ฟักทอง Pumpkin พืชคุณค่าทางอาหารสูง สรรพคุณของฟักทอง ช่วยควบคุมน้ำหนัก บำรุงผิว ขับปัสสาวะ แก้ไอ บำรุงร่างกาย บำรุงระบบประสาท บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงดวงตา

ฟักทอง สมุนไพร สรรพคุณของฟักทอง

ต้นฟักทอง ภาษาอังกฤษ เรียก Pumpkin มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cucurbita maxima Duchesne. ชื่ออื่นของฟักทอง เช่น หมากอึ มะฟักแก้ว มะน้ำแก้ว น้ำเต้า หมักอื้อ หมากฟักเหลือง เหลืองเคล่า หมักคี้ล่า ฟักทอง นิยมนำมาทำเป็นส่วนประกอบของ อาหาร ตัวอย่าง อาหารเมนูฟักทอง เช่น  แกงเผ็ดไก่ฟักทอง แกงเลียง ฟักทองผัดไข่ ส่วนของหวานก็มี สังขยาฟักทอง ขนมฟักทอง บวดฟักทอง ฟักทองนึ่ง ฟักทองเชื่อม เป้นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของฝักทอง

นักโภชนาการได้ศึกษาผลฟักทอง ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 26 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ ที่มีประโยชน์ประกอบด้วย
คาร์โบไฮเดรต 6.5 กรัม น้ำตาล 2.76 กรัม กากใยอาหาร 0.5 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม โปรตีน 1 กรัม วิตามินเอ 476 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 3,100 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 1,500 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.6 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.298 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.061 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 16 ไมโครกรัม วิตามินซี 9 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.44 มิลลิกรัม วิตามินเค 1.1 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 21 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.8 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.125 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 44 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 340 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.32 มิลลิกรัม

เมล็ดดอกฟังทอง สามารถสกัดน้ำมันได้ สรรพคุณ ช่วยบำรุงประสาท ป้องกันโรคต่อมลูกหมาก ช่วยปรับระดับฮอร์โมนเพศชาย

ลักษณะของต้นฟักทอง

ต้นฟักทอง จัดว่าเป็น ไม้ล้มลุก ลักษณะของลำต้น ใบ ดอก และ ผล มีดังนี้

  • ลำต้นฟักทอง ลักษณะลำต้นเป็นเถาเลื้อยไปตามพื้นดิน นิยมปลูกริมรั้ว เถาของฟักทองมีขนาดยาว ใหญ่ และมีขน ปกคลุม สีเขียว
  • ใบของฟักทอง เป็นใบเดี่ยว ใบของฝักทองมีแผ่นใหญ่สีเขียว แยกออกเป็น 5 หยักและมีขนสาก ๆ
  • ดอกของฟักทอง จะออกดอกเดี่ยวตามง่ามใบ และที่ส่วนยอดของเถาฟักทอง ลักษณะของดอกเป็นรูประฆังสีเหลือง
  • ผลของฟักทอง มีขนาดใหญ่ ลักษณะกลมแบน เปลือกของฟักทองจะแข็ง ผิวขรุขระ มีทั้งสีเขียวหรือสีน้ำตาล เนื้อของผลฟักทองมีสีเหลือง เมล็ดของฟักทองมีสีขาว

สรรพคุณของฟักทอง

สำหรับสรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทยของฟักทอง สามารถใช้ประโยชน์ ทั้ง ใบ ดอก เมล็ด ราก  และ ผล มีรายละเอียด ดังนี้

  • ใบของฟักทอง วิตามินซีสูงเหมือเนื้อฟักทอง นอกจากวิตามินซีแล้ว ยังมีฟอสฟอรัสสูง
  • ดอกของฟักทอง มีวิตามินเอ แคลเซียม และฟอสฟอรัส สูงและวิตามินซีเล็กน้อย
  • เมล็ดฟักทอง มีคาร์โบไฮเดรต ฟอสฟอรัส โปรตีนและวิตามิน มีสารคิวเคอร์บิตาซิน ( Cucurbitacin ) สามรถกำจัดพยาธิตัวตืด  ช่วยขับปัสสาวะ ป้องกันการเกิดนิ่ว และป้องกันมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เมล็ดดอกฟังทอง สามารถสกัดน้ำมันได้ สรรพคุณ ช่วยบำรุงประสาท ป้องกันโรคต่อมลูกหมาก ช่วยปรับระดับฮอร์โมนเพศชาย
  • รากฟักทอง นำมาต้ม ใช้ดื่มแก้ไอ ยังช่วยบำรุงร่างกาย
  • เยื่อกลางที่ผลของฟักทอง สามรถนำมาพอกแผลได้ แก้อาการฟกช้ำปวดอักเสบ
  • ผลฟักทอง มีไขมันน้อย จึงเหมาะแก่คนที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก ฟักทองยังมีกากไยอาหารมาก ช่วยระบบขับถ่าย
    มีคาร์โบไฮเดรตสูง ช่วยรักษาและบรรเทาอาการ แผลในกระเพาะอาหาร และลำไส้ ฟักทองมีคอลลาเจนตามธรรมชาติ จะช่วยทำให้ผิวพรรณผ่องใส  ผลของฟักทองยัง สามารถช่วยบรรเทาอาการหอบหืดที่เกิดจากหลอดลมอักเสบ  สตรีหลังคลอดบุตรหากทางฟักทอง ซึ่งตามตำราสมุนไพรไทยเขาเรียก”มีฤทธิ์อุ่น” จะช่วยย่อยอาหารทำให้กระเพาะอุ่น บำรุงกำลัง และลดการอักเสบ แก้ปวดได้ดีมากๆ
  • เปลือกของผลฟักทอง ควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกาย รักษาโรคเบาหวานได้ ควบคุมความดันโลหิต บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงดวงตา และสร้างเซลล์ใหม่ทดแทนเซลล์เก่าที่เสื่อมสภาพได้อีกด้วย

ฟักทอง ถือเป็นพืชในตระกูลมะระ ชนิดไม้เถาขนาดใหญ่ ผิวผลขณะยังอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะแล้วจะมีสีเขียวสลับเหลือง ผิวไม่เรียบขรุขระเปลือกมีลักษณะแข็งเนื้อในสีเหลือง มีเส้นใยอยู่ภายในเป็นสีเหลืองนิ่มพร้อมกับเมล็ดสีขาวแบนๆ ติดอยู่ ประโยชน์ของฟักทองนั้นมีมากมาย สามารถนำมาใช้กินบำรุงร่างกายและรักษาโรคได้ดี

โทษของฟักทอง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากฟักทองด้านการอาหาร และ การรักษาโรค ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม จึงจะไม่มีอันตายต่อสุขภาพ โดยข้อควรระวังในการกินฟักทอง มีดังนี้

  • เมล็ดฟักทองทำให้เกิดแก็สสะสมในลำไส้ และ กระเพาะอาหาร หารกินมากไป อาจทำให้ท้องอืดได้ สตรีมีครรถ์ไม่ควรกินมากเกินไป อาจเป็นอันตรายได้
  • เมล็ดฟักทอง มีสารอาหารไขมันและให้แคลอรี่สูง สำหรับผู้ป่วยไขมันสูงไม่ควรกินมากเกินไป
  • ผลฟักทอง กระตุ้นให้ร่างกายร้อนขึ้น อาจทำให้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม่สบายท้อง สำหรับกลุ่มคนที่มีอาการ เช่น กระหายน้ำ ปากเหม็น หิวง่าย ปัสสาวะเหลือง ท้องผูก มีแผลในช่องปาก เหงือกบวม ไม่ควรทานฟักทองมากเกินไป

ฟักทอง ( Pumpkin ) คือ พืชล้มลุก คุณค่าทางอาหารสูง สรรพคุณของฟักทอง ช่วยควบคุมน้ำหนัก บำรุงผิว ป้องกันมะเร็ง ยาถ่ายพยาธิ ขับปัสสาวะ รักษาหอบหืด รักษาเบาหวาน รักษาโรคกระเพาะ รักษาลำไส้อักเสบฟักทอง แก้ไอ บำรุงร่างกาย บำรุงระบบประสาท ควบคุมความดันโลหิต บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงดวงตา และสร้างเซลล์ใหม่ทดแทนเซลล์เก่า

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.

ผักคะน้า ( Kale ) นำมาทำอาหาร สมุนไพร สำหรับสตรีตั้งครรถ์ ต้นคะน้าเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณป้องกันมะเร็ง บำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตา

ผักคะน้า สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของผักคะน้า

ผักคะน้า ( Kale ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักคะน้า คือ Brassica albroglabra พืชสวนครัว นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน สมุนไพร เหมาะสำหรับสตรีตั้งครรถ์ คุณค่าทางโภชนาการของผักคะน้า คะน้ามีโฟเลตสูง มีวิตามินหลายชนิด แคลเซียมสูง ผักคะน้า มีถิ่นกำเนิดจากจีน ประโยชน์ของผักคะน้า สรรพคุณของผักคะน้า ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงสายตา

ผักคะน้า ชื่อของพืชชนิดนี้ คุ้นหูคนไทยเป็นอย่างดี คะน้าเป็นผักสวนครัว ที่นิยมนำมาทำอาหาร ได้หลากหลายชนิด เหมาะสำหรับสตรีตั้งครรถ์ เนื่องจากมีโฟเลต ช่วยสร้างสมองทารกใรครรถ์ ผักคะน้ามีถิ่นกำเนิดจากจีน คนจีนนำมาปลูกและนิยมนำมาทำอาหารทั้งเมนูต้ม ผัด แกง ทอด ประโยชน์ของผักคะน้า คือ มีวิตามินหลายชนิด และแคลเซียมสูง

คะน้า ภาษาอังกฤษ เรียก Kale ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักคะน้า คือ Brassica albroglabra ชื่อเรียกอื่นๆของผักคะน้า เช่น ไก๋หลาน กำหนำ เป็นต้น ต้นคะน้า พืชล้มลุก ในตระกูลกะหล่ำปลี นิยมรับประทาน ใบและยอดของคะน้า มาทำความรู้จักกับผักคะน้าให้มากกว่านี้

สายพันธุ์ผักคะน้า

ผักคะน้า ที่นิยมปลูกในประเทศไทยนั้น มีอยู่ 3 พันธุ์ โดยรายละเอียดมีดังนี้

  • พันธุ์ใบกลม ได้แก่ พันธ์ฝางเบอร์1 พันธ์นี้มีลักษณะใบกว้างใหญ่ ปล้องสั้น ปลายใบมนและผิวใบเป็นคลื่นเล็ก
  • พันธุ์ใบแหลม ได้แก่ พันธ์ PL20 พันธ์นี้มีลักษณะใบแคบกว่าพันธุ์ใบกลม ปลายใบแหลม ข้อห่าง ผิวใบเรียบ
  • พันธุ์ยอด ได้แก่ พันธ์แม่โจ้ ซึ่งพันธ์นี้มีลักษณะใบเหมือนกับคะน้าใบแหลม แต่จำนวนใบต่อต้นมีน้อยกว่า ปล้องยาวกว่า

ลักษณะของต้นผักคะน้า

ผักคะน้า เป็น พืชล้มลุก อายุสั้น ผักคะน้ามีอายุ 2 ปี อายุการเก็บเกี่ยวผักคะน้าอยู่ที่ 55 วัน โดยผักคะน้าสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการปลูกผักคะน้ามากที่สุด คือ เดือนตุลาคมถึงเดือนเมษายน ของทุกปี

  • รากของผักคะน้า รากแก้วจะมีขนาดใหญ่ อยู่ติดจากลำต้น ลึกลงดินประมาณ 10 ถึง 30 เซ็นติเมตร รากฝอยจะเกาะตามรากแก้ว มีน้อย
  • ลำต้นของผักคะน้า ลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร ลำต้นอวบใหญ่ สีเขียว
  • ใบของผักคะน้า ใบกลม ลักษณะก้านใบยาว การแตกของใบจะแตกออกจากลำต้นเรียงสลับกัน ผิวของใบ คลืน ผิวมัน สีเขียว
  • ยอดและดอกของผักคะน้า ส่วนของยอดที่มีลักษณะเป็นใบอ่อน คล้ายดอกบัวตุม สีเขียวอ่อน

คุณค่าทางโภชนาการของคะน้า

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของผักคะน้า สดปริมาณ 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 24 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย โปรตีน 2.7 กรัม คาร์โบไฮเดรต 2.2 กรัม แคลเซียม 245 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 147 มิลลิกรัม กากใยอาหาร 3.2 กรัม

คะน้า จะมีสารชนิดหนึ่ง เรียก กอยโตรเจน ( Goitrogen ) สารชนิดนี้ส่งผลต่อร่างกายทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ รวมถึงทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุไอโอดีน ทำให้เป็นดรคคอพอกได้ นอกจากนั้นทำให้การสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ลดประสิทธิภาพลง ดังนั้น การรับประทานผักคะน้าในปริมาณพอเหมาะ จะทำให้มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

สรรพคุณของผักคะน้า

การรับประทานผักคะน้า ในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยให้มีสรรพคุณทางสมุนไพร ดังนี้ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกาย ช่วยบำรุงผิวพรรณ ป้องกันการติดเชื้อ ช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้น ช่วยบำรุงสายตา  ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต้อกระจก ป้องกันจอประสาทตาเสื่อม ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยลดอาการไมเกรน ช่วยชะลอความจำเสื่อม ช่วยลดความเสี่ยงโรคกระเพาะอาหาร ป้องกันมะเร็งลำไส้ ป้องกันมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ป้องกันมะเร็งปอด ป้องกันมะเร็งเต้านม ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยรักษาโรคหอบหืด ช่วยขยายหลอดลม ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ ป้องกันการเกิดตะคริว รักษาสมดุลฮอร์โมนเอสโตรเจน ควบคุมน้ำตาลในเลือดช่วยลดความเสี่ยงต่อการที่เด็กทารกพิการแต่กำเนิด

โทษของผักคะน้า 

สารกอยโตรเจน ( Goitrogen ) ที่อยู่ในผักคะน้า ทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ ทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุไอโอดีน และ ทำให้การสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ลดประสิทธิภาพลง การรับประทานผักคะน้าในปริมาณที่เหมาะสม

การปลูกผักคะน้า

  • การเพาะกล้าต้นกล้าผักคะน้า วิธีการหว่านเมล็ดในแปลง โดยแปลงให้ยกร่องสูง 30 เซนติเมตร พร้อมพรวนดิน และรดน้ำให้ชุ่ม เมล็ดจะงอกประมาณ 3 ถึง 5 วัน หลังจากเมล็ดงอกได้ 7 ถึง 10 วัน ให้คัดต้นกล้าแข็งแรงที่สด เพื่อดูแลต่อ และคัดต้นที่อ่อนแอออก
  • วิธีการปลูกผักคะน้า เมื่อต้นกล้าสูงได้ประมาณ 10 เซ็นติเมตร สังเกตุได้ว่ามีใบแท้ประมาณ 3 ถึง 5 ใบ อายุของต้นกล้าประมาณ 30 วัน ก็ให้ย้ายลงแปลงปลูก ให้ระยะห่างระหว่างต้น 20 เซ็นติเมตร
  • การดูแลผักคะน้า ให้น้ำสม่ำเสมอทุกวันเช้าเย็น ให้ปุ๋ยทุก 15 วัน  และกำจัดวัชพืช เป็นประจำทุกเดือน
  • การเก็บผลผลิตผักคะน้า สามารถเก็บผลผลิตได้ หลังตากเพาะต้นกล้า 60 วัน โดยไม่ควรใช้มือเด็ดหรือถอน ใช้มีดตัดออก และให้เด็ดใบแก่ติดโคนต้นออก และนำมาล้างทำความสะอาด

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove