โรคโบทูลิซึม ( Botulism ) ภาวะการติดเชื้อโบทูลินัมท็อกซิน ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง หนังตาตก ภาวะการหายใจล้มเหลว แนวทางการรักษาและป้องกันโรคทำอย่างไร
โรคโบทูลิซึ่ม ( Botulism ) ภาวะการติดเชื้อโรคที่เป็นโรคร้ายแรงที่มีอัตราการเสียชีวิตสูง ในช่วง พ.ศ. 2493-2502 ( ค.ศ. 1950-1959 ) ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการภาวะการหายใจล้มเหลวภายในเวลา 60 วัน ซึ่งในระหว่างการติดเชื้อผู้ป่ยจะเกิดภาวะแทรกซ้อนง่าย สำหรับประเทศไทยมีการพบการอุบัติของโรคโบทูลิซึมใน ปีพ.ศ. 2549 ซึ่งมีผู้ป่วยมากถึง 190 คนในคราวเดียว
โรคโบทูลิซึม ( Botulism ) เกิดจากร่างกายติดเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ แบคทีเรียคลอสตริเดียมโบทูลินัม ( Clostridium botulinum ) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่พบอยู่ได้ทั่วไป ตามพื้นดิน ในน้ำจืด และในน้ำทะเล เมื่อมีสภาวะที่เหมาะสม คือ ในสภาพอากาศที่ไม่มีออกซิเจน แบคทีเรียจะแบ่งตัวสร้างสปอร์ ( Spore ) และปล่อยพิษออกมา เรียกว่า Botulinum toxin
โบทูลินัมท็อกซิน ( Botulinum toxin ) มี 7 ชนิด คือ ชนิด A B C D E F และ G ซึ่งแต่ละชนิดจะแตกต่างกันตามกลไกในการสลายโปรตีน โบทูลินัมท็อกซินจะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทกล้ามเนื้อทำให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อ แต่ในการกลับกับสามารถระงับอาการเจ็บปวด และ ช่วยลดการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติได้ โบทูลินัมท็อกซิน ( Botulinum toxin ) จึงถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคต่างๆได้เช่นกัน
ประวัติของโบทูลินัมท็อกซิน ( Botulinum toxin )
โบทูลินัมท็อกซิน ( Botulinum toxin ) พบครั้งแรกในยุคสงครามนโปเลียน ตั้งแต่ พ.ศ. 2338-2356 มีการค้นพบคนที่มีอาการป่วยเป็นอัมพาต พบว่ามีการเชื่อมโยงกับไส้กรอก ซึ่ง ภาษาละติน เรียก botulus ใน พ.ศ. 2365 มีการตีพิมพ์งานวิจัย พบว่าพิษที่สกัดออกมาจากไส้กรอก ส่งผลให้เกิดอาการอ่อนแรง และเหงื่อไม่ออก สารพิษตัวนี้ใช้รักษาความผิดปกติต่างๆของระบบประสาทได้
จากนั้น 75 ปีต่อมา Emile-Pierre van Ermengen ค้นพบว่าสาเหตุของอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง และเหงื่อไม่ออก เกิดจากสารพิษที่ถูกผลิตขึ้นจากแบคทีเรียคลอสตริเดียมโบทูลินัม ( Clostridium botulinum ) เรียกว่า โบทูลินัมท็อกซิน ( Botulinum toxin )
ชนิดของโรคโรคโบทูลิซึ่ม ( Botulism )
โรคที่เกิดจากโบทูลินั่มท็อกซิน ( botulinum toxin ) สามารถแบ่งได้ 5 ชนิด โดยแยกจากสาเหตุของการติดเชื้อ ประกอบด้วย
- Foodborne botulism คือ โรคโบทูลิซึ่มที่เกิดจากการกิน ซึ่งอาหารมีการปนเปื้อนสารโบทูลินั่มท็อกซิน พบบ่อยในอาหารกระป๋อง สำหรับประเทศไทยผู้ป่วยโบทูลิซึ่มส่วนใหญ่พบว่ามาจากการกินหน่อไม้บรรจุปี๊บ
- Intestinal botulism คือ โรคโบทูลิซึ่มที่เกิดจากการกินสปอร์ของแบคทีเรียคลอสตริเดียมโบทูลินัม ( Clostridium botulinum )
- Wound botulism คือ โรคโบทูลิซึ่มที่เกิดจากบาดแผลเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียคลอสตริเดียมโบทูลินัม ( Clostridium botulinum ) มักพบได้ในกลุ่มผู้ที่ใช้สารเสพติดโดยการฉีดยา
- Biological weapon คือ การรับเชื้อที่เกิดจากการสร้างเชื้อแบคทีเรียคลอสตริเดียมโบทูลินัม ( Clostridium botulinum ) ซึ่งพบมีการผลิตโบทูลินั่มท็อกซินเพื่อเป็นอาวุธสงครามชีวภาพในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
- Iatrogenic botulism คือ การใช้โบทูลินั่มท็อกซิน ( botulinum toxin ) ชนิด A เพื่อรักษาโรคบางชนิด
สาเหตุของโรคโบทูลิซึม ( Botulism )
โรคโบทูลิซึม ( Botulism ) เกิดจากร่างกายติดเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ แบคทีเรียคลอสตริเดียมโบทูลินัม ( Clostridium botulinum ) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่พบอยู่ได้ทั่วไป ตามพื้นดิน ในน้ำจืด และในน้ำทะเล เมื่อมีสภาวะที่เหมาะสม คือ ในสภาพอากาศที่ไม่มีออกซิเจน แบคทีเรียจะแบ่งตัวสร้างสปอร์ ( Spore ) และปล่อยพิษออกมา เรียกว่า Botulinum toxin
อาการโรคโบทูลินั่ม
สำหรับอาการของโรคเมื่อเกิดการรับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยจะไม่มีไข้แต่จะมีอาการหัวใจจะเต้นช้า ความดันเลือดปรกติ ต่อมาผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการอ่อนแรง โดยเริ่มจากใบหน้า ภาวะการกลืนอาหาร ภาวะการหายใจ จากนั้นจะเกิดอาการกับกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เช่น คอ แขน และขา ผู้ป่วยจะมีอาการพูดไม่ชัด ปากแห้ง หนังตาตก หากเกิดภาวะรุนแรงจะทำให้เกิดภาวะการหายใจล้มเหลวเสียชีวิตได้
การรักษาโรคโบทูลิซึม ( Botulism )
แนวทางการรักษาโรคโบทูลิซึม ( Botulism ) แพทยืจะใช้การรักษาด้วยการให้ยาต้านพิษ และ ประคับประครองอาการต่างๆของโรค ซึ่งต้องเฝ้าระวังระบบประสาทการหายใจล้มเหลว ด้วยการให้เครื่องช่วยหายใจ แนวทางการรักษาโรคโบทูลิซึม ( Botulism ) มีดังนี้
- การให้ยาต้านพิษ ในผู้ป่วยที่ไม่ใช่เด็กทารก จะให้สารต้านพิษ Botulinum toxin ซึ่งผลิตจากเซรุ่มที่ได้จากม้า (Equine antitoxin) แต่สำหรับเด็กทารก แพทย์จะให้ยาสารภูมิต้านทาน (แอนติบอดี/Antibody) ซึ่งผลิตจากเซรุ่มของคน (Human botulism immune globulin) เนื่องจากการให้ Equine antitoxin พบว่าไม่สามารถรักษาได้ นอกจากนั้น การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Clostridium botulinum ก็พบ ว่า ไม่มีประโยชน์เช่นกัน
- การรักษาแผล โดยจะรักษาในผู้ป่วยที่มีบาดแผล ปากของบาดแผลที่แคบจะต้องถูกเปิดให้กว้างขึ้น เพื่อให้ออกซิเจนเข้าไปสัมผัสกับบาดแผลให้ทั่วถึง ซึ่งจะทำให้เชื้อนี้ไม่ผลิตพิษขึ้นมาอีก และให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรียนี้ในผู้ป่วยที่มีบาดแผลด้วย แม้ว่าประ โยชน์ที่ได้รับยังไม่ชัดเจนก็ตาม
- การรักษาประคับประคองตามอาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องเฝ้าติดตามระ บบการหายใจ โดยหากกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจอ่อนแรง จนเกิดภาวะการหายใจล้มเหลว ก็ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูก ก็ต้องใช้ยาระบาย/ยาแก้ท้องผูก หรือการสวนทวารช่วย หรือหากมีอาการ ท้องอืด แน่นท้อง ก็ต้องใช้ยาลดอาการ หรือใส่สายให้อา หารและดูดเอาอากาศและน้ำย่อยออกมา หรือผู้ป่วยที่ปัสสาวะไม่ออก ก็ต้องใส่สายสวนปัสสาวะ เป็นต้น
การป้องกันโรคโบทูลิซึม ( Botulism )
สำหรับแนวทางการป้องกันโรคนี้ คือ การลดภาวะเสี่ยงต่างๆในการติดเชื้อโรคและการทำร่างกายให้แข็งแรง เพื่อสามารถต้านเชื้อโรคได้ ซึ่งแนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้
- ไม่แนะนำให้เด็กทารกที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี บริโภคน้ำผึ้ง ยกเว้นจะนำไปปรุงเป็นอาหารที่ผ่านความร้อนที่อุณหภูมิมากกว่า 116 องศาเซลเซียส ร่วมกับการเพิ่มความกดอากาศขณะปรุง เช่น การตุ๋น หรือการอบ เพื่อทำลายสปอร์ของเชื้อโรคโบทูลิซึมที่อาจปนเปื้อน
- หลีกเลี่ยงการอาหารหมักดอง
- การรับประทานอาหารกระป๋องรวมถึงนมผง ต้องรับประทานจากผู้ผลิตที่เชื้อถือเรื่องความสะอาดได้ ดูฉลาก อย. บริโภคก่อนวันหมดอายุ และไม่เลือกบรรจุภัณฑ์ที่มีรอยบุบ รอยแตก รอยรั่ว บวม โป่ง เป็นสนิม
- เข้ารับการฉีดวัคซีนสำหรับฉีดป้องกันพิษ Botulinum toxin
- รับประทานอาหารที่สะอาดถูกสุขอนามัย
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย