เอดส์ ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องจากเชื้อไวรัส HIV เกิดจากการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทำให้ภูมิคุ้มกันโรคบกพร่อง เกิดโรคง่าย ไม่มียารักษาแต่มียาต้านเชื้อลดอาการของโรคโรคเอดส์ ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี โรคติดต่อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคเอดส์ ( AIDS : Acquired Immune Deficiency Syndrome ) เป็นโรคอันตราย โรคติดต่อที่ถ่ายทอดจากคนสู่คน การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใส่ถุงยางอนามัย การชอบเปลี่ยนคู่นอน การรักรวมเพศ การเสพยาเสพติด การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ต่างเป็นสาเหตุขอการติดโรคเอดส์ ในปัจจุบันมียารักษา ผู้ป่วยโรคเอดส์ต้องกินยาต้านไวรัส ตลอดชีวิต และ ต้องดูแลสุขภาพไม่ให้ติดเชื้อโรคต่างๆ

สาเหตุของเอดส์

โรคเอดส์ เกิดจากเชื้อไวรัส ฮิวแมนอิมมิวโนเดฟีเชียนซีไวรัส ( Human Immunodeficiency Virus ) เรียกย่อๆ ว่า HIV เมื่อเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวถูกทำลาย ทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคต่ำลง จนทำให้ร่างกายไม่มีสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆได้ ผู้ป่วยโรคเอดส์ ติดเชื้อโรคได้ง่าย เช่น วัณโรค ปอดบวม เชื้อรา เป็นต้น ผู้ป่วยโรคเอดส์ ส่วนมากมักเสียชีวิตจากการเกิดโรคแทรกซ้อน

การเข้าสู่ร่างกายของเชื้อเอชไอวี เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้มีติดเชื้อเอดส์ การถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกจากการตั้งครรภ์ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อเอดส์ เป็นต้น

สายพันธ์ของโรคเอดส์

ไวรัสเอชไอวี ปัจจุบันมีหลายสายพันธุ์ พบว่ามีมากกว่า 10 สายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ดั้งเดิมของโรคนี้ คือ เอชไอวี1 ( HIV1 )สายพันธ์นี้พบมากใน ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกากลาง และทวีปอเมริกา อีกสายพันธ์หนึ่ง คือ เอชไอวี 2 ( HIV2 ) พบมากในทวีปแอฟริกา แต่สายพันธุ์เอชไอวี ที่พบมากที่สุดในโลก คือ สายพันธุ์ซี ซี่งสายพันธ์นี้ พบใน ทวีปแอฟริกา ประเทศอินเดีย ประเทศจีน และประเทศพม่า

สำหรับประเทศไทย พบว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์เออี (A/E) และ สายพันธ์บี (B) สายพันธุ์เอชไอวีที่ไม่เคยพบในประเทศไทย คือ สายพันธุ์ซี

การติดต่อโรคเอดส์

สำหรับช่องทางการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี มี 3 ช่องทาง คือ การมีเพศสัมพันธ์ การรับเชื้อโรคทางเลือด และ การถ่ายทอดจากแม่สู่ลูก รายละเอียด ดังนี้

  • การมีเพศสัมพันธ์กับผู้มีเชื้อเอชไอวี เป็นสาเหตุหลักของการติดเชื้อเอดส์ จากข้อมูลของกองระบาดวิทยาระบุว่าร้อยละ 83 ของผู้ติดเชื้อเอดส์ ติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์
  • การรับเชื้อทางเลือด ซึ่งการรับเชื้อโรคพบได้ใน 2 กรณี คือ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน และ การรับเลือดโดยตรงจากการรับเลือด
  • การติดต่อจากแม่สู่ลูก เกิดจากมารดาที่มีเชื้อเอดส์และตั้งครรภ์ ปัจจุบันมีวิธีการป้องกันการแพร่เชื้อเอดส์จากแม่สู่ลูกได้สำเร็จแล้ว โดยการกินยาต้านไวรัสในช่วงตั้งครรภ์

ระยะของการเกิดโรคเอดส์

สำหรับระยะการเกิดโรคเอดส์ มีอาการของโรค 3 ระยะ คือ ระยะไม่แสดงอาการ ระยะมีอาการสัมพันธ์กับโรคเอดส์ และ ระยะโรคเอดส์ รายละเอียด ดังนี้

  • ระยะไม่ปรากฏอาการ ในระยะผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอดส์ ไม่ปรากฏอาการผิดปกติ ภายนอกดูปรกติแข็งแรง ซึ่งในระยะนี้จะใช้เวลาประมาณ 7 ถึง 8 ปี และในผู้ติดเชื้อบางรายไม่แสดงอาการนานถึง 10 ปี เป็นระยะอันตรายต่อการแพร่เชื้อโรคมากที่สุด เพราะ ผู้ป่วยไม่รู้ว่าตนติดเชื้อโรค
  • ระยะมีอาการสัมพันธ์กับโรคเอดส์ เป็นระยะที่เริ่มมีการตรวจพบเลือดบวก และ เห็นอาการผิดปกติของร่างกายชัดเจนมากขึ้น  เช่น มีอาการต่อมน้ำเหลืองโต มีเชื้อราในช่องปาก เป็นงูสวัด มีอาการ เช่น มีไข้สูง ท้องเสีย ผิวหนังอักเสบ น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุของโรค
  • ระยะโรคเอดส์ เป็นระยะระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่อง เริ่มเกิดอาการติดเชื้อแทรกซ้อน ผู้ป่วยในระยะนี้ มักเสียชีวิตภายใน 2 ปี

อาการของโรคเอดส์

สำหรับอาการที่แสดงให้เห็นในผู้ป่วยโรคเอดส์ มักจะแสดงอาการต่างๆ ดังนี้

  • มีอาการปอดอักเสบ
  • ระบบความจำสูญเสีย มีอาการซึมเศร้า และ แสดงอาการที่ระบบประสาท
  • มีอาการท้องเสียเรื้อรัง
  • อ่อนเพลีย และ เหนื่อยง่าย
  • มีไข้สูงบ่อยๆ
  • เหงื่อออกเวลากลางคืน
  • น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว
  • มีผื่นขึ้นตามตามผิวหนัง ช่องปาก จมูก และ เปลือกตา
  • มีแผลที่ริมฝีปาก อวัยวะเพศ และ ทวารหนัก
  • ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ รักแร้และขาหนีบ บวมโต

การรักษาโรคเอดส์

สำหรับการรักษาโรคเอดส์ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาให้หายขาดได้ การรักษาโรคเอดส์ คือ การช่วยชะลอการพัฒนาของเชื้อโรค โดยการกินยาต้านเชื้อไวรัสเอชไอวี หรือ ยาต้านรีโทรไวรัส ( Antiretrovirals: ARVs ) หากผู้ป่วยพบว่าตนติดเชื้อเอดส์เร็ว ก็จะสามารถควบคุมไวรัสได้ดีกว่าพบเชื้อไวรัส เมื่อเข้าสู่ระยะที่สอง

การป้องกันโรคเอดส์

สำหรับการป้องกันโรคเอดส์ ที่ดีที่สุด คือ การไม่รับเชื้อโรคในทุกช่องทางทีเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค แนวทางการป้องกันโรคเอดส์ มีดังนี้

  • ไม่มีเพศสัมพันธืกับคนที่ไม่ใช่คู่นอน
  • ไม่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ
  • สวมถุงยางอนามัย เมื่อจำเป็นต้องมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่ใช้คู่นอน
  • ไม่เสพยาเสพติด
  • ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  • ระมัดระวังการสัมผัสเลือดของผู้ติดเชื้อเอดส์

โรคเอดส์ ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องจากการติดเชื้อไวรัส HIV ส่วนมากเกิดจากการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ติดเชื้อเอดส์ต้องทำอย่างไร การรักษาโรคเอดส์ และ การป้องกันโรคมีอะไรบ้าง

พยาธิในช่องคลอด ภาวะติดเชื้อปรสิตที่ระบบสืบพันธ์ของสตรี อาการคันหี ช่องคลอดเหม็น ตกขาวเป็นสีเขียว ตกขาวมีฟอง ปวดเวลาฉี่ แนวทางการรักษาและป้องกันโรคทำอย่างไร

ตกขาวสีเขียวมีฟอง พยาธิช่องคลอด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคพยาธิในช่องคลอด ( Trichomoniasis ) คือ โรคจากภาวะติดเชื้อโรคที่ระบบสืบพันธ์เพศหญิง เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ปลอดภัย ซึ่งอาการที่สำคัญ คือ คันอวัยวะเพศ อวัยวะเพศมีกลิ่นเหม็น ตกขาวผิดปรกติ และ ปวดแสบเวลาปัสสาวะ สามารถเกิดได้กับทุกเพศ ทั้งเพศชายและเพศหญิง ส่วนมากเกิดกับสตรี โรคนี้สามารถกลับมาติดเชื้อซ้ำได้หลังจากรักษาหายแล้ว

สาเหตุของโรคพยาธิในช่องคลอด

โรคนี้เกิดจาก เชื้อโรคโปรโตซัว ชื่อ Trichomonas Vaginalis เป็นพยาธิที่สามารถพบในช่องคลอด หรือ น้ำอสุจิ เชืื้อโรคจะสามารถแพร่จากผู้ป่วยที่มีเชื้อสู่คนอื่นๆได้ จากการมีเพศสัมพันธ์ ซี่งเชื้อโรคจะทำให้เกิดความผิดปรกติที่ระบบสืบพันธ์ ทั้งในช่องคลอดและท่อปัสสาวะ โดยกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงการเกิดโรค มีดังนี้

  • กลุ่มคนที่อายุเกิน 40 ปี
  • กลุ่มคนที่มีพฤติกรรมชอบมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่ใช้สามีหรือภรรยาของตนเอง
  • กลุ่มคนที่ไม่สวมถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์
  • กลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยวกับบริการทางเพศต่างๆ

อาการของผู้ป่วยโรคพยาธิในช่องคลอด

สำหรับคที่ติดพยาธิในช่องคลอด ในระยะแรกของการติดเชื้อ 30 วันแรก ไม่แสดงอาการ แต่หลังจากนั้น ผู้ป่วยจะแสดงอาการผิดปรกติต่างๆ ดังนี้

  • ตกขาวมากผิดปกติ
  • ตกขาวเป็นฟอง ซึ่งตกขาวมีสีต่างๆ เช่น สีขาว สีเทา สีเหลือง หรือ สีเขียว
  • ตกขาวมีมีกลิ่นเหม็นคาวปลา
  • เลือดออกจากช่องคลอด
  • อวัยวะเพศบวม แดง
  • คันที่อวัยวะเพศ
  • ปัสสาวะบ่อยผิดปรกติ
  • ปวดเวลาปัสสาวะ
  • เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์

การตรวจวินิจฉัยโรคพยาธิในช่องคลอด

สำหรับการวินิจฉัยโรค เมื่อเกิดอาการผิดปรกติที่ช่องคลอด แพทย์จะทำการวินิจฉัย จากการซักประวัติ และ สังเกตุอาการต่างๆ จากนั้นตรวจร่างกายเบื้องต้น เพื่อการโรคต่างๆ เช่น โรคเอดส์ โรคไวรัสตับอักเสบ โรคหูด โรคเริม หนองใน เป็นต้น และ ทำการตรวจภายใน เก็บตัวอย่างน้ำเมือกจากการตกขาว เพื่อตรวจหาพยาธิ เพื่อวางแผนการรักษาอย่างถูกต้อง

การรักษาโรคพยาธิในช่องคลอด

สำหรับแนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อพยาธิในช่องคลอด ใช้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเป็นหลัก และ การดูแลตนเอง ไม่ให้เกิดการติดเชื้อซ้ำ โดยแนวทางการรักษา มีดังนี้

  • ให้ยา เมโทรนิดาโซล หรือ ทินิดาโซล ให้รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
  • ช่วงการรักษาห้ามดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น
  • ห้ามมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างการรักษา
  • สำหรับหญิงมีครรภ์ หรือ อยู่ในระหว่าการให้นมบุตร ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยาทุกชนิด

การป้องกันโรคพยาธิในช่องคลอด

สำหรับการป้องกันโรคพยาธิในช่องคลอด โรคนี้สาเหตุจากการติดเชื้อโรคจากการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อโรค ดังนั้นการป้องกันโรคต้องป้องกันที่สาเหตุของการเกิดโรค โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ไม่มีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ปลอดภัย
  • ไม่เปลี่ยนคู่นอน
  • สวมถุงยางอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคจากการมีเพศสัมพันธ์
  • หากมีอาการผิดปรกติจากการตกขาว หรือ ปัวสาวะแสบ ให้ปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

พยาธิในช่องคลอด การติดเชื้อปรสิตที่ระบบสืบพันธ์ มีอาการคันหี ช่องคลอดเหม็น ตกขาวเป็นสีเขียว ตกขาวมีฟอง และ ปวดเวลาฉี่ โรคนี้รักษาอย่างไร และ การป้องกันต้องทำอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove