กระเทียม สมุนไพร นิยมทำเป็นเครื่องเทศ ใส่ในอาหาร ลักษณะของต้นกระเทียม เป็นอย่างไร สรรพคุณของกระเทียม คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม โทษของกระเทียม

กระเทียม สมุนไพร สรรพคุณของกระเทียม สมุนไพรไทย

ต้นกระเทียม ( Garlic ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเทียม คือ Allium sativum L. ชื่อเรียกอื่นๆของกระเทียม คือ  หอมเทียม (เหนือ) กระเทียมขาว (อุดรธานี) กระเทียมจีน (กทม) หอมขาว (อุดรธานี) ปะเซ้วา (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หัวเทียม (ใต้) ซึง ปักทาง เสิง ฮวงซาง (จีน) เป็นต้น

กระเทียม เป็นพืชล้ม มีหัวอยู่ใต้ดิน มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว สามารถขยายพันธ์ โดยการแตกหน่อ และ เพาะเมล็ดพันธ์  หัวกระเทียม นิยมนำมาทำอาหาร กระเทียมมีกลิ่นฉุน ให้ความหอมในอาหาร และมีรสหวานหากนำมาต้ม การบริโภคกระเทียมก็เหมือนการกินยา

กระเทียมในประเทศไทย

หัวกระเทียม เป็นวัตถุดิบหลักในอาหารไทย กระเทียมจึงเป็นพืชเศรษฐกิจ สามารถหาซื้อได้ตามตลาดทั่วไป ในประเทศไทยแหล่งปลูกประเทียม คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ซึ่งกระเทียมคุณภาพดี กลิ่นฉุน คือ กระเทียมจากจังหวัดศรีสะเกษ

คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม

สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของกระเทียม นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวกระเทียมสด ขนาด 100 กรัม พบว่าหัวปกระเทียมขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน มากถึง 149 กิโลแคลอรี

โดย ในหัวกระเทียมขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 33.06 กรัม น้ำตาล 1 กรัม  ไขมัน 0.5 กรัม โปรตีน 6.36 กรัม  วิตามินบี 2 0.11 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 0.7 มิลลิกรัม วิตามินซี 31.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.596 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 3 ไมโครกรัม วิตามินบี 6 1.235 มิลลิกรัม  ธาตุแคลเซียม 181 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 153 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.672 มิลลิกรัม  ธาตุสังกะสี 1.16 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 401 มิลลิกรัม และ ธาตุซีลีเนียม 14.2 ไมโครกรัม

ลักษณะของต้นกระเทียม 

ต้นกระเที่ยม เป็นพืชล้มลุก หัวของกระเทียมอยู่ใต้ดิน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว หัวกระเทียม นิยมนำมาทำอาหาร ลักษณะของต้นกระเทียม มีดังนี้

  • รากและหัวของกระเทียม1 เป็นส่วนที่อยู่ใต้ดิน ลักษณะของหัวกลม ภายในเป็นลักษณะกลีบ เนื้อมีกลิ่นฉุน ลำต้นอยู่เหนือดินทรงกระบอกยาวเนื้อสีขาว มีกลิ่นฉุนเล็กน้อย
  • ใบกระเทียม เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับตรงจากลำต้น ใบกลม ใบยาวสีเขียว ผิวใบเรียบ และมีกลิ่นฉุนเล็กน้อย นิยมรับประทานเป็นผักสด
  • ดอกกระเทียม ลักษณะดอกเป็นช่อ ก้านดอกแทงออกมาจากหัวและลำต้น ก้านดอกทรงกลม ยาว ด้านในเป็นรูกลวง ดอกตูมรูปทรงคล้ายระฆัง
  • ผลและเมล็ดกระเทียม เจริญเติบโตรวมกัน เป็นกลุ่ม ด้านในมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก เมล็ดลักษณะกลม สีน้ำตาลอมดำ

สรรพคุณของกระเทียม

ต้นกระเทียม สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จากหัวกระเทียม สรรพคุณของกระเทียม มีรายละเอียด ดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิวหนัง ทำให้มีสุขภาพผิวดี
  • ช่วยการเจริญอาหาร ทำให้อยากกินอาหาร
  • บำรุงข้อต่อและกระดูกในร่างกาย
  • ช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้
  • ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย ป้องกันอาการไอ ลดอาการน้ำมูกไหล ป้องกันไข้หวัด ช่วยแก้อาการหอบหืด ช่วยรักษาโรคหลอดลม ช่วยขับเสมหะ
  • บำรุงเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว ช่วยละลายลิ่มเลือด ช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง
  • ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย
  • แก้อาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ
  • เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยควบคุมฮอร์โมนทั้งหญิงและชาย ช่วยทำให้มดลูกบีบตัว
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคไต
  • บำรุงหัวใจ ช่วยลดความดันโลหิต ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ
  • บำรุงเส้นผม ช่วยแก้ปัญหาผมบาง ยาวช้า รักษาเชื้อราตามหนังศีรษะและเล็บ
  • ช่วยขับพิษในเลือด ช่วยขับเหงื่อ
  • บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยระงับกลิ่นปาก
  • บำรุงทางเดินอาหาร ช่วยควบคุมโรคกระเพาะ ช่วยขับลม รักษาจุกเสียดแน่นท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • ช่วยขับพยาธิ เช่น พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย พยาธิเข็มหมุด พยาธิไส้เดือน เป็นต้น
  • ช่วยต้านฆ่าเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย
  • บรรเทาอาการปวดข้อและปวดเมื่อยตามร่างกาย

โทษของกระเทียม

สำหรับการบริโภคกระเทียม และ ใช้กระเทียมเป็นยารักษาโรค มีข้อควรระวังในใช้ประโยชน์จากกระเทียม โทษของกระเทียม มีดังนี้

  • การกินกระเทียมสด อาจทำให้ระคายเคืองช่องปาก เช่น แสบร้อนบริเวณปาก
  • หากกินกระเทียมมากเกินไป อาจทำให้มีกลิ่นปาก และ ทำให้กลิ่นตัวแรง
  • สำหรับเด็กอ่อน กระเทียมสดๆอาจทำให้ผิวของเด็กเกิดอาการแสบร้อนและระคายเคืองได้
  • ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรรับประทานกระเทียมสด เพราะ อาจทำให้ระคายเคืองระบบทางเดินอาหารได้
  • กลิ่นของกระเทียม หากสูดดมเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้

ต้นคาเคา ( Cacao ) พืชท้องถิ่นของเม็กซิโก นำเมล็ดคาเคามาทำผงโกโก้ ช็อคโกแล็ต ทำมาจากต้นคาเคา ต้นคาเคาเป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงกำลัง กระตุ้นสมอง โทษของคาเคา

คาเคา โกโก้ สรรพคุณของโกโก้ สมุนไพร

คาเคา คือ ช็อกโกแลตบริสุทธิ์ เกิดจากเมล็ดคาเคาผ่านการแปรรูปแบบบดเย็น ได้ผงช็อคโกแล็ต สุดยอดอาหารสารพัดประโยชน์ มี ฟลาโวนอยด์ ( Flavonoid ) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง มีสารฟีเนไทลามีน ( Phenethylamine ) ทำให้อารมณ์ดี ช่วยเพิ่มพลังงาน มีสาร เอปิคาเทชิน ( Epicatechin ) ช่วยลดความเครียด ลดน้ำหนัก ลดคลอเลสเตอรอลในเลือด

แต่ การกินช็อกโกแลต มีทั้งประโยชน์และโทษ ขึ้นอยู่กับปริมาณในการบริโภค มีผลการวิจัยเกี่ยวกับการกินช็อกโกแลต ว่าในช็อกโกแลต มีส่วนผสมของ สารแอนติออกซิเดนต์ ( antioxidant ) เป็นอาหารมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าการทำลายสุขภาพ

คาเคา หรือ โกโก้ (Cacoa ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของคาเคา คือ Theobroma cacao L.[1] พืชตระกูลเดียวกับชบา สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของคาเคา เช่น โคโค่ โกโก้ เป็นต้น

ลักษณะของต้นคาเคา

ต้นคาเคา เป็นพื้นเมืองของเม็กซิโก เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่เขตร้อน สำหรับประเทศไทยมีการปลูกตามสวนทางภาคใต้ เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก ขึ้นใต้ร่มเงาไม้ อากาศร้อน ความชื้นสูง และมีฝนตกชุก ลักษณะของต้นคาเคา มีดังนี้

  • ลำต้นคาเคา ลักษณะลำต้นกลม ความสูงประมาณ 2 เมตร เปลือกสีน้ำตาล ขึ้นใต้ร่มเงาไม้ อากาศร้อน ความชื้นสูง และมีฝนตกชุก
  • ใบคาเคา ลักษณะเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับตามกิ่งก้าน ลักษณะของใบเป็นทคงรีปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเป็นคลื่น โคนใบป่องทั้งสองข้าง
  • ดอกคาเคา ลักษณะดอกออกเป็นช่อ ดอกออกตามลำต้น และ กิ่งใหญ่ๆ กลีบดอกสีขาวอมเหลือง
  • ผลคาเคา เจริญเติบโตมาจากดอกคาเคา ลักษณะผลกลมรี ยาวปลายผลแหลม ผิวผลแข็ง เปลือกผลขรุขระ ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่จะเป็นสีแดง ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก
  • เมล็ดคาเคา อยู่ภายในผลคาเคา ลักษณะเมล็ดรี เมล็ดเป็นสีน้ำตาล มีเยื่อหุ้มเมล็ดบางๆ รสชาติหวาน

ข้อมูลทางเภสัชศาสตร์ของคาเคา

การใช้ประโยชน์จากคาเคา ใช้ประโยชน์จากเมล็ดของคาเคา ซึ่งจากการศึกษาพบว่า เมล็ดของคาเคา มีสารสำคัญ ประกอบด้วย น้ำมัน 30 % แป้ง 15% โปรตีน 15% alkaloid และ theobromine 1% caffeine 0.07% catechin pyrazine tyramine tyrosine เป็นต้น จากการทดสอบความเป็นพิษของคาเคากับหนูขาว พบว่า คาเคาไม่เป็นพิษต่อหนูขาว

สรรพคุณของคาเคา

สำหรับการใช้ประโยชน์จากคาเคา ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จาก รากคาเคา และ เมล็ดของคาเคา โดยสรรพคุณของคาเคา มีรายละเอียด ดังนี้

  • รากของคาเคา สรรพคุณช่วยขับระดูในสตรี
  • เมล็ดของคาเคา สรรพคุณช่วยกระตุ้นประสาท ลดความเครียด รักษาโรคซึมเศร้า ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยลดน้ำตาลในเลือด บำรุงหัวใจ ช่วนกระตุ้นหัวใจ ขยายหลอดเลือด ป้องกันฟันผุ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยคลายกล้ามเนื้อ แก้หอบหืด แก้อักเสบ นำมาทำเครื่องสำอาง ป้องกันมะเร็ง

โทษของคาเคา

  • การดื่มเครื่องดื่มประเภทโกโก้ จะใส่น้ำตาลและนมมาก เป็นเครื่องดื่มที่มีแคลลอรี่สูง หากดื่มมากเกินไป และ ไม่ออกกำลังกาย ทำให้เกิดโรคอ้วนและโรคเบาหวานได้
  • รากคาเคาสรรพคุณขับระดูในสตรี สำหรับสตรีมีครรภ์หากกินรากคาเคา อาจทำให้แท้งได้
  • คาเคา นำมาแปรรูปเป็นผงโกโก้ มีสารกลุ่มเดียวกับคาเฟอีน มีฤทธิ์กระตุ้นการเต้นของหัวใจ สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจให้ระวังการกินโกโก้

ต้นคาเคา ( Cacao ) คือ พืชท้องถิ่นของเม็กซิโก นำเมล็ดคาเคามาทำผงโกโก้ ช็อคโกแล็ต ทำมาจากต้นคาเคา ลักษณะของต้นคาเคา เป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง กระตุ้นระบบสมอง โทษของคาเคา มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove