มะขามป้อม หรือ มะขามอินเดีย ผลไม้วิตามินซีสูง ต้นมะขามป้อมเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงผิวพรรณ ขับปัสสาวะ โทษของมะขามป้อมมีอะไรบ้าง

มะขามป้อม มะขามอินเดีย สมุนไพร ผลไม้วิตามินซีสูง

ต้นมะขามป้อม ( Indian gooseberry ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะขามป้อม คือ Phyllanthus emblica L. ชื่อเรียกอื่นๆของมะขามป้อม เช่น กันโตด กำทวด มั่งลู่ สันยาส่า หมากขามป้อม เป็นต้น มะขามป้อม จัดเป็นพืชพื้นบ้านของประเทศไทย พบมากตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และ ป่าดิบเขา ในทุกภาคของประเทศไทย พบมากในภาคเหนือ และ ภาคอีสาน

มะขามป้อม คือ ต้นไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว ผลมะขามป้อม มีวิตามินซีสูงมาก เมื่อเทียบกับผลไม้ต่างๆ ผลมะขามป้อม 1  ลูก มีวิตามินซีสูงกว่าวิตามินซีสังเคราะห์ถึง 12 เท่า

ลักษณะของต้นมะขามป้อม

ต้นมะขามป้อม เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็กและขนาดกลาง สามารถขึ้นได้ดีในประเทศเขตร้อน นิยมรับประทานผลสด เป็นผลไม้ มะขามป้อม สามารถขยายพันธ์ทางการเพาะเมล็ด ลักษณะของต้นมะขามป้อม มีดังนี้

  • ลำต้นมะขามป้อม ลักษณะลำต้นตั้งตรง ความสูงประมาณ 10 เมตร ลำต้นมะขามป้อมแตกกิ่งก้านสาขา เป็นทรงพุ่ม ลำต้นมีเปลือกสีน้ำตาล ผิวลำต้นเรียบ เปลือกลำต้นมะขามป้อมสามารถลอกเป็นแผ่นได้ เนื้อไม้มะขามป้อมค่อนข้างเหนียว สีของเนื้อไม้มะขามป้อมมีสีแดงอมน้ำตาล
  • ใบมะขามป้อม ลักษณะเป็นใบประกอบ คล้ายใบมะขาม ใบมะขนาดเล็ก จำนวนมาก ใบสดมีสีเขียว ใบแก่มีสีแดงอ่อน ใบมีลักษณะเรียวรี ใบเรียบ ปลายใบมน
  • ดอกมะขามป้อม ออกดอกเป็นกระจุก ออกเป็นดอกเดี่ยว ดอกมะขามป้อมมีขนาดเล็ก สีขาวอมเหลือง ออกดอกตามปลายกิ่ง
  • ผลมะขามป้อม ลักษณะทรงกลม แบน ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกจะมีสีเขียวอมเหลือง เปลือกผลเรียบ มัน เนื้อผลอ่อน ชุ่มน้ำ ภายในผลมีเมล็ด ลักษณะแข็ง รสของผลมะขามป้อมเปรี้ยว และ ฝาดเล็กน้อย

คุณค่าทางโภชนาการของมะขามป้อม

สำหรับมะขามป้อมจะนำผลมะขามป้อมมาบริโภค ทั้งลักษณะของผลมะขามป้อมสด และ ผลมะขามป้อมแช่อิ่ม โดยคุณค่าทางโภชนาการของมะขามป้อม มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะขามป้อมสด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 58 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย น้ 84.10 กรัม ไขมัน 0.50 กรัม คาร์โบไฮเดรต 14.30 กรัม กากใยอาหาร 2.40 กรัม โปรตีน 0.70 กรัม ธาตุแคลเซียม 29 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 21 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.5 มิลลิกรัม และ วิตามินต่างๆ เช่น วิตามินเอ 100 หน่วยสากล วิตามินบี 10.03 มิลลิกรัม วิตามินบี 20.04 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.2 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 276 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของมะขามป้อมแช่อิ่ม ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 222 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย น้ำ 37.60 กรัม ไขมัน 0.60 กรัม คาร์โบไฮเดรต 59.80 กรัม กากใยอาหาร 1 กรัม โปรตีน 0.50 กรัม ธาตุแคลเซียม 39 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม วิตามินต่างๆ เช่น วิตามินบี 0.02 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.1 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 3 มิลลิกรัม

สารต่างๆในมะขามป้อม มีมากมายในทุกส่วนของมะขามป้อม ทั้ัง เนื้อผล เมล็ด ผลสด ผลแห้ง เปลือกผล เปลือกลำต้น ใบมะขามป้อม กิ่งมะขามป้อม และ รากมะขามป้อม โดนรายละเอียด ดังนี้

  • รากมะขามป้อม มี กรดเอลลาจิก และ สารลูพิออล
  • เปลือกลำต้น มี สารแทนนิน สารลูพิออล และ สารลูโค เดลฟินิดิน
  • ใบมะขามป้อม มี สารแทนนิน กรดมาลิก และ สารลูพิออล
  • กิ่งมะขามป้อม มี สารแทนนิน
  • เมล็ดมะขามป้อม มีน้ำมันหอมระเหย ฟอสฟาไทด์
  • เนื้อมะขามป้อม มี น้ำ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามินซี วิตามินบี3 สารแทนนิน กรดเพ็กทิน และ เกลือแร่ต่าง ๆ

สรรพคุณมะขามป้อม

การใช้ประโยชน์ของของมะขามป้อม ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชน์จาก ใบมะขามป้อม ผลมะขามป้อม เมล็ดมะขามป้อม และ เปลือกมะขามป้อม รายละเอียด ดังนี้

  • ใบมะขามป้อม สรรพคุณบำรุงผิว ป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับสารพิษในร่างกาย เสริมสร้างภูมิต้านทานร่างกาย ช่วยคลายกล้ามเนื้อ แก้กระหายน้ำ ลดเสมหะ ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงเหงือกและฟัน ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน รักษาแผลในปาก ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขยายหลอดลม รักษาหอบหืด รักษาแผลไฟไหม้ รักษาโรคตาแดง
  • ผลมะขามป้อม สรรพคุณบำรุงผิว ป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับสารพิษในร่างกาย เสริมสร้างภูมิต้านทานร่างกาย ช่วยคลายกล้ามเนื้อ แก้กระหายน้ำ ลดเสมหะ ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงเหงือกและฟัน ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน รักษาแผลในปาก ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขยายหลอดลม รักษาหอบหืด รักษาแผลไฟไหม้ รักษาโรคตาแดง
  • เมล็ดของมะขามป้อม มีน้ำมันหอมระเหย สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • เปลือกลำต้น และ แก่นไม้ของต้นมะขามป้อม สรรพคุณแก้อาหารเป็นพิษ ช่วยขับปัสสาวะ และ รักษาดรคผิวหนัง

โทษของมะขามป้อม

สำหรับการรับประทานมะขามป้อม หรือ การใช้ประโยชน์จากมะขามป้อม ด้านการบำรุงร่างกาย และ การรักษาดรค มีข้อควรระวัง ดังต่อไปนี้

  • มะขามป้อมมีฤทธิ์เย็น เมื่อกินเข้าไปจะทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลง การกินมะขามป้อมต้องกินในปริมาณที่เหมาะสม
  • มะขามป้อม อาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกผิดปกติ สำหรับผู้ป่วยที่มีแผนในการผ่าตัดควรงดกินมะขามป้อม อย่างน้อย 2 สัปดาห์
  • มะขามป้อมมีรสเปรี้ยว สำหรับคนที่ป่วยโรคระบบทางเดินอาหาร หรือ ผ่าตัดในช่องท้อง ควรงดการกินมะขามป้อม ควรกินอาหารเบาๆรสจืดๆ

มะขามป้อม หรือ มะขามอินเดีย ผลไม้ ที่มีวิตามินซีสูง ลักษณะของต้นมะขามป้อม เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของมะขามป้อม สรรพคุณของมะขามป้อม เช่น บำรุงร่างกาย บำรุงผิวพรรณ ขับปัสสาวะ เป็นต้น โทษของมะขามป้อม มีอะไรบ้าง

ชุมเห็ดเทศ Candelabra bush สมุนไพร พืชตระกูลถั่ว ต้นชุมเห็ดเทศเป็นอย่างไร สรรพคุณของชุมเห็ดเทศ เช่น เป็นยาระบาย ขับเสมหะ โทษของชุมเห็ดเทศมีอะไรบ้าง

ชุมเห็ดเทศ ต้นชุมเห็ดเทศ สรรพคุณของชุมเห็ดเทศ สมุนไพร

ต้นชุมเห็ดเทศ เป็นไม้พุ่ม จักเป็นพืชพื้นเมือง ดอกสีเหลืองทองเป็นรูปไข่ สวยงามด้วยสรรพคุณมากมาย สามารถขึ้นได้ในดินทุกชนิด พรรณไม้ชนิดนี้ไม่ต้องการความเอาใจใส่ ปลูกแล้วปล่อยทิ้งไว้ให้โตขึ้นเองได้ พบขึ้นได้ทั่วไปในประเทศไทย ทั้งบนที่ราบหรือบนภูเขาสูงจนถึง 1,500 เมตร ทำความรู้จักกับชุมเห็ดเทศ กัน

ชุมเห็ดเทศ มีชื่อสามัญ ว่า Candelabra bush ชื่อวิทยาศาสตร์ของชุมเห็ดเทศ คือ  Senna alata (L.) Roxb. จัดอยู่ในพืชตระกูลถั่ว ชื่อเรียกอื่นๆของชุมเห็ดเทศ คือ ส้มเห็ด จุมเห็ด ขี้คาก ลับหมื่นหลวง ลับมืนหลาว หญ้าเล็บมือหลวง หมากกะลิงเทศ ชุมเห็ด ชุมเห็ดใหญ่ ตะสีพอ ตุ๊ยเฮียะเต่า ฮุยจิวบักทง ตุ้ยเย่โต้ว เป็นต้น

ลักษณะของต้นชุมเห็ดเทศ

ต้นชุมเห็ดเทศ เป็นพืชขนาดกลาง เป็นไม้พุ่ม สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ราบสูง ประเทศเขตร้อน ในประเทศไทยพบได้ตามภูเขาสูง สามารถขยายพันธ์ได้โดยการเพาะเมล็ด ลักษณะของต้นชุมเห็ดเทศ มีดังนี้

  • ลำต้นของชุมเห็ดเทศ มีความสูงประมาณ 3 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ลำต้นมีขน เปลือกของลำต้นเรียบ สีน้ำตาล
  • ใบของชุมเห็ดเทศ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันตามกิ่งก้าน ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบโค้งมน มีหยัก โคนใบ ขอบใบเรียบ มีสีแดง เนื้อใบค่อนข้างหนา หยาบและเหนียว
  • ดอกของชุมเห็ดเทศ ดอกจะออกเป็นช่อ มีขนาดใหญ่ ตั้งตรง ออกตามซอกใบ และ ปลายกิ่ง ดอกมีสีเหลืองทอง รูปไข่ ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร
  • ผลของชุมเห็ดเทศ ออกผลเป็นฝัก ลักษณะ ยาว แบน ไม่มีขน ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ฝักแก่จะเป็นสีดำ ภายในฝักมีเมล็ดรูปสามเหลี่ยมสีดำ ผิวขรุขระ

ประโยชน์ของชุมเห็ดเทศ

การใช้ประโยชน์ของชุมเห็ดเทศ นั้นสามารถนำมาทำเป็นอาหารเพื่อบริโภค เป็นผักสด ซึ่งนิยมรับประทาน ดอกชุมเป็ดเทศ และ ยอดอ่อน นำมาลวก ทานเป็นผักสดๆ นอกจากนั้น นิยมปลูกชุมเห็ดเทศรอบบ้าน เป็นไม้ประดับ และ ไล่มด เนื่องจากใช้ไล่มด มดไม่ชอบกลิ่นของชุมเห็ดเทศ นอกจากนั้น มีการนำเอาชุมเห็ดเทศมาสกัดเป็นอาหารเสริม และ ยารักษาโรค เช่น  ชาชง ยาแคปซูล ยาระบายอัดเม็ด หรือในรูปแบบยาทาแก้กลากเกลื้อน

สรรพคุณของชุมเห็ดเทศ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากชุมเห็ดเทศ ด้านการรักษาโรคและบำรุงร่างกาย นั้น สามารถใช้ ตั้งแต่ ราก ใบ เมล็ด ดอก และ ผล รวมถึงทั้งตนของชุมเห็ดเทศ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ทั้งต้นของชุมเห็ดเทศ สรรพคุณบำรุงหัวใจ แก้ดีซ่าน ช่วยแก้กษัยเส้น ช่วยขับเสมหะ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร
  • รากชุมเห็ดเทศ สรรพคุณบำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร แก้ตาเหลือง ช่วยแก้กษัยเส้น ช่วยขับพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร
  • ใบชุมเห็ดเทศ สรรพคุณบำรุงหัวใจ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดความมดัน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด แก้เส้นอักเสบ  ช่วยแก้กษัยเส้น ช่วยขับเสมหะ เป็นยาบ้วนปาก ยาระบาย แก้ท้องผูก รักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร รักษาโรคผิวหนัง รักษาแผล ช่วยรักษาฝี รักษาแผลพุพอง
  • ดอกชุมเห็ดเทศ สรรพคุณเป็นยาระบาย แก้ท้องผูก ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร
  • เมล็ดของชุมเห็ดเทศ สรรพคุณช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ แก้พิษตานซาง แก้ท้องอืด ขับพยาธิในลำไส้  ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร
  • ผลของชุมเห็ดเทศ สรรพคุณช่วยถ่ายพยาธิ ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร
  • เปลือกต้นชุมเห็ดเทศ สรรพคุณช่วยรักษาริดสีดวงทวาร ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย

โทษของชุมเห็ดเทศ

จากสรรพคุณของชุมเห็ดเทศเห็นว่ามีประโยชน์หลายอย่าง แต่ การใช้ประโยน์ของชุมเห้ดเทศ มีข้อควรระวัง เนื่องจาก ชุมเห็ดเทศ มีพิษเบื่อ การนำเอาไปใช้ประโยชน์ต้องใช้อย่างถูกวิธี ซึ่งมีข้อควรระวังในการใช้ชุมเห็ดเทศ ดังนี้

  • สำหรับผู้ป่วยโรคไต ไม่ควรชุมเห็ดเทศ เนื่องจากชุมเห็ดเทศมีสรรพคุณทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ โดยเฉพาะโพแทสเซียม
  • ชุมเห็ดเทศ ทำให้ใจสั่น
  • ชุมเห็ดเทศ ช่วยกระตุ้นให้คลอดลูกเร็วขึ้น อาจทำให้แท้งได้ สำหรับสตรีมีครรภ์ห้ามใช้เด็กขาด
  • ชุมเห็ดเทศมีฤทธ์เป็นยาระบาย สำหรับสตรีหลังคลอดบุตร ไม้ควรใช้ชุมเห็ดเทศ ทำให้สารRhein หลั่งออกมาทางน้ำนม เป็นอันตรายต่อแม่และเด็ก
  • ห้ามใช้กับผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหาร หรือ โรคลำไส้อุดตัน
  • เด็กอายุต่ำกว่า 12 ขวบห้ามใช้ยาชงชุมเห็ดเทศ
  • มีรายงานการใช้ประโยชน์ต้นอ่อนชุมเห็ดเทศเป็นยาเบื่อปลา การกินต้นอ่อนชุมเห็ดเทศจึงเป็นพิษต่อสัตว์และมนุษย์
  • ชุมเห็ดเทศความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์

ชุมเห็ดเทศ ( Candelabra bush ) สมุนไพร พืชตระกูลถั่ว ลักษณะของต้นชุมเห็ดเทศ เป็นอย่างไร สรรพคุณของชุมเห็ดเทศ เช่น เป็นยาระบาย ขับเสมหะ โทษของชุมเห็ดเทศ มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove