ต้นคาเคา ( Cacao ) พืชท้องถิ่นของเม็กซิโก นำเมล็ดคาเคามาทำผงโกโก้ ช็อคโกแล็ต ทำมาจากต้นคาเคา ต้นคาเคาเป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงกำลัง กระตุ้นสมอง โทษของคาเคา

คาเคา โกโก้ สรรพคุณของโกโก้ สมุนไพร

คาเคา คือ ช็อกโกแลตบริสุทธิ์ เกิดจากเมล็ดคาเคาผ่านการแปรรูปแบบบดเย็น ได้ผงช็อคโกแล็ต สุดยอดอาหารสารพัดประโยชน์ มี ฟลาโวนอยด์ ( Flavonoid ) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง มีสารฟีเนไทลามีน ( Phenethylamine ) ทำให้อารมณ์ดี ช่วยเพิ่มพลังงาน มีสาร เอปิคาเทชิน ( Epicatechin ) ช่วยลดความเครียด ลดน้ำหนัก ลดคลอเลสเตอรอลในเลือด

แต่ การกินช็อกโกแลต มีทั้งประโยชน์และโทษ ขึ้นอยู่กับปริมาณในการบริโภค มีผลการวิจัยเกี่ยวกับการกินช็อกโกแลต ว่าในช็อกโกแลต มีส่วนผสมของ สารแอนติออกซิเดนต์ ( antioxidant ) เป็นอาหารมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าการทำลายสุขภาพ

คาเคา หรือ โกโก้ (Cacoa ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของคาเคา คือ Theobroma cacao L.[1] พืชตระกูลเดียวกับชบา สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของคาเคา เช่น โคโค่ โกโก้ เป็นต้น

ลักษณะของต้นคาเคา

ต้นคาเคา เป็นพื้นเมืองของเม็กซิโก เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่เขตร้อน สำหรับประเทศไทยมีการปลูกตามสวนทางภาคใต้ เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก ขึ้นใต้ร่มเงาไม้ อากาศร้อน ความชื้นสูง และมีฝนตกชุก ลักษณะของต้นคาเคา มีดังนี้

  • ลำต้นคาเคา ลักษณะลำต้นกลม ความสูงประมาณ 2 เมตร เปลือกสีน้ำตาล ขึ้นใต้ร่มเงาไม้ อากาศร้อน ความชื้นสูง และมีฝนตกชุก
  • ใบคาเคา ลักษณะเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับตามกิ่งก้าน ลักษณะของใบเป็นทคงรีปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเป็นคลื่น โคนใบป่องทั้งสองข้าง
  • ดอกคาเคา ลักษณะดอกออกเป็นช่อ ดอกออกตามลำต้น และ กิ่งใหญ่ๆ กลีบดอกสีขาวอมเหลือง
  • ผลคาเคา เจริญเติบโตมาจากดอกคาเคา ลักษณะผลกลมรี ยาวปลายผลแหลม ผิวผลแข็ง เปลือกผลขรุขระ ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่จะเป็นสีแดง ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก
  • เมล็ดคาเคา อยู่ภายในผลคาเคา ลักษณะเมล็ดรี เมล็ดเป็นสีน้ำตาล มีเยื่อหุ้มเมล็ดบางๆ รสชาติหวาน

ข้อมูลทางเภสัชศาสตร์ของคาเคา

การใช้ประโยชน์จากคาเคา ใช้ประโยชน์จากเมล็ดของคาเคา ซึ่งจากการศึกษาพบว่า เมล็ดของคาเคา มีสารสำคัญ ประกอบด้วย น้ำมัน 30 % แป้ง 15% โปรตีน 15% alkaloid และ theobromine 1% caffeine 0.07% catechin pyrazine tyramine tyrosine เป็นต้น จากการทดสอบความเป็นพิษของคาเคากับหนูขาว พบว่า คาเคาไม่เป็นพิษต่อหนูขาว

สรรพคุณของคาเคา

สำหรับการใช้ประโยชน์จากคาเคา ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จาก รากคาเคา และ เมล็ดของคาเคา โดยสรรพคุณของคาเคา มีรายละเอียด ดังนี้

  • รากของคาเคา สรรพคุณช่วยขับระดูในสตรี
  • เมล็ดของคาเคา สรรพคุณช่วยกระตุ้นประสาท ลดความเครียด รักษาโรคซึมเศร้า ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยลดน้ำตาลในเลือด บำรุงหัวใจ ช่วนกระตุ้นหัวใจ ขยายหลอดเลือด ป้องกันฟันผุ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยคลายกล้ามเนื้อ แก้หอบหืด แก้อักเสบ นำมาทำเครื่องสำอาง ป้องกันมะเร็ง

โทษของคาเคา

  • การดื่มเครื่องดื่มประเภทโกโก้ จะใส่น้ำตาลและนมมาก เป็นเครื่องดื่มที่มีแคลลอรี่สูง หากดื่มมากเกินไป และ ไม่ออกกำลังกาย ทำให้เกิดโรคอ้วนและโรคเบาหวานได้
  • รากคาเคาสรรพคุณขับระดูในสตรี สำหรับสตรีมีครรภ์หากกินรากคาเคา อาจทำให้แท้งได้
  • คาเคา นำมาแปรรูปเป็นผงโกโก้ มีสารกลุ่มเดียวกับคาเฟอีน มีฤทธิ์กระตุ้นการเต้นของหัวใจ สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจให้ระวังการกินโกโก้

ต้นคาเคา ( Cacao ) คือ พืชท้องถิ่นของเม็กซิโก นำเมล็ดคาเคามาทำผงโกโก้ ช็อคโกแล็ต ทำมาจากต้นคาเคา ลักษณะของต้นคาเคา เป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง กระตุ้นระบบสมอง โทษของคาเคา มีอะไรบ้าง

ถั่วเขียว พืชเศรษฐกิจ ถั่วงอกทำมาจากถั่วเขียว ต้นถั่วเขียวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณบำรุงสายตา ลดความดัน ช่วยเจริญอาหาร โทษของถั่วเขียวมีอะไรบ้าง

ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพร

ต้นถั่วเขียว ( Green bean ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของถั่วเขียว คือ Vigna radiata (L.) R.Wilczek สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วเขียว เช่น ถั่วจิม ถั่วมุม ถั่วเขียว ถั่วทอง เป็นต้น สำหรับต้นถั่วเขียว มีประวัติการบริโภคมากกว่า 4,000 ปี ที่แคว้นมัธยประเทศ ในประเทศอินเดีย ซึ่งถั่วเขียวเป็นพืชที่ปลูกกันอย่างแพร่หลาย ในประเทศไทย พม่า ศรีลังกา ปากีสถาน อิหร่าน และ จีน เนื่องจากเมล็ดถั่วเขียว สามารถเก็บได้นาน เมล็ดนิยมนำมาทำอาหาร เมนูอาหารที่มีถั่วเขียวเป็นส่วนประกอบ เช่น เต้าส่วน ถั่วทอง ขนมข้าวเกรียบอ่อน เป็นต้น และ นำมาเพาะเป็น ถั่วงอก ได้

ลักษณะของต้นถั่วเขียว

ต้นถั่วเขียวเป็นพืชล้มลุก อายุเพียงแค่หนึ่งปี สามารถปลูกได้ตลอดปี ใช้น้ำน้อย ทนแล้งได้ดี สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นถั่วเขียว มีดังนี้

  • ลำต้นถั่วเขียว ลักษณะเป็นพุ่มตั้งตรง ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นแตกแขนง ลำต้นลักษณะค่อนข้างเป็นเหลี่ยม ลำต้นมีขนอ่อนๆปกคลุมทั่วลำต้น
  • ใบถั่วเขียว ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ขึ้นแบบสลับอยู่บนลำต้น ใบมีสีเขียว ลักษณะคล้ายรูปไข่ ปลายใบแหลม ใบมีขนปกคลุม
  • ดอกถั่วเขียว ลักษณะดอกออกเป็นช่อ กลีบดอกสีขาว สีม่วง และ สีเหลือง ก้านช่อดอกยาวประมาณ 20 เซนติเมตร
  • ฝักถั่วเขียว ลักษณะยาวกลม ความยาวของฝักประมาณ 15 เซนติเมตร ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่สีน้ำตาลอ่อน ภายในฝักจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 10-15 เมล็ด
  • เมล็ดถั่วเขียว อยู่ภายในฝักถั่วเขียว ลักษณะของเมล็ดกลมรี มีสีเขียว เนื้อในเป็นสีเหลือง เมล็ดผิวเรียบ แข็ง

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว

สำหรับการบริโภถั่วเขียว นิยมนำมาบริโภคทั้งเมล็ดถั่วเขียวดิบ และ เมล็ดถั่วเขียวสุก นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดถั่วเขียวดิบ ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 347 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 62.62 กรัม น้ำ 9.05 กรัม น้ำตาล 6.6 กรัม กากใยอาหาร 16.3 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 23.86 กรัม วิตามินบี1 0.621 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.233 มิลลิกรัม วิตามินบี3 2.251 มิลลิกรัม วิตามินบี5 1.91 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.382 มิลลิกรัม วิตามินบี9 625 ไมโครกรัม วิตามินซี 4.8 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.51 มิลลิกรัม วิตามินเค 9 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 132 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 6.74 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 189 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.035 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 367 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,246 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 2.68 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดถั่วเขียวต้ม ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 105 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 19.15 กรัม น้ำ 72.66 กรัม น้ำตาล 2 กรัม กากใยอาหาร 7.6 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 7.02 กรัม วิตามินบี1 0.164 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.061 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.577 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.41 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.067 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 159 ไมโครกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.15 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.7 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.4 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 48 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.298 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 99 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 266 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.84 มิลลิกรัม

สรรพคุณของถั่วเขียว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากถั่วเขียว ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นิยมใช้การบริโภคเมล็ดถั่วเขียว โดยสรรพคุณของถั่วเขียว มีดังนี้

  • บำรุงร่างกาย ช่วยเสริมสร้างกล้าม บำรุงกำลัง และ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค
  • ป้องกันมะเร็ง มีสารต้านเอนไซม์โปรตีเอสสูง
  • ช่วยเจริญอาหาร แก้ปัญหาการไม่อยากกินข้าว และ แก้เบื่ออาหาร
  • บำรุงเลือด ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยไขมันและคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ช่วยควบคุมน้ำหนัก ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน
  • บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • ช่วยลดไข้ ช่วยขับร้อนในร่างกาย แก้ร้อนใน
  • แก้กระหายน้ำ
  • ช่วยถอนพิษในร่างกาย ช่วยแก้อาการอาเจียนจากการดื่มเหล้า ช่วยขับของเหลวในร่างกาย ขับปัสสาวะ
  • บำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยกระตุ้นประสาท ช่วยให้สมองทำงานฉับไว
  • บำรุงสายตา รักษาตาอักเสบ แก้อาการตาพร่า
  • ช่วยขับถ่าย ป้องกันอาการท้องผูก
  • รักษาแผลฝี

โทษของถั่วเขียว

สำหรับการบริโภคถั่วเขียว ข้อควรระวังในการรับประทาน ดังนี้

  • การกินถั่วเขียวทำให้ท้องอืด สำหรับคนที่มีอาการท้องอืดง่าย ไม่ควรรับประทานถั่วเขียว
  • สำหรับผู้ป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ไม่ควรรับประทานถั่วเขียว เพราะ อาจทำให้อุจจาระบ่อย หรือ ท้องเดิน
  • การกินถั่วเขียวมากเกินไป ทำให้อ้วนได้ อาจทำให้ร่างกายได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป
  • ถั่วเขียว มีสารพิวรีน ( Purine ) กระตุ้นให้เกิดข้อกระดูกอักเสบ ผู้ป่วยโรคเกาต์ ไม่ควรรับประทาน

ถั่วเขียว ธัญพืช พืชเศรษฐกิจ ถั่วงอก ทำมาจากถั่วเขียว ลักษณะของต้นถั่วเขียว เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว สรรพคุณของถั่วเขียว เช่น ช่วยถอนพิษ บำรุงสายตา ลดความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร โทษของถั่วเขียว มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove