งาดำ สมุนไพร เมล็ดงาดำนิยมนำมาบริโภค ลักษณะของต้นงาดำเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของงาดำ สรรพคุณช่วยชะลอวัย บำรุงผิวพรรณ บำรุงผม โทษของงาดำ มีอะไรบ้าง

งาดำ สมุนไพร สรรพคุณของงาดำ

งาดำ ( Sesamum ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของงาดำ คือ Sesamum indicum L สมุนไพร คุุณค่าทางโภชนาการของงาดำ สรรพคุณของงาดำ ช่วยชะลอความแก่  ช่วยบำรุงผิว ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ช่วยซ่อมแซมผิวพรรณ ช่วยบำรุงรากผม ช่วยให้ผมดกเงางาม ช่วยป้องกันการเกิดผมหงอก ช่วยบำรุงกำลัง ช่วยสลายไขมัน ใช้ลดความอ้วน ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในร่างกาย

นอกจากนั้น งาดำยังมีสรรพคุณ ช่วยป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยบำรุงสมอง ช่วยบำรุงโลหิต ลดความดันโลหิต ช่วยขยายหลอดเลือด ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว ช่วยให้นอนหลับสบาย  ป้องกันโรคหวัด ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยบรรเทาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยป้องกันโรคข้อเสื่อม เป็นยาระบายอ่อนๆ  งาดำสามารถช่วยบำรุงร่างกาย ได้มากมาย เช่น ผม ผิว กระดูก เล็บ การขับถ่าย ระบบเลือด บำรุงหัวใจ หรือผู้หญิงวัยทอง ซึ่งงาดำช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ได้ดี

งาดำ ถือเป็นพืชชนิดพืชล้มลุก งาดำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Sesamum indicum L งาเป็นพืชท้องถิ่นของเอเชีย และแถบตะวันออกของทวีปแอฟริกา ในปัจจุบันสามารถพบงานได้ในประเทศเขตร้อน ต้นงา จะมีความสูงประมาณ 2 เมตร เมื่อผลของงาเแห้งจะมีเมล็ดเล็กๆสีดำ สามารถนำมารับประทานได้ งาถือว่าเป็นพืชที่มีประโยชน์มาก หากรับประทานอย่างต่อเนื่องจะทำให้ร่างกายแข็งแรง ในงาดำ จะมาสารอาหารมากมายประกอบด้วย วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินบี9 ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุสังกะสี และธาตุเหล็ก

ลักษณะของต้นงาดำ

ต้นงาดำ เป็นพืชล้มลุก เป็นไม้เนื้ออ่อน มีขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรงถึงยอด ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยมสีเขียวเข้มปนม่วง มีร่องตามยาวและมีขนปกคลุม อวบน้ำ สูงประมาณ 0.5-2 เมตร ใบมีลักษณะคล้ายกับใบหญ้างวงช้าง มีขนตลอดทั้งใบ เป็นใบเดียวรูปไข่ หรือรูปหอก ขอบใบเป็นจัก ใบมีสีเขียวอ่อนไปจนถึงเขียวเข้ม บางพันธุ์ใบอาจเป็นสีเหลือง ก้านใบยาว 5 เซนติเมตร ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลุ่มละ 1-3 ดอก ก้านดอกสั้น กลีบรองดอกมี 5 แฉก กลีบดอกมีสีขาว ขาวอมชมพู หรือม่วงอ่อน ผลหรือฝักขนาดค่อนข้างกลม รูปทรงกระบอกหรือแบน มีขนสั้น ๆ ปกคลุมรอบฝัก ปลายฝักมีจงอยแหลม เมล็ดมีรูปไข่ งาดำจะมีเมล็ดเป็นสีดำขนาดใหญ่กว่าเม็ดแมงลักเล็กน้อย ส่วนงาขาวจะมีสีนวล

คุณค่าทางโภชนาการของงาดำ

นักวิชาการได้ศึกษางาดำขนาด 100 กรัม พบว่า คุณค่าทางโภชนาการของงาดำต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 573 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 23.45 กรัม กากใยอาหาร 11.8 กรัม โปรตีน 17.73 กรัม น้ำ 4.69 กรัม น้ำตาล 0.30 กรัมไขมันรวม 49.67 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 18.759 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 21.773 กรัม กรดไขมันอิ่มตัว 6.957 กรัม
กรดกลูตามิก 3.955 กรัม กรดแอสพาร์ติก 1.646 กรัม เมไธโอนีน 0.586 กรัม ทรีโอนีน 0.736 กรัม ซีสทีอีน 0.358 กรัม ซีรีน 0.967 กรัม ฟีนิลอะลานีน 0.940 กรัม อะลานีน 0.927 กรัม อาร์จินีน 2.630 กรัม โปรลีน 0.810 กรัม ไกลซีน 1.215 กรัม ฮิสทิดีน 0.522 กรัม ทริปโตเฟน 0.388 กรัม ไทโรซีน 0.743 กรัม วาลีน 0.990 กรัม ไอโซลิวซีน 0.763 กรัม ลิวซีน 1.358 กรัม ไลซีน 0.569 กรัม
ไฟโตสเตอรอล 714 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 5 ไมโครกรัม วิตามินเอ 9 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.25 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.791 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.247 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 4.515 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.050 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.790 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 97 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 975 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 14.55 มิลลิกรัม ธาตุซีลีเนียม 5.7 ไมโครกรัม ธาตุโซเดียม 11 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 629 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 7.75 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 468 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 351 มิลลิกรัม
ธาตุแมงกานีส 2.460 มิลลิกรัม และธาตุทองแดง 4.082 มิลลิกรัม

สรรพคุณของงาดำ

สำหรับ สรรพคุณทางยาของงาดำ ประกอบด้วย ช่วยชะลอความแก่  ช่วยบำรุงผิว ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ช่วยซ่อมแซมผิวพรรณ ช่วยบำรุงรากผม ช่วยให้ผมดกเงางาม ช่วยป้องกันการเกิดผมหงอก ช่วยบำรุงกำลัง ช่วยสลายไขมัน ใช้ลดความอ้วน ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในร่างกาย ช่วยป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยบำรุงสมอง ช่วยบำรุงโลหิต ลดความดันโลหิต ช่วยขยายหลอดเลือด ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว ช่วยให้นอนหลับสบาย  ป้องกันโรคหวัด ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยบรรเทาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยป้องกันโรคข้อเสื่อม

ข้อควรระวังในการบริโภคงาดำ

  1. สำหรับคนที่ลดน้ำหนักโดยการกินงาดำ เนื่องจากงาดำมีน้ำหนักเบา ซึ่งทำให้น้ำหนักตัวลดมาก อาจไม่ดีต่อสุขภาพ
  2. การบริโภคเมล็ดงาดำ มากเกินไปทำให้ลำไส้ใหญ่ถูกทำลายได้ และเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
  3. เมล็ดงา ทำให้ลำไส้ใหญ่อักเสบได้ และอาจทำให้ท้องผูก ปวดท้องได้
  4. อาการแพ้งาดำ ในการบริโภคงาดำสามารถทำให้แพ้ได้ อาการการแพงงาดำ เช่น ระบบย่อยอาหารผิดปกติ ตาอักเสบ น้ำมูกไหล หายใจลำบาก เป็นต้น หรือบางรายมีอาการแพ้อย่างรุนแรง คือ หอบ ความดันโลหิตต่ำ รู้สึกแน่นหน้าอก และทางเดินหายใจตีบตัน อาจเสียชีวิตได้ในที่สุด
  5. การบริโภคงาดำมากเกินไปอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่ไส้ติ่งได้
  6. คุณสมบัติหนึ่งของาดำคือ เป็นยาระบาย ซึ่งถ้าบริโภคมากเกินไปจะทำให้มีการถ่ายท้องมากเกินไป
  7. งาดำมีสรรพคุณในการบำรุงผม แต่ถ้าหากใช้มากเกินไป จะทำให้ผมร่วงได้
  8. ในสตรีมีครรภ์ ช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ไม่ควรรับประทานงาดำ อาจทำให้แท้งบุตรได้

ผักกระเฉด ( Water mimosa ) สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน ลักษณะของผักกระเฉดเป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงกระดูกและฟัน บำรุงสายตา ผักกระเฉดเจริญเติมโตได้ในน้ำ

ผักกระเฉด ผัก สมุนไพร สรรพคุณของกระเฉด

ผักกระเฉด ( Water mimosa ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเฉด คือ Neptumia oleracea Lour. FL. พืชผัก สมุนไพร สรรพคุณของกระเฉด บำรุงกระดูกและฟัน บำรุงสายตา ผักกระเฉดเจริญเติมโตได้ในน้ำ มีรากแตกเป็นกระจุกตามข้อ ปล้องแก่มีนวมเหมือนฟองน้ำ เรียกว่า “ นมกระเฉด ” หุ้มอยู่ตามปล้องกระเฉด มีคุณสมบัติทำให้ต้นลอยน้ำ ผักกระเฉด ผักพื้นบ้านที่รู้จักกันดี นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน

ต้นกระเฉด ภาษาอังกฤษ เรียก Water mimosa มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Neptumia oleracea Lour. FL. ชื่ออื่นๆ ของผักกระเฉด เช่น ผักหละหนอง ผักหนอง ผักรู้นอน ผัดฉีด ผักกระเสดน้ำ

ผักกระเฉด เป็นพืชไม้เลื้อย หากอยู่บนดินจะเป็นพืชคลุมดิน เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับผักบุ้ง เป็นพืชพื้นเมืองของไทยผักกะเฉดสามารถเจริญเติบโตได้ดีทั้งในน้ำและบนดิน รากของผักกระเฉดจะขึ้นตามข้อ เหมือน “หนวด” ใบของผักกระเฉด เป็นลักษณะเหมือนขนนกและออกตามข้อ ขอบใบจะเป็นสีม่วง ดอกและผลของผักกระเฉดจะออกดอกเป็นช่อลักษณะกลมสีเหลืองตามซอกใบ ผลของผักกระเฉดจะออกเป็นฝักลักษณะโค้งงอ มีเมล็ดอยู่ด้านในฝัก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

  • ลำต้นผักกระเฉด จะขึ้นและเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีน้ำขัง เลื้อยยาวลอยบนน้ำ ลำต้นมีลักษณะกลม และเรียวยาว เป็นปล้อง ภายในตัน ไม่เป็นรูกลวง แต่ละปล้องมีนวมหุ้มสีขาว ที่เรียกว่า “นม” โดยหุ้มปล้องเว้นช่วงที่เป็นข้อของปล้อง นมสีขาวนี้ทำหน้าที่ช่วยพยุงลำต้นผักกระเฉดให้ลอยน้ำได้
  • รากผักกระเฉดเป็นรากฝอย แทงออกตามข้อจำนวนมาก โคนรากมีปมของเชื้อแบคทีเรียไรโซเบียมเหมือนรากของพืชตระกูลถั่วบนบก
  • ใบผักกระเฉด เป็นใบประกอบ แทงออกบริเวณข้อของลำต้น มีก้านใบหลัก แต่ละก้านใบหลักประกอบด้วยก้านใบย่อย 4-6 ก้าน และแต่ละก้านใบจะมีใบ 15-20 คู่ ใบบนก้านใบย่อยจะมีรูปไข่ ขนาดเล็ก ยาวประมาณ 1 ซม. ใบอ่อนมีสีเขียวอมม่วง หลังจากนั้นค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเขียวสด
  • ดอกผักกระเฉด ออกเป็นช่อสีเหลือง แต่จะมองเห็นเป็นดอกเดี่ยวคล้ายดอกกระถิน ดอกมีก้านดอกยาวประมาณ 15-20 ซม. ตัวดอกกว้างประมาณ 2 ซม. มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ และกลีบดอก 5 กลีบ บนดอกที่มองเห็นจะประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ช่อละ 30-50 ดอก โดยดอกช่วงบนจะเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ส่วนดอกช่วงล่างจะเป็นหมัน
  • ผลของผักกระเฉด จะออกเป็นฝักขนาดเล็ก ฝักมีลักษณะแบนยาว ฝักยาวประมาณ 2.5 ซม. ภายในฝักมีเมล็ด 4-10 เมล็ด เมื่อฝักแก่ ฝักจะปริแตกตามร่องด้านข้างเพื่อปล่อยให้เมล็ดร่วงลงน้ำ

นักโภชนาการพบว่าในผักกระเฉดมี มีวิตามินซีสูงมาก มีแคลเซียม และธาตุเหล็ก ช่วยบำรุงสายตา ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มร่างกายกันทำงานปรกติ ช่วยบำรุงระบบสืบพันธ์ บำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันภาวะกระดูกพรุน ทำให้กล้ามเนื้อทำงานปรกติ บำรุงเลือด

สรรพคุณทางสมุนไพรของผักกระเฉด

ตามที่กล่าวมาข้างต้น ผักกระเฉดมีวิตามินซี แคลเซียม และธาตุเหล็ก สูง บำรุงสายตา กระดูก และเลือด ได้ดี นอกจากนั้นแล้ว ผักกระเฉดเป็นยาเย็น ช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ถอนพิษเบื่อเมา ป้องกันโรคตับอักเสบ ประโยชน์ของผักกระเฉด ประกอบด้วย รายละเอียด ดังนี้

  1. ผักกระเฉดมีวิตามินเอซึ่งเป็นตัวช่วยบำรุงและรักษาสายตาได้เป็นอย่างดี
  2. ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยทำให้กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างเป็นปกติ
  3. ผักกระเฉดมีธาตุเหล็ก ซึ่งมีความจำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดงและช่วยป้องกันโรคโลหิตจางได้อีกด้วย
  4. ช่วยเสริมสร้างกระบวนการเผาผลาญสารอาหารให้สร้างเป็นพลังงานให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี
  5. ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก
  6. ช่วยบำรุงร่างกายและดับพิษ
  7. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ
  8. กระเฉดมีฤทธิ์เป็นยาเย็น จึงช่วยดับพิษร้อนได้เป็นอย่างดี
  9. ผักกระเฉดมีสรรพคุณช่วยแก้พิษไข้
  10. ช่วยบรรเทาอาการปวดฟัน ด้วยการนำผักกระเฉดมาตำผสมกับเหล้า แล้วหยอดในบริเวณฟันที่มีอาการปวด
  11. ช่วยขับเสมหะ
  12. ช่วยขับลมในกระเพาะ
  13. ช่วยรักษาโรคกามโรค
  14. ช่วยแก้อาการปวดแสบปวดร้อน
  15. ช่วยถอนพิษยาเบื่อยาเมา
  16. มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคตับอักเสบ
  17. ผักกระเฉดเป็นผักที่เหมาะอย่างมากสำหรับคนธาตุไฟและธาตุดิน ซึ่งจะช่วยทำให้ร่างกายเกิดความสมดุลและไม่เจ็บป่วยได้ง่าย
  18. เมนูผักกระเฉด เช่น ยำวุ้นเส้นผักกระเฉด ผัดหมี่กระเฉด เส้นหมี่ผัดกระเฉดกุ้ง ผัดผักกระเฉดไฟแดง ผักกระเฉดผัดน้ำมันหอย ผักกระเฉดทอดไข่สามรส แกงส้มผักกระเฉดปลาช่อนทอด ฯลฯ หรือจะใช้รับประทานสดร่วมกับน้ำพริกก็ได้

ข้อควรระวังในการบริโภคผักกระเฉด

การรับประทานผักกระเฉดควรทำให้สุก ก่อนนำมารับประทาน เพราะมีความเสี่ยงต่อพยาธิตัวอ่อนที่อาจปะปนเข้ามา รวมไปถึง “ไข่ปลิง” ที่ทนความร้อนได้สูงมาก แอดมินไปอ่านเจอมาว่าต้องต้มด้วยความร้อนสูงถึง 500 องศาเซลเซียสและต้องต้มนานเป็นชั่วโมงเลยถึงจะรับประทานได้อย่างปลอดภัย และนอกจากนี้ยังอาจมีสารพิษจากยาฆ่าแมลง “คาร์โบฟูราน” ปลอมปนเข้ามาอีกด้วย ซึ่งสารพิษตัวนี้มีพิษร้ายแรงต่อร่างกายมนุษย์ มีผลต่อระบบประสาทและหัวใจ เป็นสารก่อมะเร็ง และอาจทำให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานผิดปกติได้ ซึ่งผักกระเฉดในบ้านเราก็เคยถูกอียูสั่งแบน ห้ามนำเข้าอย่างเด็ดขาดมาแล้วด้วยสาเหตุนี้เอง ถ้าไม่แน่ใจจริงก็รับประทานด้วยวิธีปรุงสุกจะดีกว่ารับประทานแบบประเภทยำ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove