พังผืดที่จอตา Macular pucker เกิดผังผืดที่ผิวดวงตาจนรั้งจอตา ทำให้การมองเห็นไม่ชัดและภาพบิดเบี้ยว มองเห็นแสงแฟลช ทำให้เลือดออกในวุ้นตา แนวทางการรักษาโรคอย่างไรพังผืดที่จอตา โรคตา โรคไม่ติดต่อ รักษาพังผืดที่ตา

อาการพังผืดที่จอตา โรคทางตาชนิดหนึ่ง ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Macular pucker หรือบางที่ก็ใช้คำว่า Epiretinal membrane คือ การเกิดขึ้นของผังผืดบริเวณผิวของดวงตาแต่พังผืดนี้ไม่มีหลอดเลือด ซึ่งพังผืดนี้อาจสามารถขยายตัว แล้วไปรั้งจอตาใกล้ โดยเฉพาะจอตาส่วนกลาง ภาวะผังผืดที่จอตานี้จะทำให้ความสามารถในการมองเห็นลดลงไม่ปกติ

สาเหตุของการเกิดผังผืดที่จอตา

ลักษณะของพังผืด จะเป็นแผ่นขุ่มมัวเล็ดน้อยหรือลักษณะใส มีสีจางๆที่จอตาหรืออาจจะไม่มีสีก็ได้ โดยเฉพาะใกล้ๆ Macula การเกิดผังผืดที่จอตาจะพบว่าเป็นร่วมกับภาวะการหลุดลอกของน้ำวุ้นตาส่วนหลัง ที่เรียกว่า Posterior vitreous detachment ปกติแล้ว น้ำวุ้นตาจะมีลักษณะเป็นน้ำใส คล้ายไข่ขาวติดอยู่กับผิวจอตา แต่เมื่ออายุสูงขึ้น ส่วนหลังของน้ำวุ้นจะหลุด เกิดช่องว่าง ทำให้ร่างกายเกิดการสร้างเซลล์ขึ้นมา จนเป็นพังผืดที่จอตา เซลล์ที่สร้างขึ้นใหม่มีลักษณะยืดหยุ่นได้ หากเกิดการหดตัวจะทำให้การมองเห็นภาพผิดปรกติ

การเกิดพังผืดที่จอตา นั้นมักจะเกิดตามหลัง ภาวะการเกิดเหตุบางอย่างกับดวงตา เช่น จอตาฉีกขาด จอตาหลุดลอก โรคหลอดเลือดจอตาอักเสบ ( Vasculitis ) รวมถึง การเกิดอุบัติเหตุบริเวณดวงตา การอักเสบของน้ำวุ้นตาและจอตา เป็นต้น ภาวะเหล่านี้ทำให้เซลล์ร่างกายเจริญเติบโตจนก่อให้เกิดเป็นพังผืดขึ้น

กลุ่มผู้มีความเสี่ยงเกิดพังผืดที่จอตา

จากสถิติของผู้ป่วยโรคผังผืดที่จอตา พบว่า เพศหญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศชาย แต่สามารถเกิดขึ้นกับทั้ง เพศหญิงและเพศชาย พบการเกิดผังผืดตาได้กับตาทั้ง 2 ข้าง ร้อยละ 8 ของผู้ป่วยเคยมีประวัติการผ่าตัดเกี่ยวกับดวงตา และ ร้อยละ 2 เคนมีประวัติการรับการรักษาดวงตาด้วยแสงเลเซอร์ โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดผังผืดที่จอตา มีดังนี้

  • อายุ ซึ่งอายุที่มากขึ้นมีโอกาสของการเกิดผังผืดมากขึ้น
  • การมีเลือดออกในน้ำวุ้นตา
  • การเกิดจอตาหลุดลอก
  • การเกิดจอตาฉีกขาด
  • มีการผ่าตัดเกี่ยวกับดวงตาที่ใช้เวลานาน
  • การใช้ความเย็นจี้รักษาโรคในจอตา (Cryotherapy)

อาการของผู้ป่วยที่เป็นผังผืดที่จอตา

ผู้ที่มีผังผืดที่จอตา จะมองเห็นภาพไม่ชัด โดยเฉพาะตรงกลางภาพ และบางครั้งอาจจะมองเห็นภาพบิดเบี้ยว รูปร่างของภาพที่มองเห็นผิดไปจากปรกติ บางครั้งก็จะมองเห็นแสงแฟลชในตาเกิดขึ้น และบางครั้งจะมีเลือดออกที่ผิวของจอตาตลอด ส่งผลให้เลือดออกเข้ามาในน้ำวุ้นตา

อาการของผู้ป่วยผังผืดที่จอตา จะไม่มีอาการอะไรในกรณีที่ผังผืดที่จอตายังมีน้อย หากขนาดของพังผืดที่จอตาใหญ่ขึ้น การมองเห็นภาพจะไม่ชัด โดยเฉพาะตรงกลางของภาพ หรือ มองเห็นภาพบิดเบี้ยว เช่น มองเห็นเส้นตาราง เป็น เส้นบิดเบี้ยว บางครั้งมองเห็ดเกิดเป็นแสงแฟลช บางรายเห็นภาพบางจุดมืด

การรักษาอาการผังผืดที่ผิวจอตา

สำหรับการ รักษาโรคผังผืดที่จอตา สามารถรักษาได้ด้วยการ ผ่าตัดน้ำวุ้นตา และ ลอกพังผืดที่จอตา ออกจากผิวจอตา การรักษานี้ส่วนใหญ่ของผุ้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น การมองเห็นชัดขึ้น แต่สายตาจะไม่กลับมาปกติเหมือนเดิม

สำหรับผุ้ป่วยที่ไม่มีอาการ หรือ มีอาการผิดปกติเพียงเล็กน้อย ควรเฝ้าติดตาม และ รับการตรวจตาเป็นระยะๆ แต่ หากมีสายตามัวมากขึ้น การมองเห็นภาพผิดรูป ต้องเข้ารับการรักษา ด้วยการผ่าตัดน้ำวุ้นตา และ ลอกพังผืด ผู้ป่วยส่วนใหญ่สายตาแม้ดีขึ้น แต่จะไม่สามารถกลับมาปกติได้

การป้องกันไม่ให้เกิดผังผิดที่ผิวจอตา

ทำได้โดย การดูแลร่างกายให้มีสุขภาพจิตสุขภาพกายที่แข็ง  รักษาสุขภาพอนามัย ออกกำลังกายสม่ำเสมอ  กินอาหารมีประโยชน์  รักษาน้ำหนักตัวอย่าให้อ้วนเกิน ควบคุมโรคเรื้อรังต่างๆที่เป็นอยู่ งดการสูบบุหรี่ และไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งการตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำทุกปี

ดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยเกิดพังผืดที่จอตา

การดูแลตนเองของผู้ป่วยอาการผังผืดที่จอตา ให้ เข้าพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยหาสาเหตุ และ รับการรักษาที่ถูกต้อง ซึ่งสิ่งนี้จะสามารถช่วยควบคุมอาการของโรค และลดโอกาสเสี่ยงตาบอด ควรต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของจักษุแพทย์

สาเหตุของ อาการผังผืดที่จอตา ส่วนมาก เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ตาตามวัย การรักษาสุขภาพร่างกายตามวัย จะช่วยลดการเกิดโรคได้

สมุนไพรบำรุงสายตา ประกอบด้วย พืช ผัก ต้นไม้ ที่มีวิตามินเอ สูง สามารถช่วยบำรุงสายตาได้ดี มีดังนี้

มะละกอ สมุนไพร สมุนไพรไทย ผลไม้
มะละกอ
ผักบุ้ง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของผักบุ้ง ผักบุ้ง
ปอผี สมุนไพร ผักกระเดียง สรรพคุณของปอผี
ปอผี
ผักกระเดียง
มะนาว สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของมะนาวมะนาว
ตำลึง สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ตำลึง
ชะพลู สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชล้มลุกชะพลู
ขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรไทย
ขมิ้น
อัญชัน สมุนไพร ดอกอัญชัน ประโยชน์ของอัญชัน
อัญชัน
เสาวรส สมุนไพร ผลไม้ ประโยชน์ของเสาวรส
เสาวรส

พังผืดที่จอตา ( Macular pucker ) เกิดผังผืดบริเวณผิวของดวงตา สามารถขยายตัวแล้วไปรั้งจอตา โดยเฉพาะจอตาส่วนกลาง ผังผืดที่จอตา จะทำให้การมองเห็นไม่ชัดและภาพบิดเบี้ยว อาการผังผืดที่จอตา เกิดขึ้นได้อย่างไร อาการผังผืดที่จอตา รักษาพังผืดที่จอตา ป้องกันได้หรือไม่ โรคเกี่ยวกับตา

ตาบอดสี Color blindness ภาวะการมองสีบางสีที่ผิดปกติ รักษาไม่ได้และยังไม่มีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่รักษาโรคตาบอดสีได้ ตาบอดสีมีกี่ชนิด แนวทางการรักษาอย่างไรโรคตาบอดสี โรคตา โรคไม่ติดต่อ มองไม่เห็นสี

ตาบอดสี  ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Color blindness เป็นสภาวะการมองสีบางสีที่ผิดปกติ ไม่ใช่การมองไม่เห็น โรคตาบอดสีนี้เป็นโรคที่รักษาไม่ได้ และยังไม่มีเทคโนโลยีทางการแพทย์ใดที่สามารถรักษาโรคตาบอดสีได้ ภาวะตาบอดสีนี้ พบในผู้ชาย 8% และผุ้หญิง 0.4%

สำหรับการมองเห็นสีของคนเรา มี 2 ส่วน คือ คลื่นแสงสีต่างๆ และ เซลล์รับรู้การเห็นสีที่จอตา โดยจอตาของคนเรานั้นมีเซลล์รับรู้การเห็นสีอยู่ 2 ชนิด คือ Rod และ Cone เรามาทำความรู้จักกับเซลล์ทั้ง 2 ชนิด

  • เซลล์รูปแท่ง เราเรียกว่า รอด ( Rod ) ในดวงตาแต่ละข้างจะมีประมาณ 125 ล้านเซลล์ เซลล์จะกระจายขอบของจอตา ทำหน้าที่มองเห็นในที่สลัวๆ สำหรับคนที่จอตาเสื่อม ในจุดขอบจอตา จะทำให้เกิดโรคตาฟาง ซึ่งเซลล์รูปแท่ง ไม่ใช่ส่วนที่ทำให้มองเห็นสี
  • เซลล์รูปกรวย  เราเรียกว่า โคน ( Cone ) ในดวงตาแต่ละข้างจะมีประมาณ 7 ล้านเซลล์ อยู่บริเวณจอตาส่วนกลาง ทำหน้าที่สำหรับการมองเห็นในที่สว่าง หากจอตาส่วนกลางเสื่อม จะทำให้ตามัว และเห็นสีผิดปรกติ เรียกว่า ตาฟางกลางวัน เซลล์รูปกรวย มีอยู่ 3 ชนิด คือ เซลล์รูปกรวยสีแดง (Red cone) เซลล์รูปกรวยสีเขียว (Green cone) และ เซลล์รูปกรวยสีน้ำเงิน (Blue cone)

ความสามารถในการมองเห็นและแยกสีนั้น เซลล์รูปกรวย มีส่วนเป็นอย่างมาก

สาเหตุของโรคตาบอดสี

สาเหตุของความสามารถในการมองเห็นสีผิดปรกติ เกิดจากการถูกกระตุ้นเซลล์รับรู้การเห็นสี ทั้งแบบแท่งและแบบกรวย รวมถึงเกิดจากการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ สามารถพบได้ร้อยละ 8 ของผู้ป่วย และพบมากในเพศชายมากกว่าเพศหญิง สามารถสรุปสาเหตุได้ ดังนี้

  • ภาวะที่มองเห็นสีได้อย่างปกติ เซลล์ทั้งสามส่วนจะถูกกระตุ้นส่งสัญญาณและแปลสัญญาณสีออกมาได้อย่างถูกต้อง เรียกว่า Trichromatism
  • บางรายอาจจะมีเซลล์ดังกล่าวไม่ครบทั้ง 3 ชุด หรือชุดใดชุดหนึ่งทำงานผิดปกติ ทำให้เห็นสีเพี้ยนไปจากคนอื่น ๆ ภาวะนี้เรียกว่า Dichromatism ผู้ที่มีภาวะแบบนี้มักจะไม่รู้ตัวว่ามองเห็นเพี้ยนจากคนอื่น เพราะจะเกิดการรับรู้สีในแบบของตัวเอง
  • สำหรับผู้ที่มีอาการตาบอดสีอย่างรุนแรง จะมีเซลล์รับสีเพียงชุดเดียว เรียกว่า Monochromatism ซึ่งผู้มีอาการเช่นนี้จะมองเห็นภาพเป็นขาวดำ

ตาบอดสีมีกี่ชนิด

เราสามารถแบ่งชนิดของภาวะตาบอดสีได้ 2 ชนิด คือ ตาบอดสีเกิดขึ้นตั้งแต่เกิด และ ตาบอดสีเกิดขึ้นเมื่อภายหลังกำเนิด  โรคตาบอดสีสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้

  • ตาบอดแต่กำเนิด เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม จากพ่อแม่สู่ลูก เป็นการถ่ายทอดมากับ โครโมโซม เอ็กซ์ (X chromosome) แม่เป็นพาหะของการเกิดโรคตาบอดสี ตาบอดสีโดยกำเนิด นั้น เราสมารถแยกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเห็นสีเดียว กลุ่มที่มีเซลล์รูปกรวย 2 ชนิด และ กลุ่มเซลล์รูปกรวย 3 ชนิด
    • กลุ่มเห็นสีเดียว เรียก Monochromatism เกิดจาการ ไม่มีเซลล์รูปกรวย หรือ มีเซลล์รูปกรวยสีน้ำเงินชนิดเดียว กลุ่มนี้ผู้ป่วยจะมองเห็นเพียงสีขาวดำ สายตามัวมากจนมองไม่เห็นสี สู้แสงไม่ได้
    • กลุ่มที่มีเซลล์รูปกรวย 2 ชนิด เรียก Dichromatism หากไม่มีเซล์รูปกรวยสีแดง เรียก ตาบอดสีแดง ( Protanopia ) หากไม่มีเซลล์รูปกรวยสีเขียว เรียก ตาบอดสีเขียว ( Deuterano pia ) และหากไม่มีเซลล์รูปกรวยสีน้ำเงิน เรียก ตาบอดสีน้ำเงิน ( Tritanopia )
    • กลุ่มที่มีเซลล์รูปกรวยทั้ง 3 ชนิด เรียก Trichromatism เป็นกลุ่มของคนตาบอดสีที่พบได้มากที่สุด เกิดจากการพร่องของเซลล์รูปกรวยในบางสี หรือ ทั้งสามสี
  • ตาบอดสีเกิดขึ้นภายหลัง เป็นความผิดปกติของการมองเห็นสี เกิดโรคที่จอตา หรือ ประสาทตา รวมถึงสมองส่วนที่รับรู้การมองเห็น ซึ่งเกิดจากมีการสูญเสียเซลล์รูปกรวยชนิดต่างๆ จากการศึกษาพบว่า หากตาบอดสีจาก โรคจอตา มักจะสูญเสียการมองเห็น สีน้ำเงิน และ สีเหลือง และ หากเกิดตาบอดสีจาก โรคประสาทตา มักจะสูญเสียการมองเห็น สีแดง และ สีเขียว
    การมองเห็นสีผิดปกติ นอกจากเห็นสีผิดไปแล้วมักจะมี สายตา หรือ ลานสายตา ผิดปกติด้วย ความผิดปกติของการเห็นสีของตา 2 ข้างไม่เท่ากัน

เมื่อตาบอดสีต้องทำอย่างไร

หากเราพบเป็นภาวะตาบอดสี จะต้องปรับตัว ในการเรียนรู็การใช้สีต่างๆในชีวิต การเลือกวิชาอาชีพที่เหมาะสมกับสภาวะตาบอดสี หมั่นตรวจสุขภาพดวงตาให้เป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง เราควรแจ้งให้คนรอบข้างทราบถึงสภาวะตาบอดสีของเราให้เขาทราบเพื่อจะได้ให้คนรอบข้างปรับตัวเข้ากับเรา

เมื่อคนในครอบครัว เกิดความผิดปกติในการเห็นสี ควรรีบพบจักษุแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุ และเพื่อการปรับตัว เรียนรู้ในการใช้สีในชีวิตประจำวัน การเลือกอาชีพสำหรับคนตาบอดสี ต้องเลือกอาชีพที่สีไม่มีผลกระทบต่อการทำงาน ควรแจ้งให้คนในครอบครัวและที่ทำงาน รวมถึงคนรอบข้างทราบ ว่าเรามีภาวะตาบอดสี

สำหรับคนทั่วไป ไม่เฉพาะคนที่มีภาวะตาบอดสี ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพตาประจำปี หรือ ตามคำแนะนำของแพทย์

สมุนไพรบำรุงสายตา ประกอบด้วย พืช ผัก ต้นไม้ ที่มีวิตามินเอ สูง สามารถช่วยบำรุงสายตาได้ดี มีดังนี้

มะละกอ สมุนไพร สมุนไพรไทย ผลไม้
มะละกอ
ผักบุ้ง สมุนไพร ผักสวนครัว สรรพคุณของผักบุ้ง ผักบุ้ง
ปอผี สมุนไพร ผักกระเดียง สรรพคุณของปอผี
ปอผี
ผักกระเดียง
มะนาว สมุนไพร พืชสวนครัว ประโยชน์ของมะนาวมะนาว
ตำลึง สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ตำลึง
ชะพลู สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชล้มลุกชะพลู
ขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรไทย
ขมิ้น
อัญชัน สมุนไพร ดอกอัญชัน ประโยชน์ของอัญชัน
อัญชัน
เสาวรส สมุนไพร ผลไม้ ประโยชน์ของเสาวรส
เสาวรส

ตาบอดสี ( Color blindness ) คือ ภาวะการมองสีบางสีที่ผิดปกติ ไม่ใช่การมองไม่เห็น โรคตาบอดสีรักษาไม่ได้ และยังไม่มีเทคโนโลยีทางการแพทย์ใดที่สามารถรักษาโรคตาบอดสีได้ ตาบอดสี พบในผู้ชาย 8% และผู้หญิง 0.4% สภาวะตาบอดสี โรคเกี่ยวกับตา ตาบอดสีเป็นอย่างไร รู้ได้อย่างไรว่าตาบอดสี ตาบอดสีต้องทำอย่างไร ตาบอดสีมีกี่ชนิด โรคตา โรคตาบอดสี โรคเกี่ยวกับตา โรคเกี่ยวกับการมองเห็น


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove