โหระพา Sweet basil สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหาร ต้นโหระพาเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของโหระพา สรรพคุณขับลม ช่วยเจริญอาหาร ใบโหระพามีกลิ่นหอม โทษของโหระพามีอะไรบ้าง

โหระพา ต้นโหระพา ใบโหระพา สรรพคุณของโหระพา

ต้นโหระพา มีชื่อสามัญว่า Sweet basil ชื่อวิทยาศาสตร์ของโหระพา คือ Ocimum basilicum L. เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับกะเพรา มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียและแอฟริกา มีกลิ่นหอม นิยมนำมาประกอบอาหารและแต่งกลิ่นอาหาร

ลักษณะของต้นโหระพา

ต้นโหระพา พืชล้มลุก ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน ทวีปเอเชียและทวีปอาฟริกา สามารถขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ และ การเพาะเมล็ด ซึ่งรายละเอียดของต้นโพระพา มีรายละเอียด ดังนี้

  • รากและลำต้นของโหระพา รากมีรากแก้วและรากฝอย ลำต้นของโหระพามีความสูงประมาณ 60 เซ็นติเมตร ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม เนื้อไม้อ่อน สีม่วงแดง
  • ใบโหระพา มีใบลักษณะใบเดี่ยว ออกตามข้อกิ่ง ใบรูปไข่ปลายแหลม ผิวใบเรียบ สีเขียวเข้ม
  • ดอกของโหระพา ดอกจะออกเป็นช่อ ออกที่ปลายยอดของต้น ดอกออกเรียงเป็นชั้นๆ ดอกมีสีขาวอมแดงม่วง
  • เมล็ดของโหระพา เป็นเม็ดเล็กสีน้ำตาลเข้ม เมล็ดโหระพามีเมือกหุ้มเมล็ด หากนำมาแช่น้ำจะมีเมือกพองตัวคล้ายเมล็ดแมงลัก

ประโยชน์ของโหระพา

โหระพา คือ ต้นไม้ประเภทพืชล้มลุก ที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว การใช้ประโยชน์ของโหระพา ส่วนใหญ่จะเป็นการนำมารับประทานเป็นอาหาร ซึ่งสรรพคุณของโหระพา มีมากมายช่วยบำรุงร่างกาย รักษาโรคได้ นอกจากนั้นใบโหรพพาสามารถนำมาสักัดเอาน้ำมัน ซึ่งนำไปใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมและความงามหลายอย่าง โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • นำใบมากินเป็นอาหาร นิยมใส่ในอาหารให้มีกลิ่นหอม
  • นำใบโหระพามาสกัดทำน้ำมันหอมระเหย ให้กลิ่นหอม สามารถนามาเป็นสารตั้งต้นในการทำ อาหารในอุตสาหกรรมสำหรับแต่งกลิ่น
  • น้ำมันหอมระเหยจากโหระพา เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง เช่น น้ำหอม สบู่ เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนากการของต้นโหระพา

สำหรับการศึกษาคุณค่างทางอาหารของโหระพา นั้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบโหระพา ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 251 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 14.4 กรัม ไขมัน 4 กรัม คาร์โบไฮเดรต 61 กรัม แคลเซียม 2,113 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 46 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 42 มิลลิกรัม แมงกานีส 42.2 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 490 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 3,433 มิลลิกรัม โซเดียม 34 มิลลิกรัม สังกะสี 6 มิลลิกรัม วิตามินซี 22 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.2 มิลลิกรัม วิตามินเอ 9375 IU เบต้าแคโรทีน 452.2 ไมโครกรัม และ กากใยอาหาร 17.8 กรัม

นอกจากนั้นได้ศึกษาสารสำคัญจากใบโหระพา พบว่ามีสารสำคัญมากมาก แต่พบ Methyl chavicol มากถึงร้อยละ 90 และส่วนที่เหลือประกอบด้วย Pinene β-Pinene β-Bourbonene β-Elemene β-Cubebene β-Caryophyllene β-Copaene β-Acoradiene
Camphor Ocimene Eucalyptol Linalool Benzaldehyde Sabinene  Myrcene Cis-Hex-3-Enyl Acetate p-Cymene Limonene Eucalyptol  cis-Beta-Ocimene cis-Linalool Oxide trans-Linalool Oxide trans-Myroxide Neo-Allo-Ocimene Menth-2-en-1-ol Pinocarvone Terpinen-4-ol Endo Fenchyl Acetate Nerol Neral Geraniol Geranial Carvacrol
Bicycloelemene Exo-2-Hydroxycineole Acetate Cubebene Geranyl Acetate Methyl Eugenol Trans-Alpha-ergamotene
Cadina-3,5-Diene Epsilon-Muurolene Germacrene Bicylogermacrene

สรรพคุณต้นโหระพา

สำหรับการใช้ประโยชน์ของโหระพา ด้านการบำรุงร่างกาย และ การรักษาโรค นั้น มีการใช้ประโยชน์จาก ใบ ลำต้น เมล็ด และ น้ำมันหอมระเหย โดยรายละเอีนด ดังนี้

  • ใบและลำต้นของโหระพา มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สรรพคุณแก้เจ็บคอ ขับเสมหะ แก้ปวดฟัน ขับลม ขับเหงื่อ แก้ท้องอืด ช่วยย่อยอาหาร ช่วยเจริญอาหาร แก้หวัด ช่วยลดอาการอักเสบของแผล รักษาแผล ช่วยห้ามเลือด ช่วยให้ลดอาการปวด
  • เมล็ดของโหระพา สรรพคุณช่วยขับถ่าย ช่วยควบคุมน้ำหนัก รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลดการบีบตัวของลำไส้
  • น้ำมันหอมระเหยจากใบโหระพา สรรพคุณแก้ปวดเมื่อย ช่วยทำให้ผ่อนคลาย ลดอาการเหนื่อยล้า แก้อาการกระตุก แก้จมูกอักเสบ ลดอาการปวดจากแมลงกัดต่อย

โทษของโหระพา

สำหรับโหระพามีกลิ่นหอม ซึ่งสามารถสกัดน้ำมันหอมระเหยจากใบโหระพาได้ แต่น้ำมันหอมระเหยไม่ควรใช้กับสตรีมีครรภ์ เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้

โหระพา ( Sweet basil ) คือ พืชล้มลุก สมุนไพร ผักสวนครัว นิยมนำมาทำอาหาร ต้นโหระพาเป็นอย่างไร ประโยชน์ของโหระพา คุณค่าทางโภชนาการของโหระพา สรรพคุณของโหระพา เช่น ขับลม ช่วยเจริญอาหาร เป็นต้น ใบโหระพามีกลิ่นหอม โทษของโหระพามีอะไรบ้าง

มะตูม สมุนไพร ไม้มงคล พืชประจำจังหวัดชัยนาท ต้นมะตูมเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงเลือด ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในเลือด คุณค่าทางอาหารของมะตูม โทษของมะตูมมะตูม ต้นมะตูม สรรพคุณของมะตูม ประโยชน์ของมะตูม

ต้นมะตูม ( Beal ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะตูม คือ Aegle marmelos (L.) Corrêa เป็นพืชตระกูลส้ม ชื่อเรียกอื่นๆของมะตูม เช่น มะปิน ตูม ตุ่มตัง กะทันตาเถร หมากตูม เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของมะตูม

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของผลมะตูมสุก ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย น้ำ 61.4 กรัม คาร์โบไฮเดรต 34.7 กรัม โปรตีน 1.8 กรัม กากใยอาหาร 2.9 กรัม วิตามินเอ 92 มิลลิกรัม วิตามินบี1 1.3 มิลลิกรัม วิตามินบี2 1.19 มิลลิกรัม ไนอะซีน 1.1 มิลลิกรัม แคลเซียม 85 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม และ ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นมะตูม

ต้นมะตูม ถิ่นกำเนิดของมะตูมมาจากประเทศอินเดีย เป็นพันธ์ไม้มงคล ไม้ผลยืนต้น เติบโตได้ดีในป่าดิบ และ ตามเนินเขา ลักษณะของต้นมะตูม มีดังนี้

  • ลำต้นของมะตูม ความสูงประมาณ 18 เมตร เปลือกของต้นมะตูม ผิวเรียบ มีร่องตื้น สีเทา เนื้อไม้แข็ง สีขาวแกมเหลือง ไม้มะตูมมีกลิ่นหอม
  • ใบมะตูม ลักษณะของใบเหมือนขนนก คล้ายรูปไข โคนใบมน ปลายใบแหลม ใบเป็นสีเขียวเข้ม ลักษณะมัน
  • ดอกมะตูม มีสีขาว ขนาดเล็ก ดอกมะตูมออกตามซอกใบ และ ปลายกิ่ง ดอกมะตูมมีกลิ่นหอม
  • ผลมะตูม มีลักษณะกลม เปลือกผิวเรียบ ผลสดมีสีเขียว เปลือกแข็ง ผลมะตูมแก่ มีสีเขียวอมเหลือง เนื้อด้านในของผลมะตูมมีสีส้ม รสหวาน เนื้อนิ่ม มีกลิ่นหอม และ มียางเหนียวข้น ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก

ประโยชน์ของมะตูม 

สำหรับมะตูมสามารถใช้ประโยน์นำมาทำเป็นอาหารบริโภค ซึ่งสรรพคุณของมะตูมเป็นยารักษาโรคมากมาย นิยมนำผลสุกแห้ง มาต้มเป็น น้ำมะตูม

สรรพคุณของมะตูม

สำหรับมะตูมสามารถนำมามใช้ประโยชน์ทางการบำรุงร่างกาย และ การรักษาโรค ได้ทั้งส่วน ผลดิบ ผลสุก ใบ เปลือก และ ราก โดยยรายละเอียดของ สรรพคุณของมะตูม มีดังนี้

  • ผลดิบของมะตูม สรรพคุณ ช่วยควบควบคุมน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน รักษาลำไส้อักเสบ แก้ท้องเดิน แก้ท้องอืด ช่วยขับลม แก้กระหายน้ำ ทำให้ให้ชุ่มคอ รักษาหวัด ช่วยขับปัสสาวะ รักษาหอบหืด รักษาหลอดลมอักเสบ แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำดี แก้ไข้ทรพิษ แก้ปวดฝี รักษาเยื่อบุตาอักเสบ ลดความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร รักษาอาการแผลอักเสบ ฆ่าพยาธิ ต้านเชื้อแบคทีเรีย รักษาอาการท้องเสีย ลดกรดในกระเพาะอาหาร
  • ผลสุกของมะตูม สรรพคุณ บำรุงระบบลำไส้ รักษาโรคกระเพาะอาหาร ช่วยขับถ่าย เป็นยาระบาย ลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง ลดไขมันในเส้นเลือด แก้งท้องร่วง แก้ท้องเสีย บำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจ บำรุงผิว ป้องกันมะเร็ง บำรุงสมอง รักษาอัลไซล์เมอร์ ช่วยขับพยาธิ
  • ใบของมะตูม ใบอ่อนของมะตูม สรรพคุณ ช่วยขับลม รักษาอาการท้องเสีย ลดไข้ รักษาตาอักเสบ ลดอาการตาบวม
  • เปลือกของมะตูม สรรพคุณ แก้ท้องเสีย ช่วยรักษาลำไส้อักเสบ
  • รากของมะตูม สรรพคุณ ลดอาการตกเลือดสำหรับสตรีหลังคลอด รักษาหลอดลมอักเสบ แก้ไอ แก้ปัสสาวะเป็นเลือด รักษาโรคกระเพาะ

โทษของมะตูม

สำหรับมะตูม ไม่ได้มีประโยชน์ทุกอย่าง แต่การบริโภคมะตูมในปริมาณที่ไม่เหมาะสมทำให้เกิดโทษได้ โดยโทษของมะตูม มีดังนี้

  • การกินมะตูมมากเกินไป ทำให้ท้องผูกได้ เนื่องจากมะตูมมีสรรพคุณต้านเชื้อแบคทีเรีย
  • สตรีมีครรภ์และสตรีหลังคลอดบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนนำมะตูมมาใช้รักษาอาการป่วย
  • สำหรับคนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ การกินมะตูมอาจทำให้น้ำตาลในเลือกต่ำเกินไปได้
  • การกินมะตูมก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 14 วัน อาจส่งผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในช่วงระหว่างและหลังการผ่าตัด

มะตูม สมุนไพรกลิ่หอม ไม้มงคล พืชประจำจังหวัดชัยนาท ลักษณะของต้นมะตูมเป็นอย่างไร โทษของมะตูม ประโยชน์ของมะตูม สรรพคุณของมะตูม เช่น บำรุงเลือด ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงลำไส้ รักษาโรคกระเพาะอาหาร คุณค่าทางอาหารของมะตูม มากมาย


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove