ขมิ้น สมุนไพร นิยมใช้เหง้านำมาทำอาหาร ลักษณะของต้นขมิ้น คุณค่าทางโภชนาการของขมิ้น สรรพคุณของขมิ้น เช่น ช่วยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม โทษของขมิ้นมีอะไรบ้าง

ขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรบำรุงผิว

ต้นขมิ้น ( Turmaric ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของขมิ้น คือ Curcuma longa Linn สมุนไพร สรรพคุณของขมิ้น ช่วยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม ป้องกันมะเร็ง รักษาโรคกระเพาะ รักษาลำไส้อักเสบ รักษาโรคผิวหนัง ลดไขมันในเลือด เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยาฆ่าเชื้อรา รักษาฝี รักษาแผลไฟไหม้ บำรุงตับ ช่วยย่อยอาหาร ลดไขมันในตับ ขมิ้นเป็นพืชที่ปลูกง่าย ลักษณะเหมือขิง

ต้นขมิ้น มีชื่อในภาษาอังกฤษ ว่า Turmaric ชื่อวิทยาศาสตร์ของขมิ้น คือ Curcuma longa Linn ชื่ออื่นๆของขมิ้น เช่น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว หมิ้น ขมิ้นป่า ขมิ้นทอง ขมิ้นดี ตายอ เป็นต้น

ลักษณะของต้นขมิ้น

ขมิ้น เป็นพืชล้มลุก มีความสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในเหง้ามีสีเหลืองเข้ม มีกลิ่นที่หอม ลักษณะใบ เป็นใบเดี่ยว ซึ่งแทงออกมาจากเหง้า ดอกของขมิ้นออกเป็นช่อ มีก้านชช่อแทงออกมาจากเหง้า กลีบดอกของขมิ้นมีสีเหลืองอ่อน

  • ลำต้นของขมิ้นชัน มีความสูงประมาณ  30 ถึง 95 เซ็นติเมตร
  • เหง้าของขมิ้นชัน เป็นลักษณะทรงรี รูปไข่ อยู่ใต้ดิน อ้วนและสั้น ในเนื้อของเหง้ามีสีเหลืองส้ม กลิ่นฉุน
  • ใบของขมิ้นชัน ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ตรงกลางใบมีสีแดงคล้ำ ออกมาจากเหง้า เรียงซ้อนทับกันเป็นวง ลักษณะใบเป็นรูปหอก  ดอกของขมิ้นชัน ดอกออกมาจากเหง้าขมิ้นชั้น แทรกขึ้นตามก้านใบ ดอกขมิ้นรูปทรงกระบอก สีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อน

คุณค่าทางโภชนาการของขมิ้น

ขมิ้น มีวิตามินเอ วิตามินอี และวิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งตับได้ ช่วยลดไขมันในตับ สมานแผลในกระเพราะอาหาร เปลี่ยนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ ทำความสะอาดลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร

ขมิ้นชัน อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และเกลือแร่ต่าง ๆ รวมไปถึงเส้นใย คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน เป็นต้น

สรรพคุณทางสมุนไพรของขมิ้น

เรานิยมใช้เหง้าของขมิ้นมาใช้ประโยชน์ ซึ่งเหง้าของขมิ้นมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดการอักเสบ ช่วยป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ รักษาฝี แผลพุพอง รักษาอาการอักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย รายละเอียดการนำเอาขมิ้นมาใช้เป็นยาต่างๆ ดังนี้

  • ยาแก้โรคกระเพาะ แก้ท้องร่วง แก้ท้องอืด โดยใช้เหง้าขมิ้นแก่ มาขูดเปลือกออกล้างให้สะอาด นำมาบดให้ละเอียด และคั้นเอาแต่น้ำ รับประทานวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ
  • ยาทาผิว ใช้แก้ผื่นคัน โรคผิวหนัง แผลพุพอง ชันนะตุ และหนังศรีษะที่เป็นผื่น โดยใช้เหง้าแก่ มาบดเป็นผง ใช้ทาตามบริเวณที่เป็นผื่นคัน
  • ยารักษาโรคกระเพาะ โดยใช้รับประทานเหง้าขมิ้น

ผลข้างเคียงจากการบิโภคขมิ้นชัน

การรับประทานขมิ้นเพื่อการรักษาโรคใด ๆ ก็ตาม ถ้าหากเรารู้ว่าเราเป็นโรคอะไร แล้วรับประทานไปเรื่อย ๆ จนโรคนั้นหายไปแล้ว ก็ควรหยุดรับประทาน ถึงแม้ขมิ้นจะมีประโยชน์ก็จริง แต่หากร่างกายได้รับมากเกินความต้องการอาจจะกลายเป็นโทษเสียเอง ขมิ้นชันมีผลข้างเคียงคืออาการแพ้ เช่น คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ ดังนั้นหากคุณรับประทานขมิ้นแล้วมีอาการดังกล่าว ควรหยุดรับประทานและหายาชนิดอื่นรับประทานแทน และยังมีความเชื่อเรื่องโทษและข้อเสียของขมิ้นในแถบภาคใต้ว่า การรับประทานขมิ้นที่มากเกินไปและถี่เกินไปนั้นแทนที่จะช่วยป้องกันโรคมะเร็ง อาจจะเป็นมะเร็งเสียเอง

อย่างไรก็ตาม คุณควรสังเกตอาการของตัวคุณเองด้วย เนื่องจากอาการท้องเสียนั้นเป็นอาการข้างเคียงทั่วไป อาจมีสาเหตุมาจากยาชนิดอื่นหรือจากภาวะของโรคที่เป็นอยู่แล้วร่วมด้วยก็เป็นได้ ดังนั้นคุณควรสังเกตอาการของตัวคุณเองด้วยว่าเดิมกินยาอื่นแล้วไม่มีปัญหาใช่หรือไม่ แต่เพิ่งมามีปัญหาเมื่อตอนรับประทานขมิ้นร่วมด้วย ก็ควรสงสัยไว้ก่อนว่าอาจเป็นผลข้างเคียงของขมิ้นก็ได้ แต่ทั้งนี้ถ้าคิดว่าเป็นผลข้างเคียงของขมิ้น คุณก็อาจจะรับประทานขมิ้นต่อไปได้ ด้วยการรับประทานซ้ำ และค่อย ๆ ปรับขนาดยา จาก 1 เม็ด เป็น 2 เม็ดต่อครั้ง แล้วดื่มน้ำตามมาก ๆ ก็อาจจะทำให้รับประทานขมิ้นต่อไปได้

ขมิ้นชันมีสรรพคุณทางยาที่รักษาอาการและโรคต่าง ๆ ได้หลายชนิด มีประวัติในการนำมาใช้ในการรักษามากกว่า 5,000 ปี สำหรับขมิ้นชันที่จะนำมาใช้ประโยชน์นั้น การเก็บเกี่ยวไม่ควรเก็บในระยะที่ขมิ้นเริ่มแตกหน่อ เพราะจะทำให้สารที่มีประโยชน์อย่างเคอร์คูมินในขมิ้นมีน้อย ส่วนเหง้าที่เก็บมาต้องมีอายุอย่างน้อย 9-12 เดือน และต้องไม่เก็บไว้นานเกินไป และไม่ให้ถูกแสงแดด เพราะน้ำมันหอมระเหยในขมิ้นจะหมดไปเสียก่อน

ตำลึง ( Lvy Gourd, Coccinia ) สมุนไพร นิยมปลูกริมรั้วบ้าน ประโยชน์และสรรพคุณช่วยขับลม บำรุงสายตา บำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันมะเร็ง ลดน้ำตาลในเลือด ลดไข้ รักษาแผล

ตำลึง ผักสวนครัว สมุนไพร

ต้นตำลึง ภาษาอังกฤษ เรียก Lvy Gourd, Coccinia มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Cocconia grandis (L.) Voigt ชื่ออื่น ๆ ของผักตำลึง เช่น ผักแคบ แคเด๊าะ สี่บาท ผักตำนินตำลึงนิยมนำมาทำอาหาร

ลักษณะของต้นตำลึง

ตำลึง เป็นไม้เลื้อย ลำต้นจะเกาะตามหลัก เช่น แนวรั้วบ้าน ต้นไม้ เถาของตำลึงจะมีสีเขียว ใบของตำลึงเป็นใบเดี่ยว สลับกันไปมาตามเถา โคนของใบมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจ ดอกของตำลึง จะมีลักษณะเป็นดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ มีสีขาว ผลของตำลึง เหมือนแตงกวาแต่มีขนาดเล็กกว่า ผลสีเขียวมีลายสีขาว พอสุกจะกลายเป็นสีแดง

  • ต้นตำลึง เป็นไม้เถาเลื้อยขึ้นตามหลักเสา ตามรั้วบ้านหรือพันต้นไม้อื่น อายุยืนยาวหลายปี มีมือเกาะยึดออกตรงข้ามใบ ลำต้นเล็กยาว เมื่ออายุมากลำต้นหรือเถาจะใหญ่และแข็งแรงมากขึ้น
  • ใบตำลึง เป็นใบเดี่ยว สีเขียว รูปสามเหลี่ยม กว้าง 5 ซม. ยาว 6-7 ซม. สลับข้างกัน ตำลึงตัวผู้ใบหยักเว้าลึก 3-5 หยัก ต่างจากใบของต้นตำลึงตัวเมียที่เป็นรูปสามเหลี่ยม อยู่แยกต้นออกจากกัน
  • ดอกตำลึง สีขาวปลายกลีบ 5 แฉก ข้างในมีเกสรสีเหลืองอ่อน มองคล้ายรูประฆัง
  • ผลตำลึง เป็นรูปไข่คล้ายผลแตงกวาแต่เล็กกว่ามาก กว้าง 1 -2 ซม. ยาว 3-4 ซม. เมื่ออ่อนจะมีสีเขียวมีลายขาว ผลสุกเต็มที่สีแดงสด ภายในมีเมล็ดมากมาย ส่วนตำลึงตัวผู้มีแต่ดอกแต่ไม่มีผล

คุณค่าทางโภชนาการของตำลึง

การศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบและยอดอ่อนตำลึงขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 35 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน กากใยอาหาร 1 กรัม เบตาแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม  ธาตุฟอสฟอรัส และ ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม

นักโภชนาการได้ทำการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของตำลึง ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย วิตามินบี1 0.17 มิลลิกรัม โปรตีน 3.3 กรัม แคลเซียม 126 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 699.88 ไมโครกรัม  ไนอาซีน 1.2 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม  และใยอาหาร 2.2 กรัม

สรรพคุณของตำลึง

เราสามารถนำตำลึงมาใช้ได้ทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็น ใบ ดอก เมล็ด ราก เถา รายละเอียดการใช้ประโยชน์ของตำลึงมีดังนี้

  • ใบของตำลึง เป็นยาลดวามร้อนในร่างกาย นำมาบดเป็นยาพอกผิวหนัง แก้ผื่นคันจากหมามุ้ย ต้นตำแย แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้แมลงสัตว์กัดต่อย รักษาผื่นคันที่เกิดจาก หมามุ่ย ตำแย  นำมารับประทาน แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้จุกเฉียด
  • ดอกของตำลึง นำมาใช้รักษาอาการคันผิวหนัง
  • เมล็ดของตำลึง นำมาผสมกับน้ำมันมะพร้าว ใช้ทาแก้หิด
  • รากของตำลึง นำมาใช้ ลดไข้ แก้อาเจียน ลดความอ้วน แก้ฝี แก้ปวดบวม แก้พิษร้อนใน แก้พิษแมลงป่องหรือตะขาบข่อย
  • เถาของตำลึง นำมาชงกับน้ำดื่มแก้อาการวิงเวียนศรีษะ  นำมาบดใช้พอกผิวหนังแก้โรคผิวหนัง เถาของตำลึงมีสรรพคุณ ลดระดับน้ำตาลในเลือด

นำตำลึงทั้งต้น มาใช้ทั้ง ราก ใบและเถา นิยมนำมาเป็นยารักษาแก้โรคผิวหนัง ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้หลอดลมอักเสบ กำจัดกลิ่นตัว

โทษของตำลึง

สำหรับการบริโภคตำลึงเป็นอาหารไม่พบประวัติการเป็นอันตรายจากการบริโภคตำลึงเป็นอาหาร หรือ การนำมารักษาโรค แต่ตำลึงมีฤทธิ์เป็นยาเย็น เมื่อทาน้ำตำลึงที่ผิวหนังแล้วไม่รู้สึกเย็นแปลว่าไม่ถูกโรค ให้หยุดใช้ทันที การทาน้ำตำลึงไม่ควรถูแรงจนเกินไปในบริเวณที่เป็นผิวบอบบาง เพราะจะทำให้เกิดอาการอักเสบเพิ่มมากขึ้น

ตำลึง ( Lvy Gourd, Coccinia ) คือ สมุนไพร พืชล้มลุก นิยมปลูกริมรั้วบ้าน ประโยชน์และสรรพคุณของตำลึง ช่วยแก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงสายตา รักษาหลอดลมอักเสบ รักษาเบาหวาน แก้แมงสัตว์กัดต่อย ช่วยบำรุงกระดูก บำรุงฟัน ป้องกันมะเร็ง ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงเลือด ใช้ลดไข้ รักษาแผล รักษาหิด


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove