กาฬโรค ติดเชื้อแบคทีเรียจากการโดนหมัดหนูกัด ทำให้ต่อมน้ำเหลืองบวม อาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย เลือดออกตามปากจมูก ผู้ป่วยอาจนิ้วเน่าได้

กาฬโรค โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

กาฬโรค หรือ มรณะดำ เป็นโรคติดต่อที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงมากในช่วงเวลาหนึ่ง มีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเยอร์ซิเนีย เปสติส ( Yersinia pestis ) โดยมีหนูและหมัดหนูเป็นพาหะนำโรค ซึ่งสามารถแพร่เชื้อโรคโดยทางอากาศ การสัมผัสเชื้อโรคโดยตรง หรือ อาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรค

กาฬโรคในประเทศไทย

มีข้อมูลจากพงศาวดารอยุธยา ฉบับวันวลิต พ.ศ. 2182 กล่าวว่า กรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ.1893 ซึ่งตรงกับ ค.ศ.1350 มีการระบาดใหญ่ของ Black Death ในยุโรป และจากข้อมูลพบว่ามีการระบาดของกาฬโรคในจีน ระยะเวลาต่อมา พบว่า กาฬโรคจากเมืองจีนยังได้มีการแพร่กระจายเข้ามาในไทยอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

สำหรับรายงานการระบาดของกาฬโรคอย่างเป็นทางการครั้งแรกในประเทศไทย มีรายงานเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2447 ว่า พบการระบาดเกิดขึ้นที่บริเวณตึกแดงและตึกขาว ซึ่งเป็นโกดังเก็บสินค้าที่จังหวัดธนบุรี สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากหนูที่มีเชื้อกาฬโรคที่ติดมาจากเรือสินค้าจากเมืองบอมเบย์ ประเทศอินเดีย จากนั้นมีการระบาดจากธนบุรีเข้ามาฝั่งพระนคร แต่ไม่มีสถิติจำนวนผู้ป่วยตายที่แน่นอน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2456 มีรายงานว่าเกิดกาฬโรคระบาดที่จังหวัดนครปฐม มีคนตาย 300 คน และครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2495 มีรายงานผู้ป่วย 2 รายตาย 1 ราย ที่ตลาดตาคลี นครสวรรค์ ซึ่งถือเป็นรายงานการระบาดของกาฬโรคครั้งสุดท้ายในประเทศไทย จากนั้นไม่มีรายงานกาฬโรคเกิดขึ้นในประเทศไทยจนปัจจุบันนี้

การติดเชื้อกาฬโรค

สำหรับการติดเชื้อกาฬโรค นั้นมีหลายสาเหตุ ซึ่งเกิดจากปัจจัย 4 ปัจจัย มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • ถูกหมัดที่มีเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้กัด ดังนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงคือคนที่อยู่ใกล้ชิดสัตว์ที่มีหมัด เช่น ในเขตชนบท หรือในเขตที่มีหนูมาก การออกค่ายอยู่ป่า การไปปิกนิกตามทุ่งหญ้า ป่าเขา หรือเป็นสัตวแพทย์ เป็นต้น
  • การสัมผัสเนื้อเยื่อหรือสิ่งคัดหลั่งต่างๆ จากสัตว์ที่ป่วยเป็นกาฬโรค เช่น การแล่เนื้อหรือลอกหนังสัตว์
  • การหายใจเอาละอองเสมหะ น้ำลายของสัตว์ที่ป่วยเป็นกาฬโรคปอดเข้าไป โดยเฉพาะจากแมว
  • ติดต่อระหว่างคนสู่คน ซึ่งเกิดจากการหายใจเอาเชื้อแบคทีเรียที่กระจายอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยที่เป็นกาฬโรคปอดเข้าไป ทั้งนี้ ในทางกลับกันสัตว์ก็สามารถติดกาฬโรคจากคนได้ด้วยวิธีการเดียวกัน

อาการของกาฬโรค

สำหรับการแสดงอาการของโรค หลังจากการถูกหมัดหนูกัดแล้ว ประมาณ 1 สัปดาห์ เชื้อโรคจะเจริญเติบโตยังต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้ที่สุด โดยจะเริ่มแสดงอาการคล้ายกับโรคไข้หวัดใหญ่ คือ ไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน  ซึ่งอาการของโรคสามารถแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ อาการจากต่อมน้ำเหลืองอักเสย อาการจากติดเชื้อในกระแสเลือด และ อาการจากปอดอักเสบ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • อาการกาฬโรคชนิดต่อมน้ำเหลืองอักเสบ จะมีอาการต่อมน้ำเหลืองบวม แดง กดเจ็บ ซึ่งอาจปวดมากจนขยับแขนหรือขาไม่ได้ ตำแหน่งที่มักพบจะเป็นบริเวณขาหนีบ หรือ รักแร้
  • อาการกาฬโรคชนิดติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นลักษณะอาการที่ลุกลามจากต่อมน้ำเหลืองอักเสบ โดยแสดงอาการไข้สูง ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็ว เลือดออกในอวัยวะต่างๆ สามารถเสียชีวิตได้ภายใน 1 สัปดาห์
  • อาการกาฬโรคปอดบวม เป็นอาการที่จะเกิดหลังจากมีอาการต่อมน้ำเหลืองอักเสบและติดเชื้อในกระแสเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการปอดบวม ไอเป็นน้ำ เสมหะไม่เหนียว ต่อมาจะมีเลือดปน อ่อนเพลีย มีไข้ หากไม่ได้รับการรักษา อาจเสียชีวิตภายใน 3 วัน

การรักษากาฬโรค

สำหรับแนวทางการรักษาโรคกาฬโรคในปัจจุบัน สามารถใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาโรค ด้วยการให้ยาปฏิชีวนะอย่างแรงประมาณ 7 – 10 วัน แต่แนวทางการรักษาต้องป้องกันการแพร่เชื้อโรคอย่างเคร่งครัด บุคลากรที่ทำการรักษาต้องมีความระมัดระวังอย่างเคร่งครัด ด้านการป้องกันการติดเชื้อโดยสวมถุงมือ ปิดปากและจมูก ควรทำลายเชื้อจากเลือด น้ำเหลือง และหนองของผู้ป่วย เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการแพร่กระจายของเชื้อโรค

ภาวะโรคแทรกซ้อนจากกาฬโรค

สำหรับโรคแทรกซ้อนของกาฬโรค มีอาการต่างๆที่ต้องระวัง เช่น นิ้วมือ นิ้วเท้าเน่าจากการขาดเลือด เกิดอาการช็อกอย่างรุนแรง อาการปอดบวม อาการหายใจล้มเหลว อาโลหิตเป็นพิษ และ อาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

การป้องกันกาฬโรค

แนวทางการป้องกันกาฬโรค ที่สำคัญคือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆที่สามารถทำให้ติดเชื้อโรค รวมถึงการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ ดูแลสุขอนามัยให้สะอาด กำจัดแหล่งอาหารของหนู โดยสรุปแล้วแนวทางการป้องกันกาฬโรค มีดังนี้

  • หลักการป้องกันการติดเชื้อและการแพร่ระบาดของกาฬโรคที่สำคัญคือ การควบคุมดูแลสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขอนามัย รวมทั้งให้ความรู้ด้านสุขศึกษากับประชาชน และการเฝ้าระวังการเกิดขึ้นของโรค
  • การควบคุมด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การกำจัดขยะมูลฝอยที่ถูกต้อง ไม่ให้มีกองขยะที่จะเป็นแหล่งเพาะขยายพันธุ์หนูได้ อาคารต่างๆต้องมีระบบป้องกันการเข้าถึงของหนูและการกำจัดหนูที่ถูกวิธี ตามบ้านเรือนก็ควรเก็บอาหารให้มิดชิด ไม่ให้หนูเข้าถึง รอบๆบ้านไม่ควรมีกองขยะ กองไม้ และควรเก็บอาหารของสัตว์เลี้ยงและกองฟืนให้มิดชิด
  • หากพบซากหนู หรือสัตว์อื่นๆตาย ควรกำจัดให้ถูกวิธี โดยการสวมถุงมือยาง สวมหน้ากากปิดปากปิดจมูกก่อนการสัมผัสซากสัตว์นั้นๆ และอาจใช้วิธีฝังกลบซึ่งต้องลึกพอ ห้ามทิ้งลงถังขยะธรรมดาทั่วไป ท่อระบายน้ำ หรือคูคลองต่างๆ สำหรับผู้ที่ต้องทำงานเกี่ยว กับสัตว์ต่างๆก็ต้องใส่เสื้อผ้าให้มิดชิดป้องกันการถูกหมัดกัด สวมถุงมือและหน้ากากอนามัยเสมอ
  • สัตว์ที่เลี้ยงไว้ ได้แก่ หมา แมว กระต่าย หนูพันธุ์ต่างๆ กระรอก กระแต เป็นต้น ควรกำจัดหมัดให้อย่างสม่ำเสมอ
  • ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่าชนิดต่างๆ หากไปเที่ยวป่า เที่ยวเขา ควรป้องกันตัวเองจากการถูกหมัดกัด เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าแขน/ขายาว
  • หากคนหรือสัตว์เลี้ยงในบ้านไปสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นกาฬโรคจะต้อง กินยาปฏิชีวนะป้องกัน (โดยการปรึกษาแพทย์)
  • ในอดีตมีวัคซีนสำหรับป้องกันกาฬโรค แต่ป้องกันได้เฉพาะการเกิดกาฬโรคของต่อมน้ำเหลือง และปัจจุบันได้หยุดการผลิตไปแล้ว ขณะนี้กำลังมีการพัฒนาวัคซีนตัวใหม่ที่ป้องกันโรคได้ดีขึ้น แต่วัตถุประสงค์ไม่ได้เพื่อให้ใช้ในประชากรทั่วๆไป โดยจำกัดการใช้เฉพาะผู้ที่ต้องทำงานในห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับเชื้อกาฬโรคเท่านั้น รวมถึงในกรณีที่เกิดสงครามที่มีการใช้อาวุธเชื้อโรคจากเชื้อกาฬโรค

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

ซิฟิลิส ( Syphilis ) ติดเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมาพัลลิดุม ( Treponema pallidum ) ติดต่อจากการร่วมรัก ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดข้อ ผื่นแดง มีแผลที่อวัยวะสงวนโรคซิฟิลิส โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคซิฟิลิส ( Syphilis ) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมาพัลลิดุม ( Treponema pallidum ) เป็นลักษณะของโรคเรื้อรัง และ สามารถติดต่อกันได้ง่ายเนื่องจากผู้ป่วยโรคซิฟิลิสในระยะแรกที่สามารถแพร่เชื้อโรคได้มักไม่แสดงอาการของโรค การสัมผัสเชื้อโรคจากผู้มีเชื้อโรค สามารถติดต่อได้ทางการสัมผัสร่างกาย ผิวหนังมี่มีแผล รวมถึงการรับเชื้อของลูกจากแม่

สาเหตุของโรคซิฟิลิส

โรคซิฟิลิส เกิดจากเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมาพัลลิดุม ( Treponema pallidum ) เป็นเชื้อแบคทีเรียที่รูปลักษณ์คล้ายเกลียวสว่าน ( Spirochete bacteria ) ชอบอยู่ในที่ที่มีความชื้น ตายง่ายหากอยู่ในที่ทีมีความแห้ง และ ถูกสบู่หรือยาฆ่าเชื้อ โดยการติดต่อของเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมาพัลลิดุม ( Treponema pallidum ) สามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคซิฟิลิสในระยะที่ 1 รวมถึงการสัมผัสน้ำเหลืองที่ผิวหนังของผู้ที่เป็นโรคซิฟิลิสในระยะที่ 2 นอกจากนี้เชื้อยังสามารถติดจากแม่ไปสู่ลูกในขณะตั้งครรภ์ได้ แต่เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมาพัลลิดุม ( Treponema pallidum ) อ่อนแอและตายได้ง่าย ดังนั้น เชื้อจึงไม่สามารถติดต่อกันได้ผ่านการสัมผัสมือหรือเสื้อผ้า การนั่งโถส้วม การจับลูกบิดประตู การใช้ช้อนส้อม การเล่นในอ่างอาบน้ำหรือสระว่ายน้ำร่วมกัน

หากกล่าวโดยสรุปแล้วแบคทีเรียทรีโพนีมาพัลลิดุม ( Treponema pallidum ) เป็นเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของโรคซิฟิลิส ซึ่งสามารถถ่ายทอดสู่คนและแพร่เชื้อจากการสัมผัสเชื้อโรค ซึ่งการติดต่อสามารถรับเชื้อผ่าน 3 ช่องทาง คือ เพศสัมพันธ์ การสัมผัสน้ำเหลืองจากแผล และ การติดต่อจากแม่สู่ลูก

อาการของโรคซิฟิลิส

สำหรับการแสดงอาการของโรคซิฟิลิส ในระยะแรกผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการ แต่จะมีอาการผื่นขึ้น ตุ่มน้ำใสขึ้น บริเวรที่ลับ ริมฝีปาก ปวดตามข้อกระดูก และ มีแผลขึ้นตามตัว หากไม่รักษาจนเชื้อโรคเจ้าสู่กระแสเลือดจะส่งผลต่ออวัยวะร่างกายต่างๆ ทั้งสมอง หัวใจ ระบบประสาท ซึงการแบ่งระยะของอาการโรคซิฟิริส สามารถแบ่งได้ 4 ระยะ ประกอบด้วย คือ ระยะแรก ( Primary Syphilis ) ระยะที่สอง (Secondary Syphilis) ระยะแฝง  ( Latent Stage ) และระยะที่สาม  ( Tertiary stage ) โดยรายละอียดของระยะของอาการ มีดังนี้

  • โรคซิฟิลิสระยะแรก ( Primary Syphilis ) ผู้ป่วยมีแผล ลักษณะริมแผลแข็ง หลังจากนั้นไม่เกิน 90 วัน จะมืตุ่มแดงๆที่อวัยวะเพศ ไม่แสดงอาการเจ็บแต่ขอบแผลจะนูน ตำแหน่งที่พบแผลบ่อย คือ อวัยวะเพศชาย อัณฑะ ทวารหนัก ช่องคลอด และ ริมฝีปาก รวมถึงมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต ซึ่งกดแล้วไม่เจ็บ
  • โรคซิฟิลิสระยะที่ 2 ( Secondary Syphilis ) จะแสดงอาการภายใน 180 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต ปวดตามข้อ มีผื่นสีแดงน้ำตาลขึ้นตามมือ เท้า แต่ไม่แสดงอาการคัน เกิดหูดในบริเวณที่อับชื้นของร่างกาย มีผื่นสีเทาจะขึ้นบริเวณปาก คอ และปากมดลูก ผมร่วง มีไข้ ซึ่งอาการเหล่านี้จะเป็นๆหายๆ
  • โรคซิฟิลิสระยะแฝง ( Latent Stage ) ระยะนี้ผู้ป่วยจะไม่มีอาการของโรคให้เห็น ระยะนี้ผู้ป่วยจะทราบว่าเป็นโรคด้วยการตรวจเลือดเท่านั้น
  • โรคซิฟิลิสระยะที่สาม ( Tertiary stage ) ระยะนี้เชื้อโรคจะเข้าสู่กระแสเลือดและไปทำลายอวัยวะต่างๆของร่างกาย เช่น หัวใจ หลอดเลือด สมอง ระบบประสาทต่างๆ อาจทำให้ตาบอด หรือกระดูกหักง่าย ซึ่งระยะนี้เป็นระยะที่ไม่มีทางรักษาแล้ว

ภาวะแทรกซ้อนของโรคซิฟิลิส

หากเข้ารับการรักษาโรคซิฟิลิสอย่างทันท่วงที จะทำให้เกิดภาวะการเกิดดรคต่างๆต่อหัวใจและสมอง และสามารถทำให้เสียชีวิตในที่สุด โรคซิฟิลิสเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางระบบประสาทและระบบไหลเวียนโลหิตด้วย ซึ่งโรคที่มีสาเหตุจากการเกิดโรคซิฟิลิส มีดังนี้

  • โรคหลอดเลือดสมองแตก ตีบ ตัน หรือ ฉีกขาด ( Stroke )
  • โรคเยื่อหุ้มไขสันหลังอักเสบ ( Meningitis )
  • ความผิดปรกติการได้ยินเสียง
  • ความผิดปรกติการมองเห็น
  • ความจำเสื่อม
  • ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ( HIV ) คนที่ติดเชื้อซิฟิลิสทางการมีเพศสัมพันธ์ มีโอกาสที่จะติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ได้มากถึง 2 – 5 เท่าของคนทั่วไป

การรักษาโรคซิฟิลิส

สำหรับแนวทางการรักษาโรคซิฟิลิส สามารถรักษาได้โดยการให้ยาเพนิซิลลิน (Penicillin) ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่งที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมา แพลลิดัม ( Treponema pallidum ) และ ระหว่างการรักษาห้ามมีเพศสัมพันธ์ และต้องเข้ารับการตรวจเลือดตามระยะที่หมอกำหนดจนกว่าผลตรวจเลือดได้รับการยืนยันว่าหายขาดแน่นอนแล้ว

  • สำหรับผู้ป่วยซิฟิลิสในระยะที่ 1 และ 2 รักษาด้วยการฉีดเบนซาทีนเพนิซิลลิน ( Benzathine penicillin ) ให้ในขนาด 2.4 ล้านยูนิตเข้ากล้ามเนื้อเพียงครั้งเดียว (สำหรับระยะที่ 2 อาจฉีดซ้ำอีกครั้งในอีก 1 สัปดาห์ต่อมา) แต่ถ้าผู้ป่วยแพ้ยานี้ แพทย์อาจให้รับประทานยาเตตราไซคลีน (Tetracycline) ครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง หรือดอกซีไซคลีน (Doxycycline) ครั้งละ 100 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง นาน 15 วัน แต่ถ้ารับประทานยาเตตราไซคลีนไม่ได้ แพทย์จะให้รับประทานยาอิริโทรมัยซิน (Erythromycin) ในขนาดเดียวกันแทน นาน 15 วัน
  • สำหรับซิฟิลิสในระยะแฝง (เป็นมานานมากกว่า 2 ปี ตั้งแต่เริ่มเป็นแผลริมแข็ง) หรือแผลซิฟิลิสเรื้อรัง หรือซิฟิลิสเข้าระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular syphilis) แพทย์จะฉีดเบนซาทีนเพนิซิลลิน (Benzathine penicillin) ให้ครั้งละ 2.4 ล้านยูนิตเข้ากล้ามเนื้อ เป็นจำนวน 3 ครั้ง โดยฉีดห่างกันทุก 1 สัปดาห์ แต่ถ้าผู้ป่วยแพ้ยานี้ แพทย์จะให้รับประทานยาเตตราไซคลีน (Tetracycline), ดอกซีไซคลีน (Doxycycline) หรืออิริโทรมัยซิน (Erythromycin) ในขนาดดังกล่าวข้างต้นแทน นาน 30 วัน
  • ในรายที่เป็นซิฟิลิสเข้าระบบประสาท (Neurosyphilis) แพทย์จะให้การรักษาโดยการฉีดเพนิซิลลินจี (Penicillin G) ให้ในขนาด 2-4 ล้านยูนิต เข้าหลอดเลือดดำ ทุก 4 ชั่วโมง นาน 14 วัน แต่ถ้าผู้ป่วยแพ้ยานี้ แพทย์จะให้รับประทานยาดอกซีไซคลีน (Doxycycline) แทน โดยให้รับประทานครั้งละ 300 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง นาน 30 วัน
  • สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคซิฟิลิส แพทย์จะให้การรักษาตามระยะของโรคเหมือนผู้ป่วยทั่วไป ถ้าผู้ป่วยแพ้ยาเพนิซิลลิน แพทย์จะให้รับประทานยาอิริโทรมัยซิน (Erythromycin) แทน โดยให้รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง นาน 30 วัน
  • สำหรับซิฟิลิสแต่กำเนิด แพทย์จะให้การรักษาโดยการฉีดเพนิซิลลินจี (Penicillin G) ให้ในขนาดวันละ 50,000 ยูนิต/กิโลกรัม โดยแบ่งให้วันละ 2 ครั้ง นาน 10 วัน

การป้องกันโรคซิฟิลิส

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคซิฟิลิส สามารถทำได้โดยการรักษาสุขอนามัยและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่มีโอกาสในการรับเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมา แพลลิดัม ( Treponema pallidum ) ซึ่งแนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • คู่นอนควรจะต้องแจ้งถึงสถานะการติดเชื้อเอชไอวีหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ รวมทั้งซิฟิลิส เพื่อจะได้ป้องกันการติดเชื้อ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และใช้สารเสพติด เพราะจะทำให้ขาดสติและเพิ่มการมีเพศสัมพันธ์แบบเสี่ยงได้
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคซิฟิลิส
  • หลีกเลี่ยงการเที่ยวหรือการสำส่อนทางเพศ และถ้าจะหลับนอนกับคนที่สงสัยว่าเป็นโรค ควรป้องกันการติดเชื้อโดยสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ซึ่งจะช่วยป้องกันได้เกือบ 100%
  • แผลของอวัยวะเพศ เช่น ซิฟิลิส เกิดได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ทั้งที่ถุงยางครอบถึงหรือไม่ถึงได้ การใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซิฟิสได้
  • การใช้ถุงยางอนามัยที่มีสารฆ่าเชื้ออสุจิ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Nonoxynol-9 นั้นไม่ได้ผลดีไปกว่าถุงยางที่ไม่มีสารชนิดนี้ในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จึงไม่แนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัยที่มีสารชนิดนี้เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมทั้งซิฟิลิสไม่สามารถป้องกันได้ด้วยการล้างอวัยวะเพศ การปัสสาวะ หรือสวนล้างช่องคลอดทันทีหลังการมีเพศสัมพันธ์
  • ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศและร่างกายอยู่เสมอ รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้ดีโดยการปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและช่วยลดโอกาสการติดเชื้อต่าง ๆ
  • ไปพบแพทย์เสมอเมื่อมีอาการดังกล่าว อย่ารักษาด้วยตัวเอง หรือไปพบแพทย์เมื่อมีความกังวลในอาการหรือสงสัยว่าตนเองอาจติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งรวมถึงซิฟิลิส

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbs, diseases, mothers and children, healthy food, yoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove