ไวรัสตับอักเสบบี Hepatitis B ภาวะติดเชื้อไวรัสที่ตับ สาเหตุของตับวาย ตับแข็ง มะเร็งตับ อาการตัวเหลืองตาเหลือง ปวดชายโครงด้านขวา อาเจียน อ่อนเพลีย ปวดตามข้อ รักษาอย่างไร

ไวรัสตับอักเสบบี โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

ไวรัสตับอักเสบบี ภาษาอังกฤษ เรียก Hepatitis B เป็นโรคที่สามารถติดต่อได้ ซึ่งอาการสำคัญ คือ การอักเสบของเซลล์ตับ หากอาการมีความเรื้อรังจะเกิดพังผืด เป็นสาเหตุของตับแข็งและมะเร็งตับ การติดต่อของเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายสามารถถ่ายทอดจากแม่สู่ทารกในครรภ์ได้ การใช้เข็มร่วมกับคนที่มีเชื้อ การสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งผ่านเข้าทางบาดแผล การใช้สิ่งของร่วมกับผู้มีเชื้อ เช่น แปรงสีฟัน มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้มีเชื้อโดยไม่ป้องกัน

สาเหตุของโรคไวรัสตับอักเสบบี

หากพูดถึงโรคตับอักเสบ โรคนี้มีหลายชนิด เช่น โรคไวรัสตับอักเสบเอ โรคไวรัสตับอักเสบซี เป็นต้น ตับอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น การดื่มสุรา การเสพยาเสพติด การติดเชื้อไวรัส เป็นต้น โรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถติดต่อได้หลายช่องทาง รายละเอียด ดังนี้

  1. การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ โดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย
  2. การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ
  3. การใช้เข็ม สักตามตัวและการเจาะหู ร่วมกันกับผู้ติดเชื้อ
  4. การใช้แปรงสีฟัน มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ ร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ
  5. ติดเชื้อจากแม่สู่ลูกขณะคลอด เราพบว่าลูกมีโอกาสติดเชื้อได้ถึงร้อยละ 90
  6. การสัมผัส เลือด น้ำคัดหลั่ง ของผู้ติดเชื้อ

อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับอาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เราสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ ระยะฉับพลัน และ ระยะเรื้อรัง รายละเอียด ดังนี้

  • อาการของผู้ป่วยติดเชื้อไวรับตับอักเสบบี ระยะเฉียบพลัน พบว่า ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการภายใน 4 เดือน หลังจากได้รับเชื้อ โดยอาการจะมีไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดชายโครงด้านขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีผื่น ปวดตามข้อ มีโอกาสเกิดภาวะตับวายได้ แต่อาการจะดีขึ้นภายใน 4 สัปดาห์ หากสามารถควบคุมและกำจัดเชื้อไวรัสได้ แต่พบว่าร้อยละ 5 ของผู้ป่วยชนิดฉับพลัน จะเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี เรื้อรัง
  • อาการของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี ระยะเรื้อรัง เราสามารถแบ่งอาการของโรคนี้ได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ระยะพาหะ และระยะตับอักเสบเรื้อรัง
    • ระยะพาหะ ผู้ป่วยจะพบอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อให้อื่นได้
    • ระยะอักเสบเรื้อรัง ระยะนี้การทำงานของตับผิดปกติ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการให้เห็นอย่างชัดเจน แต่ในผู้ป่วยบางรายมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร

การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับการรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี สามารถใช้ยารักษา แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยของไวรัสบี ปัจจัยทางผู้ป่วย และระยะของโรค โดยในปัจจุบัน ยาที่ใช้รักษาไวรัสตับอักเสบบี มีทั้งชนิดฉีดและชนิดรับประทาน แนวทางการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี ยังเป็นการรักษาประคับประคองตามอาการ ไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะเพราะยาปฏิชีวนะฆ่าไวรัสไม่ได้ แต่ใช้ฆ่าแบคทีเรีย ซึ่งที่สำคัญ คือ พักการทำงานของตับ โดยการพักผ่อนให้มากๆ (ควรต้องหยุดงานอย่างน้อยประมาณ 3-4 สัปดาห์) นอกจากนั้น คือ

  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน(สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง ฟื้นตัวได้เร็ว ลดโอกาสติดเชื้อซ้ำซ้อน ลดการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น
  • ดื่มน้ำให้มากกว่าปกติ ไม่ควรต่ำกว่าวันละ 6-8 แก้ว(เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม)
  • กินอาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ ทุกวัน
  • งดบุหรี่ และ แอลกอฮอล์ เพราะสารพิษในบุหรี่และแอลกอฮอล์ทำลายเซลล์ตับโดยตรง
  • กินยาแต่ที่เฉพาะได้รับจากแพทย์ ไม่ซื้อยากินเอง เพราะเพิ่มโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยาต่อเซลล์ตับสูงขึ้น อาจส่งผลให้ตับอักเสบมากขึ้น

อนึ่ง ในการรักษาโรคในระยะเรื้อรัง ปัจจุบันมีตัวยาหลายชนิด ทั้งฉีด และกิน ใช้เพื่อชะลอการแบ่งตัวของไวรัส ส่วนจะเลือกใช้ยาตัวใด ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ในปัจจุบันสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกัน สำหรับคนที่มีคนในครอบครัวเป็นพาหะของไวรัสชนิดนี้ ให้ตรวจเลือดเพื่อให้ทราบถึงภาวะของเชื้อ

  • ฉีดวัคซีนป้องกัน โดยผู้ที่ควรฉีดวัคซีนมากที่สุดคือ เด็กแรกเกิด สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่โดยทั่วไปมีความจำเป็นน้อยในการฉีดวัคซีน เนื่องจากส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อแล้ว หากต้องการฉีดวัคซีนควรได้รับการตรวจเลือด ผู้ที่เคยติดเชื้อมาแล้วหรือมีภูมิต้านทานแล้วไม่ต้องฉีดวัคซีน
  • ผู้ที่อยู่ในครอบครัวที่เป็นพาหะ ควรตรวจเลือดเพื่อทราบถึงภาวะของการติดเชื้อก่อนการฉีดวัคซีน การฉีดวัคซีนต้องฉีดให้ครบชุดจำนวน 3 เข็ม หลังจากนั้นวัคซีนจะกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานขึ้นในร่างกาย

ข้อควรปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบี

  1. ควรขอรับคำแนะนำจากแพทย์ และระมัดระวังการแพร่เชื้อไปสู่คนใกล้ชิด
  2. ไม่ใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์
  3. ตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ
  4. เวลามีเพศสัมพันธ์ต้องสวมถุงยางอนามัย
  5. ไม่บริจาคเลือด
  6. งดการดื่มสุรา
  7. พักผ่อนให้เพียงพอ
  8. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  9. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  10. หากต้องรับการผ่าตัดหรือทำฟัน ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบว่ามีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

ตับแข็ง cirrhosis ภาวะตับเสียหาย ทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ท้องโต ตัวเหลือง ตาเหลือง คันที่ผิวหนัง การรักษาและการป้องกันโรคตับแข็งทำอย่างไร

ตับแข็ง โรคตับ ภาวะตับแข็ง

ตับ คือ อวัยวะของร่างกายที่ใหญ่ที่สุด โดยทำหน้าที่ คือ ทำลายสารพิษในร่างกายหรือของเสียออกร่างกายและจากเลือด สร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย เพื่อต่อต้านเชื้อโรคเมื่อเข้าสู่ร่างกาย ตับจะสร้างสารบางอย่างเพื่อทำให้เลือดแข็งตัว สร้างน้ำดี เพื่อย่อยอาหารและดูดซึมวิตามิน

ภาวะตับแข็ง คือ ภาวะตับเสียหายหรือเป็นแผล ซึ่งลักษณะแผลมีพังผืดในเนื้อตับ ทำให้ตับทำงานได้ลดลง ซึ่งส่งผลกระทบต่างๆต่อร่างกายมากมาย เช่น ความสามารถในการผลิตโปรตีน การเก็บสะสมสารสำคัญและแร่ธาตุ การทำลายสารพิษ ทำได้ลดลงหรือไม่สามารถทำได้ตามปรกติ ที่สำคัญ คือ การปิดกั้นการไหลเวียนของเลือดที่ไหลเวียนผ่านตับ ไม่สามารถทำได้

โรคต่างๆที่มีผลต่อความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับแข็ง เช่น โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคไวรัสตับอักเสบซี โรคไวรัสตับอักเสบดี โรคตับอักเสบที่เกิดจากภูมิต้านทานของตนเอง โรคเนื้อเยื่อสะสมธาตุเหล็กผิดปกติ  โรควิลสัน ภาวะท่อน้ำดีอุดตัน ภาวะไขมันพอกตับ การรับประทานยาบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน การได้รับสารพิษบางชนิด และภาวะหัวใจล้มเหลวหลายครั้งติดต่อกัน

สาเหตุของการเกิดโรคตับแข็ง

สาเหตุของโรตับแข็ง คือ ภาวะตับทำงานหนักจนหยุดทำงาน ซึ่งสาเหตุที่เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคตับแข็ง มีหลายสาเหตุแต่เป็นสาเหตุที่ส่งผลต่อการทำงานของตับ ประกอบด้วยสาเหตุต่างๆ ดังนี้

    1. การดื่มสุราในปริมาณมาก หรือภาวะพิษสุราเรื้อรัง เราพบว่าผู้หญิงมีดอการเกิดตับแข็งได้ง่ายกว่าผู้ชาย
    2. ไวรัสตับอักเสบ หากได้รับเชื้อไวรัสเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดภาวะตับแข็งได้
    3. เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายการทำลายเนื้อตับ
    4. เกิดจากกรรมพันธุ์ หากมีผู้ใด้เป็นโรคตับแข็ง มีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคตับแข็ง ได้
    5. การสร้างไขมันในตับมากเกิดไป ทำให้เกิดภาวะตับแข็ง จะพบมากใน ผู้ป่วยโรคเบาหวานและคนอ้วน
    6. การใช้ยาและได้รับสารพิษบางชนิดเป็นเวลานาน
    7. เนื้อเยื่อสะสมธาตุเหล็กผิดปกติ
    8. โรควิลสัน ( Wilson’s disease ) เกิดจากการมีการสะสมทองแดงมากเกินไปในตับ
    9. ภาวะท่อน้ำดีอุดตัน ทำให้น้ำดีที่ไหลย้อนกลับไปที่ตับส่งผลทำลายเนื้อตับจนเป็นตับแข็งได้
    10. ภาวะหัวใจล้มเหลวหลายครั้งติดต่อกัน

อาการผู้ป่วยโรคตับแข็ง

สำหรับอาการของผู้ป่วยภาวะตับแข็ง จะพบว่าผู้ป่วยจะ อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ไม่อยากอาหาร ในบางครั้งคลื่นไส้ และน้ำหนักตัวลด ในเพศหญิงอาจมีประจำเดือนมาผิดปกติ ในผู้ชายอาจมีเต้านมขยายใหญ่ และปวดบริเวณหัวนม สมรรถภาพทางเพศลดลง ขาบวม ท้องโตขึ้น ตัวเหลืองตาเหลือง มีอาการทางสมอง เนื่องจากการกรองสารพิษ ทำได้น้อย สารพิษจึงเข้าสู่เลือด มีเลือดออกอย่างรุนแรงในกระเพาะอาหาร อาหารของโรคตับแข็งสามารถสรุปเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

  • อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ไม่อยากอาหาร ในบางครั้งอาจเกิดร่วมกับอาการคลื่นไส้ น้ำหนักลด
  • อาจมีประจำเดือนผิดปกติ
  • ในผู้ชายอาจมีเต้านมขยายใหญ่ขึ้นพร้อมอาการปวด สมรรถภาพทางเพศลดลง
  • ขาบวมหรือท้องโตขึ้น เนื่องจากโปรตีนอัลบูมินถูกผลิตน้อยลง ส่งผลให้มีน้ำสะสมในขาหรือท้องฟกช้ำหรือเลือดออกได้ง่าย เนื่องจากมีการผลิตโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบในการทำให้เลือดแข็งตัวลดลง
  • อาการดีซ่าน หรืออาการตัวเหลืองตาเหลือง ซึ่งเกิดจากการสะสมเม็ดสีของน้ำดี
  • มีอาการคันที่ผิวหนังอย่างรุนแรง เนื่องจากสารประกอบของน้ำดีถูกฝังอยู่ในผิวหนัง
  • มีอาการทางสมอง เนื่องจากตับไม่สามารถกรองสารพิษออกมาได้ จึงเริ่มสะสมในเลือด โดยสัญญาณแรกของการสะสมสารพิษในสมองอาจสังเกตได้จากการที่ผู้ป่วยละเลยการดูแลตนเอง ไม่มีอาการตอบโต้ ลืมง่าย ไม่มีสมาธิ
  • มีความไวต่อยาและผลข้างเคียง เนื่องจากในผู้ป่วยโรคตับแข็งตับจะไม่สามารถกรองยาออกจากเลือดได้ในอัตราปกติ ตัวยาจึงออกฤทธิ์นานขึ้นและสะสมอยู่ในร่างกาย
  • มีเลือดออกอย่างรุนแรงในกระเพาะอาหารส่วนบนหรือหลอดอาหาร เนื่องมาจากการไหลเวียนของเลือดผิดปกติ ซึ่งจัดเป็นอาการที่รุนแรงและอันตราย แพทย์ต้องรีบหยุดเลือดโดยเร็ว

เราสามารถตรวจวินิจฉัยภาวะตับแข็ง ได้อย่างไร เราสามารถทำได้ 5 วิธี ประกอบด้วย

  1. การตรวจเลือด
  2. การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
  3. การตรวจอัลตราซาวนด์
  4. การตรวจตับและม้ามด้วยรังสี
  5. การเจาะผ่านผิวหนัง เพื่อเอาตัวอย่างจากเนื้อตับไปตรวจ

การรักษาโรคตับแข็ง

สำหรับการรักษาภาวะตับแข็ง จะต้องทำให้เนื้อเยื่อในตับหยุดพัฒนาตัวเอง และป้องกันภาวะโรคแทรกซ้อนต่างๆ และหลีกเลี่ยงการกระทำที่จะทำให้เกิดภาวะตับแข็ง ทั้งหมด เช่น งดการดื่มสุรา หลีกเลี่ยงการใช้ยา และการรับสารที่เป็นอันตรายต่อตับ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารดิบ รับประทานโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสมต่อร่างกาย ลดอาหารที่มีรเค็ม และเข้าพบแพทย์ เพื่อรักษาอย่างสม่ำเสมอ แนวทางการรักษาโรคตับแข็งมี ดังนี้

  • งดการดื่มแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาและสารที่เป็นอันตรายต่อตับ
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารดิบ โดยเฉพาะอาหารทะเล เนื่องจากอาจมีเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อที่รุนแรง
    รับประทานโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสม โดยควรรับประทานโปรตีนที่ย่อยง่าย เช่น ปลา หรือโปรตีนจากพืช (เช่น ถั่วเหลือง) เป็นต้น
  • หากมีอาการบวมที่ข้อเท้าและท้อง ควรจำกัดเกลือและอาหารรสเค็ม
  • เข้ารับการฉีดวัคซีนสำหรับโรคไวรัสตับอักเสบเอและบี ไข้หวัดใหญ่ และโรคปอดบวม เนื่องจากผู้ป่วยโรคตับแข็งมีความเสี่ยงในการติดเชื้อที่รุนแรงมากกว่าผู้ที่มีสุขภาพดี
  • พบแพทย์เพื่อติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ

โรคแทรกซ้อนที่สามารถเกิดได้เมื่อเป็นภาวะตับแข็ง เช่น มีน้ำในท้อง หลอดเลือดหน้าท้องพอง หลังเท้าบวม ท้องบวม เลือดออกง่าย ตัวเหลืองและตาเหลือง คันตามตัว เป็นนิ่วในถุงน้ำดี ความจำเสื่อม อาเจียนเป็นเลือด ริดสีดวงทวาร

การป้องกันโรคตับแข็ง

โรคตับแข็งสามารถป้องกันการเกิดโรคได้ด้วยการดูแลสุขภาพและไม่สร้างปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ทำให้ตับเสียหลายหรือทำงานหนักเกินไป ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค มีรายละเอียดดังนี้

  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากหรือเลิกดื่มไปเลยได้ยิ่งดี
  • ไม่ใช้ยาหรือซื้อยาต่าง ๆ มารับประทานเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร โดยเฉพาะยาที่อาจมีพิษต่อตับ
  • หลีกเลี่ยงการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี
  • หลีกเลี่ยงการฉีดยาเสพติดเข้าเส้น
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีตั้งแต่แรกเกิด
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้ดีอยู่เสมอ เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อต่าง ๆ
  • สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี หรือตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove