จำปูน พืชสมุนไพร ดอกมีกลิ่นหอม เหมือน กระดังงา พืชประจำจังหวัดพังงา ประโยชน์และสรรพคุณของจำปูนมีอะไรบ้าง ดอกจำปูนมีกลิ่นหอม นำมาทำเครื่องหอม บำรุงความงามจำปูน ต้นจำปูน ดอกจำปูน สมุนไพร

ต้นจำปูน มีชื่อสามัญว่า Jum-poon ชื่อวิทยาศาสตร์ของจำปูน คือ  Anaxagorea siamensis พืชตระกูลเดียวกับกระดังงา ชื่อเรียกอื่นๆของจำปุน คือ บุหงาปมปุน ถิ่นกำเนิดของจำปูนอยู่ในแถบประเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และ ฟิลิปปินส์ เจริญเติบโตได้ดีตามป่าดิบชื้น สำหรับประเทศไทยพบต้นจำปูน ตามภาคใต้และภาคตะวันออก

การปลูกต้นจำปูน 

ต้นจำปูน เจริญเติบโตช้าในช่วงแรก ซึ่งต้นกล้าในปีแรก สูงเพียง 10 เซนติเมตรเท่านั้น สามารถขึ้นได้ในดินทุกชนิด แต่ควรปลูกในดินร่วนที่ระบายน้ำดี ชอบความชื้นสูง ไม่ควรให้โดนแดดมากเกินไป ดอกจำปูนได้รับความนิยมมาก

ลักษณะของต้นจำปูน

ต้นจำปูน เป็นพืชขนาดเล็ก ดอกจำปูนแข็งสีขาวนวล กลิ่นหอมแรง การขยายพันธุ์ใช้การตอนกิ่งและการเพาะเมล็ด ลักษณะของต้นจำปูน มีลักษณะ ดังนี้

  • ลำต้นของจำปูน ขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขาทรงพุ่ม ความสูงประมาณ 200 เซ็นติเมตร ลำต้นตั้งตรง เปลือกลำต้นเรียบ สีเทาอมน้ำตาล
  • ใบของจำปูน รูปรี ใบออกเรียงสลับกัน โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ มีสีเขียวเข้ม ลักษณะมัน
  • ดอกของจำปูน เป็นดอกเดี่ยวๆ กลีบดอกรูปไข่ หนาและแข็ง กลีบด้านนอกมีสีเขียว กลีบด้านในมีสีขาว ดอกที่บานเต็มที่มีกลิ่นหอมแรง โดยเฉพาะตอนเช้าและตอนเย็นๆ  ดอกจำปูนออกได้ตลอดทั้งปี
  • ผลของจำปูน ลักษณะกลม โคนผลเรียว ปลายผลเป็นปุ่มกลมกว้าง ภายในผลมีเมล็ดสีดำขนาดเล็ก คล้ายรูปหยดน้ำ

ประโยชน์ของจำปูน

ต้นจำปูนนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ นิยมปลูกในกระถาง กลิ่นหอมชื่นใจ ยอดอ่อนของต้นจำปูนสามารถนำมาทำอาหารรับประทานได้

สรรพคุณของจำปูน

สำหรับจำปูนนิยมนำดอกมาใช้ประโยชน์ สรรพคุณของต้นจำปู แยกตามส่วนต่างๆ มีดังนี้

  • ดอกจำปูน มีน้ำมันหอมระเหยให้มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท นำมาทำเครื่องหอม แก้อาการเวียนหัว ทำให้เพิ่มอารมณ์และความรู้สึกทางเพศ
  • เปลือกต้นจำปูน ใช้แก้บิด แก้ไข้พิษ
  • ใบจำปูน ใช้ขับไส้เดือนในท้อง
  • ผลของจำปูน ใช้ขับเลือด
  • เมล็ดของจำปูน ใช้ลดไข้
  • กระพี้ของจำปูน ใช้ฟอกโลหิต
  • แก่นของจำปูน ใช้แก้โรคกลาก
  • รากของจำปูน ใช้ขับเลือด

โทษของจำปูน

สำหรับรากของจำปูน และ ผลของจำปูน มีฤทธิ์ในการขับเลือด สำหรับสตรีมีครรภ์และคนเป็นโรคโลหิตจางควรระมัดระวังในการใช้ประโยชน์จากรากและผลของจำปูน

ทุเรียน ( Durian ) ภาษามลายู แปลว่า หนาม มีกลิ่นเฉพาะตัว ต้นทุเรียนเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณลดไข้ แก้ท้องร่วง ช่วยขับพยาธิ รักษาแผลพุพอง โทษของทุเรียนทุเรียน ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของทุเรียน

ต้นทุเรียน ( Durian ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของทุเรียน คือ Durio zibethinus L. ได้รับฉายาว่า ราชาแห่งผลไม้ เนื้อทุเรียนเหมือนคัสตาร์ด  รสชาติคล้ายอัลมอนด์ บางคนบอกว่าทุเรียนมีกลิ่นเหม็นรุนแรง ทุเรียนสามารถรับประทานได้ทั้งสุกและห่าม

ลักษณะของต้นทุเรียน

ต้นทุเรียน เป็น ไม้ยืนต้น การขยายพันธุ์ทุเรียน ทำได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง การติดตา การทาบกิ่ง และ การเสียบยอด ลักษณะของต้นทุเรียน มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นของทุเรียน ลำต้นตั้งตรง ความสูงของต้นทุเรียน ประมาณ 25 ถึง 50 เมตร เปลือกของต้นทุเรียนมีสีเทาแก่ ผิวขรุขระหลุดลอกออกเป็นสะเก็ด เปลือกทุเรียนไม่มียาง
  • ใบของทุเรียน ใบเป็นใบเดี่ยว กระจายทั่วกิ่ง ใบรูปไข่ปลายใบเรียวแหลม ผิวใบเรียบลื่น มีไขนวล ใบด้านบนมีสีเขียว ท้องใบเป็นสีน้ำตาล ขอบใบเรียบ
  • ดอกของทุเรียน ออกดอกเป็นดอกช่อ เกิดตามลำต้น และกิ่งก้านยาว  มีสีขาวหอม คล้ายรุประฆัง
  • ผลของทุเรียน ผลสดเป็นรูปรีถึงกลม เปลือกทุเรียนมีหนามแหลม ผลมีสีเขียว ผลสุกมีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในมีสีเหลืองอ่อน เนื้อในนิ่ม รสหวาน

คุณค่าทางโภชนาการของทุเรียน

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อทุเรียนสุก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 174 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 27.09 กรัม กากใยอาหาร 3.8 กรัม ไขมัน 5.33 กรัม โปรตีน 1.47 กรัม วิตามินเอ 44 หน่วยสากล วิตามินบี 1 0.374 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1.74 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.23 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.316 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 36 ไมโครกรัม วิตามินซี 19.7 มิลลิกรัม  ธาตุแคลเซียม 6 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.43 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 30 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.325 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 39 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 436 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม  และ ธาตุสังกะสี 0.28 มิลลิกรัม

สรรพคุณของทุเรียน

ทุเรียน สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดโรค ได้หลายส่วนประกอบ ทั้ง เนื้อทุเรียน รากทุเรียน ใบทุเรียน เปลือกทุเรียน รายละเอียด ดังนี้

  • เนื้อทุเรียน สามารถช่วยทำให้ฝีแห้ง ช่วยแก้โรคผิวหนัง ช่วยขับพยาธิ
  • รากทุเรียน สามารถใช้ลดไข้ได้ ช่วยแก้อาการท้องร่วง
  • ใบทุเรียน สามารถใช้ลดไข้ได้ ช่วยขับพยาธิ ช่วยแก้ดีซ่าน ช่วยทำให้หนองแห้ง
  • เปลือกของทุเรียน สามมรถใช้ช่วยแก้ตานซาง ช่วยรักษาโรคคางทูม ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย ช่วยแก้ฝี ช่วยรักษาแผลพุพอง ใช้สมานแผล ใช้ไล่ยุงและแมลง

ข้อควรรู้ในการกินทุเรียน

การกินทุเรียน มีสิ่งที่ผู้บริโภคควรทราบ ดังนี้

  • ทุเรียนมีแคลอรี่สูง ทุเรียน 4 เม็ด ให้พลังงาน 400 กิโลแคลอรี่ เท่ากับน้ำอัดลม 2 กระป๋อง
  • ทุเรียนมีปริมาณน้ำตาลสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรหลีกเลี่ยง รวมถึงคนที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และไขมันในโลหิตสูง
  • ทุเรียนมีฤทธิ์ร้อน ไม่ควรกินทุเรียนร่วมกับเหล้า เบียร์ หรือเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ทั้งหลาย

โทษของทุเรียน

ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มี แคลอรี่และน้ำตาลสูง ทุเรียนจึงไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วย โรคเบาหวาน อาจจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว สตรีมีครรภ์ไม่ควรกินทุเรียน เพราะทำให้ความร้อนในร่างกายสูงขึ้น เป็นอันตราต่อลูกในท้อง ไม่ควรกินทุเรียนร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือ กาแฟ

ทุเรียน ( Durian ) คำว่า ทุเรียน มาคำจากภาษามลายู แปลว่า หนาม ผลไม้ที่กลิ่นเฉพาะตัว คุณค่าทางโภชนาการของทุเรียน ประโยชน์ของทุเรียน ลักษณะของต้นทุเรียน สรรพคุณของทุเรียน ช่วยแก้โรคผิวหนัง ลดไข้ แก้ท้องร่วง ช่วยขับพยาธิ ช่วยทำให้หนองแห้ง ช่วยรักษาแผลพุพอง โทษของทุเรียน


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove