แคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ( Hypocalcemia ) เกิดจากการดูดซึมแคลเซี่ยมในร่างกายผิดปรกติ ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อเกร็ง มือเกรง ปากเกร็ง เท้าเกร็ง การรักษาโรคทำอย่างไรโรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ภาวะแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ โรคต่อมไร้ท่อ โรคไม่ติดต่อ

ภาวะแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ภาษาอังกฤษ เรียก Hypocalcemia เป็น โรคต่อมไร้ท่อ ไม่ใช่โรคติดต่อ เกิดจาก ความผิดปรกติของร่างกาย หาก กล้ามเนื้อเกร็ง มือเกรง ปากเกร็ง เท้าเกร็ง อาจสงสัยว่าเป็น โรคแคลเลซี่ยมในเลือดต่ำ แล้ว โรค นี้มี สาเหตุจากอะไร อาการของโรคเป็นอย่างไร เราจะต้องทำอย่างไรเมื่อเป็น โรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ โรคนี้ ป้องกันได้หรือไม่อย่างไร และ สมุนไพรที่ช่วยบำรุงแคลเซี่ยม มีอะไรบ้าง เนื้อหามี ดังนี้

แคลเซียมในเลือดต่ำ ( Hypocalcemia ) คือ ภาวะที่ร่างกายมีแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ ซึ่ง ค่าแคลเซียมที่ปรกติของมนุษย์ อยู่ที่ 8-10.5 mg/dL หากว่านำ เลือด ไปตรวจและมี ค่าแคลเซี่ยมต่ำกว่า 8 mg/dL แปลว่าท่านได้เข้าสู่ โรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ โรค นี้สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศ ทุกศาสนา ทุกวัย

สาเหตุของภาวะแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ

สาเหตุหลักจากแคลเซียมในเลือดมีต่ำกว่าปรกติ อวัยวะที่มีส่วนใน การช่วยให้การดูดซึมแคลเซี่ยมในร่างกาย ประกอบด้วย ต่อมพาราไทรอยด์ ไต ตับอ่อน ลำไส้ เป็นต้น ซึ่ง สาเหตุที่ทำให้เกิดการดูดซึมแคลเซี่ยมในร่างกายผิดปรกติ มี สาเหตุ แยกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

  • ความสามารถในการทำงานของ ต่อมพาราไทรอยด์ น้อยลง อาจจะเกิด จากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ส่งผลกระทบกับ ต่อมพาราไทรอยด์
  • การไม่ตอบสอนต่อ ฮอร์โมนพาราไทรอยด์ ของร่างกายมนุษย์
  • อาการพิการ ของ ต่อมพาราไทรอยด์ มา แต่กำเนิด
  • รับประทานอาหารประเภท แมกนีเซี่ยม และ แคลเซี่ยม น้อย
  • โรคเกี่ยวกับไต ทำให้ความสามารถของไตทำได้น้อยลง ทำให้มีการ ขับแคลเซี่ยมออกมามาก  ส่งผลให้ร่างกาย ไม่สามารถสร้างวิตามินดี ได้
  • โรคเกี่ยวกับลำไส้ ที่ ไม่สามารถดูดซึมแคลเซี่ยม ได้ตามปรกติ
  • โรคตับอ่อนอักเสบ ทำให้ ไม่สามารถดูดซึมแคลเซียม ได้ตามปรกติ
  • ปัญหาจาก การใช้ยา บางชนิด เช่น ยากันชัก ยาเพิ่มมวลกระดูก เป็นต้น

อาการของโรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ

อาการของโรค นี้จะทำให้ ความดันเลือดต่ำ มี ภาวะการเกรงของกล้ามเนื้อ  โดยเฉพาะ บริเวณมือ เท้า และ ปาก สามารถแพร่กระจายไปตามผิวหนังได้ ซึ่งอาจส่งผลให้ หัวใจเต้นผิดจังหวะ และ กล้ามเนื้อกล่องเสียงหด และ เกร็ง ทำให้ หายใจลำบาก ซึ่ง อาการของโรคภาวะแคลเซี่ยมต่ำ ต้องระวังเรื่องของ โรคแทรกซ้อน ของ การขาดแคลเซียม เช่น โรคกระดูกพรุน ต้อกระจก ฟันไม่แข็งแรง ร่างกายเจริญเติบโตช้า และสมองไม่เจริญเติบโต เป็น ปัญญาอ่อน ได้

การรักษาโรคภาวะแคลเซียมต่ำ

สามารถทำได้โดยการให้แคลเซี่ยมชดเชยส่วนที่ขาดเข้าสู่ร่างกาย ให้ยาและอาหารเสริม นอกจากนั้นแล้ว การรักษา อาการของโรคที่เป็น สาเหตุของการดูดซึมแคลเซี่ยมผิดปรกติ เช่น รักษาลำไส้อักเสบ รักษาไต รักษาตับอ่อน รักษาต่อมพาราไทรอยด์ และ ปรับปรุงพฤติกรรมการบริโภค ให้ทาน อาหารที่มีแคลเซียม มากขึ้น

การป้องกันโรคแคลเซียมในเลือดต่ำ

สำหรับภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ มีแนวทางการป้องกันการเกิดโรค ได้ดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามหลักโภชนาการที่ร่างกายควรได้รับ โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของแคลเซียมและวิตามินดี เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม ปลาทะเล ผักใบเขียวและผลไม้ ไข่ และอาหารที่มีโปรตีน เป็นต้น
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • เลิกดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์และเลิกสูบบุหรี่
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน
  • เดินรับแสงแดดอ่อน ๆ ในตอนเช้า เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณวิตามินดีในเลือด

โรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ เกิดจาก แคลเซี่ยมในร่างกายไม่เพียงพอ จากสาเหตุต่างๆ ซึ่งเราจึงขอนำเสนอ สมุนไพรที่มีแคลเซี่ยม และ ธาตุเหล็ก ที่ มีประโยชน์ต่อกระดูก มีรายละเอียดดังนี้

ชะอม สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ชะอม  เป็นไม้พุ่ม ขนาดไม่สูง ก้านของชะอมจะมีหนามแหลม ใบมีขนาดเล็ก คล้ายใบกระถิน ใบอ่อนของชะอมมีกลิ่นฉุน ปลายใบแหลม ดอกของชะอม มีสีขาว ดอกขนาดเล็ก ผลของชะอมเป็นฝัก
ตำลึง สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
ตำลึง ภาษาอังกฤษ เรียก Lvy Gourd, Coccinia มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Cocconia grandis (L.) Voigt ชื่ออื่น ๆ ของผักตำลึง เช่น ผักแคบ แคเด๊าะ สี่บาท ผักตำนินตำลึงนิยมนำมาทำอาหาร
ชะพลู สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชล้มลุกชะพลู ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Piper sarmentosum Roxb. ชื่ออื่นๆของชะพลู เช่น ปูนก ปูลิง ช้าพลู  นมวา ผักอีเลิศ ชื่อเรียกของชะพลูก็จะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น
ขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรไทย
ขมิ้น พืชที่ปลูกง่าย ลักษณะเหมือขิง ขมิ้น มีชื่อในภาษาอังกฤษ ว่า Turmaric ชื่อวิทยาศาสตร์ของขมิ้น คือ Curcuma longa Linn ชื่ออื่นๆของขมิ้น เช่น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว หมิ้น ขมิ้นป่า ขมิ้นทอง ขมิ้นดี ตายอ เป็นต้น
กระเทียม สมุนไพร สมุนไพรไทย เครื่องเทศ
กระเทียม ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Garlic สรรพคุณของกระเทียม ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยลดความดันรักษาแผลสด เป็นยาฆ่าเชื้อ ช่วยขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ บำรุงธาตุ
มะเขือยาว สมุนไพร สมุนไพรไทย ผัดสวนครัว
มะเขือยาว ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า SO-LANUM MELONGENA LINN เป็น พืชผัก มีสรรพคุณทางสมุนไพร สามารถช่วย ขับปัสสาวะ ช่วยสมานแผล ลดความดันโลหิต แก้ท้องเสีย
พริกไทย สมุนไพร สมุนไพรไทย ผักสวนครัว
พริกไทย ภาษาอังกฤษ เรียก Pepper สรรพคุณ ขับปัสสาวะ ขับสารพิษ ช่วยควบคุมน้ำหนัก ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม บำรุงกระดูก บำรุงฟัน บำรุงสายตา  ยาอายุวัฒนะ ต้านมะเร็ง
กระเจี๊ยบเขียว สมุนไพร สมุนไพรไทย พืชสมนุไพร
กระเจี๊ยบเขียว  Lady‘s Finger มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Abelmoschus esculentus Moench. ชื่ออื่นๆ ของกระเจี๊ยวเขียว เช่น กระเจี๊ยบมอญ กระเจี๊ยบ มะเขือมื่น ส้มพม่า มะเขือหวาย

โรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ( Hypocalcemia ) คือ ภาวะการมีสารอาหารแคลเลซี่ยมในเลือดต่ำกว่าปรกติ สาเหตุเกิดภาวะดูดซึมแคลเซี่ยมในร่างกายผิดปรกติ ทำให้เกิดอาการ กล้ามเนื้อเกร็ง มือเกรง ปากเกร็ง เท้าเกร็ง โรคระบบต่อมไร้ท่อ โรคไม่ติดต่อ  โรคนี้มีสาเหตุจากอะไร อาการโรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ การรักษาและป้องกันโรคแคลเซียมในเลือดต่ำ

โรคประสาท ( Neurosis ) โรคทางจิตเวช ไม่สามารถควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของตนเองได้ ย้ำคิดย้ำทำ ซึมเศร้า วิตกังวล หวาดกลัว วิปริด สาเหตุของโรคและแนวทางการรักษาโรค

โรคประสาท โรคสมอง โรคไม่ติดต่อ รักษาโรคประสาท

โรคประสาท ภาษาอังกฤษ เรีนก Neurosis โรค นี้เป็น โรคเกี่ยวกับระบบประสาท โรคทางจิตประเภทหนึ่ง ซึ่งลักษณะ คือ ขาดความสามารถในการควบคุมอารมณ์และพฤติกรรม โดยสาเหตุอาจจะเกิดจากความวิตกกังวล ไม่สบายใจ จิตใจแปรปรวน อ่อนไหวง่าย มีความขัดแย้งในจิตใจ มีความรู้สึกไม่สบายใจ วิตกกังวล

ซึ่งจะมีอาการแสดงออกตามมา แต่อาการไม่รุนแรงมากเท่า โรคจิต โรคประสาท นี้ ผู้ป่วยนั้นยังสามารถมีจิตนึกคิด ได้ตามเหตุการณ์ปรกติและรู้ตัวเองอยู่เสมอ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการประสาทหลอน การเห้นภาพลวงตา อาการหูแว่ว ผู้ป่วยโรคประสาท นี้สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไป สามารถเกิดขึ้นได้กับคนในทุกเพศทุกวัย

หากจะทำความรู้จักกับโรคประสาทอย่างละเอียด มี 5 ประเภท ประกอบด้วย โรคประสาทประเภทวิตกกังวล (Anxiety Neurosis) โรคประสาทประเภทซึมเศร้า (Depressive Neurosis) โรคประสาทประเภทหวาดกลัว (Phobic Neurosis) โรคประสาทประเภทย้ำคิดย้ำทำ (Obscessive Compulsive Neurosis) และ โรคประสาทประเภทบุคลิกวิปลาส (Depersonalization) รายละเอียดของดรคประสาทประเภทต่างๆ มีดังนี้

  1. โรคประสาทประเภทวิตกกังวล ภาษาอังกฤษ เรียก Anxiety Neurosis ผู้ป่วยจะมีอาการวิตกกังวลในเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งมากเกินกว่าปรกติ ในความวิตกกังวลเหล่านี้เกิดจากเรื่องที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สบายใจมาก่อน เช่น เรื่องความสูญเสีย และเมื่อเวลาผ่านไป ผู้ป่วยก้ยังคงฝังใจไม่ลืม ซึ่งสิ่งนี้ทำให้เกิดภาวะเครียด ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น ไม่ยากรับประทานอาหาร หงุดหงิดง่าย ถึงขี้นเก็บไปฝันและเพ้อ
  2. โรคประสาทประเภทหวาดกลัว ภาษาอังกฤษ เรียก Phobic Neurosis ผู้ป่วยจะเกิดหวาดกลัว ซึ่งเกิดจากการเจอเหตุการณ์บางอย่างที่ทำให้กลัวสุดขีด เช่น การจมน้ำ การโดนผีหลอก การโดนทำร้าย การโดนกระทำชำเรา เป็นต้น ซึ่งหากเมื่อผู้ป่วยพบกับเหตุการณ์ใกล้เคียง จะมีอาการกลัวมากกว่าปรกติ ลักษณะ คือ หัวใจจะเต้นเร็ว หายใจเร็วรัว เหงื่อออกมาก หวาดระแวง คลื่นไส้ สามารถหายไปเองได้ เมื่อเหตุการณ์ผ่านไป
  3. โรคประสาทประเภทย้ำคิดย้ำทำ ภาษาอังกฤษ เรียก Obscessive Compulsive Neurosis ผู้ป่วยจะลักษณะของภาวะวิตกกังวล ทำอะไรซ้ำไปซ้ำมา จนกลายเป็นพฤติกรรมที่ปลูกฝังอยู่ในจิตใจ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการย้ำคิดย้ำทำ โดยผู้ป่วยเองไม่รู้ตัว
  4. โรคประเภทซึมเศร้า ภาษาอังกฤษ เรียก Depressive Neurosis ผู้ป่วยประเภทนี้จะเกิดความซึมเศร้า ที่ทำให้สภาวะจิตใจของผู้ป่วยแปรปรวน มีความขัดแย้งภายในใจ ซึ่งรวมไปถึงความเสียใจ ความสูญเสีย ผู้ป่วยจะมีความคิดถึงเรื่องที่ทำให้เสียใจอยู่เป็นประจำ อาการของผู้ป่วยจะมีอาการเหม่อลอย ซึมเศร้า ชอบเก็บตัว ตอบสนองต่อสิ่งเร้าช้า  ไม่ยากรับประทานอาหาร นอนไม่หลับ ท้องผูก เป็นต้น
  5. โรคประสาทประเภทบุคลิกวิปลาส ภาษาอังกฤษ เรียก Depersonalization มักจะเกิดจากอาการวิตกจริต ผู้ป่วยจะแสดงออกเหมือนไม่ใช่ตัวเอง ซึ่งเป็นโรคประสาทที่เกิดกับการครุ่นคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมของตนเอง

สาเหตุของการเกิดโรคประสาท

สามารถแยกออกได้ 5 สาเหตุหลักๆ ประกอบด้วย พันธุกรรมและร่างกาย การใช้ชีวิตทางสังคม ความผิดปรกติทางเคมีในร่างกายบางอย่าง การเสพยาเสพติด และการเสื่อมของระบบร่างกายจากอายุ ซึ่งรายละเอียดของสาเหตุประเภทต่างๆ มีดังนี้

  1. สาเหตุของโรคระสาทจากพันธุกรรมและร่างกาย ผู้ป่วยจะมีลักษณะท้อแท้ รู้สึกเป็นปมด้อย เนื่องจากการพิการ การสูญเสียอวัยวะ
  2. สาเหตุของโรคประสาทจากการใช้ชีวิตทางสังคม ซึ่งเป็นลักษณะการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ป่วยปรับตัวไม่ทัน เช่น ความยากจน การหย่าร้าง การตกงาน เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยจะแสดงออกทางความเครียด ความวิตกกังวล ทำให้เกิดภาวะทางประสาทตามมา
  3. สาเหตุของโรคประสาทจากชีวะเคมี ซึ่งเกิดจากการหลั่งสารเคมีบางอย่าง ที่ทำให้ระบบประสาทของร่างกายทำงานผิดปรกติ ส่งผลให้การทำงานของระบบประสาท สมอง แสดงออกมาทางพฤติกรรมที่ผิดปรกติ
  4. สาเหตุของโรคประสาทจากการเสพยาเสพติด ยาเสพติดทำลายระบบประสาท หากมีการเสพยาเสพติดมาก เกิดไปและเป็นเวลานาน ระบบประสาทจะถูกทำลาย จนแสดงออกมาทางพฤติกรรมต่างๆ ของโรคประสาท
  5. สาเหตุของโรคประสาทจากอายุ เมื่ออายุสูงขึ้น ก็เกิดภาวะอ่อนแอ รู้สึกเหมือนถูกทอดทิ้ง

อาการของผู้ป่วยโรคประสาท

ซึ่งลักษณะเด่นของผู้ป่วยจะวิตกกังวลเป็นพิเศษ และมีอาการอื่น ดังนี้

  1. ผู้ป่วยวิตกกังวล และเครียด มากกว่าปรกติ
  2. หัวใจเต้นเร็ว แรง และใจสั่น ซึ่งอาการแน่นหน้าอก คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย และปัสสาวะบ่อยจะตามมา
  3. เกิดการควบคุมกล้ามเนื้อได้ไม่ดี เช่น เกร็ง มือสั่น กล้ามเนื้อกระตุก เป็นต้น
  4. จะมีความกลัวในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น มีอาการย้ำคิด ย้ำทำ คิดวนไปวนมา และมักคิดในแง่ร้าย
  5. จะซึมเศร้า มีอาการเหม่อลอย
  6. ตกใจง่าย หากมีเสียงดังมากระทบ จะตกใจมากกว่าปรกติ

การรักษาโรคประสาท 

ในการรักษาผู้ป่วยอาการโรคประสาท นั้น การรักษาจะเน้นที่การปรับกระบวนการคิด ซึ่งส่งผลให้พฤติกรรมเปลี่ยนเป็นหลัก และการรักษาทางการแพทย์ มีรายละเอียด ดังนี้

  1. การใช้ยา ซึ่งลักษณะยาที่ให้ จะเป็นยา ประเภทยาคลายเครียด ยานอนหลับ ยาบำรุงประสาท เป็นต้น
  2. การรักษาโดยจิตบำบัด ซึ่งเป็นการทำกิจกรรม การพูดคุยกับผู้ป่วย เพื่อปรับกระบวนการคิด ทำให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจตนเอง สังคม และยอมรับความเป็นจริง ที่เกิดขึ้น
  3. การทำพฤติกรรมบำบัด เป็นวิธีที่ทำควบคู่กับการทำจิตบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยรู้จักกับการจัดการกับความเครียดของตัวเอง เพื่อลดความเครียด และอาการที่ทำให้เกิดการวิตกกังวล
  4. การเปลี่ยนแปลงบรรยากาศ เช่น การท่องเที่ยว การนั้งฟังธรรมะ และการนั่งสมาธิ เป้นต้น จะช่วยให้เกิดการผ่อนคลาย

การป้องกันโรคประสาท

สามารถป้องกันได้หลายวิธี โดยรายละเอียด มีดังนี้

  1. การป้องกันสำหรับคนช่วงเด็ก ปัจจัยที่สำคัญคือ การเลี้ยงดู การอบรบ สั่งสอน ให้เด็กเต็บโตขึ้นมา ให้แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ ได้รับความรัก ความอบอุ่นอย่างเหมาะสม
  2. การป้องกับสำหรับคนวัยผู้ใหญ่ จำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องคนรอบข้าง ซึ่งต้องทำความรุ้จักและทำความเข้าใจคนรอบข้าง เพื่อจะได้เข็มแข็งเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ทำให้กระทบกระเทือนจิตใจ จะได้ยอมรับและผ่านไปได้อย่างเข้มแข็ง
  3. รู้จักการให้อภัย การรู้จักให้อภัยในสิ่งที่ผิดพลาด จะทำให้เกิดความสบายใจและไม่จดจำสิ่งที่ทำให้กระทบกระเทือนต่อจิตใจ
  4. การออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างเหมาะสม

สมุนไพรที่ช่วยผ่อนคลายและช่วยให้นอนหลับสบาย สามารถช่วยบรรเทาอาการความเครียดของผู้ป่วยโรคประสาท การนอนหลับ จะช่วยให้ร่างกายและจิตใจได้ผ่อนคลายได้ สมุนไพรช่วยคลายเครียด และช่วยนอนหลับ มีดังนี้

คาเคา โกโก้ สรรพคุณของโกโก้ สมุนไพรคาเคา โกฐเชียง สรรพคุณของตังกุย ตังกุย สมุนไพรตังกุย
ลูกสมอไทย สมอไทย ราชาสมุนไพร สมุนไพรไทยสมอไทย เก๋ากี้ สมุนไพร โกจิเบอร์รี่ สรรพคุณของโกจิเบอร์รี่เก๋ากี้ โกจิเบอร์รี่
มะขามป้อม มะขามอินเดีย สมุนไพร ผลไม้วิตามินซีสูงมะขามป้อม ผักชี ผักสวนครัว สมุนไพร สรรพคุณของผักชีผักชี

โรคประสาท ( Neurosis ) คือ โรคเกี่ยวกับระบบประสาท โรคทางจิตประเภทหนึ่ง ทำให้ไม่สามารถควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมได้ ย้ำคิดย้ำทำ ซึมเศร้า วิตกังวล หวาดกลัว วิปริด เกิดจากความวิตกกังวล ไม่สบายใจ จิตใจแปรปรวน อ่อนไหวง่าย มีความขัดแย้งในจิตใจ มีความรู้สึกไม่สบายใจ วิตกกังวล เป็นเวลานาน สาเหตุเกิดจากอะไร โรคจิตประเภทหนึ่ง ลักษณะอาการโรคประสาท


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove