ดาวเรือง ( African Marigold ) พืชพื้นเมือง ดอกดาวเรืองกลิ่นหอม นิยมใช้ในกิจกรรมทางวัฒนธรรม ศาสนา ต้นดาวเรืองเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณเป็นยาเย็น บำรุงเลือด

ดาวเรื่อง สมุนไพร สรรพคุณของดาวเรือง

ต้นดาวเรือง ภาษาอังกฤษ เรียก African Marigold เป็นพืชที่รู้จักดีในสังคมไทย เป็นพืชท้องถิ่นของประเทศเม็กซิโก นิยมนำมาใช้ในกิจกรรมทางวัฒนธรรม และศาสนา ดาวเรืองเป็นพืชประจำจังหวัดสมุนปราการ เป็นสมุนไพรไม้ประดับ มีกลิ่นหอม ชาวสวนนิยมใช้ไล่แมลง สำหรับดาวเรือง มีประโยชน์ทางสมุนไพรและการรักษาโรคมากมาย อาทิ เช่น เป็นยาเย็น บำรุงเลือด บำรุงสายตา เป็นยาระบาย ช่วยขับลม เป็นต้น ปลูกดาวเรืองของประเทศไทย ได้แก่ ลำปาง พะเยา ราชบุรี นนทบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร อุดรธานี เป็นต้น เรามาทำความรู้จักกับดาวเรืองให้มากขึ้น

ต้นดาวเรือง มีชื่อสามัญหลายชื่อ เช่น African marigold, American marigold, Aztec marigold และ Big marigold ชื่อวิทยาศาสตร์ของดาวเรื่อง คือ Tagetes erecta L. เป็นพืชตระกลูเดียวกันกับต้นทานตะวัน สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของต้นดาวเรื่อง เช่น ดาวเรืองใหญ่ คำปู้จู้หลวง พอทู บ่วงซิ่วเก็ก ว่านโซ่วจี๋ว บ่วงลิ่วเก็ก เฉาหู่ย้ง กิมเก็ก ดาวเรืองอเมริกัน เป็นต้น

ดอกดาวเรือง มีการศึกษาพบว่าในดอกดาวเรืองมีน้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วย  Carotent, d-limonene, Flavoxanthin, Helenienm Nonanal, Ocimene, Tagetiin, Tagetone d-Terehienyl  ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา ในใบอของต้นดาวเรือง มีสารชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์แก้อาการอักเสบ ห้ามเลือด สารชนิดนี้ ชื่อ คาเอมพ์เฟอริตริน ( Kaempferitrin )

ลักษณะของต้นดาวเรือง

ต้นดาวเรือง ดาวเรือง สามารถขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ด โตเร็ว ชอบดินร่วน ระบายน้ำได้ดี มีความชื้นปานกลาง และชอบแสงแดด จัดอยู่ในพืชล้มลุก อายุประมาณ 365 วัน ลักษณะของต้นดาวเรือง มีดังนี้

  • ลำต้นของต้นดาวเรือง สูงประมาณไม่เกิน 1 เมตร แตกกิ่งก้านมาก ลำต้นสีเขียว มีกลิ่นแรง
  • ใบของต้นดาวเรือง ใบเป็นแบบใบประกอบ แบบขนนก เรียงตรงข้ามกัน มีใบย่อยใบย่อยเป็นรูปรี ปลายแหลม
  • ดอกของต้นดาวเรือง ดอกเป็นดอกเดี่ยว สีเหลือง สีส้ม กลบดอกมีขนาดใหญ่เรียงซ้อนกันเป็นวงกลม ปลายกลีบดอกเป็นฟันเลื่อย มีเกสรซ้อนกันแน่น
  • ผลของต้นดาวเรือง เมื่อดอกดาวเรืองแห้งจะเกิดผลปลายของผลจะมน

สรรพคุณด้านสมุนไพรของต้นดาวเรือง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากดาวเรือง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารนำมาใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่ ราก ดอก ใบ ทั้งต้น ซึ่งรายละเอียดของสรรพคุณดาวเรือง มีดังนี้

  • ดอกของดาวเรือง มีรสขมมีฤทธิ์เป็นยาเย็น ช่วยบำรุงเลือด ช่วยฟอกเลือด ช่วยแก้วิงเวียนศรีษะ ช่วยบำรุงสาย แก้ปวดตา แก้ตาบวม รักษาคางทูม แก้ร้อนใน แก้ไอเรื้อรัง ช่วยขับเสมหะ แก้ปวดฟัน รักษาปากเปื่อย  เป็นยาแก้ปวด แก้หลอดลมอักเสบ รักษาระบบทางเดินหายใจติดเชื้อ ช่วยขับลม ช่วยขับพยาธิ
  • ใบของดาวเรือง สามารถใช้แก้โรคตาลขโมย ขับลม รักษาแผลเน่าเปื่อย ช่วยรักษาแผลฝี
  • รากของดาวเรือง มีรสขมมีฤทธิ์เป็นยาเย็น เป็นยาระบาย ใช้ขับพยาธิ แก้อักเสบ
  • ทั้งต้นของดาวเรือง ใช้ลดไข้ แก้เจ็บคอ แก้ปวดท้อง รักษาโรคไส้ตัน

ประโยชน์อื่นๆของดาวเรือง

  • ดอกดาวเรือง สามารถนำมาทำอาหารได้ เช่น การนำมาลวกจิ้มกับน้ำพริก ทำยำ
  • ดอกดาวเรือง มีสารเบต้าแคโรทีน ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้
  • น้ำที่สกัดจากดอกดาวเรือง สามารถนำมาใช้ป้องกันแมลงได้
  • ดอกดาวเรือง ใช้ในงานพิธีทางศาสนาต่าง ๆ
  • ดอกดาวเรือง สามารถนมาทำสีย้อมผ้าแบบะรรมชาติ
  • ดอกดาวเรืองแห้ง สามารถนำมาทำเป็นอาหารเสริมของไก่ ช่วยให้ไข่แดงสีเข้ม
  • ดอกดาวเรือง นำมาประดับบ้าน จัดใส่แจกัน เพิ่มความสวยงาม
  • ปลูกดาวเรือง ช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืช เนื่องจากดาวเรืองมีสารที่มีกลิ่นฉุนแมลงต่างๆไม่ชอบ

ดาวเรือง ( African Marigold ) พืชพื้นเมือง ดอกดาวเรือง มีกลิ่นหอม นิยมใช้ในกิจกรรมทางวัฒนธรรม ศาสนา ลักษณะของต้นดาวเรือง เป็นอย่างไร ประโยชน์ของดาวเรือง สรรพคุณของดาวเรือง เป็นยาเย็น ช่วยบำรุงเลือด ช่วยฟอกเลือด ช่วยแก้วิงเวียนศรีษะ ช่วยบำรุงสาย แก้ปวดตา แก้ตาบวม รักษาคางทูม แก้ร้อนใน แก้ไอเรื้อรัง ช่วยขับเสมหะ

ผักคะน้า ( Kale ) นำมาทำอาหาร สมุนไพร สำหรับสตรีตั้งครรถ์ ต้นคะน้าเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณป้องกันมะเร็ง บำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตา

ผักคะน้า สมุนไพร ผักสวนครัว ประโยชน์ของผักคะน้า

ผักคะน้า ( Kale ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักคะน้า คือ Brassica albroglabra พืชสวนครัว นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน สมุนไพร เหมาะสำหรับสตรีตั้งครรถ์ คุณค่าทางโภชนาการของผักคะน้า คะน้ามีโฟเลตสูง มีวิตามินหลายชนิด แคลเซียมสูง ผักคะน้า มีถิ่นกำเนิดจากจีน ประโยชน์ของผักคะน้า สรรพคุณของผักคะน้า ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงสายตา

ผักคะน้า ชื่อของพืชชนิดนี้ คุ้นหูคนไทยเป็นอย่างดี คะน้าเป็นผักสวนครัว ที่นิยมนำมาทำอาหาร ได้หลากหลายชนิด เหมาะสำหรับสตรีตั้งครรถ์ เนื่องจากมีโฟเลต ช่วยสร้างสมองทารกใรครรถ์ ผักคะน้ามีถิ่นกำเนิดจากจีน คนจีนนำมาปลูกและนิยมนำมาทำอาหารทั้งเมนูต้ม ผัด แกง ทอด ประโยชน์ของผักคะน้า คือ มีวิตามินหลายชนิด และแคลเซียมสูง

คะน้า ภาษาอังกฤษ เรียก Kale ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักคะน้า คือ Brassica albroglabra ชื่อเรียกอื่นๆของผักคะน้า เช่น ไก๋หลาน กำหนำ เป็นต้น ต้นคะน้า พืชล้มลุก ในตระกูลกะหล่ำปลี นิยมรับประทาน ใบและยอดของคะน้า มาทำความรู้จักกับผักคะน้าให้มากกว่านี้

สายพันธุ์ผักคะน้า

ผักคะน้า ที่นิยมปลูกในประเทศไทยนั้น มีอยู่ 3 พันธุ์ โดยรายละเอียดมีดังนี้

  • พันธุ์ใบกลม ได้แก่ พันธ์ฝางเบอร์1 พันธ์นี้มีลักษณะใบกว้างใหญ่ ปล้องสั้น ปลายใบมนและผิวใบเป็นคลื่นเล็ก
  • พันธุ์ใบแหลม ได้แก่ พันธ์ PL20 พันธ์นี้มีลักษณะใบแคบกว่าพันธุ์ใบกลม ปลายใบแหลม ข้อห่าง ผิวใบเรียบ
  • พันธุ์ยอด ได้แก่ พันธ์แม่โจ้ ซึ่งพันธ์นี้มีลักษณะใบเหมือนกับคะน้าใบแหลม แต่จำนวนใบต่อต้นมีน้อยกว่า ปล้องยาวกว่า

ลักษณะของต้นผักคะน้า

ผักคะน้า เป็น พืชล้มลุก อายุสั้น ผักคะน้ามีอายุ 2 ปี อายุการเก็บเกี่ยวผักคะน้าอยู่ที่ 55 วัน โดยผักคะน้าสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการปลูกผักคะน้ามากที่สุด คือ เดือนตุลาคมถึงเดือนเมษายน ของทุกปี

  • รากของผักคะน้า รากแก้วจะมีขนาดใหญ่ อยู่ติดจากลำต้น ลึกลงดินประมาณ 10 ถึง 30 เซ็นติเมตร รากฝอยจะเกาะตามรากแก้ว มีน้อย
  • ลำต้นของผักคะน้า ลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร ลำต้นอวบใหญ่ สีเขียว
  • ใบของผักคะน้า ใบกลม ลักษณะก้านใบยาว การแตกของใบจะแตกออกจากลำต้นเรียงสลับกัน ผิวของใบ คลืน ผิวมัน สีเขียว
  • ยอดและดอกของผักคะน้า ส่วนของยอดที่มีลักษณะเป็นใบอ่อน คล้ายดอกบัวตุม สีเขียวอ่อน

คุณค่าทางโภชนาการของคะน้า

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของผักคะน้า สดปริมาณ 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 24 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย โปรตีน 2.7 กรัม คาร์โบไฮเดรต 2.2 กรัม แคลเซียม 245 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 147 มิลลิกรัม กากใยอาหาร 3.2 กรัม

คะน้า จะมีสารชนิดหนึ่ง เรียก กอยโตรเจน ( Goitrogen ) สารชนิดนี้ส่งผลต่อร่างกายทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ รวมถึงทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุไอโอดีน ทำให้เป็นดรคคอพอกได้ นอกจากนั้นทำให้การสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ลดประสิทธิภาพลง ดังนั้น การรับประทานผักคะน้าในปริมาณพอเหมาะ จะทำให้มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

สรรพคุณของผักคะน้า

การรับประทานผักคะน้า ในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยให้มีสรรพคุณทางสมุนไพร ดังนี้ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกาย ช่วยบำรุงผิวพรรณ ป้องกันการติดเชื้อ ช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้น ช่วยบำรุงสายตา  ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต้อกระจก ป้องกันจอประสาทตาเสื่อม ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยลดอาการไมเกรน ช่วยชะลอความจำเสื่อม ช่วยลดความเสี่ยงโรคกระเพาะอาหาร ป้องกันมะเร็งลำไส้ ป้องกันมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ป้องกันมะเร็งปอด ป้องกันมะเร็งเต้านม ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยรักษาโรคหอบหืด ช่วยขยายหลอดลม ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ ป้องกันการเกิดตะคริว รักษาสมดุลฮอร์โมนเอสโตรเจน ควบคุมน้ำตาลในเลือดช่วยลดความเสี่ยงต่อการที่เด็กทารกพิการแต่กำเนิด

โทษของผักคะน้า 

สารกอยโตรเจน ( Goitrogen ) ที่อยู่ในผักคะน้า ทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ ทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุไอโอดีน และ ทำให้การสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ลดประสิทธิภาพลง การรับประทานผักคะน้าในปริมาณที่เหมาะสม

การปลูกผักคะน้า

  • การเพาะกล้าต้นกล้าผักคะน้า วิธีการหว่านเมล็ดในแปลง โดยแปลงให้ยกร่องสูง 30 เซนติเมตร พร้อมพรวนดิน และรดน้ำให้ชุ่ม เมล็ดจะงอกประมาณ 3 ถึง 5 วัน หลังจากเมล็ดงอกได้ 7 ถึง 10 วัน ให้คัดต้นกล้าแข็งแรงที่สด เพื่อดูแลต่อ และคัดต้นที่อ่อนแอออก
  • วิธีการปลูกผักคะน้า เมื่อต้นกล้าสูงได้ประมาณ 10 เซ็นติเมตร สังเกตุได้ว่ามีใบแท้ประมาณ 3 ถึง 5 ใบ อายุของต้นกล้าประมาณ 30 วัน ก็ให้ย้ายลงแปลงปลูก ให้ระยะห่างระหว่างต้น 20 เซ็นติเมตร
  • การดูแลผักคะน้า ให้น้ำสม่ำเสมอทุกวันเช้าเย็น ให้ปุ๋ยทุก 15 วัน  และกำจัดวัชพืช เป็นประจำทุกเดือน
  • การเก็บผลผลิตผักคะน้า สามารถเก็บผลผลิตได้ หลังตากเพาะต้นกล้า 60 วัน โดยไม่ควรใช้มือเด็ดหรือถอน ใช้มีดตัดออก และให้เด็ดใบแก่ติดโคนต้นออก และนำมาล้างทำความสะอาด

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove