ตังกุย สมุนไพร ตำรับยาไทย เรียก โกฐเชียง สรรพคุณกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ช่วยให้มีลูก เครื่องยาจีน รากตังกุยนำมาทำยา ต้นตังกุุยเป็นอย่างไร โทษของตังกุยเป็นอย่างไร

โกฐเชียง สรรพคุณของตังกุย ตังกุย สมุนไพร

ต้นตังกุย เป็นพืชชนิดสีน้ำตาล เนื้อเหนียว มีรอยแตกหักสีขาว รากเปลือกหนา เนื้อรากสีขาว กลิ่นหอม รสหวานและขม เล็กน้อย นำมาทำยาขับระดู รักษาโรคของสตรี กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ และ ทำให้ลูกดก ต้นตังกุย ( Dong quai ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของตังกุย คือ Angelica sinensis (Oliv.) Diels สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของตังกุย เช่น โสมตังกุย โกฐเชียง เป็นต้น

ลักษณะของต้นตังกุย

ต้นตังกุย เป็นพืชล้มลุก ที่มีถื่นกำเนิดในประเทศจีน เป็นพืชที่ยายุยืนยาว มีกลิ่นเฉพาะตัวพบแพร่หลายในพื้นที่ป่าดิบในเขตเขาสูง นอกจากนี้ยังพบในประเทศญี่ปุ่น และ ประเทศเกาหลี

  • รากตังกุย ลักษณะอวบ เป็นทรงกระบอก อยู่ใต้ดิน มีรากแขนงหลายราก ผิวด้านนอกของรากสีน้ำตาลอมเหลือง ส่วนเนื้อสีเหลืองและมีรูพรุน แกนเป็นสีขาว มีกลิ่นหอมแรง รสหวานอมขม
  • ลำต้นตังกุย ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นตั้งตรง เปลือกลำต้นหนา มีร่องเล็กน้อย มีเหง้าหรือรากอยู่ใต้ดิน
  • ใบตังกุย ลักษณะเป็นใบเดี่ยว มีหยักลึก รูปทรงไข่ ใบมีก้านเห็นได้ชัดเจน ใบหยักเหมือนฟันเลื่อย โคนแผ่เป็นครีบแคบๆ ใบสีเขียวอมม่วง
  • ดอกตังกุย ลักษณะเป็นช่อ ออกช่อตามยอดของลำต้น และ ง่ามใบ ดอกเป็นสีขาวหรือสีแดงอมม่วง ดอกตังกุยออกดอกช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม ของทุกปี
  • ผลตังกุย ลักษณะของผลเป็นผลแห้ง ขนาดประมาณ 4 มิลลิเมตร ดอกด้านข้างมีปีกบางๆ และมีท่อน้ำมันตามร่อง ผลของตังกุยให้ผลประมาณเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน ของทุกปี

สรรพคุณของตังกุย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากตังกุย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จากตังกุย ส่วนราก ซึ่ง สรรพคุณของตังกุย มีรายละเอียด ดังนี้

  • บำรุงหัวใจ ตับ และ ม้าม ช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจ
  • บำรุงเลือด เป็นยาบำรุงเลือด ฟอกเลือด รักษาโรคโลหิตจาง รักษาภาวะเลือดพร่อง ทำให้เลือดไหลเวียนสะดวก และช่วยสลายเลือดคั่ง
  • บำรุงผิวพรรณ ช่วยเพิ่มความเปล่งปลั่งของผิว ทำให้ผิวมีน้ำมีนวล
  • บำรุงร่างกาย บรรเทาอาการปวดเมื่อย
  • บำรุงสมอง บำรุงตับ แก้ปวดหัว แก้เวียนหัว ช่วยเรื่องความจำ ไม่ให้หลงลืมง่าย
  • แก้ไข้ แก้หวัด แก้ไอ แก้หอบหืด แก้ปวดท้อง แก้ปวดข้อ
  • ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยในการขับถ่าย แก้ท้องผูก แก้บิด แก้อาการถ่ายเป็นเลือด
  • แก้ปวดประจำเดือน ลดอาการปวดท้องจากประจำเดือน ช่วยควบคุมรอบเดือนให้ปกติ แก้อาการประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • สำหรับสตรีหลังคลอด ทำให้ช่องคลอดแห้ง ช่วยเสริมฤทธิ์ของฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยกระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก ช่วยขับน้ำคาวปลา ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ แก้อาการตกเลือด
  • เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ กระตุ้นอารมณ์ทางเพศ
  • รักษาแผล รักษาแผลฟกช้ำ แผลฝีหนอง และ แผลเน่าเปื่อย

โทษของตังกุย

การใช้ประโยชน์จากตังกุย มีข้อควรระวัง โดยห้ามใช้กับสตรีมีครรภ์ และ ผู้ป่วยที่มีระบบขับถ่ายไม่ดี ท้องเสียบ่อย ร้อนใน หรือ มีประวัติการอาเจียนเป็นเลือด

ตังกุย สมุนไพร ตำรับยาไทย เรียก โกฐเชียง สรรพคุณเด่นกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ช่วยให้มีลูก เครื่องยาจีน ใช้ รากตังกุยแห้ง นำมาทำยา ลักษณะของต้นตังกุุยเป็นอย่างไร สรรพคุณของตังกุบ โทษของตังกุย

มะดัน ( Madan ) เป็นผลไม้รสเปรี้ยว วิตามินซีสูง กินผลสดได้ ต้นมะดันเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณขับเสมหะ แก้เจ็บคอ เป็นยาระบาย แก้ไข้ทับระดู โทษของมะดัน

มะดัน ต้นมะดัน สรรพคุณของมะดัน ประโยชน์ของมะดัน

ต้นมะดัน ชื่อสามัญ คือ Madan ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะดัน คือ Garcinia schomburgkiana Pierre พืชตระกูลเดียวกับมังคุด ชื่อเรียกอื่นๆของมะดัน เช่น ส้มมะดัน  ส้มไม่รู้ถอย เป็นต้น

ลักษณะของต้นมะดัน

ต้นมะดัน เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผัดใบ มีรสเปรี้ยว สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่เขตร้อน โดยเฉพาะประเทศไทย สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ลักษณะของลำต้น ใบ ดอก ผล มีดังนี้

  • ลำต้นมะดัน มีความสูงประมาณ 7 – 10 เมตร ลักษณะแตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม เปลือกของลำต้นเรียบ สีน้ำตาลอมดำ
  • ใบมะดัน ลักษณะเป็นใบเดี่ยว มีสีเขียวเข้ม ขอบใบเรียบ โคนใบและปลายใบแหลม แผ่นใบมะดันลักษณะเรียบลื่น
  • ดอกมะดัน ดอกของมะดันจะออกตามซอกใบ ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะเป็นกระจุก ซึ่งกระจุกหนึ่งจะมี 3 – 6 ดอก ดอกมะดันมีสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกคล้ายรูปไข่
  • ผลมะดัน มีลักษณะเป็นทรงรี ปลายของผลแหลม มีสีเขียว ผิวเรียบ มันลื่น ผลมะดันมีรสเปรี้ยว ภายในผลมีเมล็ด ผลละหนึ่งเมล็ด

คุณค่าทางโภชนากการของมะดัน

สำหรับการนำมะดันมาบริโภค นั้นนิยมบริโภคใบอ่อนและผลของมะนั้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของผลมะดันและใบมะดัน โดยมีายละเอียด ดังนี้

  • คุณค่าทางโภชนาการของผลมะดัน ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6.5 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม โปรตีน 0.3 กรัม กากใยอาหาร 0.4 มิลลิกรัม วิตามินเอ 431 หน่วยสากล วิตามินบี2 0.04 มิลลิกรัม วิตามินซี 5 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 17 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 7 มิลลิกรัม
  • คุณค่าทางโภชนาการของใบมะดันอ่อน ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 7.3 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม โปรตีน 0.3 กรัม วิตามินเอ 225 หน่วยสากล วิตามินบี1 0.01 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.04 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.02 มิลลิกรัม วิตามินซี 16 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 103 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 8 มิลลิกรัม

ประโยชน์ของมะดัน

เนื่องจากมะดันมีวิตามิหลายชนิด และ มีวิตามินซีสูง มะดันจึงถูกนำมาเป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอางค์บำรุงผิวพรรณ ทั้ง สบู่ ครีมบำรุงผิว โทนเนอร์ เป็นต้น นอกจากนั้นมะดันมีรสเปรี้ยว ดังนั้น จึงนิยมนำเอามะดันมาทำอาหาร ให้รสเปรี้ยวต่างๆ เช่น น้ำพริก ต้มยำ เป็นต้น ผลของมะดัน สามารถนำมาทำผลไม้แช่อิ่มได้

สรรพคุณของมะดัน

สำหรับมะดัน จัดเป็นพืชพื้นเมือง มีประโยชน์ต่อการดำรงค์ชีวิต ในด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค โดย สรรพคุณของมะดัน มีการนำเอา รกมะดัน รากมะดัน ใบมะดัน ผลมะดัน เปลือกมะดัน ดอกมะดัน มาใช้ประโยชน์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • ดอกมะดัน มีสรรพคุณช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก รักษามะเร็ง
  • ผลมะดัน มีรสเปรี้ยว สรรพคุณช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยสร้างภูมิต้านทานโรค ทำให้ชุ่มคอ แก้เจ็บคอ แก้กระษัย รักษาไข้หวัด แก้ไอ ขับเสมหะ ขับประจำเดือน ช่วยขับน้ำคาวปลา แก้ระดูเสีย แก้ประจำเดือนมาไม่ปรกติ
  • ใบมะดัน สรรพคุณ แก้กระษัย ช่วยขับเลือด ช่วยฟอกเลือด รักษาหวัด แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยแก้ระดูเสียในสตรี แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ช่วยขับประจำเดือน
  • รกของมะดัน สรรพคุณแก้กระษัย ช่วยขับเลือด ฟอกเลือด รักษาไข้หวัด รักษาไข้ทับระดู ขับเสมหะ
  • รากของมะดัน สรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ ขับปัสสาวะ แก้กระษัย ช่วนขับเลือด ช่วยฟอกเลือด รักษาไข้หวัด รักษาไข้ทับระดู ขับเสมหะ
  • เปลือกของมะดัน สรรพคุณแก้กระษัย ช่วนขับเลือด ช่วยฟอกเลือด รักษาไข้หวัด รักษาไข้ทับระดู ขับเสมหะ

ความเด่นของมะดัน คือ ความเปรี้ยว มีกรดอินทรีย์ วิตามินซีสูง ช่วยสร้างภูมิคุ้มโรคกรดอินทรีย์ในมะดัน สามารถนำมาใช้ในการดูแลผิวพรรณ ช่วยให้ผลัดเซลล์ผิว จึงนำมาใช้ในกระบวนการผลิตเครื่องสำอาง ทั้ง สบู่ ครีมบำรุงผิว เป็นต้น

โทษของมะดัน

มะดันมีลักษณะเด่น ที่ รสเปรี้ยวมาก มีความเป็นกรดสูง แต่ก็มีวิตามินซี การใช้ประโยชน์และการบริโภคมะดัน จึงต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม หากมากเกินไปจะเกิดโทษต่อร่างกายได้ โดยโทษของการกินมะดันมากเกินไป มีดังนี้

  • สำหรับผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหาร ไม่ความกินมะดัน ที่มีความเปรี้ยวในปริมาณมาก เนื่องจากกรดและความเปรีี้ยวของมะดันจะทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานหนักขึ้น
  • สำหรับผู้ป่วยโรคไต ควรงดการกินมะดัน เนื่องจากรสเปรี้ยวของมะดัน จะกระตุ้นให้ขับปัสสาวะมากขึ้น ทำให้ไตทำงานหนักขึ้น
  • กรดจากอาหารที่มีรสเปรี้ยว จะกัดกร่อน ผิวเคลือบฟัน ทำให้ให้ฟันสึกหรอเร็ว ทำให้เสียวฟัน
  • การกินอาหารรสเปรี้ยวมากเกินไป ทำให้ ท้องเสีย ร้อนใน และ ระบบน้ำเหลืองในร่างกายมีปัญหา

มะดัน ( Madan ) คือ พืชไม้ยืนต้น เป็นผลไม้รสเปรี้ยว สามารถบริโภคผลสดได้ ต้นมะดันเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของมะดัน สรรพคุณของมะดัน เช่น ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ เป็นยาระบาย แก้ไข้ทับระดู แก้กระษัย โทษของมะดัน ผลมะดันมีวิตามินซีสูง มี เบตาแคโรทีน รวมถึงแร่ธาตุสำคัญ เช่น แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส เป็นตัน


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove