มะกอก มะกอกป่า ผลมีรสเปรี้ยว ให้ผลตลอดปี ผลนำมะสกัดทำน้ำมันมะกอกได้ สรรพคุณของมะกอก ช่วยขับปัสสาวะ แก้กระหาย ลดความดัน ลดความอ้วน บำรุงผิว โทษของมะกอกมีอะไรบ้ามะกอก สรรพคุณของมะกอก น้ำมันมะกอก โทษของมะกอก

ต้นมะกอก เป็นไม้ยืนต้น พืชท้องถิ่นที่มีถิ่นกำเนิดในเขตเอเชีย เช่น อินเดีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย มะกอกเป็นพืชที่ให้ผลได้ตลอดทั้งปี สำหรับมะกอกในประเทศไทย สามารถพบได้ทุกภูมิภาค พบมากในป่าเบญจพรรณและป่าแดง สามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ต้นมะกอก มีชื่อสามัญ ว่า Hog plum ชื่อวิทยาศาสาตร์ของมะกอก คือ Spondias pinnata (L. f.) Kurz จัดเป็นพืชตระกูลเดียวกับมะม่วง ชื่อเรียกอื่นๆของมะกอก เช่น กูก กอกกุก กอกเขา ไพแซ กอกหมอง กราไพ้ย ไพ้ย ตะผร่าเหมาะ กอกป่า มะกอกไทย มะกอกป่า สือก้วยโหยว โค่ยพล่าละ แผละค้อก เพี๊ยะค๊อก ลำปูนล ตุ๊ดกุ๊ก ไฮ่บิ้ง เป็นต้น

ชนิดของมะกอก

สำหรับมะกอกในประเทศไทย พบว่ามีมะกอก 4 ชนิด คือ มะกอกป่า มะกอกฝรั่ง มะกอกน้ำ และ มะกอกโอลีฟ ซึ่งมะกอกฝรั่ง เป็นมะกอกที่มีผลรสหวาน นิยมนำมารับประทานสดเป็นผลไม้ ส่วนมะกอกน้ำนิยมนำมาดองและแช่อิ่ม และ มะกอกโอลีฟจะนำมาสกัดเอาน้ำมันมะกอก

ลักษณะของต้นมะกอก

ต้นมะกอก พืชตระกลูมะม่วง สามารถขยายพันธ์ได้โดยการเพาะเมล็ด มีถิ่นกำเนิดในเขตประเทศแถบเอเชียรวมถึงประเทศไทย มักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าแดง และ ป่าดิบแล้งทุกภาคของประเทศไทยด้วย เป็นไม้ยืน ลักษณะของต้นมะกอก มีดังนี้

  • ลำต้นมะกอก ลำต้นตั้งตรง ลักษณะกลม ความสูงประมาณ 25 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้าน เปลือกของลำต้นเป็นสีเทา ลักษณะเปลือกหนา เรียบ มีปุ่มปมเล็กน้อย มีรูอากาศตามลำต้น
  • ใบมะกอก เป็นใบประกอบ ลักษณะแบบขนนก มีชั้นเดียว เรียงสลับตามกิ่ง เนื้อใบหนา เป็นมัน ท้องใบเรียบ ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบไม่เท่ากัน ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง
  • ดอกมะกอก ออกเป็นช่อ ลักษณะเป็นรูปถ้วย ดอกมะกอกออกที่ปลายกิ่ง และ ซอกใบ ดอกย่อยเป็นสีครีม กลีบดอกเป็นรูปรี ปลายกลีบดอกแหลม ดอกมะกอกจะออกในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
  • ผลมะกอก ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ ผลสดมีเนื้อฉ่ำน้ำ เป็นสีเขียว ผลแก่เป็นสีเหลืองอมสีเขียว หรือ สีเหลืองอ่อน รสเปรี้ยวจัด มีเมล็ดเดี่ยวขนาดใหญ่และแข็งมาก ภายในผล ผิวเมล็ดลักษณะเป็นเสี้ยนและขรุขระ

คุณค่าทางโภชนาการของมะกอก

สำหรับมะกอก มีรสเปรี้ยว สามารถนำมารับประทานแต่งรสชาติอาหาร และ นำมาสกัดทำน้ำมันมะกอก ซึ่ง ในมะกอกมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ประกอบด้วย พลังงาน กากใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 ไนอาซิน และ วิตามินซี

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะกอก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 46 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 16.7 กรัม สารต้านอนุมูลอิสระ ( เบตาแคโรทีน ) 2,017 ไมโครกรัม วิตามินเอ 337 ไมโครกรัม วิตามินซี 53 มิลลิกรัม และ แคลเซียม 49 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของใบอ่อนมะกอก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 46 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย กากใยอาหาร 16.7 กรัม แคลเซียม 49 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 2017 ไมโครกรัม วิตามินเอ 337 ไมโครกรัม และ วิตามินซี 53 มิลลิกรัม ยอดอ่อนของมะกอกนิยมนำมารับประทานเป็นผักสด สรรพคุณของใบอ่อนมะกอก ใช้แก้โรคบิด แก้โรคธาตุพิการ แก้ท้องเสีย เป็นต้น

สรรพคุณของมะกอก

มะกอกสามารถนำมาใช้ประโยชน์มากมาก ทั้งด้านาการรักษาโรคและบำรุงร่างกาย รวมถึงนำมาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์บำรุงร่างกายและความสวยงาม สามารถใช้ประโยชน์จาก เปลือก ใบ ผล เมล็ด โดยสรรพคุรของมะกอก มีดังนี้

  • เปลือกลำต้นมะกอก มีรสฝาดเย็นเปรี้ยว สรรพคุณบำรุงร่างกาย แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ช่วยทำให้ชุ่มคอ ช่วยแก้อาเจียน ช่วยแก้อาการสะอึก แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงทางเดินอาหาร แก้ท้องเสีย ช่วยสมานแผล แก้ปวดข้อ
  • ใบมะกอก มีรสฝาดเปรียว สรรพคุณบำรุงร่างกาย แก้หูอักเสบ แก้ปวดหู แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ช่วยทำให้ชุ่มคอ รักษาอาการปวดท้อง รักษาอาการท้องเสีย
  • ผลมะกอก รสเปรี้ยว สรรพคุณบำรุงร่างกาย ช่วยแก้โรคขาดแคลเซียม แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ช่วยทำให้ชุ่มคอ รักษาเลือดออกตามไรฟัน ช่วยขับปัสสาวะ ลดไข้ แก้โรคน้ำกัดเท้า
  • เนื้อผลมะกอก มีรสเปรี้ยว สรรคุณช่วยแก้ธาตุพิการ รักษาอาการน้ำดีไม่ปกติ รักษากระเพาะอาหารพิการ
  • รากมะกอก มีรสฝาดเย็น สรรพคุณแก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ช่วยทำให้ชุ่มคอ ช่วยขับปัสสาวะ
  • เมล็ดของมะกอก สรรพคุณ แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอ ช่วยแก้อาการสะอึก ช่วยขับปัสสาวะ

ประโยชน์ของมะกอก

การใช้ประโยชนืจากมะกอก โดยหลักๆจะนำมาใช้ประโยชน์ในการเป็นอาหารใช้รับประทานใบอ่อนเป้นผักสด และ ผลมะกอก ให้รสเปรี้ยว ใช้แต่งรสชทติของอาหาร นอกจากการนำมาทำเป็นอาหารรับประทานแล้ว ยางจากต้นมะกอกเป็นเมือก สามารถนำมาใช้ติดของแทนกวาได้ และ เนื้อไม้ของมะกอก เป็นไม้เนื้ออ่อน นำมาทำไม้จิ้มฟัน ทำกล่องไม้ขีด ทำกล่องใส่ของ หีบศพ เป็นต้น และผลของมะกอกสามารถนำมาสกัดทำ น้ำมันมะกอก ได้

น้ำมันมะกอก

น้ำมันมะกอก ( Olive Oil ) คือ น้ำมันี่สามารถสกัดจากผลมะกอก สามารถนำน้ำมันมะกอก ใช้ทำอาหารได้ และ ยังนำน้ำมันมะกอกมาเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น สบู่ พลาสเตอร์ น้ำมันนวด วัสดุอุดฟัน เป็นต้น

น้ำมันมะกอก ชนิดบริสุทธิ์พิเศษ ( Extra Virgin Olive Oil ) มีคุณสมบัติมากกว่าน้ำมันมะกอกทั่วไป เนื่องจาก กระบวนการผลิตที่แตกต่าง ทำให้คงคุณค่าและสารอาหารจากมะกอกได้มาก น้ำมันมะกอก มีประโยชน์ต่อร่างกาย สารอาหารสำคัญที่พบในน้ำมันมะกอก เช่น กรดไขมันต่างๆ กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว

ประโยชน์ของน้ำมันมะกอก

สำหรับการใช้นำมันมะกอกมีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยประโยชน์ของน้ำมันมะกอก มีดังนี้

  • ช่วยลดความเสี่ยงโรคไขมันในเลือดสูง และ โรคหลอดเลือดหัวใจ น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ เป็นผลดีต่อผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
  • ช่วยลดน้ำหนัก น้ำมันมะกอกมีไขมันต่ำ ผู้ที่บริโภคอาหารที่มีน้ำมันมะกอกมีน้ำหนักตัวที่ลดลงมากกว่าผู้ที่บริโภคอาหารไขมันต่ำตามมาตรฐานทั่วไป
  • ช่วยลดความดันโลหิต ในน้ำมันมะกอกช่วยลดความดันโลหิต และช่วยปรับปรุงการทำงานของหลอดเลือดหัวใจให้ดีขึ้นได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงระดับที่ไม่รุนแรงมาก
  • รักษาอาการท้องผูก น้ำมันมะกอกใช้รักษาภาวะท้องผูก การถ่ายอุจจาระไม่สุด อุจจาระเป็นก้อนแข็ง ขับถ่ายลำบาก
  • มีสารต้านอนุมูลอิสระ น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ มี สารไลโคปีน ( Lycopene ) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการต้านอนุมูลอิสระในระบบทางเดินปัสสาวะ ช่วยป้องกันโรคและการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับภาวะเครียด
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ รักษาผิวแตกลาย น้ำมันมะกอกสามารถทำให้ผิวพรรณเกิดความชุ่มชื่น ทำให้การบำรุงผิวพรรณดี ให้เต่งตึงลดการเกิดผิวแตกลายในผู้หญิงตั้งครรภ์

โทษของมะกอก

การใช้ประโยชน์จากมะกอก โดยเฉพาะน้ำมันมะกอก หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมและใช้อย่างถูกวิธีจะช่วยให้ร่างกายดีแต่หากใช้ไม่เหมาะสมก็เกิดโทษต่อร่างกายได้ ข้อควรระวังในการใช้มะกอก มีดังนี้

  • น้ำมันมะกอก สามารถรับประทานได้โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย หากบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม คือ วันละ 2 ช้อนโต๊ะ สูงสุดไม่เกิน 1 ลิตรต่อสัปดาห์
  • การใช้น้ำมันมะกอกบำรุงผิวหนัง หากใช้มากเกิดไป อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น เกิดอาการแพ้ที่ผิวหนัง ผิวหนังอักเสบ เป็นต้น
  • สำหรับสตรีมีครรภ์และกำลังให้นมบุตร ควรระมัดระวังในการใช้น้ำมันมะกอก และ ไม่บริโภคน้ำมันมะกอกมากเกินไป
  • สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน น้ำมันมะกอกสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจากระดับน้ำตาลในเลือดที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลง ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นระยะๆ
  • สำหรับผู้ป่วนที่เข้ารับการผ่าตัด น้ำมันมะกอกอาจส่งผลต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดลด ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งระหว่างการผ่าตัด ควรหยุดใช้น้ำมันมะกอกประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนเข้ารับการผ่าตัด

มะกอก มะกอกป่า คือ พืชพื้นเมืองของไทย ผลมีรสเปรี้ยว ให้ผลตลอดปี สามารถนำมะสกัดทำน้ำมันมะกอกได้ สรรพคุณของมะกอก เช่น ขับปัสสาวะ แก้กระหาย ลดความดัน ลดความอ้วน บำรุงผิว โทษของมะกอกมีอะไรบ้าง

ย่านาง ( Bamboo grass ) จ้อยนาง เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว ยาดนาง ใบย่านางมีฤทธิ์เย็น สรรพคุณปรับสมดุลย์ร่างกาย บำรุงร่างกาย ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดความดันย่านาง ใบย่านาง สมุนไพร สรรพคุณใบย่านาง

ต้นย่านาง ( Bamboo grass ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของย่านาง คือ Tiliacora triandra ( Colebr. ) Diels สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของย่านาง เช่น  จ้อยนาง เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว ยาดนาง เป็นต้น ใบย่านาง มีฤทธิ์เย็น เหมาะสำหรับปรับสมดุลร่างกาย สรรพคุณปรับสมดุลย์ร่างกาย บำรุงร่างกาย ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดความดัน

ต้นย่านาง สามารถพบได้ตามแหล่งธรรมชาติทั่วไป ในพื้นที่อากาศชุ่มชื้น ป่าผลัดใบ ป่าดงดิบ และ ป่าโปร่ง ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต้นย่านางสามารถขยายันธ์ได้ง่าย โดยใช้หัวใต้ดิน การปักชำยอด หรือ การเพาะเมล็ด

ลักษณะของต้นย่านาง

ต้นย่านาง เป็นไม้เลื้อย เป็นเถา ซึงลักษณะของต้นย่างนาง มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นของย่านาง เป็นเถาเกี่ยวพันกับไม้อื่น มีลักษณะกลมเล็ก เหนียว มีสีเขียว และ เถาแก่มีสีเขียวเข้ม ผิวค่อนข้างเรียบ
  • รากของย่านาง เป็นมีหัวอยู่ใต้ดิน มีขนาดใหญ่
  • ใบของย่านาง เป็นใบเดี่ยว ออกติดกับลำต้นแบบสลับ ใบเหมือนรูปไข่ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ สีเขียว ใบเป็นมัน
  • ดอกของย่านาง ดอกออกเป็นช่อ ดอกออกตามซอกใบ และ ซอกโคนก้าน ขนาดเล็ก สีเหลือง ออกดอกช่วงเดือนเมษายน
  • ผลของย่านาง มีลักษณะกลมรี เล็ก สีเขียว ผลแก่เป็นสีเหลืองอมแดง มีเมล็ดลักษณะแข็ง รูปเกือกม้า

คุณค่าทางโภชนาการของต้นย่านาง

สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของย่านาง นักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบย่านางขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 95 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 7.9 กรัม แคลเซียม 155 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 7.0 มิลลิกรัม วิตามินเอ 30625 IU วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.36 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.4 มิลลิกรัม วิตามินซี 141 มิลลิกรัม โปรตีน 15.5 เปอร์เซนต์ ฟอสฟอรัส 0.24 เปอร์เซนต์ โพแทสเซียม 1.29 เปอร์เซนต์ แคลเซียม 1.42 เปอร์เซนต์ และ แทนนิน 0.21 เปอร์เซนต์

ประโยชน์ของใบย่านาง

สำหรับประโยชน์ของต้นย่านาง นั้น เป็นพืชที่ให้ออกซิเจน เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีมลพิษสุง หากปลูกต้นย่านางจะช่วยเพิ่มออกซิเจน และ สร้างความร่มเย็นให้กับพื้นที่ได้ดี นอกจากนั้นประโยชน์หลักๆของย่านาง นิยมการนำใบย่านางมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร สำหรับการบริโภค และ นำมาทำน้ำใบย่านาง ใบย่านางช่วยชะลอการเกิดผมหงอก ทำให้ผมดำ จึงมีการสร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น แคปซูลใบย่านาง สบู่ใบย่านาง แชมพูใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพร เป็นต้น เพื่อรักษาอาการผมหงอก ใบย่านางสามารถช่วยต้านพิษกรดยูริกที่มีในหน่อไม้ได้ จึงเห็นใบย่านางมักเป็นส่วนประกอบของอาหารที่มีหน่อไม้ เช่น แกงหน่อไม้ ซุบหน่อไม้ แกงอ่อม แกงเห็ด แกงเลียง เป็นต้น

สรรพคุณของย่านาง

สำหรับการใช้ประโยชน์ของย่านางนั้น สามารถใช้ประโยชน์ได้ ทั้ง ราก และ ใบ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • รากของย่านาง มีรสขม สรรพคุณแก้ไข้ รักษาไข้ทับระดู แก้พิษเมา บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ แก้ปวดท้อง รักษาอีสุกอีใส รักษามาลาเรีย ขับพิษ
  • ใบของยางนาง มีรสขมจืด สรรพคุณแก้ไข้ เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอวัย เพิ่มภูมิต้านทานโรค บำรุงกำลัง ลดความอ้วน ปรับสมดุลย์ร่างกาย ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็ง ช่วยลดความดัน บำรุงหัวใจ บำรุงตับ บำรุงไต ช่วยรักษาอัมพฤกษ์ ช่วยรักษาอาการชักเกร็ง บำรุงผิว แก้เวียนหัว ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ รักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยแก้ปวดตามกล้ามเนื้อ รักษาเหงือกอักเสบ ช่วยให้นอนหลับสบาย ช่วยบำรุงสายตา แก้เสมหะเหนียว รักษาไซนัสอักเสบ ช่วยลดการนอนกรน รักษาโรคหอบหืด รักษาโรคตับอักเสบ รักษาอาการท้องเสีย ช่วยแก้อาการท้องผูก รักษาโรคกระเพาะอาหาร รักษาลำไส้อักเสบ ช่วยรักษาปัสสาวะขัด ช่วยรักษามดลูกโต แก้ปวดมดลูก รักษาโรคต่อมลูกหมากโต รักษาอาการตกขาว ช่วยป้องกันโรคเกาต์ ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย

โทษของย่างนาง

  • น้ำใบย่างนาง มีกลิ่นแรง กินยาก สำหรับคนที่ไม่ชินกับการกินน้ำใบย่างนาง อาจทำให้อาเจียน หรือ เกิดอาการแพ้ได้
  • การดื่มน้ำย่านาง ควรดื่มก่อนกินอาหาร หรือ ดื่มตอนท้องว่าง ควรดื่มในปริมาณที่พอดี ไม่มากเกินไป
  • ผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย ไม่ควรดื่มน้ำใบย่านาง เพราะ สารอาหาร เช่น วิตามินเอ ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม ที่มีใบย่านางจะทำให้เกิดการคั่ง ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานของไต
  • การกินอาหารเสริมที่ได้จากใบย่านาง เช่น แคปซูลใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพรใบย่างนาง อาจมีสารเคมีเจือปน หากขั้นตอนการผลิตไม่ได้มาตราฐาน เพื่อความปลอดภัย ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้จะดีที่สุด

ต้นย่านาง ( Bamboo grass ) ชื่อเรียกอื่นๆ เช่น  จ้อยนาง เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว ยาดนาง เป็นต้น ใบย่านาง มีฤทธิ์เย็น เหมาะสำหรับปรับสมดุลร่างกาย สรรพคุณปรับสมดุลย์ร่างกาย บำรุงร่างกาย ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดความดัน

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.   Take care of yourself first with good information. The content on this website is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick or feel unwell You should consult a doctor. to receive proper treatment For more information, please see our Terms and Conditions of Use.


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove