอาการในระยะทั้งสองมี ดังนี้

  • ระยะแฝง ( Latent TB ) ในระยะนี้ เมื่อผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อโรค จะไม่แสดงอาการให้เห็น แต่หากเชื้อโรคถูกกระตุ้น ก็จะเกิดอาการ ทั้งนี้ผู้ป่วยสามารถตรวจหาเชื้อได้ หากพบว่ามีเชื้อวัณโรคแฝงในร่างกาย แพทย์จะทำการรักษาเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโรค และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคที่จะเข้าสู่ในระยะแสดงอาการ
  • ระยะแสดงอาการ ( Active TB ) ในระยะนี้จะเกิดอาการต่าง ๆ ที่เห็นได้ชัดเจน เช่น ไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก หรือรู้สึกเจ็บเวลาหายใจ อ่อนเพลีย มีไข้สูง หนาวสั่น เหงื่อออกตอนกลางคืน น้ำหนักลด และเบื่ออาหาร

อาการของวัณโรคนั้น จะแสดงอาการที่ปอด แต่เชื้อโรคสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ เช่น ทำให้เกิด วัณโรคกระดูก วัณโรคเยื่อหุ้มสมอง เป็นต้น

การรักษาผู้ป่วยโรควัณโรค ต้องทำอย่างไร

  1. การใช้ยารักษาโรค ซึ่งมียา 3 ชนิดที่สามารถใช้รักษาวัณโรคได้ แต่ผู้ป่วยต้องทานยาติดต่อกัน 1-2 ปี ตัวยานี้ คือ เสตรพโตไมซิน พาราแอมมิโนซาลิคไซเลทแอซิด และไอโซไนอาซิค
  2. การพักผ่อนให้มากและทานอาหารที่มีประโยชน์บำรุงร่างกาย เช่น อาหารประเภท นม ไข่ ผลไม้และผักต่างๆ อาหารสมุนไพร อาหารสุขภาพ
  3. การผ่าตัด ประสาทกระบังลม ให้ปอดได้พักผ่อน การผ่าตัดเป็นสาเหตุให้ปอดที่มีแผลหายเร็วขึ้น กระบังลมก็จะทำงานเป็นปกติอีกครั้ง
  4. การทำนิวโมโทแรกซ์ ( Pneumothorax ) คือ การฉีดอาการเข้าไปในช่องปอดที่อยู่ระหว่างปอดและผนังทรวงอก
  5. การตัดซี่โครงบางส่วนออก เพื่อทำให้ปอดที่ติดเชื้อวัณโรคแฟบลงอย่างถาวร

การป้องกันการติดโรควัณโรค

  1. ต้องรักษาร่างกายให้แข็งแรง ทานอาหารที่มีประโยชน์ อาหารสุขภาพ อาหารสมุนไพร
  2. ฉีดวัคซีน BCG เพื่อป้องกันการติดเชื้อสำหรับทารกแรกเกิด
  3. ถ้ามีอาการผิดปกติที่น่าสงสัยว่าเป็นวัณโรค เช่น ไอเรื้อรัง 2 สัปดาห์ขึ้นไป มีไข้ต่ำๆโดยเฉพาะตอนบ่ายๆหรือค่ำๆ เจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ควรรีบไปรับการตรวจรักษาโดยการเอกซเรย์ปอด ตรวจเสมหะ
  4. รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ กินอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
  5. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค เช่น การส่ำส่อนทางเพศ เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอดส์ เพราะจะทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายเสื่อมลง มีโอกาสที่จะป่วยเป็นวัณโรค จะได้รีบรักษาก่อนที่จะลุกลามมากขึ้น
  6. ประชาชนทั่วไป ควรตรวจร่างกายโดยการเอกซ์เรย์ปอดหรือตรวจเสมหะ ( AFB ) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ถ้าพบว่าเป็นวัณโรคจะได้รีบรักษาก่อนที่จะลุกลามมากขึ้น
  7. ในเด็กควรได้รับการฉีดวัคซีนบีซีจี ( Bacilus Calmette Guerin ) รวมถึงผู้ที่ทำการทดสอบทูเบอร์คูลินเทสท์ ( Tuberculin test ) ให้ผลเป็นลบ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน

วัณโรค ( Tuberculosis ) โรคติดต่อร้ายแรงเกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียที่ระบบทางเดินหายใจ อาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เบื่ออาหาร หากไม่รักษาอย่างถูกวิธีทำให้เสียชีวิตได้ การรักษาวัณโรค และ การป้องกันโรค

โรคฝีดาษ ไข้ทรพิษ ไข้หัว Smallpox โรคติดต่อร้ายแรงจากเชื้อไวรัสวาริโอลา ติดต่อจากการหายใจและสัมผัสผู้ป่วย ทำให้ปวดหัว ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ ผื่นขึ้นที่ตามตัวโรคฝีดาษ โรคติดเชื้อ โรคผิวหนัง โรคติดต่อ

โรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Variola ถือเป็นโรคติดต่อชนินหนึ่ง เป็นโรคติดต่อร้ายแรง โรคนี้เป็นโรคติดเชื้อจาก poxvirus ซึ่งผู้ป่วยจะมีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนัง สามารถระบาดได้ โรคเป็นโรคระบาด โรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษ หรือ ไข้หัว สำหรับใน ภาษาอังกฤษเรียกว่า Small pox หรือ Variola โดยคำว่า Variola มาจากภาษาละติน แปลว่า จุด หรือตุ่ม โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยอาการหลักของผู้ป่วย คือ มีผื่นที่เป็นตุ่มหนองขึ้นตามผิวหนัง ซึ่งดูเป็นที่น่ารังเกียจ และผื่นเหล่านี้เองก็สามารถแพร่เชื้อได้ด้วย โรคนี้ติด ต่อกันได้ค่อนข้างง่าย มีโอกาสเสียชีวิตได้สูง ยังไม่มียารักษา มีวัคซีนสำหรับป้องกันได้ แต่ในปัจจุบันโรคนี้ได้ถูกกำจัดให้สูญสิ้นไปแล้ว จึงไม่มีการแนะนำให้ฉีดวัคซีนในประชากรทั่วไปอีกต่อไป

สาเหตุของการเกิดโรคฝีดาษ

สาเหตุของโรคฝีดาษ เกิดจากไวรัส DNA เป็นเชื้อที่ทำให้เกิดโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ พบว่ามี 2 ชนิด คือ ชนิดแรก variolar major มีความรุนแรงสูงอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ พบว่าอัตราการตายมากถึง 1 คน ใน 3 คน ชนิดที่สอง alastrim ชนิดนี้อาการไม่รุนแรงเท่ากับชนิดแรก ชนิดนี้ไม่ตายมากเท่าชนิดแรกแต่ผู้ติดเชื้อ จะมีสะเก็ดที่ผิวหนังนานเป็นปี

โรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษติดต่อกันได้อย่างไร โรคนี้สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสตัวผู้ป่วย หรือรับเชื้อโรคจากผู้ป่วย จากการ ไอ จาม หรือตอนพูด นอกจากนี้อาจจะสามารถติดต่อได้ทางเสื้อผ้า ที่นอน ผ้าห่ม หรือ เสื้อของผู้ป่วย

อาการของผู้ป่วยโรคฝีดาษ

สำหรับอาการของโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ ผู้ป่วยจะ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดเมื่อยตามตัว มีไข้สูง ถ้าเกิดในในเด็กจะมีอาเจียน  มีอาการชัก และหมดสติ หลังจากนั้นผู้ป่วยโรคฝีดาษมีผื่นแดงแขนและขา จากนั้นจะมีอาการคันมากที่ผิวหนังและจะกลายเป็นตุ่มขึ้นที่ผิวหนังจากนั้นแผลจะแห้งและเป็นสะเก็ดในประมาณ 2 สัปดาห์ต่อมา อาการของโรคฝีดาษ สามารถแยกอาการเป้นข้อๆ ได้ดังนี้

  • อาการเริ่มแรก เริ่มด้วยปวดศีรษะ สะท้าน ปวดหลัง ปวดตามกล้ามเนื้อแขนขา ไข้จะขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว สูงไดถึง 41-41.5องศา ในเด็กจะมีอาเจียน ชัก และหมดสติ ในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีผื่นแดงเกิดขึ้นใน 2 วันแรก ผื่นมักจะขึ้นบริเวณแขนหรือขา
  • ระยะออกผื่น ประมาณวันที่ 3 หลังมีไข้ ผื่นที่แท้จริงของฝีดาษจะเริ่มปรากฏขึ้นจะเริ่มที่หน้า แล้วไปที่แขน หลัง และขา ผื่นมักเป็นมากบริเวณที่ผิวหนังตึง เช่นที่ข้อมือ โหนกแก้ม สะบัก เป็นต้น ผื่นจะขึ้นเต็มที่ภายในเวลา 2 วัน ไข้จะเริ่มลงในวันที่ 2-3 หลังผื่นขึ้น และอาการต่างๆจะดีขึ้น ลักษณะผื่น จะเริ่มเป็นผื่นขนาดหัวเข็มหมุด และโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ในวันที่2 และกลายเป็นตุ่มน้ำในวันที่ 3 ใส ในวันที่ 5 จะเป็นตุ่มน้ำขุ่น การเปลี่ยนแปลงของผื่นจะเป็นไปพร้อมกันทั้งตัว ในวันที่ 8 ผื่นจะเริ่มแห้งโดยเริ่มที่หน้าก่อน ผื่นจะกลายเป็นสะเก็ดในวันที่12-13
  • ระยะติดต่อตั้งแต่ตอนที่เริ่มมีอาการ และช่วงสัปดาห์แรก ที่จะเป็นช่วงที่มีโอกาสแพร่เชื้อได้ง่ายที่สุด ไปจนถึงตอนที่แผลแห้งเป็นสะเก็ดแล้ว

การรักษาโรคฝีดาษ

สำหรับ การรักษาโรคฝีดาษ หรือ การรักษาไข้ทรพิษ ในปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถหายาที่มารักษาโรคนี้ได้โดยตรง แต่สามารถรักษาตามอาการ โดยเมื่อพบผู้ป่วยเราต้องแยกผู้ป่วยออกจากคนอื่น เพื่อป้องกันการติดเชื้อ จากนั้นให้ผู้ป่วยพักผ่อนมากๆ ดื่มน้ำมากๆเพื่อป้องกันอาการขาดน้ำ รักษาความสะอาดให้มากที่สุด ไม่ต้องอาบน้ำเช็ดตัวก็พอ

  1. ปัจจุบันยังไม่มียาใดที่ใช้รักษาโรค
  2. ต้องแยกนอนโรงพยาบาลที่รับเฉพาะโรคติดต่อ
  3. การรักษาประคับประคองและรักษาตามอาการ
    • ให้ผู้ป่วยนอนพักในที่นอนที่สะอาด และทำความสะอาดที่นอนบ่อยๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย
    • แก้ไขภาวะขาดน้ำและความผิดปกติของเกลือแร่
    • ระวังรอยโรคที่ปากและตา โดยทำความสะอาดอวัยวะทั้งสองบ่อยๆ
    • ไม่ควรอาบน้ำหรือใช้น้ำยาใดๆทาเคลือบผิวหนัง

ภาวะแทรกซ้อนของโรคฝีดาษ

  1. ผิวหนัง อาจจะเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม เมื่อหายแล้วจะมีแผลลึก
  2. ระบบทางเดินหายใจ เกิดการอักเสบที่กล่องเสียง ทำให้กล่องเสียงบวม เกิดปอดบวมได้บ่อย
  3. กระดูก เกิดการอักเสบของกระดูกจากเชื้อไวรัสได้บ่อย มักพบในวันที่10-12 ของโรค ในเด็กมักจะเป็นรุนแรงและมีการทำลายของกระดูกและข้อ
  4. ตา เกิดเยื่อบุตาอักเสบ และการบวมของหนังตา
  5. ระบบประสาทส่วนกลาง เกิดการอักเสบของสมองในระยะท้ายของโรค

การป้องกันโรคฝีดาษ

สำหรับโรคฝีดาษนั้น สามารถป้องกันได้อย่างไร เราสารมารถป้องกันได้โดยการปลูกฝี ด้วยการฉีดวัคซีน หลังการฉีดวัคซีนจะมีภูมิอยู่ได้ 3-5 ปี การใช้วัคซีนก็ยังมีผลข้างเคียงเช่นกัน โดยผู้ที่ได้รับวัคซีนบางรายอาจจะได้รับผลข้างเคียงไม่ร้ายแรง หรือบางรายอาจลุกลามกลายเป็นโรคฝีดาษได้ จึงทำให้ในปัจจุบันได้มีการยกเลิกการให้วัคซีนไปแล้ว แต่ก็ยังคงมีวัคซีนเก็บรักษาไว้ในกรณีที่อาจเกิดการระบาดอย่างไม่คาดคิด

สมุนไพรแก้ปวดเมื่อย ไข้ทรพิษ อาการปวดเมื่อยตามตัวเป็นอาการหนึ่งที่จะเกิดขึ้นกับคนเป็นไข้ทรพิษ ดังนั้นการใช้สมุนไพรแก้ปวดเมื่อยจะช่วยลดความปวดของผู้ป่วยได้ สมุนไพรแก้ปวดเมื่อย ประกอบด้วย

แคนา ต้นแคนา สมุนไพร ประโยชน์ของแคนาแคนา
กระเทียม สมุนไพร สมุนไพรไทย เครื่องเทศกระเทียม
หญ้าคา สมุนไพร สมุนไพรไทยหญ้าคา
ไมยราบ สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชล้มลุกไมยราบ
มะเฟือง สมุนไพร สมุนไพรไทย ผลไม้มะเฟือง
มะระ สมุนไพร พืชรสขม ประโยชน์ของมะระมะระ
ขิง สมุนไพร สรรพคุณของขิง ประโยชน์ของขิงขิง
ฟ้าทลายโจร สมุนไพร สมุนไพรไทย ประโยชน์ของฟ้าทะลายโจรฟ้าทะลายโจร

โรคฝีดาษ ไข้ทรพิษ ไข้หัว ( Smallpox ) คือ โรคติดต่อร้ายแรง โรคระบาด เกิดจากเชื้อไวรัสวาริโอลา Variola Virus สามารถติดต่อจากการหายใจ และ ใกล้ชิดและสัมผัสผู้ป่วย ส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ เกิดผื่นที่แขน หลัง ขา และ บริเวณผิวหนังที่ตึง และทำให้เกิดแผลสะเก็ด


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove