ฟักข้าว Baby Jackfruit เบต้าเคโรทีนสูง ลักษณะของต้นฟักข้าว คุณค่าทางโภชนาการของฟักข้าว สรรพคุณใช้ถอนพิษ แก้ปวดหลัง ลดน้ำตาลในเลือด โทษของฟักข้าว

ฟักข้าว สมุนไพร สรรพคุณของฟักข้าว

ฟักข้าว ภาษาอังกฤษ เรียก Baby Jackfruit มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Momordica cochinchinensis (Lour) Spreng. ฟักข้าวมีชื่ออื่นๆ เช่น มะข้าว ขี้กาเครือ พุกู้ต๊ะ ผักข้าว เป็นต้น ต้นฟักข้าว มีถิ่นกำเนิดในประเทศพม่า ไทย จีน ลาว เขมร บังกลาเทศ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และมาเลเซีย

ประโยชน์ของฟักข้าว มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยในการชะลอวัย ป้องกันการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ปัญหาผิวแห้งกร้าน ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด ซึ่งฟักข้าวมีเบตาแคโรทีนสูงกว่าแครอท 10 เท่า และมีไลโคปีนมากกว่ามะเขือเทศ 12 เท่า ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ป้องกันโรคเกี่ยวกับดวงตา โรคต้อกระจก ประสาทตาเสื่อม ตาบอดตอนกลางคืน ช่วยป้องกันโรคหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด ช่วยป้องกันและช่วยยับยั้งการเกิดลิ่มเลือดในเส้นเลือด ช่วยป้องกันเส้นเลือดในสมองแตก ซึ่งเป็นสาเหตุของการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ฟักข้าวมีโปรตีนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อเอดส์ (HIV) และยังช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย ซึ่งได้ทำการจดสิทธิบัตรในประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ฟักข้าวมีฤทธิ์ในการต่อต้านมะเร็ง ไวรัส ช่วยยับยั้งระดับน้ำตาลในเลือด และยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีน ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารและมะเร็งปอด

งานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮานอยพบว่า น้ำมันจากเยื่อหุ้มเมล็ดของฟักข้าวมีประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งตับ ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ ช่วยในการขับเสมหะ ใช้กลั้วคอช่วยลดอาการเจ็บคอหรืออาการอักเสบที่ลำคอ ฟักข้าวเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะพักฟื้นหรือผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ มีโรคประจำตัวหรือร่างกายอ่อนแอ รากฟักข้าวใช้แช่น้ำสระผม ช่วยทำให้ผมดกดำขึ้น แก้ปัญหาผมร่วง แก้อาการคันหนังศีรษะ รังแค และช่วยฆ่าเหาได้อีกด้วย

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ ได้ทำการศึกษาร่วมกันในเรื่องของการนำน้ำมันเยื่อหุ้มเมล็ดของฟักข้าวมาพัฒนาเป็นเครื่องสำอางสูตรลดเลือนริ้วรอย ซึ่งก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จนได้รับรางวัล “IFSCC Host Society Award 2011” จากงานประชุมสมาพันธ์นักเคมีเครื่องสำอางนานาชาติ ผลอ่อนฟักข้าวใช้ทำเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นนำไปต้มหรือนึ่งจิ้มกินกับน้ำพริก หรือนำไปใส่แกงต่าง ๆ เช่น แกงส้มลูกฟักข้าว เป็นต้น ยอดฟักข้าวอ่อนใช้ทำเป็นอาหารก็อร่อย (กลิ่นจะคล้าย ๆ กับยอดหรือใบมะระ) เมนูฟักข้าว เช่น แกงเลียง แกงส้ม ผัดไฟแดง คั่วแค ใช้ลวกหรือต้มกินกับน้ำพริก ฯลฯ ฟักข้าวสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่าง เช่น น้ำฟักข้าว ฟักข้าวแคปซูล เป็นต้น

ลักษณะของต้นฟักข้าว

ต้นฟักข้าว เป็นพืชล้มลุก เป็นพืชชนิดเถาไม้เลื้อย สามารถขยายพันธ์ได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด การปักชำ การทาบกิ่ง การตอนกิ่ง ลักษณะของต้นฟักข้าว มีดังนี้

  • ลำต้นฟักข้าวลักษณะคล้ายกับต้นตำลึง ลำต้นกลม อ่อนอวบน้ำ ผิวขลุขละ สีเขียว
  • ใบของฟักข้าวเป็นใบเดี่ยว รูปร่างคล้ายกับหัวใจ ทรงรี ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก
  • ดอกของฟักข้าวจะออกตรงข้อต่อตามซอกใบ ลักษณะของดอกฟักข้าวเหมือนกับดอกตำลึงเลย มีกลีบดอกสีขาว ดอกของฟักข้าวจะมีสีเหลือง
  • ผลของฟักข้าวจะคล้ายรูปไข่เปลือกมีหนามเล็กๆ ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกสีส้ม
  • เมล็ดของฟักข้าว จะอยู่ในผลของฟักข้าวเหมือนเมล็ดแตง

คุณค่าทางโภชนาการของฟักข้าว

นักโภชนาการ ได้ศึกษา ฟักข้าว พบว่า ในผลอ่อนของผักข้าวขนาด 100 กรัม มีกากใยอาหาร 1 กรัม น้ำตาล 1.8 กรัม โปรตีน 0.98 กรัม มีวิตามินซี 0.04 มิลลิกรัม บีต้าแคโรทีน 91 มิลลิกรัม แคลเซียม 0.34 มิลลิกรัม ในฟักข้าวจะมีบีตาแคโรทีนมากกว่าแครอตถึง 10 เท่าตัว มีไลโคพีนมากกว่ามะเขือเทศถึง 12 เท่าตัว

สรรพคุณของฟักข้าว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากฟักข้าว ด้านกรบำรุงร่างกายและการรักษาโรค เราสามารถนำฟักข้าวมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ ใบ ราก ผล เมล็ด รายละเอียด ดังนี้

  • ใบของฟักข้าว เรานำมาใช้ ช่วยลดน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานได้ ช่วยแก้ไข้ตัวร้อนได้ ใช้รักษาริดสีดวง แก้อาการปวดหลังได้ แก้กระดูกเดาะ ช่วยถอนพิษอักเสบ รักษาฝี รักษาหูด
  • รากของฟักข้าว เรานำมาใช้ ดื่มช่วยถอนพิษ ช่วยขับเสมหะ ช่วยลดไข้ แก้ปวดตามข้อ
  • ผลอ่อนของฟักข้าว ใช้ลดน้ำตาลในเลือด ใช้รักษาโรคเบาหวาน
  • เมล็ดของฟักข้าว ใช้ในการ รักษาฝีในปอด รักษาท่อน้ำดีอุดตัน ช่วยขับปัสสาวะ รักษาอาการอักเสบ รักษาอาการบวม รักษากลากเกลื้อน รักษาโรคผิวหนัง

โทษของฟักข้าว

สำหรับผลฟักข้าวสามารถรับประทานได้ แต่เมล็ดดิบของฟักข้าวมีความเป็นพิษ การรับประทานเมล็ดของฟักข้าวอาจทำให้เกิดอาการแพ้ มึนเมา อาเจียน เป็นอันตรายได้

ว่านหางจระเข้ ( Aloe ) ต้นว่านหางจระเข้เป็นอย่างไร โทษของว่านหางจรเข้ สรรพคุณของว่านหางจระเข้ เช่น สมานแผล บำรุงผิวพรรณ ชื่อเรียกอื่นๆ เช่น ว่านไฟไหม้ หางตะเข้

ว่านหางจระเข้ สมุนไพรบำรุงผิวพรรณ

ว่านหางจระเข้ ( Aloe ) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของว่านหางจระเข้ คือ Aloe barbadenisi Mill. ลักษณะของต้นว่านหางจระเข้ โทษของว่านหางจรเข้ สรรพคุณของว่านหางจระเข้ ชื่ออื่นๆของว่านหางจระเข้ เช่น ว่านไฟไหม้ หางตะเข้ สมุนไพร สรรพคุณของว่านหางจระเข้ เช่น รักษาแผล บำรุงผิว รักษาแผลในกระเพาะอาหาร และ บำรุงเส้นผม ว่านหางจระเข้ นิยมนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำเครื่องสำอางค์ สำหรับบำรุงผิว

ว่านหางจระเข้ ( Aloe Vera ) คือ พืชชนิดหนึ่งที่ถูกจัดอยู่ในประเภทพืชล้มลุก สีเขียว มีลักษณะลำต้นเป็นข้อปล้อง ใบเดี่ยว ใบหนายาวและโคนใบใหญ่ ปลายแหลม ขอบใบมีหนามห่างกันเป็นระยะ เรียงเป็นชั้น ข้างในใบเป็นวุ้นใสสีเขียวอ่อน มีเมือกเหนียว สามารถออกดอกสีแดงอมเหลืองที่ปลายยอดได้ มีถิ่นกำเนิดมาจากแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและตอนใต้ของทวีปแอฟริกา สามารถปลูกได้ง่ายในดินทราย หรือในกระถางก็ได้ เป็นพืชชอบน้ำ แต่ต้องมีทางระบายน้ำได้ดี ป้องกันไม่ให้อมน้ำมากเกินไปจนรากเน่า

ลักษณะของต้นว่านหางจระเข้

ต้นว่านหางจระเข้ เป็น ไม้ล้มลุก ความสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร ลักษณะเป็นข้อและปล้องสั้น ใบของว่านหางจระเข้ เป็น ใบเดี่ยว ยาว อวบน้ำ มีสีเขียวอ่อน ภายในใบมีวุ้นใส ดอกว่านหางจระเข้ จะเป็นช่อออกตรงกลางต้น ดอกย่อยของว่านหางจระเข้ เป็นหลอดห้อยลง จะมีสีส้ม

สรรพคุณของว่านหางจระเข้

การใช้ประโยชน์จากว่านหางจระเข้ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค เราจะใช้น้ำยางที่ใบของว่านหางจระเข้มาใช้ ซึ่ง การใช้ว่านหางจระเข้ ทางสมุนไพร มีดังนี้

  • นำว่านหางจระเข้มารักษาแผลไฟไหม และน้ำร้อนลวก โดย ใช้น้ำยางมาทาผิวของแผล ช่วยรักษาแผล และสมานแผลได้
  • การรักษาสิว โดยใช้ยางว่านหางจระเข้ทาหน้า รักษาสิวให้แห้งและหลุดง่าย
  • บำรุงผมและหนังศีรษะ โดยใช้ยางว่านหางจระเข้ มาเป็นส่วนผสมของยาสระผม ทำให้ ลดอาการคันหนังศรีษะ ไม่มีรังแค
  • นำว่านหางจระเข้มารับประทาน ใช้รักษาแผลในกระเพาะอาหาร

ผลิตภัณฑ์จากว่านหางจระเข้

เมื่อสรรพคุณของว่านหางจระเข้มีอยู่มากมายรอบด้านขนาดนี้ ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เกิดจากว่านหางจระเข้ก็ย่อมต้องทยอยออกมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภคมากขึ้น ปัจจุบันจึงมีผลิตภัณฑ์ที่ถูกแปรรูปจากว่านหางจระเข้อยู่หลากหลาย ดังนี้

  • เจลว่านหางจระเข้ สรรพคุณ ใช้ทาเพื่อลดอาการบวม เป็นครีมทาใต้ตา บำรุงผิวหน้า เพิ่มความชุ่มชื้น ใช้ผสมกับส่วนผสมต่าง ๆ พอกหน้าแทนวุ้นว่านหางจระเข้ได้ ทั้งยังใช้ทาแผลพุพอง แผลสด เพื่อบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อนได้อีกด้วย เหมาะสำหรับผู้ที่เพิ่งผ่านการยิงเลเซอร์ และมีรอยไหม้แดงบนใบหน้า จะทำให้บรรทาอาการลงและฟื้นตัวเร็วขึ้น
  • ครีมว่านหางจระเข้ ก็มีสรรพคุณเดียวกันกับเจลว่านหางจระเข้ แตกต่างกันที่เนื้อผลิตภัณฑ์ ที่มีส่วนผสมของมอยส์เจอไรเซอร์เข้มข้นกว่า อาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีหน้ามัน เพราะเนื้อครีมจะให้ความรู้สึกหนักกว่าเนื้อเจล แต่ค่อนข้างเหมาะกับผู้ที่มีหน้าแห้ง เพราะจะให้ความชุ่มชื้นที่มากกว่า

ทั้งนี้นอกจากเจลว่านหางจระเข้และครีมว่านหางจระเข้แบบทั่วไปแล้ว ยังถูกต่อยอดออกไปเป็นเจลล้างหน้าว่านหางจระเข้ เจลและครีมว่านหางจระเข้แบบผสมสารกันแดด นอกจากนี้ยังมีน้ำว่านหางจระเข้สำหรับดื่มอีกด้วย โดยสรรพคุณไม่แตกต่างจากว่านหางจระเข้สดมากนัก

คำแนะนำในการใช้ว่านหางจระเข้

  • การเลือกใช้ใบจากต้นว่านหางจระเข้ควรเลือกต้นที่มีอายุมากกว่า 1 ขึ้นไป และให้เลือกใบล่างสุดเพราะจะอวบโตและมีวุ้นมากกว่าใบที่อยู่ด้านบน
  • เนื่องจากวุ้นของว่านหางจระเข้ไม่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ควรปอกโดยใช้เทคนิคปลอดเชื้อ Aseptic technique เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • การนำวุ้นมาใช้เพื่อรักษาแผลจำเป็นต้องล้างน้ำให้สะอาด เพื่อป้องกันน้ำยางจากเปลือกที่มีสารแอนทราควิโนน (Anthraquinone) เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้
  • ว่านหางจระเข้จะมีคุณภาพสูงสุดเมื่อตัดมาแล้วใช้ทันที และจะมีสรรพคุณทางยาที่ดีกว่าผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
  • วุ้นของว่านหางจระเข้จะไม่คงตัวเท่าไหร่นัก ดังนั้นถ้าปอกแล้วจะเก็บไว้ได้เพียง 6 ชั่วโมงเท่านั้น
  • หากนำว่านหางจระเข้ไปแช่ในตู้เย็นจนเย็นก่อนการนำมาใช้ จะช่วยทำให้รู้สึกสดชื่นเย็นสบายมากยิ่งขึ้น
  • การใช้เพื่อใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย ไม่ควรใช้กับหญิงตั้งครรภ์หรือหญิงที่กำลังจะมีประจำเดือน รวมไปถึงผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวารด้วย
  • การใช้วุ้นจากใบเพื่อใช้เป็นยาทาภายนอก สำหรับบางรายแล้วอาจจะเกิดอาการแพ้ได้ (จากงานวิจัยพบว่าไม่ถึง 1%) โดยลักษณะของอาการแพ้หลังจากหรือปิดวุ้นลงบนผิวหนัง จะทำให้ผิวหนังเป็นผื่นแดงบาง ๆ หรืออาจมีอาการเจ็บแสบด้วย โดยอาการจะแสดงหลังจากทาไปแล้วประมาณ 2-3 นาที ถ้าคุณมีอาการแพ้หลังการใช้วุ้นว่านหางจระเข้ ก็ให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาด และเลิกใช้ทันที

ว่านหางจระเข้ ( Aloe ) ลักษณะของต้นว่านหางจระเข้ เป็นอย่างไร โทษของว่านหางจรเข้ สรรพคุณของว่านหางจระเข้ เช่น สมานแผล บำรุงผิวพรรณ ชื่ออื่นๆของว่านหางจระเข้ เช่น ว่านไฟไหม้ หางตะเข้


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove