ฝีดาษ ไข้ทรพิษ ไข้หัว ( Smallpox ) โรคติดต่อร้ายแรงที่เกิดจากเชื้อไวรัสวาริโอลา Variola Virus อาการปวดหัว ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ ผื่นขึ้นทั่วตัว รักษาอย่างไรโรคฝีดาษ ไข้ทรพิษ โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

โรคฝีดาษ เกิดขึ้นครั้งแรงใน ปี พ.ศ. 2301 และ สำหรับประเทศไทยมีการระบาดครั้งใหญ่ที่สุดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ชีวิตคนไทยเสียชีวิตจากโรคฝีดาษมากกว่า 15,000 คน โรคฝีดาษถือเป็นโรคติดต่อร้ายแรง หากพบการติดเชื้อต้องมีการแจ้งความต่อหน่วยงานสาธารณสุข แต่ในปัจจุบันโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคได้

สาเหตุของการเกิดโรคฝีดาษ

โรคฝีดาษเกิดจากร่างกายติดเชื้อเชื้อไวรัสวาริโอลา ( Variola Virus ) ซึ่งไวรัสขนิดนี้สามารถติดต่อจากการสัมผัสสารคัดหลั่งของคนที่มีเชื้อโรค ผ่านช่องทางต่างๆ ดังนั้น กลุ่มเสี่ยงต่างๆ เช่น คนใกล้ชิดกับผู้ป่วย การหายใจ สััมผัสละอองสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อการใช้เครื่องนอน เสื้อผ้า หรือผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้ป่วย ล้วนเป็นความเสี่ยงในการติดเชื้อทั้งสิ้น

อาการโรคฝีดาษ

สำหรับโรคฝีดาษ มีระยะฟักตัว 5 – 17 วัน และเริ่มมีผื่นขึ้น 14 วัน หลังจากนั้นจึงจะเห็นอาการของโรคอย่างชัดเจน ลักษณะของอาการจะมีอาการปวดหัว ปวดหลัง ปวดเมื่อยตามตัว มีไข้สูง และหากเกิดในในเด็กจะมีอาการอาเจียน อาการชัก และหมดสติ ด้วย หลังจากนั้นผู้ป่วยโรคฝีดาษมีผื่นแดงแขนและขา ทั่วทั้งตัว โดยจะมีอาการคันมากและผื่นจะกลายเป็นตุ่มขึ้นที่ผิวหนัง จากนั้นแผลจะแห้งและเป็นสะเก็ดใน 2 สัปดาห์ต่อมา ระยะของการเกิดโรคฝีดาษจะแบ่งได้ 3 ระยะ คือ ระยะเริ่มแรก ระยะออกผื่น และ ระยะการติดต่อของโรค ซึ่งแต่ละระยะจะแสดงอาการต่างๆ มีดังนี้

  • ฝีดาษระยะเริ่มแรก อาการในระยะนี้ คือ ปวดศีรษะ ปวดหลัง ปวดตามกล้ามเนื้อแขนขา ไข้ขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว ในเด็กจะมีอาเจียน ชัก และหมดสติ หลังจากนั้นบางรายอาจมีอาการผื่นแดงขึ้นใน 2 วันแรกโดยผื่นขึ้นบริเวณแขนหรือขา
  • ฝีดาษระยะออกผื่น หลังจากมีไข้สูงและแสดงอาการในระยะเริ่มแรกประมาณ 3 ผู้ป่วยจะแสดงอาการผื่นขึ้น ซึ่งผื่นจะเริ่มขึ้นที่หน้า และจะลามไปที่แขน หลัง และขา หลังจากนั้นผื่นจะขึ้นเต็มที่ภายในเวลา 2 วัน และผื่นจะกลายเป็นตุ่มน้ำใส ในวันที่ 5 ตุ่มน้ำใสจะขุ่น ในวันที่ 8 ผื่นจะเริ่มแห้ง และกลายเป็นสะเก็ดในวันที่ 12 ถึง 13 ของการเกิดโรค
  • ฝีดาษระยะติดต่อ การติดต่อของโรคสามารถเกิดได้ตั้งแต่ช่วยสัปดาห์แรกจนถึงระยะแผลแห้งเป็นสะเก็ด

การรักษาโรคฝีดาษ

แนวทางการรักษาโรคฝีดาษ ปัจจุบันนี้ยังยารักาาโรคได้โดยเฉพาะเจาะจง แต่สามารถหายเองได้ ซึ่งแนวทางการรักษาจะใช้การประคับประครองตามอาการของโรค ป้องกันอาการแทรกซ้อนต่างๆที่จะทำให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้น หากพบมีผู้ป่วยโรคฝีดาษต้องแยกผู้ป่วยออกจากคนอื่น ให้ผู้ป่วยพักผ่อนมากๆ ดื่มน้ำมากๆ รักษาความสะอาดให้มากที่สุด อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะไม่มียารักษาโรคแต่มีวัคซีนในการป้องกันโรค

ภาวะแทรกซ้อนของโรคฝีดาษ

สำหรับโรคฝีดาษนั้นลักษณะอาการ คือ การติดเชื้อโรคและเกิดแผลตามร่างกาย ซึ่งในช่วงเวลานี้ผู้ป่วยจะมีร่างกายที่อ่อนแอและเกิดแผลที่ร่างกาย จึงเป็นช่องทางในการติดเชื้ออื่นๆร่วม ซึ่งเป็นอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้ ลักษณะของอาการแทรกซ้อนของโรคต่างๆ มีดังนี้

  1. ภาวะแทรกซ้อนทางผิวหนัง อาจจะเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม เมื่อหายแล้วจะมีแผลลึก
  2. ภาวะแทรกซ้อนที่ระบบทางเดินหายใจ เกิดการอักเสบที่กล่องเสียง ทำให้กล่องเสียงบวม เกิดปอดบวมได้บ่อย
  3. ภาวะแทรกซ้อนที่กระดูก เกิดการอักเสบของกระดูกจากเชื้อไวรัสได้บ่อย มักพบในวันที่10-12 ของโรค ในเด็กมักจะเป็นรุนแรงและมีการทำลายของกระดูกและข้อ
  4. ภาวะแทรกซ้อนที่ตา เกิดเยื่อบุตาอักเสบ และการบวมของหนังตา
  5. ภาวะแทรกซ้อนที่ระบบประสาทส่วนกลาง เกิดการอักเสบของสมองในระยะท้ายของโรค

การป้องกันโรคฝีดาษ

แนวทางการป้องกันโรคฝีดาษ ปัจจุบัน สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรค ซี่งหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโรคร่างกายจะสร้างภูมิต้านทางโรคและอยู่ได้ 3 – 5 ปี หากได้รับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันจะอยู่นานขึ้น การปลูกฝีจะใช้เข็มซึ่งมีเชื้อโรคอยู่ ทำให้ผิวหนังเกิดแผลเชื้อจะเข้าสู่แผล

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

วัณโรค Tuberculosis การติดเชื้อแบคทีเรีย ร้อยละ 80 ติดเชื้อที่ปอด อาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เบื่ออาหาร ต้องรับการรักษาอย่างถูกวิธี การป้องกันโรคทำอย่างไรวัณโรค โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ โรคทางเดินหายใจ

วัณโรคเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนบนโลกสูงสุด 10 อันดับแรก ข้อมูลจากสถิติขององค์กรอนามัยโรค เมื่อปี 2558 ซึ่งสถานการณ์วัณโรคในประเทศไทยไม่ใช่สาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยในลำดับต้นๆ ปัจจุบันวัณโรคเป็นโรคพบบ่อยในกลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์ เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่บกพร่องจะทำให้เชื้อวัณโรคสามารถติดได้ง่าย

สาเหตุของการเกิดวัณโรค

วัณโรคเกิดติดเชื้อแบคที่เรียไมโครแบคทีเรียมทูเบอร์คูโลซิส ( Mycobacterium tuberculosis ) เชื้อวัณโรคสามารถเกิดได้ในทุกอวัยวะของร่างกาย แต่ส่วนมากร้อยละ 80 ของผู้ป่วยวัณโรคพบจากการติดเชื้อที่ปอด และ การติดเชื้อที่ปอด สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆได้ เช่น เยื้อหุ้มปอด ต่อมน้ำเหลือง กระดูกสันหลัง ข้อต่อ ช่องท้อง ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบสืบพันธุ์ ระบบประสาท เป็นต้น

กลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรค

  • ผู้อาศัยร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรค
  • ผู้ป่วยเบาหวาน
  • ผู้ติดเชื้อ HIV
  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้สูบบุหรี่

อาการของวัณโรค

สำหรับลักษณะการแสดงอาการของวัณโรค เราสามารถแบ่งอาการได้ 2 ลักษณะ คือ อาการของผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรค และ อาการของวัณโรคปอด โดยรายละเอียดของโรค มีดังนี้

  • อาการของผู้ป่วยวัณโรค จะมีอาการไข้สูง เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ครั่นเนื้อครั่นตัว เหงื่อออกกลางคืน เม็ดเลือดขาวจะต่ำลงในผู้ป่วยบางรายจะมีภาวะโลหิตจาง
  • อาการของวัณโรคปอด ลักษณะอาการไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ แต่หากไม่รักษา จะมีอาการอักเสบมมากขึ้น และเชื้อโรคจะเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อทำให้มีเสมหะ ไอเป็นเลือด

ระยะของวัณโรค

สำหรับอาการของวัณโรค สามารถแบ่งได้ 2 ระยะ คือ วัณโรคระยะแฝง และ วัณโรคระยะแสดงอาการ เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อวัณโรค เชื้อโรคนั้นจะพัฒนาตัวเองอย่างช้า ๆ ใช้เวลาหลายวัน โดยอาการในระยะทั้งสองมี ดังนี้

  • วัณโรคระยะแฝง ( Latent TB ) ในระยะนี้ เมื่อผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อโรค จะไม่แสดงอาการให้เห็น แต่หากเชื้อโรคถูกกระตุ้น ก็จะเกิดอาการ ทั้งนี้ผู้ป่วยสามารถตรวจหาเชื้อได้ หากพบว่ามีเชื้อวัณโรคแฝงในร่างกาย แพทย์จะทำการรักษาเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโรค และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคที่จะเข้าสู่ในระยะแสดงอาการ
  • วัณโรคระยะแสดงอาการ ( Active TB ) ในระยะนี้จะเกิดอาการต่าง ๆ ที่เห็นได้ชัดเจน เช่น ไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก หรือรู้สึกเจ็บเวลาหายใจ อ่อนเพลีย มีไข้สูง หนาวสั่น เหงื่อออกตอนกลางคืน น้ำหนักลด และเบื่ออาหาร

อาการของวัณโรคนั้น จะแสดงอาการที่ปอด แต่เชื้อโรคสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ เช่น ทำให้เกิด วัณโรคกระดูก วัณโรคเยื่อหุ้มสมอง เป็นต้น

การรักษาวัณโรค

สำหรับแนวทางการรักษาวัณโรคในปัจจุบัน มียารักษาโรคที่มีประสิทธิภาพสูงรักษาให้หายขาดได้ แต่มีโอกาสในการเกิดซ้ำได้ แนวทางการรักษาวัณโรค มีดังนี้

  1. รักษาด้วยการใช้ยารักษาโรค ซึ่งมียา 3 ชนิดที่สามารถใช้รักษาวัณโรคได้ แต่ผู้ป่วยต้องทานยาติดต่อกัน 1-2 ปี ตัวยานี้ คือ เสตรพโตไมซิน พาราแอมมิโนซาลิคไซเลทแอซิด และไอโซไนอาซิค
  2. การผ่าตัด ประสาทกระบังลม ให้ปอดได้พักผ่อน การผ่าตัดเป็นสาเหตุให้ปอดที่มีแผลหายเร็วขึ้น กระบังลมก็จะทำงานเป็นปกติอีกครั้ง
  3. การทำนิวโมโทแรกซ์ ( Pneumothorax ) คือ การฉีดอาการเข้าไปในช่องปอดที่อยู่ระหว่างปอดและผนังทรวงอก
  4. การตัดซี่โครงบางส่วนออก เพื่อทำให้ปอดที่ติดเชื้อวัณโรคแฟบลงอย่างถาวร
  5. การพักผ่อนให้มากและทานอาหารที่มีประโยชน์บำรุงร่างกาย เช่น อาหารประเภท นม ไข่ ผลไม้และผักต่างๆ อาหารสมุนไพร อาหารสุขภาพ

การป้องกันวัณโรค

แนวทางการป้องกันการเกิดวัณโรคที่สำคัญ ต้องป้องกันการรับเชื้อโรคจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ซึ่งแนวทางการป้องกันวัณโรค มีดังนี้

  1. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  2. รับการฉีดวัคซีน BCG เพื่อป้องกันการติดเชื้อวัณโรค ซึ่งเป็นวัคซีนสำหรับทารกแรกเกิด
  3. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค เช่น การส่ำส่อนทางเพศ เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอดส์ เพราะจะทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายเสื่อมลง มีโอกาสที่จะป่วยเป็นวัณโรค จะได้รีบรักษาก่อนที่จะลุกลามมากขึ้น
  4. หากจำเป็นต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคให้สวมหน้ากากอนามัยป้องกันการติดเชื้อโรค

วัณโรค ( Tuberculosis ) โรคติดต่อจากเชื้อแบคทีเรีย ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยติดเชื้อที่ปอด อาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เบื่ออาหาร ต้องรับการรักษาอย่างถูกวิธี แนทางการรักษาและป้องกันโรค ทำอย่างไร

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove