โบทูลิซึม ( Botulism ) ภาวะการติดเชื้อโบทูลินัมท็อกซิน ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง หนังตาตก ภาวะการหายใจล้มเหลว แนวทางการรักษาและป้องกันโรคทำอย่างไรโบทูลิซึม โรค โรคติดเชื้อ โรคระบบประสาท

โรคโบทูลิซึ่ม ( Botulism ) ภาวะการติดเชื้อโรคที่เป็นโรคร้ายแรงที่มีอัตราการเสียชีวิตสูง ในช่วง พ.ศ. 2493-2502 ( ค.ศ. 1950-1959 ) ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการภาวะการหายใจล้มเหลวภายในเวลา 60 วัน ซึ่งในระหว่างการติดเชื้อผู้ป่ยจะเกิดภาวะแทรกซ้อนง่าย  สำหรับประเทศไทยมีการพบการอุบัติของโรคโบทูลิซึมใน ปีพ.ศ. 2549 ซึ่งมีผู้ป่วยมากถึง 190 คนในคราวเดียว

โรคโบทูลิซึม ( Botulism ) เกิดจากร่างกายติดเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ แบคทีเรียคลอสตริเดียมโบทูลินัม ( Clostridium botulinum ) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่พบอยู่ได้ทั่วไป ตามพื้นดิน ในน้ำจืด และในน้ำทะเล เมื่อมีสภาวะที่เหมาะสม คือ ในสภาพอากาศที่ไม่มีออกซิเจน แบคทีเรียจะแบ่งตัวสร้างสปอร์ ( Spore ) และปล่อยพิษออกมา เรียกว่า Botulinum toxin

โบทูลินัมท็อกซิน ( Botulinum toxin ) มี  7 ชนิด คือ ชนิด A B C D E F และ G ซึ่งแต่ละชนิดจะแตกต่างกันตามกลไกในการสลายโปรตีน โบทูลินัมท็อกซินจะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทกล้ามเนื้อทำให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อ แต่ในการกลับกับสามารถระงับอาการเจ็บปวด และ ช่วยลดการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติได้ โบทูลินัมท็อกซิน ( Botulinum toxin ) จึงถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคต่างๆได้เช่นกัน

ประวัติของโบทูลินัมท็อกซิน ( Botulinum toxin )

โบทูลินัมท็อกซิน ( Botulinum toxin ) พบครั้งแรกในยุคสงครามนโปเลียน ตั้งแต่ พ.ศ. 2338-2356 มีการค้นพบคนที่มีอาการป่วยเป็นอัมพาต พบว่ามีการเชื่อมโยงกับไส้กรอก ซึ่ง ภาษาละติน เรียก botulus ใน พ.ศ. 2365 มีการตีพิมพ์งานวิจัย พบว่าพิษที่สกัดออกมาจากไส้กรอก ส่งผลให้เกิดอาการอ่อนแรง และเหงื่อไม่ออก สารพิษตัวนี้ใช้รักษาความผิดปกติต่างๆของระบบประสาทได้

จากนั้น 75 ปีต่อมา Emile-Pierre van Ermengen ค้นพบว่าสาเหตุของอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง และเหงื่อไม่ออก เกิดจากสารพิษที่ถูกผลิตขึ้นจากแบคทีเรียคลอสตริเดียมโบทูลินัม ( Clostridium botulinum ) เรียกว่า โบทูลินัมท็อกซิน ( Botulinum toxin )

ชนิดของโรคโรคโบทูลิซึ่ม ( Botulism )

โรคที่เกิดจากโบทูลินั่มท็อกซิน ( botulinum toxin ) สามารถแบ่งได้ 5 ชนิด โดยแยกจากสาเหตุของการติดเชื้อ ประกอบด้วย

  • Foodborne botulism คือ โรคโบทูลิซึ่มที่เกิดจากการกิน ซึ่งอาหารมีการปนเปื้อนสารโบทูลินั่มท็อกซิน พบบ่อยในอาหารกระป๋อง สำหรับประเทศไทยผู้ป่วยโบทูลิซึ่มส่วนใหญ่พบว่ามาจากการกินหน่อไม้บรรจุปี๊บ
  • Intestinal botulism คือ โรคโบทูลิซึ่มที่เกิดจากการกินสปอร์ของแบคทีเรียคลอสตริเดียมโบทูลินัม ( Clostridium botulinum )
  • Wound botulism คือ โรคโบทูลิซึ่มที่เกิดจากบาดแผลเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียคลอสตริเดียมโบทูลินัม ( Clostridium botulinum ) มักพบได้ในกลุ่มผู้ที่ใช้สารเสพติดโดยการฉีดยา
  • Biological weapon คือ การรับเชื้อที่เกิดจากการสร้างเชื้อแบคทีเรียคลอสตริเดียมโบทูลินัม ( Clostridium botulinum ) ซึ่งพบมีการผลิตโบทูลินั่มท็อกซินเพื่อเป็นอาวุธสงครามชีวภาพในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
  • Iatrogenic botulism คือ การใช้โบทูลินั่มท็อกซิน ( botulinum toxin ) ชนิด A เพื่อรักษาโรคบางชนิด

สาเหตุของโรคโบทูลิซึม ( Botulism )

โรคโบทูลิซึม ( Botulism ) เกิดจากร่างกายติดเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ แบคทีเรียคลอสตริเดียมโบทูลินัม ( Clostridium botulinum ) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่พบอยู่ได้ทั่วไป ตามพื้นดิน ในน้ำจืด และในน้ำทะเล เมื่อมีสภาวะที่เหมาะสม คือ ในสภาพอากาศที่ไม่มีออกซิเจน แบคทีเรียจะแบ่งตัวสร้างสปอร์ ( Spore ) และปล่อยพิษออกมา เรียกว่า Botulinum toxin

อาการโรคโบทูลินั่ม

สำหรับอาการของโรคเมื่อเกิดการรับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยจะไม่มีไข้แต่จะมีอาการหัวใจจะเต้นช้า ความดันเลือดปรกติ ต่อมาผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการอ่อนแรง โดยเริ่มจากใบหน้า ภาวะการกลืนอาหาร ภาวะการหายใจ จากนั้นจะเกิดอาการกับกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เช่น คอ แขน และขา ผู้ป่วยจะมีอาการพูดไม่ชัด ปากแห้ง หนังตาตก หากเกิดภาวะรุนแรงจะทำให้เกิดภาวะการหายใจล้มเหลวเสียชีวิตได้

การรักษาโรคโบทูลิซึม ( Botulism )

แนวทางการรักษาโรคโบทูลิซึม ( Botulism )  แพทยืจะใช้การรักษาด้วยการให้ยาต้านพิษ และ ประคับประครองอาการต่างๆของโรค ซึ่งต้องเฝ้าระวังระบบประสาทการหายใจล้มเหลว ด้วยการให้เครื่องช่วยหายใจ แนวทางการรักษาโรคโบทูลิซึม ( Botulism ) มีดังนี้

  • การให้ยาต้านพิษ ในผู้ป่วยที่ไม่ใช่เด็กทารก จะให้สารต้านพิษ Botulinum toxin ซึ่งผลิตจากเซรุ่มที่ได้จากม้า (Equine antitoxin) แต่สำหรับเด็กทารก แพทย์จะให้ยาสารภูมิต้านทาน (แอนติบอดี/Antibody) ซึ่งผลิตจากเซรุ่มของคน (Human botulism immune globulin) เนื่องจากการให้ Equine antitoxin พบว่าไม่สามารถรักษาได้ นอกจากนั้น การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Clostridium botulinum ก็พบ ว่า ไม่มีประโยชน์เช่นกัน
  • การรักษาแผล โดยจะรักษาในผู้ป่วยที่มีบาดแผล ปากของบาดแผลที่แคบจะต้องถูกเปิดให้กว้างขึ้น เพื่อให้ออกซิเจนเข้าไปสัมผัสกับบาดแผลให้ทั่วถึง ซึ่งจะทำให้เชื้อนี้ไม่ผลิตพิษขึ้นมาอีก และให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรียนี้ในผู้ป่วยที่มีบาดแผลด้วย แม้ว่าประ โยชน์ที่ได้รับยังไม่ชัดเจนก็ตาม
  • การรักษาประคับประคองตามอาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องเฝ้าติดตามระ บบการหายใจ โดยหากกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจอ่อนแรง จนเกิดภาวะการหายใจล้มเหลว ก็ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูก ก็ต้องใช้ยาระบาย/ยาแก้ท้องผูก หรือการสวนทวารช่วย หรือหากมีอาการ ท้องอืด แน่นท้อง ก็ต้องใช้ยาลดอาการ หรือใส่สายให้อา หารและดูดเอาอากาศและน้ำย่อยออกมา หรือผู้ป่วยที่ปัสสาวะไม่ออก ก็ต้องใส่สายสวนปัสสาวะ เป็นต้น

การป้องกันโรคโบทูลิซึม ( Botulism )

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคนี้ คือ การลดภาวะเสี่ยงต่างๆในการติดเชื้อโรคและการทำร่างกายให้แข็งแรง เพื่อสามารถต้านเชื้อโรคได้ ซึ่งแนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • ไม่แนะนำให้เด็กทารกที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี บริโภคน้ำผึ้ง ยกเว้นจะนำไปปรุงเป็นอาหารที่ผ่านความร้อนที่อุณหภูมิมากกว่า 116 องศาเซลเซียส ร่วมกับการเพิ่มความกดอากาศขณะปรุง เช่น การตุ๋น หรือการอบ เพื่อทำลายสปอร์ของเชื้อโรคโบทูลิซึมที่อาจปนเปื้อน
  • หลีกเลี่ยงการอาหารหมักดอง
  • การรับประทานอาหารกระป๋องรวมถึงนมผง ต้องรับประทานจากผู้ผลิตที่เชื้อถือเรื่องความสะอาดได้ ดูฉลาก อย. บริโภคก่อนวันหมดอายุ และไม่เลือกบรรจุภัณฑ์ที่มีรอยบุบ รอยแตก รอยรั่ว บวม โป่ง เป็นสนิม
  • เข้ารับการฉีดวัคซีนสำหรับฉีดป้องกันพิษ Botulinum toxin
  • รับประทานอาหารที่สะอาดถูกสุขอนามัย
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

หูดหงอนไก่ ภาวะติดเชื้อไวรัส HPV อาการมีหูดขึ้นที่ มือ เท้า คอ อวัยวะเพศ หูด HPV ทำให้เสี่ยงโรคมะเร็งได้ ติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคหูดหงอนไก่ HPV โรค โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ภาวะติดเชื้อ HPV  ( Human Papilloma virus ) เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถแพร่ด้วยการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่เชื้อไวรัส HPV มีมากกว่า 100 สายพันธุ์  HPV บางสายพันธุ์เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งชนิดต่างๆ เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งอวัยวะเพศชาย มะเร็งทวารหนัก  มะเร็งช่องปากและลำคอ เป็นต้น สามารถติดต่อได้ทั้งทางพันธุกรรม และ ทางเพศสัมพันธ์ทั้งชายและหญิง นอกจากนั้นยังสามารถติดต่อกันทางการร่วมเพศทางปาก คอหอย และ ทวารหนักได้

ปัจจุบันยังไม่มียารักษาการติดเชื้อไวรัส HPV ซึ่งแนวทางการรักษาโรคผู้ป่วยต้องดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรง ผู้ที่ติดเชื้อ HPV ต้องเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี

สาเหตุของโรคหูดหงอนไก่

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหูดหงอนไก่ คือ การติดเชื้อไวรัส HPV จากการมีเพศสัมพันธ์ สามารถติดเชื้อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ทุกรูปแบบ ไม่วา่จะทางช่องคลอด ทวารหนัก ปาก หรือ การใช้อุปกรณ์เพื่อสนองความต้องการทางเพศร่วมกัน รวมถึงติดต่อทางผิวหนังจากรอยแผลต่างๆ และ สตรีมีครรภ์สามารถแพร่เชื้อสู่บุตรได้จากการคลอดลูก

ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัส HPV

สำหรับกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงตอการเกิดโรคติดเชื้อไวรัส HPV นั้น พบว่ากลุ่มคนที่มีลักษณะและพฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้ มีความเสี่ยงของการเกิดโรคสูงที่สุด คือ

  1. คนที่สูบบุหรี่
  2. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์
  3. คนที่ขาดสารอาหารและขาดวิตามินบี 9
  4. กลุ่มคนที่มีโรคการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
  5. กลุ่มคนที่ร่างกายไม่แข็งแรง คนที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ
  6. กลุ่มคนใช้ยาคุมกำเนิด นานกว่า 5 ปี
  7. กลุ่มหญิงและชายที่ชอบเปลี่ยนคู่นอน
  8. กลุ่มคนที่มีแผลหรือรอยขีดข่วนตามผิวหนังและสัมผัสคนที่มีเชื้อโรค
  9. กลุ่มคนที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
  10. กลุ่มคนที่อยู่ในสถานที่ที่มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย เช่น สระว่ายน้ำ เป็นต้น

อาการของโรคหูดหงอนไก่ ( HPV )

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อไวรัส HPV ส่วนมากมักจะไม่แสดงอาการของโรค แต่จะมีความผิดปรกติที่ผิวหนัง คือ เกิดหูดขึ้นโดยเฉพาะบริเวณอวัยวะเพศ ผู้ป่วยหูดหงอนไก่ มี 4 ลักษณะ คือ หูดทั่วไป หูดแบบแบนราบ หูดฝ่าเท้า และ หูดอวัยวะเพศ ลักษณะของหูดจะแตกต่างกัน รายละเอียด ดังนี้

  • หูดทั่วไป ลักษณะของหูด เป็นตุ่มเล็ก ๆ ผิวขรุขระ สีเนื้อออกชมพู มักขึ้นตามมือ นิ้วมือ หรือ ข้อศอก ส่วนมากหูดลักษณะนี้ไม่อันตราย แต่อาจมีอาการเจ็บปวดบางครั้ง
  • หูดชนิดแบนราบ ลักษณะของหูด ขนาดเล็ก นูน ผิวเรียบ สีหูดจะเข้มกว่าสีผิว สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของร่างกาย ผู้หญิงมักเกิดบริเวณขา ผู้ชายมักพบบริเวณเครา
  • หูดฝ่าเท้า ลักษณะของหูด เป็นตุ่มแข็ง ผิวสัมผัสหยาบ มักขึ้นบริเวณส้นเท้า หูดจะทำให้รู้สึกเจ็บในระหว่างการยืนหรือเดิน
  • หูดอวัยวะเพศ เรียกว่า หูดหงอนไก่ ลักษณะเป็นติ่งเนื้อคล้ายดอกกะหล่ำที่อวัยวะเพศ หรือ ทวารหนัก มักเกิดอาการคันแต่ไม่มีอาการเจ็บ หูดที่อวัยวะเพศสามารถเป็นปัจจัยทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้

การรักษาโรคหูดหงอนไก่ ( HPV )

ปัจจุบันไม่มียารักษาอาการติดเชื้อไวรัส HPV  ซึ่งการรักษาโรคร่างกาคจะค่อยๆสร้างภูมิคุ้มกันโรคและกำจัดเชื้อโรคเอง แต่เป็นหูดที่มีความผิดปรกติ ลักษณะเสี่ยงว่าเป็นหูดมะเร็ง เช่น มะเร็งหรือหูด วิธีรักษาจะแตกต่างกันไปตามอาการของโรคที่พบ ซึ่งผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดหรือฉายรังสี เพื่อไม่ให้มะเร็งลุกลาม

การป้องกันโรคหูดหงอนไก่ ( HPV )

โรคหูดหงอนไก่สามารถป้องกันได้โดยการรับการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ Human papillomaviruses ( HPVs ) และ การป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อจากปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดโรค สามารถสรุปแนวทางการป้องกันโรค ได้ดังนี้

  1. ดูแลร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยให้รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่
  3. พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  4. หากมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่ใช้คู่นอนให้ป้องกันขณะมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง
  5. เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV เพื่อลดโอกาสการเกิดมะเร็งปากมดลูก

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove