ผักไชยา Chaya คะน้าเม็กซิกัน สมุนไพร เรียกต้นผงชูรส ต้นไชยาเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของผักไชยา เช่น บำรุงเลือด บำรุงกระดูก โทษของผักไชยา มีอะไรบ้างคะน้าเม็กซิกัน ผักไชยา สมุนไพร ต้นผงชูรส

ต้นผักไชยา ( Chaya ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักไชยา คือ Cnidoscolus chayamansa เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับต้นยางพารา สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของผักไชยา เช่น ชายา มะละกอกินใบ คะน้าเม็กซิกัน ต้นผงชูรส ผักโขมต้น เป็นต้น ลำต้นผักไชยา นำมาตากแห้ง บดให้เป็นผง ใช้แทนผงชูรสได้ดี ใช้ผสมกับอาหาร ช่วยให้มีรสชาติกลมกล่อม ผักไชยา นิยมนำมารับประทานเป็นอาหารโดยใช้ส่วนของยอดอ่อนและใบ เมื่อเด็ดยอดอ่อนแล้วต้องนำมาปอกเปลือกออก ในเมืองไทยนิยมนำมาทำเมนู ผัดไชยาน้ำมันหอย ผักไชยาผัดไข่ ผัดราดหน้า ผัดซีอิ๊ว แกงส้ม ลวกจิ้มกับน้ำพริกก็ได้

ลักษณะของต้นผักไชยา

ต้นผักไชยา หรือ คะน้าเม็กซิกัน สามารถขยายพันธุ์ ได้โดยการตอนกิ่ง ปักชำ และ เพาะเมล็ดพันธ์ คะน้าเม็กซิโก เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่มีความชื้น ระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดด ระยะเวลาปลูก 60 วัน สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อนำมารับประทานได้

ต้นคะน้าเม็กซิโก เป็นไม้ยืนต้น ทรงพุ่ม ถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเขตร้อน ประเทศเม็กซิโก พบต้นคะน้าเม็กซิกัน การกระจายพันธุ์อยู่ในกัวเตมาลา และ ทวีปอเมริกากลาง ลักษณะของต้นไชยา มีดังนี้

  • ลำต้นไชยา ลักษณะอวบน้ำ ความสูงประมาณ 2 ถึง 6 เมตร เปลือกของลำต้นสีน้ำตาล ลำต้นมีน้ำยางสีขาว
  • ใบไชยา ลักษณะใบสีเขียวคล้ายใบมะละกอ ขอบเป็นแฉกๆ ใบหนึ่งมี 3 ถึง 4 แฉก
  • ดอกผักไชยา ออกดอกเป็นช่อ ดอกออกบริเวณปลายกิ่ง

ต้นไชยาเป็นไม้พุ่ม ชนิดหนึ่ง ลักษณะใบสีเขียวคล้ายใบมะละกอ เมื่อเด็ดออกมาจะมียางสีขาว ต้นโตง่าย สามารถสูงได้ถึง 6 เมตร รสชาติไม่ขม ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว ได้รับความนิยมนำมาปรุงเป็นอาหารในประเทศเม็กซิโก กัวเตมาลา และประเทศแถบอเมริกากลาง

คุณค่าทางโภชนาการของผักไชยา

สำหรับคะน้าเม็กซิโกหรือผักไชยา นำยมรับประทานก้านและยอด มีการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบผักไชยาขนาด 100 กรัม ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอด้วย น้ำร้อยละ 85.3 คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 4.2 โปรตีนร้อยละ 5.7 ไขมันร้อยละ 0.4 กากใยอาหารร้อยละ 1.9 แคลเซียม 199.4 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 217.2 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 39 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 11.4 มิลลิกรัม วิตามินซี 164.7 มิลลิกรัม และ วิตามินเอ 0.085 มิลลิกรัม ผักไชยามีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าผักโขมมากถึง 2 เท่า

สรระคุณของผักไชยา

การนำผักไชยามาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย ใช้ประโยชน์จากก้านและใบ โดย สรรพคุณของผักไชยา มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงร่างกาย มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง
  • ช่วยบำรุงเลือด ทำให้เลือดหมุนเวียนดี ช่วยลดคอเลสเตอรอล เพิ่มธาตุเหล็กให้กับเลือด ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดการอักเสบในเส้นเลือด ช่วยบรรเทาโรคไขข้ออักเสบ
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยการย่อยอาหาร ช่วยบรรเทาริดสีดวงทวาร
  • บำรุงสายตา ช่วยในการมองเห็น บำรุงสายตา
  • บำรุงกระดูก เพิ่มแคลเซียมให้กระดูก รักษาโรคกระดูกพรุน
  • บำรุงสมอง ช่วยให้สมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันอาการปวดหัว
  • บำรุงระบบทางเดินหายใจ รักษาโรคหอบหืด ป้องกันอาการไอ ลดการสะสมและลดการติดเชื้อในปอด ช่วยฆ่าเชื้อในปอด
  • ช่วยลดน้ำหนัก ปรับสมดุลของระบบการเผาผลาญ
  • บำรุงตับ ช่วยล้างพิษในตับ

โทษของผักไชยา

ต้นไชยามีพิษ เนื่องจาก มีสารกลูโคไซด์ เป็นสารที่อยู่ในผักไชยาดิบ การนำผักไชยามารับประทานต้องทำให้้สุกก่อน เพื่อทำลายฤทธิ์ของสารพิษ ให้นำไปต้ม หรือ ผัด อย่างน้อย 1 นาที และ  ห้ามต้มในภาชนะอะลูมิเนียม เพราะ อาจทำให้น้ำพิษ ทำให้ท้องร่วงได้

ผักไชยา ( Chaya ) หรือ คะน้าเม็กซิกัน สมุนไพร ต้นผงชูรส ลักษณะของผักไชยา เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของผักไชยา เช่น บำรุงเลือด บำรุงกระดูก โทษของผักไชยา มีอะไรบ้าง

ดอกคำฝอย สมุนไพรจากต้นคำฝอย มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ลักษณะของต้นคำฝอย คุณค่าทางโภชนาการของดอกคำฝอย สรรคุณของคำฝอย เช่น บำรุงเลือด บำรุงหัวใจ โทษของคำฝอย มีอะไรบ้าง

คำฝอย ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของดอกคำฝอย

ต้นคำฝอย ( Safflower ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของคำฝอย คือ Carthamus tinetorius L. ต้นคำฝอยมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น ดอกคำ คำยอง คำยุง คำหยุม เป็นต้น ต้นคำฝอย มีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันออกกลาง ปัจจุบันคำฝอยมีการปลูกอย่างแพร่หลายในประเทศอินเดีย แม็กซิโก เอธิโอเปีย และ สหรัฐอเมริกา ดอกคำฝอยจากประเทศอินเดียนำมาผลิตน้ำมันพืช ส่วนประเทศจีน นิยมนำดอกคำฝอยไปใช้ประโยชน์ทางการรักษาโรค

ดอกคำฝอยในประเทศไทย

ประเทศไทย แหล่งปลูกต้นคำฝอย อยู่ในภาคเหนือ ซึ่งแหล่งผลิตคำฝอยที่สำคัญ คือ อำเภอพร้าว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ดอกคำฝอยสามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น ใช้ทำสีผสมอาหาร ให้สีส้ม ทำชา นำมาผสมเนยแข็ง เป็นต้น

ลักษณะของต้นคำฝอย

ต้นคำฝอย เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น ทนต่อสะภาพอากาศแห้งแล้ง ซึ่งต้นคำฝอยเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ระดับความสูงต่ำกว่า 1,000 เมตร ชอบดินร่วนปนทราย ที่ระบายน้ำได้ดี ลักษณะของต้นคำฝอย มีดังนี้

  • ลำต้นคำฝอย ความสูงประมาณ 40 ถึง 130 เซนติเมตร ลักษณะลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านสาขามากมาย
  • ใบคำฝอย ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามกิ่ง ลักษณะของใบรี ปลายใยแหลม ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย
  • ดอกคำฝอย ลักษณะดอกเป็นช่อ ออกรวมกัยแออัดแน่นบริเวณปลายยอด กลีบดอกสีเหลือง และ จะเปลี่ยนเป็นสีส้ม มีกลีบดอกแข็งเป็นหนามรองรับช่อดอก
  • ผลคำฝอย เจริญเติบดตจากดอกคำฝอย ลักษณะของผลคล้ายรูปไข่ สีขาว ผลเป็นผลแห้ง ภายในผลเมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม ยาวรี เปลือกเมล็ดแข็ง สีขาว ขนาดเล็ก

คุณค่าทางโภชนาการของคำฝอย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากคำฝอย จะใช้ประโยชน์จากเมล็ดและดอก ซึ่งนักโภชนาการได้ทำการศึกษาประโยชน์ของเมล็ดและดอกของคำฝอย ในเมล็ดของคำฝอย มีน้ำมันมากถึงร้อยละ 35 มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย โปรตีนร้อยละ 17 กรดโอเลอิกร้อยละ 10 กรดลิโนเลอิก ร้อยละ 60

ดอกคำฝอย ขนาด 100 กรัม มีน้ำมันร้อยละ 0.83 และมีสารอาหารและสารเคมีสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีนร้อยละ 5 กากใยอาหารร้อยละ 10.4 ธาตุแคลเซียม 530 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 287 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 7.3 มิลลิกรัม สารคาร์ทามีดีน ( carthamidine ) ให้สีเหลือง และ สารคาร์ทามีน ( carthamine ) ให้สีแดง

น้ำมันจากดอกคำฝอย มีสารต่างๆ ประกอบด้วย กรดไขมันไลโนเลอิก กรดโอเลอิก กรดปาลมิติก กรดสเตียริก และ กรดไขมันชนิดอื่นๆ อีกหลายชนิด

สรรพคุณของคำฝอย

สำหรับคำฝอย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค จาก ดอกคำฝอย ทั้งดอกสดและดอกแก่ เกสรดอกคำฝอย และ เมล็ดคำฝอย โดย สรรพคุณของคำฝอย มีรายละเอียด ดังนี้

  • เมล็ดของดอกคำฝอย สรรพคุณช่วยขับเสมหะ รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการบวม แก้อาการอักเสบ
  • เกสรของดอกคำฝอย สรรพคุณช่วยขับประจำเดือน บำรุงโลหิต
  • ดอกคำฝอย สรรพคุณช่วยบำรุงโลหิต บำรุงระบบประสาท บำรุงหัวใจ ขับประจำเดือน ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด
  • ดอกคำฝอยแก่ นิยมนำมาชงเป็นชา นำกลีบดอกแห้งชงกับน้ำร้อนดื่ม สรรพคุณช่วยบำรุงระบบประสาท บำรุงโลหิต  บำรุงหัวใจ ขับประจำเดือน ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด

โทษของคำฝอย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากคำฝอย ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม โดยคำข้อแนะนำข้อควรระวัง ในการใช้ประโยชน์จากคำฝอย มีดังนี้

  • การรับประทานสมุนไพรจากดอกคำฝอยมากเกินไป อาจทำให้โลหิตจาง ทำให้อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เวียนศีรษะ
  • สำหรับสตรีมีครรภ์ ไม่ควรใช้สมุนไพรดอกคำฝอย เพราะ ดอกคำฝอยมีฤทธิ์ช่วยขับประจำเดือน หากรับประทานในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้แท้งลูกได้

ดอกคำฝอย สมุนไพรจากต้นคำฝอย มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ลักษณะของต้นคำฝอย คุณค่าทางโภชนาการของดอกคำฝอย สรรคุณของคำฝอย เช่น บำรุงเลือด บำรุงหัวใจ โทษของคำฝอย มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove