ตะขบ สมุนไพร พืชท้องถิ่น ผลตะขบสามารถรับประทานได้ รสหวาน ลักษณะของต้นตะขบเป็นอย่างไร สรรพคุณของตะขบ เช่น บำรุงกำลัง ช่วยขับเงื่อ โทษของตะขบ มีอะไรบ้าง

ตะขบ สมุนไพร

ต้นตะขบ ภาษาอังกฤษ เรียก West Indian Cherry ชื่อวิทยาศาสตร์ของตะขบ คือ Muntingia calabura L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของตะขบ มีหลากหลาย เช่น คนสุราษฏร์ธานี เรียก ครบฝรั่ง กะเหลี่ยงแดง เรียก หม่ากตะโก่เสะ ชาวม้ง เรียก ตากบ เมี่ยน เรียก เพี่ยนหม่าย ชาวภาคกลาง เรียก ตะขบฝรั่ง เป็นต้น

ต้นตะขบ มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับและผลไม้รับประทานผล ซึ่งตะขบมักพบตามพื้นที่รกร้างว่างเปล่าตามป่าโปร่ง เนื่องจากลักษระของตะขนมีผลมาก และสามารถแพร่กระจายง่ายตามรอบๆของต้นตะขบ รวมถึงผลตะขบนิยมเป็นอาหารของนกและสัตว์ขนาดเล็ก

ลักษณะของต้นตะขบ

ต้นตะขบ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ปลูกง่าย สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นตะขบ มีดังนี้

  • ลำต้นต้นตะขบ ความสูงได้ประมาณ 5 ถึง 7 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านและแผ่ขนานกับพื้นดิน ลักษณะของเปลือกลำต้นเรียบเป็นสีเทา กิ่งอ่อนมีขนปกคลุมทั่วกิ่งก้าน
  • ใบตะขบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับตามกิ่งก้าน ลักษณะใบเป็นรูปไข่ปลายแหลม โคนใบมน ขอบใบเป็นหยักๆ ใบลักษณะหยาบ มีขนปกคลุม ใบมีสีเขียว
  • ดอกตะขบ ลักษณะดอกออกเป็นช่อ ดอกออกตามซอกใบ เป็นดอกเดี่ยว กลีบดอกเป็นสีขาว
  • ผลตะขบ เจริญเติบโตจากดอกตะขบ ลักษณะผลกลม ผลสดสีเขียว และ ผลสุกสีแดง ภายในผลมีเมล็ด และ เนื้อผลมีรสหวาน

คุณค่าทางโภชนาการของตะขบ

สำหรับตะขบมีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลตะขบ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 97 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ เช่น แคลเซียม 51.7 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 773 มิลลิกรัม โซเดียม 12.8 มิลลิกรัม และวิตามินกับสารอาหารต่างๆอีกมากมาย จากผลงานการวิจัยของ นพ.สมยศ ดีรัศมี พบว่าตะขบ สามารถช่วยดูดซับคอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ และ ป้องกันเส้นเลือดในสมองแตกได้

สรรพคุณของตะขบ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากตะขบ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผล ดอก เนื้อไม้ ราก และ ใบ สรรพคุณของตะขบ มีดังนี้

  • ผลตะขบ สรรพคุณบำรุงกำลัง ทำให้ร่างกายสดชื่น แก้กระหายน้ำบำรุงสมอง ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็งลำไส้
  • ดอกตะขบ สรรพคุณแก้ปวดหัว แก้ปวดท้อง แก้อาการเกรงในทางเดินอาหาร ช่วยขัยระดูสตรี แก้ตับอักเสบ แก้ปวด แก้อักเสบ
  • เนื้อไม้ตะขบ สรรพคุณแก้ปวดหัว แก้หวัด ลดไข้  แก้ท้องเสีย ช่วยขับพยาธิ แก้ตานขโมย รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการคันตามตัว
  • ใบตะขบ สรรพคุณช่วยขับเหงื่อ
  • รากตะขบ สรรพคุณขับเสมหะ รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการคันตามตัว
  • เปลือกตำต้น สรรพคุณเป็นยาระบาย

โทษของตะขบ

สำหรับการรับประทานผลตะขบเป็นอาหาร เนื่องจากผลตะขบมีรสหวาน สำหรับผู้ป่วยที่มีน้ำตาลในเลือดสูง ผู้ป่วยเบาหวาน ควรรับประทานตะขบในปริมาณที่เหมาะสม และ เปลือกของลำต้นตะขบ มีสรรพคุณเป็นยาระบาย สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องท้องเสีย ไม่ควรรับประทานยาทีมีส่วนผสมของเปลือกลำต้นตะขบ

ตะขบ คือ พืชท้องถิ่น ผลตะขบสามารถรับประทานได้ รสหวาน ลักษณะของต้นตะขบเป็นอย่างไร สรรพคุณของตะขบ เช่น บำรุงกำลัง ช่วยขับเงื่อ โทษของตะขบ มีอะไรบ้าง

หญ้าหวาน สมุนไพรรสหวาน ความหวานมากกว่าน้ำตาล 15 เท่า ต้นหญ้าหวานเป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงสมอง ลดไขมันในเส้นเลือด ลดน้ำตาลในเส้นเลือด โทษของหญ้าหวานมีอะไรบ้าง

หญ้าหวาน สมุนไพร

หญ้าหวาน ภาษาอังกฤษ เรียก Stevia ชื่อวิทยาศาสตร์ของหญ้าหวาน คือ Stevia rebaudiana ( Bertoni ) พืชตระกูลทานตะวัน ชื่อเรียกอื่นๆ เช่น สตีเวีย เป็นต้น หญ้าหวาน พืชพื้นเมืองของบราซิลและปารากวัย ใบหญ้าหวาน ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลถึง 15 เท่า แต่ไม่เกิดพลังงาน ในใบหญ้หวาน มีสารชื่อ สตีวิโอไซด์ ( Stevioside ) ซึ่งมีความหวานมากกว่าน้ำตาล 200 เท่า

หญ้าหวาน ได้รับความสนใจมากเรื่องสุขภาพ เพื่อนำไปใช้ในทางอุตสาหกรรม เครื่องดื่ม ยา และ การแพทย์ ประเทศญี่ปุ่น นำหญ้าหวานมาเป็นส่วนผสมอาหารต่างๆ เช่น เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว ผักดอง เนื้อปลาบด เป็นต้น

หญ้าหวานในประเทศไทย

หญ้าหวาน มีการนำเข้ามาปลูกในประเทศไทย ครั้งแรกปี พ.ศ. 2518 ปลูกที่ภาคเหนือของประเทศ  สารสักัดจากหญ้าหวาน ยังเป็นการนำเข้าเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ต้องใช้ความหวาน หญ้าหวาน ราคาสูง ประมาณ 4,000 – 5,000 บาทต่อกิโลกรัม

ปัจจุบันประเทศไทย สามารถสกัดสารจากหญ้าหวานได้แล้ว มีหลายบริษัท ที่สามารถสกัดสารจากหญ้าหวานได้ อนาคตคาดว่าจะมีการตั้งโรงงานรับซื้อหญ้าหวานในทุกภาค แหล่งปลูกหญ้าหวานในประเทศไทย เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา และ ลำพูน

ลักษณะของต้นหญ้าหวาน

ต้นหญ้าหวาน เป็นขนาดเล็ก พืชล้มลุก คล้ายกับต้นโหระพา สามารถขยายพันธุ์ได้โดย การเพาะเมล็ดพันธ์และการปักชำ ลักษณะของต้นหญ้าหวาน มีดังนี้

  • ลำต้นหญ้าหวาน ต้นเป็นทรงพุ่ม ความสูงประมาณ 100 เซนติเมตร ลำต้นกลมและแข็ง
  • ใบหญ้าหวาน เป็นใบเดี่ยว ลักษณะรีปลายแหลม คล้ายรูปหอก ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบมีรสหวานมาก
  • ดอกหญ้าหวาน ดอกมีขนาดเล็ก ออกดอกช่อ ออกดอกตามปลายกิ่ง ปลีบดอกสีขาว

สารในหญ้าหวาน

สารสกัดจากหญ้าหวาน คือ สตีวิโอไซด์ ( stevioside ) ลักษณะเป็นผลึก ละลายน้ำได้ดี สีขาว ไม่มีกลิ่น รสหวาน ละลายได้ดีในสารละลายกรด สรรพคุณของสตีวิโอไซด์ ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาล ถึง 200 เท่า นอกจากนี้ สามารถพบสารอ่ื่นๆในหญ้าหวาน เช่น สารประกอบพวก ไดเทอร์พีนกลัยโคไซด์ ( diterpene glycoside ) ประกอบด้วย Stevioside ,  Rebaudioside A ถึง F  , Steviol , Steviolbioside และ Dulcoside A

สรรพคุณของหญ้าหวาน

สำหรับหญ้าหวาน มีความเป็นพิษ การใช้ประโยนข์จากหญ้าหวานจะใช้สารสกัดจากหญ้าหวาน มาใช้ประโยชน์ ซึ่ง สรรพคุณของหญ้าหวาน มีดังนี้

  • บำรุงกำลัง ช่วยเพิ่มกำลังวังชา
  • บำรุงสมอง ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น
  • บำรุงเลือด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดไขมันในเลือด
  • บำรุงหัวใจ ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ช่วยลดความดันโลหิตสูง
  • ลดความอ้วย
  • บำรุงตับ
  • รักษาแผล ช่วยสมานแผลทั้งภายในและภายนอก

โทษของหญ้าหวาน

การกินสารสกัดจากหญ้าหวาน อย่างปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ ต้องกินอย่างถูกต้อง และใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ข้อควรระวังในการกินสารกสัดจากหญ้าหวาน มีดังนี้

  • สารสกัดจากหญ้าหวาน สรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยเบหวาน ต้องหมั่นวัดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อไม่ให้ระดัยน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป
  • ผู้ป่วยโรคความดันต่ำ ไม่ควรกินสารสกัดจากหญ้าหวาน เนื่องจากหญ้าหวาน สรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูง

หญ้าหวาน สมุนไพรรสหวาน หวานมากกว่าน้ำตาล 15 เท่า ลักษณะของต้นหญ้าหวาน เป็นอย่างไร สรรพคุณของหญ้าหวาน บำรุงสมอง ลดไขมันในเส้นเลือด ลดน้ำตาลในเส้นเลือด โทษของหญ้าหวาน มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove