ตะขบ สมุนไพร พืชท้องถิ่น ผลตะขบสามารถรับประทานได้ รสหวาน ลักษณะของต้นตะขบเป็นอย่างไร สรรพคุณของตะขบ เช่น บำรุงกำลัง ช่วยขับเงื่อ โทษของตะขบ มีอะไรบ้าง

ตะขบ สมุนไพร

ต้นตะขบ ภาษาอังกฤษ เรียก West Indian Cherry ชื่อวิทยาศาสตร์ของตะขบ คือ Muntingia calabura L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของตะขบ มีหลากหลาย เช่น คนสุราษฏร์ธานี เรียก ครบฝรั่ง กะเหลี่ยงแดง เรียก หม่ากตะโก่เสะ ชาวม้ง เรียก ตากบ เมี่ยน เรียก เพี่ยนหม่าย ชาวภาคกลาง เรียก ตะขบฝรั่ง เป็นต้น

ต้นตะขบ มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับและผลไม้รับประทานผล ซึ่งตะขบมักพบตามพื้นที่รกร้างว่างเปล่าตามป่าโปร่ง เนื่องจากลักษระของตะขนมีผลมาก และสามารถแพร่กระจายง่ายตามรอบๆของต้นตะขบ รวมถึงผลตะขบนิยมเป็นอาหารของนกและสัตว์ขนาดเล็ก

ลักษณะของต้นตะขบ

ต้นตะขบ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ปลูกง่าย สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นตะขบ มีดังนี้

  • ลำต้นต้นตะขบ ความสูงได้ประมาณ 5 ถึง 7 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านและแผ่ขนานกับพื้นดิน ลักษณะของเปลือกลำต้นเรียบเป็นสีเทา กิ่งอ่อนมีขนปกคลุมทั่วกิ่งก้าน
  • ใบตะขบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับตามกิ่งก้าน ลักษณะใบเป็นรูปไข่ปลายแหลม โคนใบมน ขอบใบเป็นหยักๆ ใบลักษณะหยาบ มีขนปกคลุม ใบมีสีเขียว
  • ดอกตะขบ ลักษณะดอกออกเป็นช่อ ดอกออกตามซอกใบ เป็นดอกเดี่ยว กลีบดอกเป็นสีขาว
  • ผลตะขบ เจริญเติบโตจากดอกตะขบ ลักษณะผลกลม ผลสดสีเขียว และ ผลสุกสีแดง ภายในผลมีเมล็ด และ เนื้อผลมีรสหวาน

คุณค่าทางโภชนาการของตะขบ

สำหรับตะขบมีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลตะขบ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 97 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ เช่น แคลเซียม 51.7 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 773 มิลลิกรัม โซเดียม 12.8 มิลลิกรัม และวิตามินกับสารอาหารต่างๆอีกมากมาย จากผลงานการวิจัยของ นพ.สมยศ ดีรัศมี พบว่าตะขบ สามารถช่วยดูดซับคอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ และ ป้องกันเส้นเลือดในสมองแตกได้

สรรพคุณของตะขบ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากตะขบ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผล ดอก เนื้อไม้ ราก และ ใบ สรรพคุณของตะขบ มีดังนี้

  • ผลตะขบ สรรพคุณบำรุงกำลัง ทำให้ร่างกายสดชื่น แก้กระหายน้ำบำรุงสมอง ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็งลำไส้
  • ดอกตะขบ สรรพคุณแก้ปวดหัว แก้ปวดท้อง แก้อาการเกรงในทางเดินอาหาร ช่วยขัยระดูสตรี แก้ตับอักเสบ แก้ปวด แก้อักเสบ
  • เนื้อไม้ตะขบ สรรพคุณแก้ปวดหัว แก้หวัด ลดไข้  แก้ท้องเสีย ช่วยขับพยาธิ แก้ตานขโมย รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการคันตามตัว
  • ใบตะขบ สรรพคุณช่วยขับเหงื่อ
  • รากตะขบ สรรพคุณขับเสมหะ รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการคันตามตัว
  • เปลือกตำต้น สรรพคุณเป็นยาระบาย

โทษของตะขบ

สำหรับการรับประทานผลตะขบเป็นอาหาร เนื่องจากผลตะขบมีรสหวาน สำหรับผู้ป่วยที่มีน้ำตาลในเลือดสูง ผู้ป่วยเบาหวาน ควรรับประทานตะขบในปริมาณที่เหมาะสม และ เปลือกของลำต้นตะขบ มีสรรพคุณเป็นยาระบาย สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องท้องเสีย ไม่ควรรับประทานยาทีมีส่วนผสมของเปลือกลำต้นตะขบ

ตะขบ คือ พืชท้องถิ่น ผลตะขบสามารถรับประทานได้ รสหวาน ลักษณะของต้นตะขบเป็นอย่างไร สรรพคุณของตะขบ เช่น บำรุงกำลัง ช่วยขับเงื่อ โทษของตะขบ มีอะไรบ้าง

แคนา หรือ แคป่า สมุนไพร ไม้มงคล นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ดอกแคนำมารับประทานเป็นผักสดได้ ต้นแคนาเป็นอย่างไร สรรพคุณขับเสมหะ ขับประจำเดือน ช่วยเจริญอาหาร โทษของแคนาแคนา แคป่า สมุนไพร สรรพคุณของแคนา

ต้นแคนา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dolichandrone serrulata Wall. ex DC. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของแคนา เช่น ภาคเหนือ เรียก แคขาว แคเค็ตถวา แคแน แคฝอย แคฝา แคภูฮ่อ แคแหนแห้ ภาคอีสาน เรียก แคทราย ภาคตะวันออก เรียก แคยาว แคอาว ภาคใต้ เรียก แคยอดดำ เป็นต้น

ต้นแคนา พบกระจายอยู่ทั่วไปประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลาว พม่า เวียดนาม และไทย สำหรับประเทศไทยสามารถพบได้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และ ภาคกลาง และพบได้บ่อยตามทุ่งนาทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ประโยชน์ของแคนา

สำหรับต้นแคนา นำมาใช้ประโยชน์ทั้งการรักษาโรค อาหาร สร้างอาคารบ้านเรือน อาหารสัตว์ หรือ ปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับ ไม้มงคลในบ้าน ดอกแคนา นำมาทำอาหาร เช่น แกงส้ม หรือ ลวกกินกับน้ำพริก ต้นแคนา เหมาะสำหรับปลูกให้ร่มเงาและเป็นไม้ประดับมงคล ดอกแคนาเป็นอาหารเสริมที่ดีสำหรับเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย เนื้อไม้ของต้นแคนา นำมาสร้างอาคารบ้านเรือนได้ เช่น ทำเป็นเสา ไม้กระดาน ทำฝาบ้าน เป็นต้น

ลักษณะของต้นแคนา

ต้นแคนา เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ดพันธ์ และ การปักชำ สามารถพบต้นแคนา ตามป่า ทุ่งนา ป่าเบญจพรรณ ลักษณะของต้นแคนา มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นแคนา ความสูงประมาณ 20 เมตร ลำต้นเปลาตรง แตกกิ่งต่ำ เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอ่อน ผิวลำต้นเรียบ
  • ใบแคนา ลักษณะเป็นใบประกอบ สีเขียว ใบรี ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยว ขอบใบหยัก
  • ดอกแคนา ลักษณะดอกแคนาเป็นช่อ ดอกมีขนาดใหญ่ คล้ายรูปแตร ดอกสีขาว ดอกออกตามปลายกิ่ง ดอกแคนามีกลิ่นหอม  ดอกแคนาจะบานตอนกลางคืน ดอกแคนาดอกช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน ของทุกปี
  • ผลแคนา ลักษณะเป็นฝัก เจริญเติบโตจากดอกแค ลักษณะฝักแบน ฝักโค้งและบิดเป็นเกลียว ภายในฝักมีเมล็ด เมล็ดรูปสี่เหลี่ยม

สรรพคุณของแคนา

สำหรับการใช้ประโยชน์จากแคนา หรือ แคป่า ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ส่วนต่างๆ คือ ดอก เมล็ด ราก เปลือก และ ใบ โดย สรรพคุณของแคนา มีดังนี้

  • ดอกของแคนา รสหวาน มีฤทธิ์เย็น สรรพคุณขับเสมหะ ขับประจำเดือน ขับเลือด ช่วยเจริญอาหาร ขับลม
  • ใบของแคนา มีฤทธิ์เย็น สรรพคุณรักษาแผล รักษาแผลในช่องปาก
  • เมล็ดของแคนา รสหวาน มีฤทธิ์เย็น สรรพคุณแก้อาการปวดเมื่อย แก้อาการโรคชัก
  • รากของแคนา รสหวาน มีฤทธิ์เย็น สรรพคุณขับแก้เสมหะ ขับลม บำรุงโลหิต
  • เปลือกของแคนา รสหวาน มีฤทธิ์เย็น สรรพคุณแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับเลือดสำหรับสตรีหลังคลอด

โทษของแคนา

สำหรับโทษของแคนา มีข้อควรระวังในการใ้ชประโยชน์จากแคนา ดังนี้

  • ดอกแคนา สรรพคุณเป็นยาขับเลือด ขับประจำเดือน สำหรับสตรมีครรภ์ หากใช้ดอกแคนาอาจทำให้เลือดออก ตกเลือด เป็นอันตรายต่อบุตรในครรภ์

แคนา หรือ แคป่า พืชท้องถิ่น ผักป่า สมุนไพร ไม้มงคล นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ดอกแคนำมารับประทานเป็นผักสด ลักษณะของต้นแคนา เป็นอย่างไร สรรพคุณของแคนา เช่น ขับเสมหะ ขับประจำเดือน ช่วยเจริญอาหาร ขับลม โทษของแคนา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove