ย่านาง ( Bamboo grass ) จ้อยนาง เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว ยาดนาง ใบย่านางมีฤทธิ์เย็น สรรพคุณปรับสมดุลย์ร่างกาย บำรุงร่างกาย ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดความดันย่านาง ใบย่านาง สมุนไพร สรรพคุณใบย่านาง

ต้นย่านาง ( Bamboo grass ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของย่านาง คือ Tiliacora triandra ( Colebr. ) Diels สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของย่านาง เช่น  จ้อยนาง เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว ยาดนาง เป็นต้น ใบย่านาง มีฤทธิ์เย็น เหมาะสำหรับปรับสมดุลร่างกาย สรรพคุณปรับสมดุลย์ร่างกาย บำรุงร่างกาย ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดความดัน

ต้นย่านาง สามารถพบได้ตามแหล่งธรรมชาติทั่วไป ในพื้นที่อากาศชุ่มชื้น ป่าผลัดใบ ป่าดงดิบ และ ป่าโปร่ง ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต้นย่านางสามารถขยายันธ์ได้ง่าย โดยใช้หัวใต้ดิน การปักชำยอด หรือ การเพาะเมล็ด

ลักษณะของต้นย่านาง

ต้นย่านาง เป็นไม้เลื้อย เป็นเถา ซึงลักษณะของต้นย่างนาง มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นของย่านาง เป็นเถาเกี่ยวพันกับไม้อื่น มีลักษณะกลมเล็ก เหนียว มีสีเขียว และ เถาแก่มีสีเขียวเข้ม ผิวค่อนข้างเรียบ
  • รากของย่านาง เป็นมีหัวอยู่ใต้ดิน มีขนาดใหญ่
  • ใบของย่านาง เป็นใบเดี่ยว ออกติดกับลำต้นแบบสลับ ใบเหมือนรูปไข่ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ สีเขียว ใบเป็นมัน
  • ดอกของย่านาง ดอกออกเป็นช่อ ดอกออกตามซอกใบ และ ซอกโคนก้าน ขนาดเล็ก สีเหลือง ออกดอกช่วงเดือนเมษายน
  • ผลของย่านาง มีลักษณะกลมรี เล็ก สีเขียว ผลแก่เป็นสีเหลืองอมแดง มีเมล็ดลักษณะแข็ง รูปเกือกม้า

คุณค่าทางโภชนาการของต้นย่านาง

สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของย่านาง นักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบย่านางขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 95 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 7.9 กรัม แคลเซียม 155 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 7.0 มิลลิกรัม วิตามินเอ 30625 IU วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.36 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.4 มิลลิกรัม วิตามินซี 141 มิลลิกรัม โปรตีน 15.5 เปอร์เซนต์ ฟอสฟอรัส 0.24 เปอร์เซนต์ โพแทสเซียม 1.29 เปอร์เซนต์ แคลเซียม 1.42 เปอร์เซนต์ และ แทนนิน 0.21 เปอร์เซนต์

ประโยชน์ของใบย่านาง

สำหรับประโยชน์ของต้นย่านาง นั้น เป็นพืชที่ให้ออกซิเจน เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีมลพิษสุง หากปลูกต้นย่านางจะช่วยเพิ่มออกซิเจน และ สร้างความร่มเย็นให้กับพื้นที่ได้ดี นอกจากนั้นประโยชน์หลักๆของย่านาง นิยมการนำใบย่านางมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร สำหรับการบริโภค และ นำมาทำน้ำใบย่านาง ใบย่านางช่วยชะลอการเกิดผมหงอก ทำให้ผมดำ จึงมีการสร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น แคปซูลใบย่านาง สบู่ใบย่านาง แชมพูใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพร เป็นต้น เพื่อรักษาอาการผมหงอก ใบย่านางสามารถช่วยต้านพิษกรดยูริกที่มีในหน่อไม้ได้ จึงเห็นใบย่านางมักเป็นส่วนประกอบของอาหารที่มีหน่อไม้ เช่น แกงหน่อไม้ ซุบหน่อไม้ แกงอ่อม แกงเห็ด แกงเลียง เป็นต้น

สรรพคุณของย่านาง

สำหรับการใช้ประโยชน์ของย่านางนั้น สามารถใช้ประโยชน์ได้ ทั้ง ราก และ ใบ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • รากของย่านาง มีรสขม สรรพคุณแก้ไข้ รักษาไข้ทับระดู แก้พิษเมา บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ แก้ปวดท้อง รักษาอีสุกอีใส รักษามาลาเรีย ขับพิษ
  • ใบของยางนาง มีรสขมจืด สรรพคุณแก้ไข้ เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอวัย เพิ่มภูมิต้านทานโรค บำรุงกำลัง ลดความอ้วน ปรับสมดุลย์ร่างกาย ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็ง ช่วยลดความดัน บำรุงหัวใจ บำรุงตับ บำรุงไต ช่วยรักษาอัมพฤกษ์ ช่วยรักษาอาการชักเกร็ง บำรุงผิว แก้เวียนหัว ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ รักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยแก้ปวดตามกล้ามเนื้อ รักษาเหงือกอักเสบ ช่วยให้นอนหลับสบาย ช่วยบำรุงสายตา แก้เสมหะเหนียว รักษาไซนัสอักเสบ ช่วยลดการนอนกรน รักษาโรคหอบหืด รักษาโรคตับอักเสบ รักษาอาการท้องเสีย ช่วยแก้อาการท้องผูก รักษาโรคกระเพาะอาหาร รักษาลำไส้อักเสบ ช่วยรักษาปัสสาวะขัด ช่วยรักษามดลูกโต แก้ปวดมดลูก รักษาโรคต่อมลูกหมากโต รักษาอาการตกขาว ช่วยป้องกันโรคเกาต์ ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย

โทษของย่างนาง

  • น้ำใบย่างนาง มีกลิ่นแรง กินยาก สำหรับคนที่ไม่ชินกับการกินน้ำใบย่างนาง อาจทำให้อาเจียน หรือ เกิดอาการแพ้ได้
  • การดื่มน้ำย่านาง ควรดื่มก่อนกินอาหาร หรือ ดื่มตอนท้องว่าง ควรดื่มในปริมาณที่พอดี ไม่มากเกินไป
  • ผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย ไม่ควรดื่มน้ำใบย่านาง เพราะ สารอาหาร เช่น วิตามินเอ ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม ที่มีใบย่านางจะทำให้เกิดการคั่ง ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานของไต
  • การกินอาหารเสริมที่ได้จากใบย่านาง เช่น แคปซูลใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพรใบย่างนาง อาจมีสารเคมีเจือปน หากขั้นตอนการผลิตไม่ได้มาตราฐาน เพื่อความปลอดภัย ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้จะดีที่สุด

ต้นย่านาง ( Bamboo grass ) ชื่อเรียกอื่นๆ เช่น  จ้อยนาง เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว ยาดนาง เป็นต้น ใบย่านาง มีฤทธิ์เย็น เหมาะสำหรับปรับสมดุลร่างกาย สรรพคุณปรับสมดุลย์ร่างกาย บำรุงร่างกาย ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดความดัน

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.

โหระพา Sweet basil สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหาร ต้นโหระพาเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของโหระพา สรรพคุณขับลม ช่วยเจริญอาหาร ใบโหระพามีกลิ่นหอม โทษของโหระพามีอะไรบ้าง

โหระพา ต้นโหระพา ใบโหระพา สรรพคุณของโหระพา

ต้นโหระพา มีชื่อสามัญว่า Sweet basil ชื่อวิทยาศาสตร์ของโหระพา คือ Ocimum basilicum L. เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับกะเพรา มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียและแอฟริกา มีกลิ่นหอม นิยมนำมาประกอบอาหารและแต่งกลิ่นอาหาร

ลักษณะของต้นโหระพา

ต้นโหระพา พืชล้มลุก ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน ทวีปเอเชียและทวีปอาฟริกา สามารถขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ และ การเพาะเมล็ด ซึ่งรายละเอียดของต้นโพระพา มีรายละเอียด ดังนี้

  • รากและลำต้นของโหระพา รากมีรากแก้วและรากฝอย ลำต้นของโหระพามีความสูงประมาณ 60 เซ็นติเมตร ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม เนื้อไม้อ่อน สีม่วงแดง
  • ใบโหระพา มีใบลักษณะใบเดี่ยว ออกตามข้อกิ่ง ใบรูปไข่ปลายแหลม ผิวใบเรียบ สีเขียวเข้ม
  • ดอกของโหระพา ดอกจะออกเป็นช่อ ออกที่ปลายยอดของต้น ดอกออกเรียงเป็นชั้นๆ ดอกมีสีขาวอมแดงม่วง
  • เมล็ดของโหระพา เป็นเม็ดเล็กสีน้ำตาลเข้ม เมล็ดโหระพามีเมือกหุ้มเมล็ด หากนำมาแช่น้ำจะมีเมือกพองตัวคล้ายเมล็ดแมงลัก

ประโยชน์ของโหระพา

โหระพา คือ ต้นไม้ประเภทพืชล้มลุก ที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว การใช้ประโยชน์ของโหระพา ส่วนใหญ่จะเป็นการนำมารับประทานเป็นอาหาร ซึ่งสรรพคุณของโหระพา มีมากมายช่วยบำรุงร่างกาย รักษาโรคได้ นอกจากนั้นใบโหรพพาสามารถนำมาสักัดเอาน้ำมัน ซึ่งนำไปใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมและความงามหลายอย่าง โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • นำใบมากินเป็นอาหาร นิยมใส่ในอาหารให้มีกลิ่นหอม
  • นำใบโหระพามาสกัดทำน้ำมันหอมระเหย ให้กลิ่นหอม สามารถนามาเป็นสารตั้งต้นในการทำ อาหารในอุตสาหกรรมสำหรับแต่งกลิ่น
  • น้ำมันหอมระเหยจากโหระพา เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง เช่น น้ำหอม สบู่ เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนากการของต้นโหระพา

สำหรับการศึกษาคุณค่างทางอาหารของโหระพา นั้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบโหระพา ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 251 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 14.4 กรัม ไขมัน 4 กรัม คาร์โบไฮเดรต 61 กรัม แคลเซียม 2,113 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 46 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 42 มิลลิกรัม แมงกานีส 42.2 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 490 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 3,433 มิลลิกรัม โซเดียม 34 มิลลิกรัม สังกะสี 6 มิลลิกรัม วิตามินซี 22 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.2 มิลลิกรัม วิตามินเอ 9375 IU เบต้าแคโรทีน 452.2 ไมโครกรัม และ กากใยอาหาร 17.8 กรัม

นอกจากนั้นได้ศึกษาสารสำคัญจากใบโหระพา พบว่ามีสารสำคัญมากมาก แต่พบ Methyl chavicol มากถึงร้อยละ 90 และส่วนที่เหลือประกอบด้วย Pinene β-Pinene β-Bourbonene β-Elemene β-Cubebene β-Caryophyllene β-Copaene β-Acoradiene
Camphor Ocimene Eucalyptol Linalool Benzaldehyde Sabinene  Myrcene Cis-Hex-3-Enyl Acetate p-Cymene Limonene Eucalyptol  cis-Beta-Ocimene cis-Linalool Oxide trans-Linalool Oxide trans-Myroxide Neo-Allo-Ocimene Menth-2-en-1-ol Pinocarvone Terpinen-4-ol Endo Fenchyl Acetate Nerol Neral Geraniol Geranial Carvacrol
Bicycloelemene Exo-2-Hydroxycineole Acetate Cubebene Geranyl Acetate Methyl Eugenol Trans-Alpha-ergamotene
Cadina-3,5-Diene Epsilon-Muurolene Germacrene Bicylogermacrene

สรรพคุณต้นโหระพา

สำหรับการใช้ประโยชน์ของโหระพา ด้านการบำรุงร่างกาย และ การรักษาโรค นั้น มีการใช้ประโยชน์จาก ใบ ลำต้น เมล็ด และ น้ำมันหอมระเหย โดยรายละเอีนด ดังนี้

  • ใบและลำต้นของโหระพา มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สรรพคุณแก้เจ็บคอ ขับเสมหะ แก้ปวดฟัน ขับลม ขับเหงื่อ แก้ท้องอืด ช่วยย่อยอาหาร ช่วยเจริญอาหาร แก้หวัด ช่วยลดอาการอักเสบของแผล รักษาแผล ช่วยห้ามเลือด ช่วยให้ลดอาการปวด
  • เมล็ดของโหระพา สรรพคุณช่วยขับถ่าย ช่วยควบคุมน้ำหนัก รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลดการบีบตัวของลำไส้
  • น้ำมันหอมระเหยจากใบโหระพา สรรพคุณแก้ปวดเมื่อย ช่วยทำให้ผ่อนคลาย ลดอาการเหนื่อยล้า แก้อาการกระตุก แก้จมูกอักเสบ ลดอาการปวดจากแมลงกัดต่อย

โทษของโหระพา

สำหรับโหระพามีกลิ่นหอม ซึ่งสามารถสกัดน้ำมันหอมระเหยจากใบโหระพาได้ แต่น้ำมันหอมระเหยไม่ควรใช้กับสตรีมีครรภ์ เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้

โหระพา ( Sweet basil ) คือ พืชล้มลุก สมุนไพร ผักสวนครัว นิยมนำมาทำอาหาร ต้นโหระพาเป็นอย่างไร ประโยชน์ของโหระพา คุณค่าทางโภชนาการของโหระพา สรรพคุณของโหระพา เช่น ขับลม ช่วยเจริญอาหาร เป็นต้น ใบโหระพามีกลิ่นหอม โทษของโหระพามีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove