แมงลัก นิยมนำมาบริโภคใบและเมล็ด ต้นแมงลักเป็นอย่างไร สรรพคุณของแมงลัก เช่น ช่วยควบคุมน้ำหนัก เป็นยาระบายอ่อนๆ คุณค่าทางโภชนาการและโทษของแมงลักมีอะไรบ้างแมงลัก เมล็ดแมงลัก ใบแมงลัก สมุนไพร

ต้นแมงลัก ( Hairy Basil ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของแมงลัก คือ Ocinum canum . Sim. ชื่อเรียกอื่นๆของแมงลัก เช่น มังลัก ขาวมังลัก ผักอี่ตู่ กอมก้อขาว เป็นต้น ใบแมงลัก มีกลิ่นหอม นิยมนำมาทำอาหาร ช่วยดับคาว และ เพิ่มความหอมของอาหารได้ดี เมนูอาหาร ที่นำใบแมงลักมาทำอาหาร เช่น แกงเลียง แกงหน่อไม้ เป็นต้น

แมงลักในประเทศไทย

สำหรับแมงลักในประเทศไทย จัดว่าเป็นพืชเศรษบกิจชนิดหนึ่ง มีการปลูกแมงลัก เพื่อผลิตใบสดและเมล็ดแมงลักในเชิงพาณิชย์ สามารถพบเห็นแมงลักได้ทั่วไปตามตลาด สายพันธุ์แมงลัก ที่นิยมปลูก คือ แมงลักสายพันธ์ศรแดง ที่มีลักษณะใบใหญ่ แหล่งปลูกต้นแมงลัก พบได้ทั่วไปทั่วประเทศ

ลักษณะของต้นแมงลัก

ต้นแมงลัก เป็นพืชล้มลุก  อายุสั้นไม่ถึง 1 ปี นิยมกินเป็นอาหาร ต้นแมงลัก สามารถขยายพันธ์ได้โดยการปักชำและการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นแมงลัก มีดังนี้

  • ลำต้นของแมงลัก เนื้อไม้ของต้นแมงลักอ่อน อวบน้ำ ความสูงประมาณ 50 เซ็นติเมตร ลักษณะลำต้นและกิ่งก้านค่อนข้างเป็นทรงเหลี่ยม เปลือกลำต้นสีเขียว มีระบบรากเป็นแก้วและรากฝอย รากของต้นแมงลักสามารถลึกได้ถึง 30 เซ็นติเมตร
  • ใบแมงลัก ลักษณะเป็นใบเดี่ยว สีเขียว ออกตามกิ่งของต้นแมงลัก ใบเป็นทรงรี ปลายใบแหลม โคนใบโค้งมน มีขนอ่อนปกคลุมทั่วใบ
  • ดอกแมงลัก ลักษณะของดอกออกเป็นช่อ ดอกออกเป็นกระจุก กลีบดอกสีเขียว
  • เมล็ดแมงลัก อยู่ภายในดอกแก่ของต้นแมงลัก เมล็ดแมงลักมีลักษณะรีแบน สีดำ สามารถนำมาขยายพันธ์ได้

คุณค่าทางโภชนาการของแมงลัก

ต้นแมงลัก นั้นนำมาใช้ประโยชน์บริโภคใบสดและเมล็ด โดยนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของแมงลัก มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเม็ดแมงลัก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 420 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 54 กรัม โปรตีน 15 กรัม ไขมัน 16 กรัม กากใยอาหาร 54 กรัม

คุณค่าทางโภชนาการของใบแมงลัก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 32 แคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย แคลเซียม 350 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 86 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.9 มิลลิกรัม วิตามินเอ 10,666 มิลลิกรัม ไทอามีน 0.30 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.14 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.0 มิลลิกรัม วิตามินซี 78 มิลลิกรัม กากใยอาหาร 2.6 กรัม คาร์โบไฮเดรต 11.1 กรัม ไขมัน 0.8 กรัม และ โปรตีน 2.9 กรัม

น้ำมันหอมระเหยจากแมงลัก

สำหรับน้ำมันหอมระเหยจากแมงลัก มีมากในใบแมงลัก ซึ่งน้ำมันหอมระเหยจากแมงลัก ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด มี 3 ชนิด ประกอบด้วย

  • น้ำมันหอมระเหยที่มี methyl cinnamate
  • น้ำมันหอมระเหยที่มี d-camphor
  • น้ำมันหอมระเหยที่มี polyuronide

สรรพคุณของแมงลัก

สำหรับการใช้ประโยชน์จากแมงลัก ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้นใช้ประโยชน์จาก ใบแมลงลัก และ เมล็ดแมงลัก โดยรายละเอียดของ สรรพคุณของแมงลัก มีดังนี้

  •  เมล็ดแมงลัก สรรพคุณยาระบายอ่อนๆ ทำให้อุจจาระอ่อนตัว ลดอาการท้องผูก ช่วยย่อยอาหาร ทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น เสริมการสร้างกระดูก ป้องกันโรคกระดูกเสื่อม ช่วยอาการของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยควบคุมน้ำหนัก ช่วยลดน้ำหนัก
  • ใบแมงลัก สรรพคุณช่วยบำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง บำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตา ป้องกันโรคมะเร็ง แก้เจ็บคอ แก้ไอ ช่วยขับเสมหะ รักษาไข้หวัด แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ท้องผูก ป้องกันโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยรักษากลากน้ำนม

โทษของเม็ดแมงลัก

สำหรับการรับประทานแมงลัก ต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม หากรับประทานเม็ดแมงลักมากเกินไป อาจทำให้เกิดโทษได้ โดย ข้อควรระวังในการรับประทานแมงลัก มีรายละเอียด ดังนี้

  • หากรับประทานเมล็ดแมงลักมากเกินไป จะทำให้รู้สึกแน่นท้อง ไม่สบายตัว
  • เม็ดแมงลัก ที่ยังไม่พองตัวอย่างเต็มที่ หากรับประทานเข้าไป เมล็ดแมงลักอาจดูดน้ำจากกระเพาะอาหาร จนเกิดเป็นก้อนภายในกระเพาะอาหาร ทำให้อุดตันในลำไส้ ทำให้ท้องผูก
  • เม็ดแมงลัก ไม่ครวรับประทานพร้อมกับยาอื่น ๆ เพราะ เมล็ดแมงลักอาจดูดสรรพคุณของยา เหล่านั้นได้

แมงลัก คือ พืชสมุนไพร ตระกูลเดียวกับโหระพาและกระเพรา นิยมนำมาบริโภคใบและเมล็ด ลักษณะของต้นแมงลักเป็นอย่างไร สรรพคุณของแมงลัก เช่น ช่วยควบคุมน้ำหนัก เป็นยาระบายอ่อนๆ คุณค่าทางโภชนาการและโทษของแมงลัก มีอะไรบ้าง

กระวาน สมุนไพร ผลกระวานมาทำเครื่องเทศ ต้นกระวานเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ คุณค่าทางโภชนาการของกระวาน โทษของกระวานมีอะไรบ้าง กระวาน ใบกระวาน สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นกระวาน ( Clustered cardamom ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระวาน คือ Amomum verum Blackw. ชื่อเรียกอื่นๆของกระวาน เช่น ปล้าก้อ กระวานขาว มะอี้ ข่าโคก ข่าโค่ม หมากเนิ้ง กระวานไทย กระวานดำ กระวานแดง กระวานจันทร์ กระวานโพธิสัตว์ เป็นต้น ต้นกระวาน จัดเป็นพืชตระกูลขิง กระวานมีราคาสูง

ชนิดของกระวาน

สำหรับกระวาน ที่มีการซื้อขายในประเทศไทย มี 2 ชนิด คือ กระวานไทย และ กระวานเทศ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • กระวานไทย ( Amomum krevanh ) เป็นสายพันธ์ที่นิยมปลูกในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉีียงใต้ กระวานไทยมีผลค่อนข้างกลม สำหรับ ประเทศไทย มีกระวานจากป่าบริเวณเขาสอยดาวจังหวัดจันทบุรี เป็นกระวานคุณภาพดี เรียกว่า “ กระวานจันทบุรี ”
  • กระวานเทศ ( Elettaria cardamomum ) เป็นกระวานทีปลูกตามประเทศเอเชียกลาง อินเดีย ศรีลังกา กระวานเทศลักษณะผลจะแบนรี

กระวานในประเทศไทย

สำหรับ กระวานในประเทศไทย เป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง มีการส่งออกกระวานสำหรับทำเป็นเคร่ื่องเทศ โดยแหล่งปลูกกระวานที่สำคัญของประเทศไทย คือ จังหวัดจันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฐธานี สงขลา แต่กระวานคุณภาพดีที่สุด คือ กระวานจันทบุรี นิยมส่งออกไปประเทศจีน และ ฮ่องกง โดยผลผลิตกระวานจะออกมากที่สุดในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมของทุกปี

ลักษณะของต้นกระวาน 
ต้นกระวาน คือ พืชล้มลุก พืชตระกูลขิง ชอบขึ้นตามที่ร่ม ชอบดินความชื้นสูง และพบกระจายตามบริเวณป่าเขา กระวาน สามารถขยายพันธ์ได้โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ และ การแตกหน่อ ลักษณะของต้นกระวาน มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นกระวาน มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ลำต้นความสูงประมาณ 2 เมตร มีสีเขียว ลักษณะอวบน้ำ
  • ใบกระวาน เป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบยาว ปลายใบแหลม ใบเรียบ มีสีเขียว
  • ดอกกระวาน ออกดอกเป็นช่อ โดยช่อดอกกระวานจะออกมาจากเหง้า และชูขึ้น กลีบดอกกระวานมีสีเหลือง
  • ผลกระวาน ลักษณะกลม ติดกันเป็นพวง ผลมีสีขาวนวล ผิวของเปลือกผลกระวานเกลี้ยง ผลอ่อนมีขน ผลแก่จะร่วง มีเมล็ดอยู่ภายในจำนวนมาก
  • เมล็ดกระวาน มีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นการบูร รสเผ็ด เมล็ดอ่อนมีสีขาว เมล็ดแก่เป็นสีดำ

คุณค่าทางโภชนาการของกระวาน

สำหรับด้านโภชนาการ นักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระวาน ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 254.0 กิโลแคลอรี และ มีสารอาหารสำคุณ เช่น โปรตีน 9.5 กรัม ไขมัน 6.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 39.7 กรัม แคลเซียม 16.0 กรัม ฟอสฟอรัส 23.0 มิลลิกรัม และ เหล็ก 12.6 มิลลิกรัม น้ำมันหอมระเหยจากกระวาน สามารถต้านเชื้อแบคทีเรียได้

สรรพคุณของกระวาน

สำหรับประโยชน์ของกระวานด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชนืได้จาก ผลกระวาน ใบกระวาน เมล็ดกระวาน โดย สรรพคุณของกระวาน มีดังนี้

  • ผลแก่กระวาน สรรพคุณบำรุงร่างกาย ช่วยขับเลือด ขับลม ช่วยเจริญอาหาร แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ เป็นยาระบาย ต้านเชื้อแบคทีเรีย
  • ใบกระวาน สรรพคุณบำรุงร่างกาย ขับลม ขับเสมหะ ทำให้สดชื่น แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • เปลือกกระวาน สรรพคุณบำรุงร่างกาย ขับเสมหะ แก้ไข้ ทำให้สดชื่น รักษาโรคผิวหนัง
  • เมล็ดกระวาน สรรพคุณบำรุงร่างกาย ขับเสมหะ แก้ปวดท้อง เป็นยาระบาย
  • แก่นกระวาน สรรพคุณรักษาโรคโลหิตเป็นพิษ
  • รากกระวาน สรรพคุณช่วยฟอกเลือด แก้โลหิตเน่าเสีย ขับเสมหะ
  • กระพี้กระวาน สรรพคุณบำรุงเลือด รักษาโรคผิวหนัง
  • หน่อกระวาน สรรพคุณช่วยถ่ายพยาธิ

โทษของกระวาน

สำหรับการใช้ประโยชน์กระวาน ก็เหมือนสมุนไพรทั่วไป ที่ต้องใช้อย่างถูกต้องและในปริมาณที่เหมาะสม จึงจะไม่เกิดโทษต่อร่างกาย แต่ยังไม่พบว่ามีรายงานถึงความเป็นพิษจากการใช้กระวาน ดังนั้นการใช้กระวานจึงน่าจะมีความปลอดภัยสูง

กระวาน คือ พืชเศรษฐกิจ สมุนไพร นิยมนำผลกระวานมาทำเครื่องเทศ ลักษณะของต้นกระวานเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของกระวาน เช่น ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ โทษของกระวานมีอะไรบ้าง คุณค่าทางโภชนาการของกระวาน


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove