ตรีผลา ( Triphala ) สมุนไพรเกิดจากส่วนผสมของ ผลไม้ 3 อย่าง คือ มะขามป้อม สมอไทย สมอพิเภก สรรพคุณของตรีผลา ช่วยขับสารพิษตกค้างในร่างกาย โทษของตรีผลา มีอะไรบ้าง

ตรีผลา สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตรีผลา

สมุนไพรตรีผลา อ่านออกเสียงว่า ตรี-ผะ-ลา ประกอบด้วย พืชสมุนไพร 3 อย่างรวมกัน คือ ผลแห้งสมอพิเภก ผลแห้งสมอไทย ผลมะขามป้อม สรรพคุณช่วยขับสารพิษในร่างกาย สามารถนำมาทำเครื่องดื่มได้ โดย สูตรของสมุนไพรตรีผลา คือ สมอพิเภก 100 กรัม สมอไทย 200 กรัม และ มะขามป้อม 400 กรัม นำมาต้มน้ำ 6 ลิตร ต้มนาน 30 นาที จากนั้นเติมน้ำตาลทรายแดง 600 กรัมและเกลือ 1 ช้อนชา เคี่ยวจนส่วนผสมเข้ากันได้ดี จากนั้นนำมากรองให้สะอาด ใช้ดื่มทุกเวลา เช้า กลางวัน เย็น ตรีผลา สรรพคุณช่วยขะจัดสารพิษตกค้างในร่างกาย ตำรับยาตรีผลา ใช้ได้ทุกเพศทุกวัย

สรรพคุณของตรีผลา

สำหรับการใช้ตรีผลา ในการบำรุงร่างกายและรักษาโรค จะอยู่ในรูปแบบเครื่องดื่ม นำมาดื่ม เป็นเครื่องดื่ม เพื่อสุขภาพ โดยสรรพคุณของตรีผลา มีดังนี้

  • ป้องกันมะเร็ง ช่วยต่อต้านการเกิดเนื้องอก
  • สรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ ป้องกันการเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ช่วยชะลอวัย
  • บำรุงผิวพรรณ ช่วยเพิ่มคอลลาเจน ทำให้ผิวพรรณผ่องใส รักษาสิวอักเสบ
  • บำรุงร่างกาย ทำให้ร่างกายสดชื่น แก้อาการร่างกายอ่อนเพลีย
  • บำรุงเลือด ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนระบบโลหิตในร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน
  • ช่วยขับเสมหะ ป้องกันไข้หวัด
  • บำรุงเส้นเสียง
  • ช่วยขับสารพิษตกค้างในร่างกาย ล้างน้ำเหลืองเสีย
  • ช่วยลดน้ำหนัก
  • ช่วยลดอาการข้อเข้าอักเสบ บรรเทาอาการโรคเก๊าฑ์

โทษของตรีผลา

สำหรับการใช้ประโยชน์ การรับประทานตรีผลา ต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม และ ไม่รับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยข้อควรระวังในการรับประทานตรีผลา มีดังนี้

  • สิ่งที่ต้องระวัง คือ ความสะอาดของสมุนไพร ที่นำมาทำ ตรีผลา หากสมุนไพร มีการเจือปนเชื้อรา หรือ สิ่งสกปรกที่เป็นพิษต่อร่างกาย จะเกิดโทษต่อร่างกายโดยตรง
  • สำหรับสตรีที่อยู่ในช่วงมีประจำเดือน ไม่ควรรับประทานตรีผลา เนื่องจากจะทำให้เลือดออกมากขึ้น
  • สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ ไม่ควรรับประทานสมุนไพรตรีผลา

สำหรับ สมุนไพรตรีผลา ไม่ควรรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เพราะ อาจส่งผลต่อร่างกายได้ การบำรุงร่างกายที่ดีที่สุด คือ การรับประทานอาหาร ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ตรีผลา (Triphala) คือ สมุนไพรชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากส่วนผสมของ ผลไม้ 3 อย่าง คือ มะขามป้อม สมอไทย สมอพิเภก สรรพคุณของตรีผลา ช่วยขับสารพิษตกค้างในร่างกาย โทษของตรีผลา มีอะไรบ้าง

ทองพันชั่ง สมุนไพรยอดนิยมใช้รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน เชื้อราบนผิวหนัง ต้นทองพันชั่งเป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงผิวพรรณ รักษาโรคผิวหนัง โทษทองพันชั่งเป็นอย่างไร ทองพันชั่ง สมุนไพร พืชท้องถิ่น สรรพคุณของทองพันชั่ง

ต้นทองพันชั่ง ( White crane flower ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของทองพันชั่ง คือ Rhinacanthus nasutus (L.) Kurz สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของทองพันชั่ง เช่น ท่องคันชั่ง หญ้ามันไก่ เป็นต้น ต้นทองพันชั่ง มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย มาเลเซีย และ มาดากัสการ์

ลักษณะของต้นทองพันชั่ง

ต้นทองพันชั่ง เป็นพืชขนาดเล็ก ที่มีความสูงประมาณไม่เกิน 2 เมตร ลักษณเป็นพืชทรงพุ่ม ต้นทองพันชั่ง มีลักษณะ ดังนี้

  • ลำต้นต้นทองพันชั่ง โคนต้นเป็นเนื้อไม้ มีแกนที่แข็งแรง และมีกิ่งอ่อนเป็นลักษณะสี่เหลี่ยม ลักษณะของต้นเป็นทรงพุ่ม มีขนาดเล็ก โดยความสูงประมาณ 2 เมตร
  • ใบทองพันชั่ง ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ทรงรีคล้ายไข่ ปลายใบและโคนใบแหลม ผิวใบเรียบ สีเขียวเข้ม
  • ดอกทองพันชั่ง ลักษณะดอกเป็นช่อ ออกดอกตามซอกของมุมใบ ดอกมีสีขาวกลีบดอกมีขน ลักษณะคล้ายหลอด
  • ผลทองพันชั่ง ลักษณะเป็นฝัก ผลมีขน ภายในฝักมีเมล็ด

สรรพคุณของทองพันชั่ง

ต้นทองพันชั่ง สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคและบำรุงร่างกาย ใช้ประโยชน์จาก ต้น ราก ใบ ก้าน โดยรายละเอียด ดังนี้

  • รากทองพันชั่ง สรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยลดไข้ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาแผล ช่วยแก้พิษงู ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย รักษาโรคผิวหนัง
  • ลำต้นทองพันชั่ง สรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาแผล ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย บำรุงเส้นผม แก้ผมร่วง รักษาโรคผิวหนัง
  • ใบทองพันชั่ง สรรพคุณช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาวัณโรค ช่วยลดไข้ แก้ไอ รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร แก้ระดูขาว รักษาอาการตกขาว ช่วยถ่ายพยาธิ รักษาแผล รักษาฝี ช่วยแก้พิษงู แก้อักเสบ ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย รักษาโรคผิวหนัง
  • ก้านทองพันชั่ง สรรพคุณรักษาวัณโรค ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย รักษาโรคผิวหนัง

โทษของทองพันชั่ง 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากทองพันชั่ง มีข้อควรระวัง ห้ามใช้ สำหรับผู้ป่วย โรคหัวใจ โรคหืด โรคโลหิตจาง โรคมะเร็งในเลือด โรคความดันโลหิตต่ำ ผู้ป่วยโรคเหล่านี้ ห้ามรับประทานทองพันชั่ง เพราะ จะเป็นอันตรายได้

ทองพันชั่ง สมุนไพรยอดนิยม ใช้รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน และ เชื้อราบนผิวหนัง ลักษณะของต้นทองพันชั่ง เป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงผิวพรรณ และ รักษาโรคติดเชื้อที่ผิวหนัง โทษของทองพันชั่ง เป็นอย่างไร


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove