ต้นกระเจียว พืชตระกูลขิงกากใยอาหารสูง ต้นกระเจียวเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณแก้ท้องผูก ลดคอเลสเตอรัล ลดกรดในกระเพาะอาหาร โทษของกระเจียวมีอะไรบ้างต้นกระเจีียว ดอกกระเจียว สรรพคุณของกระเจียว ประโยชน์ของกระเจียว

ต้นกระเจียวในประเทษไทย

ในประเทศไทยพบว่ามีการปลูกต้นกระเจียว มากภาคเหนือ และ ภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัดชัยภูมิ พบตามทุ่งหญ้าตามป่า ฤดูกาลที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต คือ ฤดูฝน ที่จังหวัดชัยภูมิมีเทศกาลทุ่งดอกกระเจียวบาน เป็นเอกลักษณ์ของสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดชัยภูมิ

ต้นกระเจียว มี 2 ชนิด คือ ต้นกระเจียวแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Curcuma sessilis Gage. และ ต้นกระเจียวขาว มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Curcuma parviflora Wall ชื่อเรียกอื่นๆของกระเจียว เช่น ว่านมหาเมฆ อาวแดง กาเตียว กระเจียว จวด กระเจียวสี กระเจียวป่า เป็นต้น

ลักษณะของต้นกระเจียว

ต้นกระเจียว เป็นไม้ดอกพื้นบ้าน พืชล้มลุก ขยายพันธุ์โดยการแตกกอ เหง้า กระจายพันธุ์มากในประเทศพม่า และ ประเทศไทย มักขึ้นตามป่าดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และที่โล่งๆทั่วไป ต้นกระเจียวแดง มีลำต้นอยู่ใต้ดิน  มีเหง้าอยู่ใต้ดิน อายุยาว ลักษณะของต้นกระเจียว ลำต้นกระเจียว ใบกระเจีว ดอกกระเจียว และ ผลกระเจียว มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นกระเจียว สูงได้ประมาณ 60 เซนติเมตร ลำต้นเป็นกออยู่รวมกันมากๆ ลำต้นออำมาจากหัว ซึ่งกระเจียวมีหัวอยู่ใต้ดิน เรียก เหง้า มีขนาดใหญ่ ทรงรี สีน้ำตาล ภายในเหง้าเป็นสีขาว
  • ใบกระเจียว ลักษะของใบออกเป็นกาบ รวมตัวกันแน่น ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง
  • ดอกกระเจียว ต้นกระเจียวออกดอกเป็นช่อ รูปทรงกระบอก ดอกจะชูออกจากปลายลำต้น ดอกเป็นสีเหลือง สีขาว สีชมพู ออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม ของทุกปี
  • ผลกระเจียว ต้นกระเจียวออกผลเป็นรูปไข่ มีขนหนาแน่น เมล็ดรูปทรงคล้ายหยดน้ำ

คุณค่าทางโภชนาการของกระเจียว

สำหรับกระเจียว นิยมนำมารับประทานหน่ออ่อน และ ดอกกระเจียว ทานเป็นผักสด โดยนักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระเจียวขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 35 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัย ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 6 กรัม โปรตีน 1.3 กรัม ฟอสฟอรัส 40 มิลลิกรัม แคลเซียม 45 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2 มิลลิกรัม และ วิตามินต่างๆ คือ วิตามินเอ วิตามินบี1 และ วิตามินบี2

ประโยชน์ของกระเจียว

สำหรับการใช้ประโยชน์ของกระเจียว นั้นนิยมนำมารับประทานเหมือนผักพื้นบ้านทั่วไป โดยรับประทานหน่ออ่อน และ ดอกกระเจียว นำมาลวก กินเป็นผักสด นิยมรับประทานกับน้ำพริก ลาบ ส้มตำ ขนมจีนน้ำยา ซึ่งประโยชน์จากการรับประทานกระเจียวนอกจากจะเป็นอาหารแล้ว มีสรรพคุณในการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคอีกด้วย

สรรพคุณของกระเจียว

ต้นกระเจียว สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ตั้งแต่ เหง้า ดอก หน่ออ่อน และ ดอก โดยรายละเอียดดังนี้

  • ลำต้นกระเจียว มีกากใยอาหารสูง ช่วยกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัวขับถ่ายได้ดี ช่วยป้องกันอาการท้องผูก ลดคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยขับสารพิษตกค้าในร่างกาย หน่ออ่อนใช้เป็นยาสมานแผล
  • ดอกกระเจียว มีรสเผ็ดร้อน มีกลิ่นหอม สรรพคุณช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร แก้อาการท้องอืด รักษาท้องเฟ้อ ลดกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยแก้มดลูกอักเสบสำหรับสตรีหลังคลอด
  • เหง้าของกระเจียว สรรพคุณเป็นยาแก้ปวดเมื่อย

โทษของกระเจียว

สำหรับการกินกระเจียว ไม่นิยมกิน ใบ และ เหง้า ของกระเจียว เนื่องจากมีรสเผ็ดร้อนเหมือนขิง ข่า ตะไคร้ หากกินมากๆ ก็มีความเป็นพิษต่อร่างกาย แต่การกินกระเจียว จะกิน หน่ออ่อน และ ดอกกระเจียว โดยก่อนการกินให้นำไปลวกก่อน

ต้นกระเจียว คือ พืชล้มลุก พืชตระกูลขิง มีกากใยอาหารสูง ลักษณะของต้นกระเจียว เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของกระเจียว เช่น นำมาลวกกินเป็นผักสด แก้ท้องผูก ลดคอเลสเตอรัล ลดกรดในกระเพาะอาหาร โทษของกระเจียว มีอะไรบ้าง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก

ย่านาง ( Bamboo grass ) จ้อยนาง เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว ยาดนาง ใบย่านางมีฤทธิ์เย็น สรรพคุณปรับสมดุลย์ร่างกาย บำรุงร่างกาย ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดความดันย่านาง ใบย่านาง สมุนไพร สรรพคุณใบย่านาง

ต้นย่านาง ( Bamboo grass ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของย่านาง คือ Tiliacora triandra ( Colebr. ) Diels สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของย่านาง เช่น  จ้อยนาง เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว ยาดนาง เป็นต้น ใบย่านาง มีฤทธิ์เย็น เหมาะสำหรับปรับสมดุลร่างกาย สรรพคุณปรับสมดุลย์ร่างกาย บำรุงร่างกาย ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดความดัน

ต้นย่านาง สามารถพบได้ตามแหล่งธรรมชาติทั่วไป ในพื้นที่อากาศชุ่มชื้น ป่าผลัดใบ ป่าดงดิบ และ ป่าโปร่ง ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต้นย่านางสามารถขยายันธ์ได้ง่าย โดยใช้หัวใต้ดิน การปักชำยอด หรือ การเพาะเมล็ด

ลักษณะของต้นย่านาง

ต้นย่านาง เป็นไม้เลื้อย เป็นเถา ซึงลักษณะของต้นย่างนาง มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นของย่านาง เป็นเถาเกี่ยวพันกับไม้อื่น มีลักษณะกลมเล็ก เหนียว มีสีเขียว และ เถาแก่มีสีเขียวเข้ม ผิวค่อนข้างเรียบ
  • รากของย่านาง เป็นมีหัวอยู่ใต้ดิน มีขนาดใหญ่
  • ใบของย่านาง เป็นใบเดี่ยว ออกติดกับลำต้นแบบสลับ ใบเหมือนรูปไข่ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ สีเขียว ใบเป็นมัน
  • ดอกของย่านาง ดอกออกเป็นช่อ ดอกออกตามซอกใบ และ ซอกโคนก้าน ขนาดเล็ก สีเหลือง ออกดอกช่วงเดือนเมษายน
  • ผลของย่านาง มีลักษณะกลมรี เล็ก สีเขียว ผลแก่เป็นสีเหลืองอมแดง มีเมล็ดลักษณะแข็ง รูปเกือกม้า

คุณค่าทางโภชนาการของต้นย่านาง

สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของย่านาง นักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบย่านางขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 95 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 7.9 กรัม แคลเซียม 155 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 7.0 มิลลิกรัม วิตามินเอ 30625 IU วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.36 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.4 มิลลิกรัม วิตามินซี 141 มิลลิกรัม โปรตีน 15.5 เปอร์เซนต์ ฟอสฟอรัส 0.24 เปอร์เซนต์ โพแทสเซียม 1.29 เปอร์เซนต์ แคลเซียม 1.42 เปอร์เซนต์ และ แทนนิน 0.21 เปอร์เซนต์

ประโยชน์ของใบย่านาง

สำหรับประโยชน์ของต้นย่านาง นั้น เป็นพืชที่ให้ออกซิเจน เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีมลพิษสุง หากปลูกต้นย่านางจะช่วยเพิ่มออกซิเจน และ สร้างความร่มเย็นให้กับพื้นที่ได้ดี นอกจากนั้นประโยชน์หลักๆของย่านาง นิยมการนำใบย่านางมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร สำหรับการบริโภค และ นำมาทำน้ำใบย่านาง ใบย่านางช่วยชะลอการเกิดผมหงอก ทำให้ผมดำ จึงมีการสร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น แคปซูลใบย่านาง สบู่ใบย่านาง แชมพูใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพร เป็นต้น เพื่อรักษาอาการผมหงอก ใบย่านางสามารถช่วยต้านพิษกรดยูริกที่มีในหน่อไม้ได้ จึงเห็นใบย่านางมักเป็นส่วนประกอบของอาหารที่มีหน่อไม้ เช่น แกงหน่อไม้ ซุบหน่อไม้ แกงอ่อม แกงเห็ด แกงเลียง เป็นต้น

สรรพคุณของย่านาง

สำหรับการใช้ประโยชน์ของย่านางนั้น สามารถใช้ประโยชน์ได้ ทั้ง ราก และ ใบ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • รากของย่านาง มีรสขม สรรพคุณแก้ไข้ รักษาไข้ทับระดู แก้พิษเมา บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ แก้ปวดท้อง รักษาอีสุกอีใส รักษามาลาเรีย ขับพิษ
  • ใบของยางนาง มีรสขมจืด สรรพคุณแก้ไข้ เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอวัย เพิ่มภูมิต้านทานโรค บำรุงกำลัง ลดความอ้วน ปรับสมดุลย์ร่างกาย ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็ง ช่วยลดความดัน บำรุงหัวใจ บำรุงตับ บำรุงไต ช่วยรักษาอัมพฤกษ์ ช่วยรักษาอาการชักเกร็ง บำรุงผิว แก้เวียนหัว ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ รักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยแก้ปวดตามกล้ามเนื้อ รักษาเหงือกอักเสบ ช่วยให้นอนหลับสบาย ช่วยบำรุงสายตา แก้เสมหะเหนียว รักษาไซนัสอักเสบ ช่วยลดการนอนกรน รักษาโรคหอบหืด รักษาโรคตับอักเสบ รักษาอาการท้องเสีย ช่วยแก้อาการท้องผูก รักษาโรคกระเพาะอาหาร รักษาลำไส้อักเสบ ช่วยรักษาปัสสาวะขัด ช่วยรักษามดลูกโต แก้ปวดมดลูก รักษาโรคต่อมลูกหมากโต รักษาอาการตกขาว ช่วยป้องกันโรคเกาต์ ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย

โทษของย่างนาง

  • น้ำใบย่างนาง มีกลิ่นแรง กินยาก สำหรับคนที่ไม่ชินกับการกินน้ำใบย่างนาง อาจทำให้อาเจียน หรือ เกิดอาการแพ้ได้
  • การดื่มน้ำย่านาง ควรดื่มก่อนกินอาหาร หรือ ดื่มตอนท้องว่าง ควรดื่มในปริมาณที่พอดี ไม่มากเกินไป
  • ผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย ไม่ควรดื่มน้ำใบย่านาง เพราะ สารอาหาร เช่น วิตามินเอ ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม ที่มีใบย่านางจะทำให้เกิดการคั่ง ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานของไต
  • การกินอาหารเสริมที่ได้จากใบย่านาง เช่น แคปซูลใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพรใบย่างนาง อาจมีสารเคมีเจือปน หากขั้นตอนการผลิตไม่ได้มาตราฐาน เพื่อความปลอดภัย ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้จะดีที่สุด

ต้นย่านาง ( Bamboo grass ) ชื่อเรียกอื่นๆ เช่น  จ้อยนาง เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว ยาดนาง เป็นต้น ใบย่านาง มีฤทธิ์เย็น เหมาะสำหรับปรับสมดุลร่างกาย สรรพคุณปรับสมดุลย์ร่างกาย บำรุงร่างกาย ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดความดัน

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของเรา ถุงกระสอบทรัพย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบมีซิบ สำหรับย้ายหอย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน มีสินค้าประกอบด้วย ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove