พริก ( chili ) พริกขี้หนูสวน ( Bird pepper ) สมุนไพรรสเผ็ดร้อน นิยมนำมาปรุงรสอาหาร ต้นพริกเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยเจริญอาหาร กระตุ้นน้ำย่อย โทษของพริกพริก สมุนไพร สรรพคุณของพริก ประโยชน์ของพริก

พริก หากกล่าวถึงพริก เป็นพืชสวนครัว ที่รู้จักกันทั่วโลก พริกให้รสเผ็ดร้อน นิยมนำมาปรุงอาหารให้รสเผ็ด เรามาทำความรู้จักกับพริก ว่าลักษณะทางพฤษศาสตร์ของพริก ประโยชน์ สรรพคุณของพริก  และข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากพริก เป็นอย่างไร พะแนงเนื้อ แกงเลียง

พริกเป็นพืชเศรษฐกิจ พริกในทางการค้าและอุตสาหกรรม มีการนำเอาสีของพริก ที่มีความหลากหลาย เช่น พริกสีเขียว พริกสีแดง พริกสีเหลือง พริกสีส้ม พริกสีม่วง และพริกสีงาช้าง มาใช้ประโยชน์ ทั้งด้านการใช้สีสันของพริก และการปรุงอาหาร ซึ่งพริกสามารถปลูกได้ดีในประเทศเขตร้อนชื้น ที่มีแสงแดด

ซึ่งปัจจุบัน เทรนในการอนุรักษ์ธรรมชาติมีมากขึ้นทุกวัน การใช้สีที่ได้มาจากธรรมชาติจึงมีต้องการมากขึ้น พริกเป็นพืชอายุสั้น ที่สามารถให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูง ทั้งใช้บริโภคพริกสดและแปรรูปพริกให้อยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น พริกแห้ง พริกป่น พริกดอง ซอสพริก น้ำพริก เครื่องพริกแกง น้ำจิ้มแบบต่าง ๆ รวมถึงยารักษาโรค

ประโยชน์ของพริกมีมากมายขนาดนี้ ไม่มาทำความรู้จักกับพริกได้อย่างไร

พริก ภาษาอังกฤษว่า Chilli peppers หรือ chili คำคำนี้มาภาษาสเปน ว่า chile ส่วน พริกขี้หนูสวน เรียก Bird pepper หรือ Chili pepper ชื่อวิทยาศาสตร์ของพริก คือ Capsicum annuum L. พริกจัดเป็นพืชตระกลูเดียวกันกับมะเขือ พริกขี้หนู มีชื่อเรียกอื่นๆ อีก ที่เรียกแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น เช่น พริกแด้ พริกแต้ พริกนก พริกแจว พริกน้ำเมี่ยง หมักเพ็ด ดีปลีขี้นก พริกขี้นก พริกมะต่อม ปะแกว มะระตี้ ดีปลี ครี ลัวเจียะ ล่าเจียว มือซาซีซู, มือส่าโพ เป็นต้น

มีการนำพริกมาศึกษาสารเคมีในพริก พบว่ามีสารสำคัญ คือ Capsaicin  เป็นสารเคมีที่ให้ฤทธิ์เผ็ดร้อน นอกจากนั้นมีสารเคมีอื่นในพริก ประกอบด้วย Dihydrocapsaicin ,Nordihydrocapsaicin ,Homodihydrocapsaicin และ Homocapsaicin

สำหรับสารเคมี Capsaicin ที่อยู่ในพริกนั้นมีฤทธิ์ระคายเคืองต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งทำให้ประสาท เกิดความรู้สึกร้อนไหม้ กระตุ้นให้เกิดเมือกเพื่อป้องกันการระคายเคือง รวมถึงกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย

นักวิทยาศาสตร์ยังสามารถค้นพบสารเคมีในพริก ชื่อ แคโรทีนอยด์ มีสรรพคุณต้านมะเร็งได้ สำหรับสารแคโรทีนอยด์ เป็นรูปแบบหนึ่งของสารแคโรทีน นักวิทยาศาสตร์ ได้นำเอาสารชนิดนี้มาสกัดทำอาหารเสริม ซึ่งในปัจจุบัน เป็นอาหารเสริมที่ได้รับความนิยมเป็นจำนวนมาก ในพริกนอดจากมีสารเคมีสำคัญมีประโยชน์ต่อร่างกาย ยังมีวิตามินซีสูง ช่วยบำรุงผิว แต่หากกินมากเกินไป จะทำให้ปวดท้อง และทำให้ท้องเสียได้

ชนิดของพริก

พริกมีหลากหลายพันธ์ เช่น พริกขี้หนูสวน พริกไทย พริกหยวก พริกเหลือง พริกชี้ฟ้า พริกหนุ่ม พริกกะเหรี่ยง สำหรับการปลูกพริกใช้บริโภคในประเทศไทยนั้น นิยมปลูกอยู่ 2 ชนิด คือ พริกรสหวาน เช่น พริกหยวก พริกชี้ฟ้า เป็นต้น และ พริกรสเผ็ด เช่น พริกขี้หนูสวน พริกขี้หนูใหญ่ เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพริกขี้หนู

พริกขี้หนู เป็นพืชล้มลุก เป็นไม้พุ่ม อายุสั้น ประมาณไม่เกิน 3 ปี เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปอเมริกา เมล็ด สามารถนำเมล็ดไปขยายพันธ์ต่อได้ ลักษณะของพริกมีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นของพริก ความสูงของต้นพริกประมาณไม่เกิน 1 เมตร ลักษณะมีการแตกกิ่งก้านสาขาจำนวนมากมาก กิ่งมีสีเขียว และสีน้ำตาล
  • ใบของพริกขี้หนู เป็นใบเดี่ยว สีเขียว ใบเรียงสลับกันตามกิ่งก้าน ใบเป็นรูปไข่ ปลายแหลม ผิวใบเรียบ
  • ดอกของพริกขี้หนู ออกเป็นช่อ ลักษณะดอกจะกระจุกตามซอกใบ มีช่อละ 2 ถึง 3 ดอก และดอกจะเปลี่ยนเป็นผลพริก
  • ผลของพริกขี้หนูสวน ลักษณะของผลพริกจะยาวรี ปลายแหลม ผลมีสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ภายในผลมีเมล็ด สามารถนำเมล็ดไปขยายพันธ์ต่อได้

สรรพคุณของพริกขี้หนู

พริกขี้หนูมีการนำเอาพริกมาใช้ประโยชน์ในการรักษาโรค ในทุกส่วนของพริก ทั้ง ต้น ผล ใบ ซึ่งเราได้แยกสรรพคุณขอพริกตามส่วนต่างๆ ของพริกมาให้ ดังนี้

  • ใบของพริก ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลม  ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด ช่วยผ่อนคลาย รักษาไข้หวัด แก้อาการปวดหัว  ช่วยแก้อาการคัน  ใช้รักษาแผลสดและแผลเปื่อย ใช้รักษาอาการบวม ฟกช้ำดำเขียว ปวดตามข้อ เคล็ดขัดยอก
  • ผลพริก ช่วยเจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย ช่วยบำรุงร่างกาย รักษาโรคพยาธิในลำไส้ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยลดน้ำหนัก ลดไขมันในเส้นลือด ช่วยบำรุงเลือด ช่วยรักษาโรคความดัน ช่วยสลายลิ่มเลือด ช่วยลดการอุดตันของหลอดเลือด ช่วยขับเสมหะ ลดน้ำมูก บรรเทาอาการไอ รักษาการอาเจียน ใช้ขับน้ำคาวปลาของสตรีหลังคลอด สมุนไพรสำหรับสตรีหลังคลอด  ช่วยรักษาโรคหิด รักษากลากเกลื้อน แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย  ช่วยกระตุ้นให้ผมงอก
  • รากของพริก ช่วยบำรุงเลือด ช้วยฟอกเลือด  เป็นยารักษาโรคเก๊าท์ ช่วบลดอาการปวด
  • ลำต้นพริก นำมาทำยาแก้กระษัย เป็นยาขับปัสสาวะ  แก้เท้าแตก

การปลูกพริก

  • การเตรียมดิน สำหรับปลูกพริก ให้ไถพรวน แล้วรดน้ำตาม เพื่อปรับสภาพดินและป้องกันกำจัดเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคในพริก กำจัดวัชพืชในแปลงพริก
  • การเพาะกล้า ให้แช่เมล็ดพริกในน้ำ เพื่อเร่งการงอกของราก จากนั้นหว่านเมล็ดลงบนแปลงเพาะ หรือถาดหลุม จากนั้นอีกประมาณ 30 วัน ให้ย้ายต้นกล้าลงแปลงปลูก
  • การบำรุงต้นพริกและผลพริก เพื่อความสะดวกและการประหยัดค่าใช้จ่าย ให้ใช้ปุ๋ยชีวภาพ ฉีดพ่นเพื่อกระตุ้นให้ต้นให้พริกเจริญเติบโตออกดอก ให้ผลดก การให้ปุ๋ย หลังย้ายต้นกล้าลงแปลงปลุก ประมาณ 5 วันแล้ว ให้เริมให้ปุ๋ย เพื่อเร่งการเจริญเติบโต เมื่อต้นพริกอายุได้ 50 วัน ให้ใส่ปุ๋ยเพื่อเร่งดอก
  • โรคและแมลงศัตรูพืชของพริก มีน้อยมาก ถ้าให้ปุ๋ยชีวภาพอย่างสม่ำเสมอและถูกต้อง มักจะพบปัญหา ยอดหงิก ซึ่งมาจากเพลี้ยไฟ ให้ถอนและทำลายต้นทิ้ง

ข้อควรระวังในการรับประทานพริกขี้หนู

  • สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับกระเพราะอาหารและลำไส้ ไม่ควรกินพริก เนื่องจากพริกจะทำให้ระคายเคืองมากขึ้น
  • หากเด็กกินพริกเข้าไป จะมีอาการแสบร้อนมากกว่าผู้ใหญ่ ให้แก้ด้วยการให้ดื่มนมตา ในน้ำนมจะมีสาร Casein ช่วยให้อาการเผ็ด แสบร้อนลดลงได้
  • พริกทำให้ให้เกิดสิวได้ เนื่องจากพริกมีฤทธ์ให้ขับของเสียออกจากร่างกาย และของเสียจะถูกขับออกมาทางผิวหนัง ซึ่งทำให้ผิวหนังมีอาการอักเสบมากขึ้น
  • สำหรับผู้ที่ไม่เคยกินเผ็ด ความเผ็ดของพริกจากมากกว่าปรกติ ให้ระมัดระวังในการรับประทาน

พริก ( chili ) พริกขี้หนูสวน ( Bird pepper ) พืชสวนครัว รสเผ็ดร้อน สมุนไพร นิยมนำมาปรุงรสอาหาร ลักษณะของต้นพริก เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของพริก ช่วยเจริญอาหาร ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย ช่วยบำรุงร่างกาย ข้อควรระวังในการกินพริก

ดาวเรือง ( African Marigold ) พืชพื้นเมือง ดอกดาวเรืองกลิ่นหอม นิยมใช้ในกิจกรรมทางวัฒนธรรม ศาสนา ต้นดาวเรืองเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณเป็นยาเย็น บำรุงเลือด

ดาวเรื่อง สมุนไพร สรรพคุณของดาวเรือง

ต้นดาวเรือง ภาษาอังกฤษ เรียก African Marigold เป็นพืชที่รู้จักดีในสังคมไทย เป็นพืชท้องถิ่นของประเทศเม็กซิโก นิยมนำมาใช้ในกิจกรรมทางวัฒนธรรม และศาสนา ดาวเรืองเป็นพืชประจำจังหวัดสมุนปราการ เป็นสมุนไพรไม้ประดับ มีกลิ่นหอม ชาวสวนนิยมใช้ไล่แมลง สำหรับดาวเรือง มีประโยชน์ทางสมุนไพรและการรักษาโรคมากมาย อาทิ เช่น เป็นยาเย็น บำรุงเลือด บำรุงสายตา เป็นยาระบาย ช่วยขับลม เป็นต้น ปลูกดาวเรืองของประเทศไทย ได้แก่ ลำปาง พะเยา ราชบุรี นนทบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร อุดรธานี เป็นต้น เรามาทำความรู้จักกับดาวเรืองให้มากขึ้น

ต้นดาวเรือง มีชื่อสามัญหลายชื่อ เช่น African marigold, American marigold, Aztec marigold และ Big marigold ชื่อวิทยาศาสตร์ของดาวเรื่อง คือ Tagetes erecta L. เป็นพืชตระกลูเดียวกันกับต้นทานตะวัน สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของต้นดาวเรื่อง เช่น ดาวเรืองใหญ่ คำปู้จู้หลวง พอทู บ่วงซิ่วเก็ก ว่านโซ่วจี๋ว บ่วงลิ่วเก็ก เฉาหู่ย้ง กิมเก็ก ดาวเรืองอเมริกัน เป็นต้น

ดอกดาวเรือง มีการศึกษาพบว่าในดอกดาวเรืองมีน้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วย  Carotent, d-limonene, Flavoxanthin, Helenienm Nonanal, Ocimene, Tagetiin, Tagetone d-Terehienyl  ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา ในใบอของต้นดาวเรือง มีสารชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์แก้อาการอักเสบ ห้ามเลือด สารชนิดนี้ ชื่อ คาเอมพ์เฟอริตริน ( Kaempferitrin )

ลักษณะของต้นดาวเรือง

ต้นดาวเรือง ดาวเรือง สามารถขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ด โตเร็ว ชอบดินร่วน ระบายน้ำได้ดี มีความชื้นปานกลาง และชอบแสงแดด จัดอยู่ในพืชล้มลุก อายุประมาณ 365 วัน ลักษณะของต้นดาวเรือง มีดังนี้

  • ลำต้นของต้นดาวเรือง สูงประมาณไม่เกิน 1 เมตร แตกกิ่งก้านมาก ลำต้นสีเขียว มีกลิ่นแรง
  • ใบของต้นดาวเรือง ใบเป็นแบบใบประกอบ แบบขนนก เรียงตรงข้ามกัน มีใบย่อยใบย่อยเป็นรูปรี ปลายแหลม
  • ดอกของต้นดาวเรือง ดอกเป็นดอกเดี่ยว สีเหลือง สีส้ม กลบดอกมีขนาดใหญ่เรียงซ้อนกันเป็นวงกลม ปลายกลีบดอกเป็นฟันเลื่อย มีเกสรซ้อนกันแน่น
  • ผลของต้นดาวเรือง เมื่อดอกดาวเรืองแห้งจะเกิดผลปลายของผลจะมน

สรรพคุณด้านสมุนไพรของต้นดาวเรือง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากดาวเรือง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารนำมาใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่ ราก ดอก ใบ ทั้งต้น ซึ่งรายละเอียดของสรรพคุณดาวเรือง มีดังนี้

  • ดอกของดาวเรือง มีรสขมมีฤทธิ์เป็นยาเย็น ช่วยบำรุงเลือด ช่วยฟอกเลือด ช่วยแก้วิงเวียนศรีษะ ช่วยบำรุงสาย แก้ปวดตา แก้ตาบวม รักษาคางทูม แก้ร้อนใน แก้ไอเรื้อรัง ช่วยขับเสมหะ แก้ปวดฟัน รักษาปากเปื่อย  เป็นยาแก้ปวด แก้หลอดลมอักเสบ รักษาระบบทางเดินหายใจติดเชื้อ ช่วยขับลม ช่วยขับพยาธิ
  • ใบของดาวเรือง สามารถใช้แก้โรคตาลขโมย ขับลม รักษาแผลเน่าเปื่อย ช่วยรักษาแผลฝี
  • รากของดาวเรือง มีรสขมมีฤทธิ์เป็นยาเย็น เป็นยาระบาย ใช้ขับพยาธิ แก้อักเสบ
  • ทั้งต้นของดาวเรือง ใช้ลดไข้ แก้เจ็บคอ แก้ปวดท้อง รักษาโรคไส้ตัน

ประโยชน์อื่นๆของดาวเรือง

  • ดอกดาวเรือง สามารถนำมาทำอาหารได้ เช่น การนำมาลวกจิ้มกับน้ำพริก ทำยำ
  • ดอกดาวเรือง มีสารเบต้าแคโรทีน ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้
  • น้ำที่สกัดจากดอกดาวเรือง สามารถนำมาใช้ป้องกันแมลงได้
  • ดอกดาวเรือง ใช้ในงานพิธีทางศาสนาต่าง ๆ
  • ดอกดาวเรือง สามารถนมาทำสีย้อมผ้าแบบะรรมชาติ
  • ดอกดาวเรืองแห้ง สามารถนำมาทำเป็นอาหารเสริมของไก่ ช่วยให้ไข่แดงสีเข้ม
  • ดอกดาวเรือง นำมาประดับบ้าน จัดใส่แจกัน เพิ่มความสวยงาม
  • ปลูกดาวเรือง ช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืช เนื่องจากดาวเรืองมีสารที่มีกลิ่นฉุนแมลงต่างๆไม่ชอบ

ดาวเรือง ( African Marigold ) พืชพื้นเมือง ดอกดาวเรือง มีกลิ่นหอม นิยมใช้ในกิจกรรมทางวัฒนธรรม ศาสนา ลักษณะของต้นดาวเรือง เป็นอย่างไร ประโยชน์ของดาวเรือง สรรพคุณของดาวเรือง เป็นยาเย็น ช่วยบำรุงเลือด ช่วยฟอกเลือด ช่วยแก้วิงเวียนศรีษะ ช่วยบำรุงสาย แก้ปวดตา แก้ตาบวม รักษาคางทูม แก้ร้อนใน แก้ไอเรื้อรัง ช่วยขับเสมหะ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove