มะละกอ พืชท้องถิ่น นิยมนำผลมารับประทานเป็นอาหาร ลักษณะของต้นมะละกอเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะละกอ เช่น บำรุงระบบทางเดินอาหาร บำรุงสายตา เป็นยาระบาย โทษของมะละกอ

มะละกอ สมุนไพร ผลไม้

มะละกอ ภาษาอังกฤษ เรียก papaya ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะละกอ คือ Carica papaya L ชื่ออื่นของมะละกอ เช่น บักหุ่ง ก้วยลา แตงต้น มะก้วยเทศ มะเต๊ะ ลอกอ เป็นต้น สรรพคุณของมะละกอ ช่วยดูแลช่องปาก ดูแลเหงือกและฟัน ช่วยยาถ่ายพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย บำรุงสายตาและระบบประสาท ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน สารต้านอนุมูลอิสระ มะละกอเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดที่ทวีปอเมริกา ชาวต่างชาตินำเข้ามา ซึ่งปัจจุบันมะละกอเถือเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทยเลย มะละกอนิยมนำมาทำ ส้มตำ ( papaya salad )

ลักษณะของต้นมะละกอ

มะละกอ เป็นไม้เนื้ออ่อน ความสูงประมาณ 8 เมตร ลำต้นตั้งตรง ใบของมะละกอ ออกเป็นแฉก มีรอยเว้าเล็กๆเหมือนขนนก ดอกของมะละกอ มีสีเหลือง กลีบดอกจะบางและยาวประมาณ 2 เซ็นติเมตร ผลของมะละกอ มีลักษณะยาวกลม ผลดิบของมะละกอจะมีสีเขียว เมื่อผลแก่จะมีสีเหลือง มีรสหวาน เมล็ดของผลมะละกอจะสีดำ การขยายพันธุ์มะละกอสามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ประโยชน์ของมะละกอ

  1. มะละกอมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระอยู่หลายชนิด ซึ่งช่วยให้สุขภาพของคุณแข็งแรง
  2. ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใสอยู่เสมอ
  3. ช่วยในการชะลอวัย ลดเลือน และป้องกันการเกิดริ้วรอยต่าง ๆ
  4. ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงยิ่งขึ้น
  5. สามารถนำมาใช้เป็นทรีตเมนต์ทำหน้าให้หน้าใสได้อีกด้วย ด้วยการนำมะละกอสุกผสมกับน้ำผึ้งและนมสด แล้วนำมาปั่นให้เข้ากัน หลังจากนั้นนำมาทาผิวหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วค่อยล้างออก
  6. ใช้นำมารับประทานเป็นผลไม้หรือของว่าง
  7. ใช้นำมาปรุงเป็นอาหาร เช่น แกงส้ม ส้มตำ เป็นต้น
  8. สามารถนำมะละกอไปใช้หมักให้เนื้อนุ่มได้อีกด้วย เพราะมีเอนไซม์ที่ชื่อว่า Papain ซึ่งเป็นส่วนประกอบของผงหมักสำเร็จรูปที่เราเห็นขายกันอยู่ตามท้องตลาดนั่นเอง
  9. นำมาแปรรูป การแปรรูปมะละกอ เช่น มะละกอแช่อิ่ม มะละกอแผ่น แยมมะละกอ มะละกอเชื่อม ซอสมะละกอ เยลลี่มะละกอ มะละกอแช่อิ่ม มะละกอสามรส มะละกอดอง มะละกอผง เป็นต้น

ประโยชน์ของมะละกอค่อนข้างมาก มีสรรพคุณเป็นทั้งยารักษาโรค โดยสรรพคุณมะละกอก็เช่น ใช้เป็นยาระบาย ยาขับปัสสาวะ ช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิด เป็นต้น และยังมีวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 ธาตุแคลเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก โปรตีน เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของมะละกอ

สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของมะละกอ ขนาด 100 กรัม สามารถให้พลังงาน 23 กิโลแคลอรี มีสารอาหารประกอบด้วย เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม เส้นใยอาหาร 1.3 กรัม วิตามิน ซี 34 มิลลิกรัม วิตามิน บี 2 0.2 มิลลิกรัม วิตามิน บี 1 0.5 มิลลิกรัม แคลเซี่ยม 13 มิลลิกรัมฟอสฟอรัส 13 มิลลิกรัม

 

สรรพคุณทางยาของมะละกอ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะละกอ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จาก ราก ผล และ ยางจากผลดิบ รายละเอียด มีดังนี้

  • ผลของมะละกอ ทั้งผลดิบและผลสุก นำมาต้มกิน สามารถช่วย ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมัน ขับน้ำเหลือง บำรุงน้ำนม ขับพยาธิ รักษาโรคริดสีดวงทวาร ผลมะละกอมี แคลเซี่ยม ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน  มีวิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดีและช่วยป้องกันเลือดอกตามไรฟัน มีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตาและระบบประสาท
  • ผลสุกของมะละกอ สามารถใช้เป็นยาระบาย ในอาการท้องผูกได้ดี
  • ยางจากผลดิบของมะละกอ สามารถใช้เป็นยาช่วยย่อย และฆ่าพยาธิ
  • รากของมะละกอ ใช้ขับปัสสาวะได้ดี

โทษของมะละกอ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะละกอในการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค มีข้อควรระวังการใช้ประโยชน์ ดังนี้

  • ไม่ควรรับประทานมะละกอสุกในปริมาณมาก ๆ หรือติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะ อาจจะทำให้ผิวของคุณเปลี่ยนเป็นสีเหลืองได้
  • ยางของมะละกอ มีฤทธ์เป็นพิษ สามารถนำมาหมักเนื้อเป็นเนื้อเปื่อยได้ ไม่ควรรับประทานยางมะละกอ แบบสดๆ โดยไม่ผ่านความร้อน

มะละกอ เป็นพืชที่มีประโยชน์หลากหลาก สามารถใช้ได้ทุกส่วน เป็นพืชที่คู่ควรในการอยู่ในครัวเรือนอย่างแท้จริง

ตะไคร้ พืชล้มลุก สมุนไพรไทย ต้นตะไคร้มีกลิ่นหอม น้ำมันหอมระเหยตะไคร้มีประโยชน์มากมาย ลักษณะของต้นตะไคร้ สรรพคุณบำรุงผิว ช่วยขับลม บำรุงระบบประสาท โทษของตะไคร้

ตะไคร้ สมุนไพร

ต้นตะไคร้ ( Lemongrass ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของตะไคร้ คือ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf สมุนไพร นิยมนำมาประกอบอาหาร สรรพคุณของตะไคร้ ยาบำรุงธาตุ ช่วยในการเจริญอาหาร ขับสารพิษในร่างกาย ลดไข้ ลดความดัน บรรเทาอาการปวด แก้อาเจียน ขับปัสสาวะ รักษานิ่ว รักษาโรคผิวหนัง ช่วยขับลมในลำไส้ แก้โรคหืด แก้อหิวาตกโรค บำรุงสมอง บำรุงผิว บำรุงระบบประสาท เป็นต้น

ต้นตะไคร้ Lemongrass )  เป็นพืชตระกูลหญ้า เป็นพืชล้มลุก ใบของตะไคร้เป็นเรียวยาว ใบมีขน ทั้งต้นตะไคร้มีกลิ่นฉุน สามารถขยายพันธ์โดยแตกหน่อ เราสามารถแบ่งตะไคร้ได้เป็น 6 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และตะไคร้หางสิงห์ ซึ่งตะไคร้เป็นสมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย พม่า ศรีลังกา และไทย

ลักษณะของต้นตะไคร้

ตะไคร้ พืชล้มลุก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว การปลูกตะไคร้ เราใช้การปักชำลำต้นของตะไคร้ ตะไคร้ชอบดินร่วนซุย เป็นพืชที่ชอบน้ำ ชอบแดด เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ลักษณะของต้นตะไคร้ มีดังนี้

  • ลำต้นตะไคร้ มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง รูปทรงกระบอก มีความสูงได้ถึง 1 เมตร (รวมทั้งใบ) ส่วนของลำต้นที่เรามองเห็นจะเป็นส่วนของกาบใบที่ออกเรียงช้อนกันแน่น โคนต้นมีลักษณะกาบใบหุ้มหนา ผิวเรียบ และมีขนอ่อนปกคลุม ส่วนโคนมีรูปร่างอ้วน มีสีม่วงอ่อนเล็กน้อย และค่อยๆเรียวเล็กลงกลายเป็นส่วนของใบ แกนกลางเป็นปล้องแข็ง ส่วนนี้สูงประมาณ 20-30 ซม. ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และพันธุ์ และเป็นส่วนที่นำมาใช้สำหรับประกอบอาหาร
  • ใบตะไคร้ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ก้านใบ (ส่วนลำต้นที่กล่าวข้างต้น) หูใบ (ส่วนต่อ ระหว่างกาบใบ และใบ) และใบ ใบตะไคร้ เป็นใบเดี่ยว มีสีเขียว มีลักษณะเรียวยาว ปลายใบโค้งลู่ลงดิน โคนใบเชื่อมต่อกับหูใบ ใบมีรูปขอบขนาน ผิวใบสากมือ และมีขนปกคลุม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แต่คม กลางใบมีเส้นกลางใบแข็ง สีขาวอมเทา มองเห็นต่างกับแผ่นใบชัดเจน ใบกว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 60-80 เซนติเมตร
  • ดอกตะไคร้ ออกดอกยาก จึงไม่ค่อยพบเห็น ดอกตะไคร้ จะออกดอกเป็นช่อกระจาย มีก้านช่อดอกยาว และมีก้านช่อดอกย่อยเรียงเป็นคู่ๆ ในแต่ละคู่จะมีใบประดับรองรับ มีกลิ่นหอม ดอกมีขนาดใหญ่คล้ายดอกอ้อ

คุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้ 

การศึกษาของตะไคร้ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 143 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 1.2 กรัม ไขมัน 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29.7 กรัม เส้นใย 4.2 กรัม แคลเซียม 35 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม เหล็ก 2.6 มิลลิกรัม วิตามินเอ 43 ไมโครกรัม ไทอามีน 0.05 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม ไนอาซิน 2.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม และ เถ้า 1.4 กรัม

สรรพคุณของตะไคร้

สำหรับประโยชน์ของตะไคร้มีมากมาย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ทั้งต้น หัว ราก ต้น ใบ

  • ทั้งต้นของตะไคร้  นิยมใช้เป็นยา ใช้รักษาโรคหอบหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยทำเป็นยาทานวด นำมารับประทาน ช่วยบำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร และขับเหงื่อได้
  • หัวของตะไคร้ นำมาใช้เป็นยา ใช้รักษากลากเกลื้อน แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะขัด รักษานิ่ว บำรุงไฟธาตุ เป็นยาแก้อาเจียน ยาลดความดันโลหิตสูง แก้กษัยเส้น และแก้ไข้ เป็นต้น
  • รากของตะไคร้ สามารถใช้แก้ปวดท้อง และรักษาอาการท้องเสีย
  • ต้นตะไคร้ สามารถนำมาใช้เป็น ยาขับลม แก้อาการเบื่ออาหาร ขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ รักษานิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุ รักษาโรคหนองใน และช่วยดับกลิ่นคาวอาหารได้ด้วย
  • ใบสดของตะไคร้ นำมาใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด ลดอาการไอ รักษาโรคความดันโลหิตสูง บรรเทาอาการปวดได้ แก้อาการปวดศีรษะ

ตะไคร้ ชื่อภาษาอังกฤษ ว่า Lemongrass ชื่อวิทยาศาสตร์ ของตะไคร้ คือ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf ตะไคร้มีประโยชน์ เป็นทั้งยารักษาโรค และมีประโยชน์ทางโภชนาการสูง เช่น วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น

สรรพคุณอื่นๆของตะไคร้ เช่น ช่วยไล่แมลง ล้างสารพิษในร่างกาย ช่วยย่อยอาหาร ช่วยซ่อมแซมและบำรุงระบบประสาท ช่วยรักษาอาการอักเสบ ช่วยบำรุงผิว

โทษของตะไคร้

พิษของน้ำมันตะไคร้ ปริมาณน้ำมันตะไคร้ ที่ทำให้หนูขาวตายที่ครึ่งหนึ่งของจำนวนหนูขาวทั้งหมด ด้วยการให้ทางปาก  ที่ความเข้มข้น 5,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และการให้น้ำมันหอมระเหยทางกระเพาอาหารแก่กระต่ายที่ทำให้กระต่ายตายที่ครึ่งหนึ่ง พบว่า มีปริมาณความเข้มข้นเดียวกันกับการให้แก่หนูขาว

พิษเฉียบพลันของน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ที่ความเข้มข้น 1,500 ppm ในระยะเวลา 60 วัน กลับพบว่า หนูขาวที่ได้รับน้ำมันหอมระเหยของตะไคร้มีการเติบโตเร็วกว่ากลุ่มที่ไม้ได้รับ และค่าทางเคมีของเลือดไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove