ไวรัสตับอักเสบบี Hepatitis B ภาวะติดเชื้อไวรัสที่ตับ สาเหตุของตับวาย ตับแข็ง มะเร็งตับ อาการตัวเหลืองตาเหลือง ปวดชายโครงด้านขวา อาเจียน อ่อนเพลีย ปวดตามข้อ รักษาอย่างไร

ไวรัสตับอักเสบบี โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

ไวรัสตับอักเสบบี ภาษาอังกฤษ เรียก Hepatitis B เป็นโรคที่สามารถติดต่อได้ ซึ่งอาการสำคัญ คือ การอักเสบของเซลล์ตับ หากอาการมีความเรื้อรังจะเกิดพังผืด เป็นสาเหตุของตับแข็งและมะเร็งตับ การติดต่อของเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายสามารถถ่ายทอดจากแม่สู่ทารกในครรภ์ได้ การใช้เข็มร่วมกับคนที่มีเชื้อ การสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งผ่านเข้าทางบาดแผล การใช้สิ่งของร่วมกับผู้มีเชื้อ เช่น แปรงสีฟัน มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้มีเชื้อโดยไม่ป้องกัน

สาเหตุของโรคไวรัสตับอักเสบบี

หากพูดถึงโรคตับอักเสบ โรคนี้มีหลายชนิด เช่น โรคไวรัสตับอักเสบเอ โรคไวรัสตับอักเสบซี เป็นต้น ตับอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น การดื่มสุรา การเสพยาเสพติด การติดเชื้อไวรัส เป็นต้น โรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถติดต่อได้หลายช่องทาง รายละเอียด ดังนี้

  1. การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ โดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย
  2. การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ
  3. การใช้เข็ม สักตามตัวและการเจาะหู ร่วมกันกับผู้ติดเชื้อ
  4. การใช้แปรงสีฟัน มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ ร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ
  5. ติดเชื้อจากแม่สู่ลูกขณะคลอด เราพบว่าลูกมีโอกาสติดเชื้อได้ถึงร้อยละ 90
  6. การสัมผัส เลือด น้ำคัดหลั่ง ของผู้ติดเชื้อ

อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับอาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เราสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ ระยะฉับพลัน และ ระยะเรื้อรัง รายละเอียด ดังนี้

  • อาการของผู้ป่วยติดเชื้อไวรับตับอักเสบบี ระยะเฉียบพลัน พบว่า ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการภายใน 4 เดือน หลังจากได้รับเชื้อ โดยอาการจะมีไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดชายโครงด้านขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีผื่น ปวดตามข้อ มีโอกาสเกิดภาวะตับวายได้ แต่อาการจะดีขึ้นภายใน 4 สัปดาห์ หากสามารถควบคุมและกำจัดเชื้อไวรัสได้ แต่พบว่าร้อยละ 5 ของผู้ป่วยชนิดฉับพลัน จะเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี เรื้อรัง
  • อาการของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี ระยะเรื้อรัง เราสามารถแบ่งอาการของโรคนี้ได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ระยะพาหะ และระยะตับอักเสบเรื้อรัง
    • ระยะพาหะ ผู้ป่วยจะพบอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อให้อื่นได้
    • ระยะอักเสบเรื้อรัง ระยะนี้การทำงานของตับผิดปกติ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการให้เห็นอย่างชัดเจน แต่ในผู้ป่วยบางรายมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร

การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับการรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี สามารถใช้ยารักษา แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยของไวรัสบี ปัจจัยทางผู้ป่วย และระยะของโรค โดยในปัจจุบัน ยาที่ใช้รักษาไวรัสตับอักเสบบี มีทั้งชนิดฉีดและชนิดรับประทาน แนวทางการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี ยังเป็นการรักษาประคับประคองตามอาการ ไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะเพราะยาปฏิชีวนะฆ่าไวรัสไม่ได้ แต่ใช้ฆ่าแบคทีเรีย ซึ่งที่สำคัญ คือ พักการทำงานของตับ โดยการพักผ่อนให้มากๆ (ควรต้องหยุดงานอย่างน้อยประมาณ 3-4 สัปดาห์) นอกจากนั้น คือ

  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน(สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง ฟื้นตัวได้เร็ว ลดโอกาสติดเชื้อซ้ำซ้อน ลดการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น
  • ดื่มน้ำให้มากกว่าปกติ ไม่ควรต่ำกว่าวันละ 6-8 แก้ว(เมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่ม)
  • กินอาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ ทุกวัน
  • งดบุหรี่ และ แอลกอฮอล์ เพราะสารพิษในบุหรี่และแอลกอฮอล์ทำลายเซลล์ตับโดยตรง
  • กินยาแต่ที่เฉพาะได้รับจากแพทย์ ไม่ซื้อยากินเอง เพราะเพิ่มโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยาต่อเซลล์ตับสูงขึ้น อาจส่งผลให้ตับอักเสบมากขึ้น

อนึ่ง ในการรักษาโรคในระยะเรื้อรัง ปัจจุบันมีตัวยาหลายชนิด ทั้งฉีด และกิน ใช้เพื่อชะลอการแบ่งตัวของไวรัส ส่วนจะเลือกใช้ยาตัวใด ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

สำหรับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ในปัจจุบันสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกัน สำหรับคนที่มีคนในครอบครัวเป็นพาหะของไวรัสชนิดนี้ ให้ตรวจเลือดเพื่อให้ทราบถึงภาวะของเชื้อ

  • ฉีดวัคซีนป้องกัน โดยผู้ที่ควรฉีดวัคซีนมากที่สุดคือ เด็กแรกเกิด สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่โดยทั่วไปมีความจำเป็นน้อยในการฉีดวัคซีน เนื่องจากส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อแล้ว หากต้องการฉีดวัคซีนควรได้รับการตรวจเลือด ผู้ที่เคยติดเชื้อมาแล้วหรือมีภูมิต้านทานแล้วไม่ต้องฉีดวัคซีน
  • ผู้ที่อยู่ในครอบครัวที่เป็นพาหะ ควรตรวจเลือดเพื่อทราบถึงภาวะของการติดเชื้อก่อนการฉีดวัคซีน การฉีดวัคซีนต้องฉีดให้ครบชุดจำนวน 3 เข็ม หลังจากนั้นวัคซีนจะกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานขึ้นในร่างกาย

ข้อควรปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบี

  1. ควรขอรับคำแนะนำจากแพทย์ และระมัดระวังการแพร่เชื้อไปสู่คนใกล้ชิด
  2. ไม่ใช้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์
  3. ตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ
  4. เวลามีเพศสัมพันธ์ต้องสวมถุงยางอนามัย
  5. ไม่บริจาคเลือด
  6. งดการดื่มสุรา
  7. พักผ่อนให้เพียงพอ
  8. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  9. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  10. หากต้องรับการผ่าตัดหรือทำฟัน ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบว่ามีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร (แบ่งตามสรรพคุณรักษาโรคของสมุนไพร) โรค (แบ่งต่ามอาการป่วยของอวัยวะต่างๆ) แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลการดูแลตัวเองเบื้องต้น ข้อมูลดีๆในเว็ยไซต์แห่งนี้เนื้อหามีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

โรคหิด ( Scabies ) ผิวหนังอักเสบจากตัวหิด ( Scabies mite )กัด อาการตุ่มนูนแข็ง สีแดงขนาดใหญ่ ติดทางเพศสัมพันธ์ได้ โรคหิด มี 2 ประเภท โรคหิคต้นแบบ โรคหิดนอร์เวย์โรคหิด ตัวหิด โรคติดเชื้อ โรคติดต่อ

โรคหิด ( Scabies ) คือ ภาวะผิวหนังอักเสบ โดยสาเหตุเกิดจาก ตัวหิด ภาษาอังกฤษ เรียก Scabies mite เป็นสิ่งมีชิวิตชนิด ปรสิต  ( Parasite ) ตัวหิตจะต้องอาศัยอยู่บนตัวคน ใช้ชีวิตอยู่ที่ผิวหนังของคน อาหารของตัวหิด คือ เซลล์ผิวหนังของคน อาการสำคัญของโรคหิด คือ คันและมีผื่นขึ้นตามผิวหนัง โรคหิดสามารถติดต่อได้โดยการสัมผัสกับคนที่มีตัวหิดอาศัยอยู่ รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ด้วย โรคหิด มี 2 ประเภท คือ โรคหิดต้นแบบ และ โรคหิดนอร์เวย์ โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • โรคหิดต้นแบบ เรียกว่า Classic scabies การเป็นโรคหิดชนิดนี้เกิดจากการสัมผัสผิวหนังคนที่มีภาวะโรคหิดเป็นระยะเวลานาน เช่น การอยู่ในบ้านเดียวกัน นอนหลับด้วยกัน เป็นต้น จะพบว่ามีการติดมากในสภาพสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี
  • โรคหิดนอร์เวย์ เรียกว่า Norwegian scabies หรือ Crusted scabies เป็นภาวะภูมิต้านทานโรคบกพร่อง หรือ เกิดจากการได้รับยากดภูมิต้านทาน โรคนี้เกิดครั้งแรกในประเทศนอร์เวย์ จึงถูกเรียกว่า หิดนอร์เวย์ กลุ่มคนที่มีโอกาสติดหิด คือ คนสูงอายุ คนขาดสารอาหาร ผู้ป่วยโรคมะเร็ง คนป่วยอัมพาต คนพิการที่สมอง เป็นต้น

โรคหิด โรคผิวหนัง โรคติดต่อ อาการคันมีผื่น

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหิด

สำหรับปัจจัยการเกิดโรคหิด สามารถแยกสาเหตุของการเกิดหิดทั้ง 2 ประเภท ได้โดยรายละเอียด ดังนี้

  • โรคหิดชนิดต้นแบบ การอยู่ใกล้ชิดและสัมผัสผิวหนังกับคนที่เป็นหิด โดยกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูง คือ คนที่อยู่ในบ้านที่สกปรก เด็ก คนยากจน คนที่ทำงานในสถานพยาบาล บ้านพักคนชรา เรือนจำ ค่ายกักกัน รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์กับคนเป็นหิด นอกจากนี้ การใช้ของร่วมกัน เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ก็เป็นปัจจัยของการติดหิดชนิดต้นแบบ
  • โรคหิดนอร์เวย์ ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหิดชนิดนี้ คือ ความผิดปรกติของร่างกาย โดยเกิดจากภาวะภูมิกันต้านทานโรคบกพร่อง โดยคนที่มีปัจจัยเสียง คือ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยอัมพาต ผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทและสมอง เป็นต้นช่วย

สาเหตุของการเกิดโรคหิด

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคหิด เกิดจาด ตัวหิด จัดเป็นปรสิต ที่ต้องอาศัยอยู่บนร่างกายของมนุษย์ และกินเซลล์ผิวหนังของมนุษย์เป็นอาหาร ซึ่งเป็นโรคที่สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ จากการสัมผัสผิวหนังของคนที่มีตัวหิดอาศัยอยู่ รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ด้วย และหากหิดติดที่อวัยวะเพศจะมีตุ่มและผื่นคันที่อวัยวะเพศ

อาการของผู้ป่วยโรคหิด

ตัวหิดเมื่อเข้าสู่ผิวหนังของคน จะมีระยะเวลาในการฟักตัว ภายใน 45 วัน ซึ่งในช่วงแรกจะไม่แสดงอาการ และเมื่อแสดงอาการ จะเกิดปฏิกิริยาที่ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานของร่างกาย ตัวหิดจะหลั่งสารเคมีต่างๆ สารเคมีเหล่าจะทำให้เกิดอาการ โดยอาการจะแยกตามชนิดของโรค รายละเอียด ดังนี้

  • โรคหิดชนิดต้นแบบ จะมีอาการตุ่มนูน ลักษณะแข็ง มีสีแดงขนาดใหญ่ ขึ้นตามผิวหนัง เกิดที่รักแร้และขาหนีบ มีอาการคัน และจะคันมากในช่วงกลางคืน ตำแหน่งที่หิดมักจะอยู่ คือ ตามง่ามนิ้วมือ ข้อมือ ข้อศอก รอบสะดือ ท้อง เอว ก้น อวัยวะเพศชาย และหัวนม
  • โรคหิดนอร์เวย์ อาการของโรคหิดชนิดนี้ ผู้ป่วยจะสูญเสียความรู้สึกของผิวหนัง ไม่แสดงอาการคัน ไม่มีรอยข่วน ไม่มีตุ่มนูนแดง ไม่มีตุ่มน้ำใสๆ ทำให้ไม่มีใครสังเกตเห็นว่าผู้ป่วยเป็นหิด เมื่อตัวหิดเพิ่มจำนวนมากขึ้น ผิวหนังชั้นบนของผู้ป่วย จะหนา และมีสะเก็ด เห็นชัดเจนที่ ข้อศอก ข้อเข่า ฝ่ามือ และฝ่าเท้า เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหิด

การเกิดโรคหิด เป็นเวลานาน หากไม่ทำการรักษาอย่างถูกวิธี ต้องระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยสิ่งที่ต้องระวัง คือ เชื้อแบคทีเรียที่อาศัยบนผิวหนัง ทำผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังถูกทำลาย จนกลายเป็นโรคผิวหนังอื่นๆ เช่น ผิวหนังอักเสบ เนื้อเยื่ออักเสบ ฝีหนอง เป็นต้น

สำหรับโรคแทรกซ้อนจากโรคหิด เช่น โรคปอดอักเสบ โรคกรวยไตอักเสบ และการติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นต้น

การรักษาโรคหิด

สำหรับการรักษาโรคหิด เนื่องจากปัญหาของโรคหิด เกิดจากตัวหิด ที่ทำให้ เกิดการอักเสบที่ผิวหนัง และ นำไปสู่การติดเชื้อ ซึ่งการรักษาโรคหิด มี 3 ลักษณะ คือ การกำจัดตัวหิด การรักษาอาการคัน และ การป้องกันการติดเชื้อ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • การฆ่าตัวหิด การทำลายตัวหิด สามารถใช้ยาทา โดยจะต้องทายาให้ทั่วตัว ต้องทาทิ้งไว้ประมาณ 8-12 ชั่วโมง และใช้ยาทา ทาซ้ำอีกครั้งภายใน 10 วัน เพื่อกำจัดหิดตัวอ่อน แต่สำหรับโรคหิดชนิดนอร์เวย์ ต้องรักษาด้วยการใช้ยากิน เช่น Ivermectin  และใช้ยาทาร่วม
  • การรักษาอาการคัน ต้องรักษาด้วยการใช้ยากินแก้คัน หากผู้ป่วยมีตุ่มนูนแดง ต้องรักษาด้วยการฉีดยาสเตียรอยด์
  • การรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน โดยการให้ยาปฏิชีวนะ อาจให้เป็นยาทา ยากิน หรือยาฉีด ขึ้นกับความรุนแรงของโรค

ป้องกันการเกิดโรคหิด

การป้องกันโรคหิด ต้องป้องกันการแพร่กระจายของตัวหิด เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ โดยรายละเอียดของการป้องกันการเกิดโรคหิด มีดังนี้

  • งดการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีโรคหิด หรือ คนที่ไม่ใช่คู่นอนที่เป็นคู่ชีวิตของตน
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิด หรือ การสัมผัสคนที่เป็นโรคหิด
  • หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับผู้ป่วยโรคหิด
  • ปรับสภาพสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ถูกสุขอนามัย
  • หากต้องสัมผัสผู้ป่วยโรคหิด ต้องใส่เครื่องป้องกัน

โรคหิด ( Scabies ) ผิวหนังอักเสบเกิดจากตัวหิด ( Scabies mite ) มีอาการตุ่มนูน ลักษณะแข็ง สีแดงขนาดใหญ่ตามผิวหนัง อาหารของตัวหิด คือ เซลล์ผิวหนังของคน ติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์มี 2 ประเภท โรคหิคต้นแบบ โรคหิดนอร์เวย์


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove