งาดำ สมุนไพร ธัญพืช คุณค่าทางโภชนาการสูง นิยมนำมาบริโภคเป็นอาหาร สรรพคุณช่วยชะลอวัย บำรุงผิวพรรณ บำรุงเส้นผม แล้วโทษของงาดำมีไหม เป็นอย่างไร

งาดำ สมุนไพร สรรพคุณของงาดำ

งาดำ ภาษาอังกฤษเรียก Black Sesame Seeds ชื่อวิทยศาสตร์ของงาดำ คือ Sesamum indicum L. งาดำ เป็นพืชในเขตร้อน นิยมรับประทานเมล็ดงาดำเป็นอาหาร เพราะ อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากมาย เช่น วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินบี9 ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโพแทสเซียม โซเดียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุสังกะสี และ ธาตุเหล็ก เป็นต้น

สรรพคุณของงาดำ ประกอบด้วย ช่วยชะลอความแก่ ช่วยบำรุงผิว ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ช่วยซ่อมแซมผิวพรรณ ช่วยบำรุงรากผม ช่วยให้ผมดกเงางาม ช่วยป้องกันการเกิดผมหงอก ช่วยบำรุงกำลัง ช่วยสลายไขมัน ใช้ลดความอ้วน ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในร่างกาย

สายพันธุ์งาดำ

สำหรับงาดำในประเทศไทย มีหลายสายพันธ์ ซึ่ง สายพันธ์ที่นิยมปลูก มี 4 สายพันธ์ ประกอบด้วย งาดำบุรีรัมย์ งาดำนครสวรรค์ งาดำมก18 และ งาดำมข2 ลักษณะดังนี้

  • งาดำ สายพันธ์บุรีรัมย์ เป็นสายพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะเด่น คือ เมล็ดมีขนาดใหญ่ สีเกือบดำสนิท มีอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 90 ถึง 100 วัน
  • งาดำ สายพันธ์นครสวรรค์ เป็นสายพันธุ์พื้นเมือง สายพันธ์นี้นิยมปลูกมากในทุกภาคของประดทศ ลักษณะเด่น คือ ลำต้นสูง ใบค่อนข้างกลม เมล็ดสีดำอวบและใหญ่ อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 95 ถึง 100 วัน
  • งาดำ สายพันธ์ มก.18 เป็นสายพันธ์แท้ พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลักษณะเด่น คือ ลำต้นสูง ไม่แตกกิ่ง ข้อลำต้นสั้น จำนวนฝักต่อต้นสูง ลำต้นแข็งแรง และทนต่อโรคราแป้งได้ดี
  • งาดำ สายพันธ์ มข.2 สายพันธ์ดั้งเดิม คือ ซีบี 80 เป็นสายพันธ์ที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ลักษณะเด่น คือ ลำต้นสูงเมล็ดสีดำสนิท อายุการเก็บเกี่ยวสั้น ประมาณ 70 ถึง 75 วัน ทนแล้ง และต้านทานต่อโรคเน่าดำได้ดี

ลักษณะของต้นงาดำ

ต้นงาดำ เป็นพืชล้มลุกที่เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่เขตร้อน สามารถขยายพันธ์ุได้โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ซึ่งลักษณะของต้นงาดำ มีดังนี้

  • ลำต้นงาดำ ลักษณะลำต้นตั้งตรง ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นเป็นเหลี่ยมๆ มีร่องตามยาว ลำต้นไม่มีแก่น อวบน้ำ มีขนสั้นปกคลุม เปลือกลำต้นสีเขียว
  • ใบงาดำ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว สีเขียว ใบเป็นรูปหอก โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย
  • ดอกงาดำ ลักษณะดอกเป็นช่อ ดอกเดี่ยว ขึ้นตามซอกใบ กลีบดอกลักษณะทรงกรวย กลีบดอกเมื่อบานเป็นสีขาว
  • ผลงาดำ หรือ ฝักงาดำ ลักษณะฝักยาวรี ปลายฝัฟแหลมทั้งสองข้าง ผิวฝักเรียบ ฝักเป็นร่องพู ฝักอ่อนสีเขียว มีขนปกคลุม ฝักแก่เป็นสีน้ำตาล
  • เมล็ดงาดำ เมล็ดอยู่ภายในฝัก ลักษณะเล็กๆ ทรงรีและแบน เมล็ดมีจำนวนมาก เปลือกเมล็ดมีสีดำ เมล็ดงาดำมีกลิ่นหอม

คุณค่าทางโภชนาการของงาดำ

การบริโภคหรือใช้ประโยชน์จากงาดำนิยมใช้ประโยชน์จากเมล็ดของงาดำ ซึ่งนักวิชาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของงาดำขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 573 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 23.45 กรัม กากใยอาหาร 11.8 กรัม โปรตีน 17.73 กรัม น้ำ 4.69 กรัม น้ำตาล 0.30 กรัมไขมันรวม 49.67 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 18.759 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 21.773 กรัม กรดไขมันอิ่มตัว 6.957 กรัม กรดกลูตามิก 3.955 กรัม กรดแอสพาร์ติก 1.646 กรัม เมไธโอนีน 0.586 กรัม ทรีโอนีน 0.736 กรัม ซีสทีอีน 0.358 กรัม ซีรีน 0.967 กรัม ฟีนิลอะลานีน 0.940 กรัม อะลานีน 0.927 กรัม อาร์จินีน 2.630 กรัม โปรลีน 0.810 กรัม ไกลซีน 1.215 กรัม ฮิสทิดีน 0.522 กรัม ทริปโตเฟน 0.388 กรัม ไทโรซีน 0.743 กรัม วาลีน 0.990 กรัม ไอโซลิวซีน 0.763 กรัม ลิวซีน 1.358 กรัม ไลซีน 0.569 กรัม ไฟโตสเตอรอล 714 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 5 ไมโครกรัม วิตามินเอ 9 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.25 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.791 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.247 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 4.515 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.050 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.790 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 97 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 975 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 14.55 มิลลิกรัม ธาตุซีลีเนียม 5.7 ไมโครกรัม ธาตุโซเดียม 11 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 629 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 7.75 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 468 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 351 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 2.460 มิลลิกรัม และธาตุทองแดง 4.082 มิลลิกรัม

สรรพคุณของงาดำ

การใช้ประโยชน์จากงาดำ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จากงาดำ ซึ่ง สรรพคุณทางยาของงาดำ ประกอบด้วย ช่วยชะลอความแก่  ช่วยบำรุงผิว ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ช่วยซ่อมแซมผิวพรรณ ช่วยบำรุงรากผม ช่วยให้ผมดกเงางาม ช่วยป้องกันการเกิดผมหงอก ช่วยบำรุงกำลัง ช่วยสลายไขมัน ใช้ลดความอ้วน ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในร่างกาย ช่วยป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยบำรุงสมอง ช่วยบำรุงโลหิต ลดความดันโลหิต ช่วยขยายหลอดเลือด ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว ช่วยให้นอนหลับสบาย  ป้องกันโรคหวัด ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยบรรเทาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยป้องกันโรคข้อเสื่อม

โทษของงาดำ

การใช้ประโยชน์จากงาดำ มีข้อควรระวังการใช้ประโยชน์ ดังนี้

  1. สำหรับคนที่ลดน้ำหนักโดยการกินงาดำ เนื่องจากงาดำมีน้ำหนักเบา ซึ่งทำให้น้ำหนักตัวลดมาก อาจไม่ดีต่อสุขภาพ
  2. การบริโภคเมล็ดงาดำ มากเกินไปทำให้ลำไส้ใหญ่ถูกทำลายได้ และเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
  3. เมล็ดงา ทำให้ลำไส้ใหญ่อักเสบได้ และอาจทำให้ท้องผูก ปวดท้องได้
  4. อาการแพ้งาดำ ในการบริโภคงาดำสามารถทำให้แพ้ได้ อาการการแพงงาดำ เช่น ระบบย่อยอาหารผิดปกติ ตาอักเสบ น้ำมูกไหล หายใจลำบาก เป็นต้น หรือบางรายมีอาการแพ้อย่างรุนแรง คือ หอบ ความดันโลหิตต่ำ รู้สึกแน่นหน้าอก และทางเดินหายใจตีบตัน อาจเสียชีวิตได้ในที่สุด
  5. การบริโภคงาดำมากเกินไปอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่ไส้ติ่งได้
  6. คุณสมบัติหนึ่งของาดำคือ เป็นยาระบาย ซึ่งถ้าบริโภคมากเกินไปจะทำให้มีการถ่ายท้องมากเกินไป
  7. งาดำมีสรรพคุณในการบำรุงผม แต่ถ้าหากใช้มากเกินไป จะทำให้ผมร่วงได้
  8. ในสตรีมีครรภ์ ช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ไม่ควรรับประทานงาดำ อาจทำให้แท้งบุตรได้

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

ผักคะน้า ( Kale ) นำมาทำอาหาร สมุนไพร สำหรับสตรีตั้งครรถ์ ต้นคะน้าเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณป้องกันมะเร็ง บำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตา

ผักคะน้า สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของผักคะน้า

ผักคะน้า ( Kale ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักคะน้า คือ Brassica albroglabra พืชสวนครัว นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน สมุนไพร เหมาะสำหรับสตรีตั้งครรถ์ คุณค่าทางโภชนาการของผักคะน้า คะน้ามีโฟเลตสูง มีวิตามินหลายชนิด แคลเซียมสูง ผักคะน้า มีถิ่นกำเนิดจากจีน ประโยชน์ของผักคะน้า สรรพคุณของผักคะน้า ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงสายตา

ผักคะน้า ชื่อของพืชชนิดนี้ คุ้นหูคนไทยเป็นอย่างดี คะน้าเป็นผักสวนครัว ที่นิยมนำมาทำอาหาร ได้หลากหลายชนิด เหมาะสำหรับสตรีตั้งครรถ์ เนื่องจากมีโฟเลต ช่วยสร้างสมองทารกใรครรถ์ ผักคะน้ามีถิ่นกำเนิดจากจีน คนจีนนำมาปลูกและนิยมนำมาทำอาหารทั้งเมนูต้ม ผัด แกง ทอด ประโยชน์ของผักคะน้า คือ มีวิตามินหลายชนิด และแคลเซียมสูง

คะน้า ภาษาอังกฤษ เรียก Kale ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักคะน้า คือ Brassica albroglabra ชื่อเรียกอื่นๆของผักคะน้า เช่น ไก๋หลาน กำหนำ เป็นต้น ต้นคะน้า พืชล้มลุก ในตระกูลกะหล่ำปลี นิยมรับประทาน ใบและยอดของคะน้า มาทำความรู้จักกับผักคะน้าให้มากกว่านี้

สายพันธุ์ผักคะน้า

ผักคะน้า ที่นิยมปลูกในประเทศไทยนั้น มีอยู่ 3 พันธุ์ โดยรายละเอียดมีดังนี้

  • พันธุ์ใบกลม ได้แก่ พันธ์ฝางเบอร์1 พันธ์นี้มีลักษณะใบกว้างใหญ่ ปล้องสั้น ปลายใบมนและผิวใบเป็นคลื่นเล็ก
  • พันธุ์ใบแหลม ได้แก่ พันธ์ PL20 พันธ์นี้มีลักษณะใบแคบกว่าพันธุ์ใบกลม ปลายใบแหลม ข้อห่าง ผิวใบเรียบ
  • พันธุ์ยอด ได้แก่ พันธ์แม่โจ้ ซึ่งพันธ์นี้มีลักษณะใบเหมือนกับคะน้าใบแหลม แต่จำนวนใบต่อต้นมีน้อยกว่า ปล้องยาวกว่า

ลักษณะของต้นผักคะน้า

ผักคะน้า เป็น พืชล้มลุก อายุสั้น ผักคะน้ามีอายุ 2 ปี อายุการเก็บเกี่ยวผักคะน้าอยู่ที่ 55 วัน โดยผักคะน้าสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการปลูกผักคะน้ามากที่สุด คือ เดือนตุลาคมถึงเดือนเมษายน ของทุกปี

  • รากของผักคะน้า รากแก้วจะมีขนาดใหญ่ อยู่ติดจากลำต้น ลึกลงดินประมาณ 10 ถึง 30 เซ็นติเมตร รากฝอยจะเกาะตามรากแก้ว มีน้อย
  • ลำต้นของผักคะน้า ลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร ลำต้นอวบใหญ่ สีเขียว
  • ใบของผักคะน้า ใบกลม ลักษณะก้านใบยาว การแตกของใบจะแตกออกจากลำต้นเรียงสลับกัน ผิวของใบ คลืน ผิวมัน สีเขียว
  • ยอดและดอกของผักคะน้า ส่วนของยอดที่มีลักษณะเป็นใบอ่อน คล้ายดอกบัวตุม สีเขียวอ่อน

คุณค่าทางโภชนาการของคะน้า

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของผักคะน้า สดปริมาณ 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 24 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย โปรตีน 2.7 กรัม คาร์โบไฮเดรต 2.2 กรัม แคลเซียม 245 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 147 มิลลิกรัม กากใยอาหาร 3.2 กรัม

คะน้า จะมีสารชนิดหนึ่ง เรียก กอยโตรเจน ( Goitrogen ) สารชนิดนี้ส่งผลต่อร่างกายทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ รวมถึงทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุไอโอดีน ทำให้เป็นดรคคอพอกได้ นอกจากนั้นทำให้การสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ลดประสิทธิภาพลง ดังนั้น การรับประทานผักคะน้าในปริมาณพอเหมาะ จะทำให้มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

สรรพคุณของผักคะน้า

การรับประทานผักคะน้า ในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยให้มีสรรพคุณทางสมุนไพร ดังนี้ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกาย ช่วยบำรุงผิวพรรณ ป้องกันการติดเชื้อ ช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้น ช่วยบำรุงสายตา  ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต้อกระจก ป้องกันจอประสาทตาเสื่อม ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยลดอาการไมเกรน ช่วยชะลอความจำเสื่อม ช่วยลดความเสี่ยงโรคกระเพาะอาหาร ป้องกันมะเร็งลำไส้ ป้องกันมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ป้องกันมะเร็งปอด ป้องกันมะเร็งเต้านม ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยรักษาโรคหอบหืด ช่วยขยายหลอดลม ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ ป้องกันการเกิดตะคริว รักษาสมดุลฮอร์โมนเอสโตรเจน ควบคุมน้ำตาลในเลือดช่วยลดความเสี่ยงต่อการที่เด็กทารกพิการแต่กำเนิด

โทษของผักคะน้า 

สารกอยโตรเจน ( Goitrogen ) ที่อยู่ในผักคะน้า ทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ ทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุไอโอดีน และ ทำให้การสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ลดประสิทธิภาพลง การรับประทานผักคะน้าในปริมาณที่เหมาะสม

การปลูกผักคะน้า

  • การเพาะกล้าต้นกล้าผักคะน้า วิธีการหว่านเมล็ดในแปลง โดยแปลงให้ยกร่องสูง 30 เซนติเมตร พร้อมพรวนดิน และรดน้ำให้ชุ่ม เมล็ดจะงอกประมาณ 3 ถึง 5 วัน หลังจากเมล็ดงอกได้ 7 ถึง 10 วัน ให้คัดต้นกล้าแข็งแรงที่สด เพื่อดูแลต่อ และคัดต้นที่อ่อนแอออก
  • วิธีการปลูกผักคะน้า เมื่อต้นกล้าสูงได้ประมาณ 10 เซ็นติเมตร สังเกตุได้ว่ามีใบแท้ประมาณ 3 ถึง 5 ใบ อายุของต้นกล้าประมาณ 30 วัน ก็ให้ย้ายลงแปลงปลูก ให้ระยะห่างระหว่างต้น 20 เซ็นติเมตร
  • การดูแลผักคะน้า ให้น้ำสม่ำเสมอทุกวันเช้าเย็น ให้ปุ๋ยทุก 15 วัน  และกำจัดวัชพืช เป็นประจำทุกเดือน
  • การเก็บผลผลิตผักคะน้า สามารถเก็บผลผลิตได้ หลังตากเพาะต้นกล้า 60 วัน โดยไม่ควรใช้มือเด็ดหรือถอน ใช้มีดตัดออก และให้เด็ดใบแก่ติดโคนต้นออก และนำมาล้างทำความสะอาด

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove