ย่านาง ( Bamboo grass ) จ้อยนาง เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว ยาดนาง ใบย่านางมีฤทธิ์เย็น สรรพคุณปรับสมดุลย์ร่างกาย บำรุงร่างกาย ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดความดันย่านาง ใบย่านาง สมุนไพร สรรพคุณใบย่านาง

ต้นย่านาง ( Bamboo grass ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของย่านาง คือ Tiliacora triandra ( Colebr. ) Diels สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของย่านาง เช่น  จ้อยนาง เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว ยาดนาง เป็นต้น ใบย่านาง มีฤทธิ์เย็น เหมาะสำหรับปรับสมดุลร่างกาย สรรพคุณปรับสมดุลย์ร่างกาย บำรุงร่างกาย ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดความดัน

ต้นย่านาง สามารถพบได้ตามแหล่งธรรมชาติทั่วไป ในพื้นที่อากาศชุ่มชื้น ป่าผลัดใบ ป่าดงดิบ และ ป่าโปร่ง ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต้นย่านางสามารถขยายันธ์ได้ง่าย โดยใช้หัวใต้ดิน การปักชำยอด หรือ การเพาะเมล็ด

ลักษณะของต้นย่านาง

ต้นย่านาง เป็นไม้เลื้อย เป็นเถา ซึงลักษณะของต้นย่างนาง มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นของย่านาง เป็นเถาเกี่ยวพันกับไม้อื่น มีลักษณะกลมเล็ก เหนียว มีสีเขียว และ เถาแก่มีสีเขียวเข้ม ผิวค่อนข้างเรียบ
  • รากของย่านาง เป็นมีหัวอยู่ใต้ดิน มีขนาดใหญ่
  • ใบของย่านาง เป็นใบเดี่ยว ออกติดกับลำต้นแบบสลับ ใบเหมือนรูปไข่ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ สีเขียว ใบเป็นมัน
  • ดอกของย่านาง ดอกออกเป็นช่อ ดอกออกตามซอกใบ และ ซอกโคนก้าน ขนาดเล็ก สีเหลือง ออกดอกช่วงเดือนเมษายน
  • ผลของย่านาง มีลักษณะกลมรี เล็ก สีเขียว ผลแก่เป็นสีเหลืองอมแดง มีเมล็ดลักษณะแข็ง รูปเกือกม้า

คุณค่าทางโภชนาการของต้นย่านาง

สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของย่านาง นักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบย่านางขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 95 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 7.9 กรัม แคลเซียม 155 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 7.0 มิลลิกรัม วิตามินเอ 30625 IU วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.36 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.4 มิลลิกรัม วิตามินซี 141 มิลลิกรัม โปรตีน 15.5 เปอร์เซนต์ ฟอสฟอรัส 0.24 เปอร์เซนต์ โพแทสเซียม 1.29 เปอร์เซนต์ แคลเซียม 1.42 เปอร์เซนต์ และ แทนนิน 0.21 เปอร์เซนต์

ประโยชน์ของใบย่านาง

สำหรับประโยชน์ของต้นย่านาง นั้น เป็นพืชที่ให้ออกซิเจน เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีมลพิษสุง หากปลูกต้นย่านางจะช่วยเพิ่มออกซิเจน และ สร้างความร่มเย็นให้กับพื้นที่ได้ดี นอกจากนั้นประโยชน์หลักๆของย่านาง นิยมการนำใบย่านางมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร สำหรับการบริโภค และ นำมาทำน้ำใบย่านาง ใบย่านางช่วยชะลอการเกิดผมหงอก ทำให้ผมดำ จึงมีการสร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น แคปซูลใบย่านาง สบู่ใบย่านาง แชมพูใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพร เป็นต้น เพื่อรักษาอาการผมหงอก ใบย่านางสามารถช่วยต้านพิษกรดยูริกที่มีในหน่อไม้ได้ จึงเห็นใบย่านางมักเป็นส่วนประกอบของอาหารที่มีหน่อไม้ เช่น แกงหน่อไม้ ซุบหน่อไม้ แกงอ่อม แกงเห็ด แกงเลียง เป็นต้น

สรรพคุณของย่านาง

สำหรับการใช้ประโยชน์ของย่านางนั้น สามารถใช้ประโยชน์ได้ ทั้ง ราก และ ใบ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • รากของย่านาง มีรสขม สรรพคุณแก้ไข้ รักษาไข้ทับระดู แก้พิษเมา บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ แก้ปวดท้อง รักษาอีสุกอีใส รักษามาลาเรีย ขับพิษ
  • ใบของยางนาง มีรสขมจืด สรรพคุณแก้ไข้ เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอวัย เพิ่มภูมิต้านทานโรค บำรุงกำลัง ลดความอ้วน ปรับสมดุลย์ร่างกาย ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็ง ช่วยลดความดัน บำรุงหัวใจ บำรุงตับ บำรุงไต ช่วยรักษาอัมพฤกษ์ ช่วยรักษาอาการชักเกร็ง บำรุงผิว แก้เวียนหัว ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ รักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยแก้ปวดตามกล้ามเนื้อ รักษาเหงือกอักเสบ ช่วยให้นอนหลับสบาย ช่วยบำรุงสายตา แก้เสมหะเหนียว รักษาไซนัสอักเสบ ช่วยลดการนอนกรน รักษาโรคหอบหืด รักษาโรคตับอักเสบ รักษาอาการท้องเสีย ช่วยแก้อาการท้องผูก รักษาโรคกระเพาะอาหาร รักษาลำไส้อักเสบ ช่วยรักษาปัสสาวะขัด ช่วยรักษามดลูกโต แก้ปวดมดลูก รักษาโรคต่อมลูกหมากโต รักษาอาการตกขาว ช่วยป้องกันโรคเกาต์ ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย

โทษของย่างนาง

  • น้ำใบย่างนาง มีกลิ่นแรง กินยาก สำหรับคนที่ไม่ชินกับการกินน้ำใบย่างนาง อาจทำให้อาเจียน หรือ เกิดอาการแพ้ได้
  • การดื่มน้ำย่านาง ควรดื่มก่อนกินอาหาร หรือ ดื่มตอนท้องว่าง ควรดื่มในปริมาณที่พอดี ไม่มากเกินไป
  • ผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย ไม่ควรดื่มน้ำใบย่านาง เพราะ สารอาหาร เช่น วิตามินเอ ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม ที่มีใบย่านางจะทำให้เกิดการคั่ง ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานของไต
  • การกินอาหารเสริมที่ได้จากใบย่านาง เช่น แคปซูลใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพรใบย่างนาง อาจมีสารเคมีเจือปน หากขั้นตอนการผลิตไม่ได้มาตราฐาน เพื่อความปลอดภัย ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้จะดีที่สุด

ต้นย่านาง ( Bamboo grass ) ชื่อเรียกอื่นๆ เช่น  จ้อยนาง เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว ยาดนาง เป็นต้น ใบย่านาง มีฤทธิ์เย็น เหมาะสำหรับปรับสมดุลร่างกาย สรรพคุณปรับสมดุลย์ร่างกาย บำรุงร่างกาย ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดความดัน

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.

บอน Elephant ear สมุนไพร ใบใหญ่เหมือนหูช้าง คุณค่าทางโภชนาการของใบบอน ประโยชน์ของบอน สรรพคุณสร้างภูมิต้านทาน ขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย โทษของบอนมีอะไรบ้าง

บอน ต้นบอน สรรพคุณของบอน สมุนไพร

ต้นบอน หรือ ต้นตูน หรือ ต้นทูน ชื่อสามัญเรียก Elephant ear ชื่อวิทยาศาสตร์ของบอน คือ Colocasia esculenta (L.) Schott ชื่อเรียกอื่นๆของบอน เช่น ตูน ทูน บอนหอม บอนจืด บอนเขียว บอนจีนดำ บอนท่า บอนน้ำ กลาดีไอย์ กลาดีกุบุเฮง เผือกบอน บอนหวาน เป็นต้น

ลักษณะของต้นบอน

ต้นบอน เป็นพืชล้มลุก ขึ้นได้ดีตามที่ลุ่มริมน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ ไหล และวิธีการปักชำหัว บอนมีถิ่นกำเนิดอยู่แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต่ อายุของต้นบอนหลายปี โดยลักษณะของต้นบอนมีรายละเอียดดังนี้

  • เหง้าของบอน เหง้าหรือ หัวของบอนอยู่ใต้ดิน ลักษณะทรงกระบอก ลำต้นของบอน โดยลำต้นของบอนจะประกอบด้วย หัวกลาง และ หัวย่อย
  • ใบบอน ลักษณะของใบบอน เป็นใบเดี่ยว ใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบเว้าแหลม ใบมีสีเขียวอ่อน หรือ สีม่วง หรือ สีขาว ก้านใบยาว ออกมาจากเหง้าของบอน ก้านใบ มีสีเขียวแกมม่วง หรือ สีเขียวแกมเหลือง ก้านใบยาวประมาณ 90 เซนติเมตร
  • ดอกบอน ออกเป็นช่อ ดอกบอนออกจากลำต้นใต้ดิน กาบดอกสีเหลือง ดอกเป็นกระเปาะสีเขียว มีกลิ่นหอม
  • ผลบอน ลักษณะของผลบอนมีสีเขียว ในผลบอนมีเมล็ดน้อยๆ

คุณค่าทางโภชนาการของบอน

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของบอน ทั้ง ใบบอน และ ก้านบอน โดยพบว่ามีสารอาหารสำคุญมากมาย โดยรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของใบบอน ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 112 แคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 25.8 กรัม โปรตีน 2.1 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม กากใยอาหาร 1.0 กรัม น้ำ 70 % เถ้า 1.0 กรัม วิตามินเอ 103 หน่วยสากล วิตามินบี 1 0.15 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.17 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1 มิลลิกรัม วิตามินซี 2 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 84 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 54 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของก้านใบบอน ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 24 แคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 5.8 กรัม โปรตีน 0.5 กรัม ไขมัน 0.9 กรัม กากใยอาหาร 0.9 กรัม น้ำ 92.7 % วิตามินเอ 300 หน่วยสากล วิตามินบี1 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.04 มิลลิกรัม วิตามินบี3 13 มิลลิกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 49 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 25 มิลลิกรัม และ ธาตุเหล็ก 0.9 มิลลิกรัม

ประโยชน์ของบอน

สำหรับต้นบอน นั้น สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากลาย ทั้งส่วน ก้าน ใบ และ หัว ซึ่งโดยทั่วไปของการนำเอาบอนมาใช้ประโยชน์ เช่น นำมาทำอาหารสำหรับรับประทาน นำใบมาใช้เป็นภาชนะในการใส่น้ำ ก้านสามารถนำมาตากแห้งทำเป็นเชื่อก และ วัตถุดิบในการจักรสาน ดอกของบอนสวย สามารถปลูกเป็นไม้ประดับได้

สรรพคุณของบอน

สำหรับสรรพคุณและประโยชน์ของบอนในการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกายนั้น สามารถใช้ประโยชน์ จาก ราก หัว ก้าน ลำต้น น้ำยาง ใบ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • รากของบอน สรรพคุณแก้ท้องเสีย แก้อาการเจ็บคอ แก้เสียงแหบ
  • หัวของบอน สรรพคุณเป็นยาระบาย ช่วยขับปัสสาวะ ห้ามเลือด รักษาฝี ช่วยขับน้ำนมของสตรี ช่วยลดความดันโลหิต
  • ลำต้นของบอน สรรพคุณรักษาแผลจากงูกัด
  • ก้านใบบอน สรรพคุณแก้พิษคางคก ลดอาการอักเสบ
  • น้ำยางของบอน สรรพคุณถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยกำจัดหูด

โทษของบอน

  • ต้นบอน มียาง ซึ่งยางของบอนมีพิษ การนำบอนมารับประทานอาหาร ต้องกำจักยางของบอนออกให้หมดก่อน ห้ามล้างด้วยน้ำเย็น โดยให้นำไปต้มในน้ำเดือด และ คั้นน้ำของต้นบอนทิ้ง ก่อนนำมาทำอาหาร
  • น้ำยางของบอนและลำต้นของบอน หากสัมผัสผิวจะทำให้เกิดอาการคันและปวดแสบปวดร้อน ทำให้อักเสบ บวม และ ผิวหนังพอง หากนำมารับประทานแบบสดๆ จะทำให้คันคออย่างรุนแรง เป็นพิษรุนแรงจะทำให้พูดไม่ได้ ลิ้นหนัก คันปาก ลำคอบวม

บอน ( Elephant ear ) คุณค่าทางโภชนาการของใบบอน ประโยชน์ของบอน สรรพคุณของบอน สร้างภูมิต้านทาน ขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย โทษของบอนมีอะไรบ้าง รายละเอียดของต้นบอน มีรายละเอียดดังนี้


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove