เก็กฮวย มีหลายสายพันธ์ เก๊กฮวยขาว เก๊กฮวยเหลือง เก๊กฮวยป่า ดอกเก็กฮวยกลิ่นฉุน รสหวานขม ประโชยน์และสรรพคุณช่วยดับกระหาย ช่วยขับสารพิษ ขับเหงื่อ โทษของเก็กฮวย

เก็กฮวย ดอกเก็กฮวย สมุนไพร สรรพคุณของเก็กฮวย

นอกจากนี้ เก็กฮวย ช่วยดูดซับสารก่อมะเร็งและจุลินทรีย์ ช่วยขยายหลอดเลือดแดง ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยป้องกันการโรคความดันโลหิตสูง ช่วยป้องกันการเกิดโรคเส้นเลือดตีบ ช่วยบำรุงเลือด ช่วยบำรุงสายตา ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ช่วยลดไข้  ช่วยแก้ไอ ช่วยระบายและย่อยอาหาร ช่วยขับลม บำรุงปอด บำรุงตับ บำรุงไต ใช้รักษาฝีเป็นหนอง ช่วยรักษาผมร่วง

ต้นเก๊กฮวย เป็นพืชที่ปลูกในแถบประเทศจีนและญี่ปุ่น และได้มีการแพร่กระจายมาในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งสามารถปลูกได้ในพื้นที่สูง ในดอกเก๊กฮวย พบว่ามี สารฟลาโวนอยด์ ( Flavonoid ) สารไครแซนทีมิน ( Chrysanthemin ) สารอดีนีน ( Adenine ) สตาไคดวีน ( Stachydrine ) โคลีน ( Choline ) กรดอะมิโน และน้ำมันหอมระเหย ซึ่งสามารถช่วยรักษาโรคหัวใจ ช่วยขยายหลอดเลือด ลดภาวะหัวใจล้มเหลว

ต้นเก๊กฮวย ที่นิยมในการบริโภค มีอยู่ 2 ชนิด คือ เก็กฮวยดอกขาว และ เก็กฮวยดอกเหลือง รายละเอียดของเก็กฮวยแต่ละชนิด มี ดังนี้

  • เก๊กฮวยดอกขาว มี 2 ชนิด คือ เก็กฮวยขาวดอกใหญ่ และ เก็กฮวยขาวดอกเล็ก
    • เก๊กฮวยขาวดอกใหญ่ มีลักษณะทั่วไป คือ ลำต้น ตรง แข็ง เป็นพุ่มใหญ่ ใบมีขนาดใหญ่ สีเขียวเข้ม ก้านใบมีสีม่วงอมเขียว ดอกมีสีขาว ขนาดใหญ่ ขนาดประมาณ 4.7-5 เซนติเมตร กลีบดอกมี 5-6 ชั้น มีกลีบดอกประมาณ 90 กลีบ เมื่อนำมาตากแดด ดอกจะแห้งเร็ว
    • เก๊กฮวยขาวดอกเล็ก มีลักษณะทั่วไป คือ ลำต้นตรง เป็นพุ่มเล็ก ลำต้นค่อนข้างอ่อน ดอกมีขนาดประมาณ 4.5 เซนติเมตร เล็กกว่าพันธุ์แรก ส่วนกลีบดอกมีมากกว่าที่ 6-7 ชั้น มีจำนวนกลีบดอกประมาณ 120 กลีบ ส่วนสีดอกมีสีขาวอมสีเนื้อ ดอกเมื่อนำมาต้มจะให้กลิ่นหอมกว่าดอกใหญ่ แต่อาจมีรสขมปนเล็กน้อย
  • เก๊กฮวยดอกเหลือง มีลักษณะทั่วไป คือ หลีบดอกมีสีเหลือง และให้รสขมมากกว่าพันธุ์ดอกขาว

เก๊กฮวย เป็นพืชที่มีต้นกำเนิดในประเทศจีน มีพันธุ์เก๊กฮวยที่นิยมปลูก และนำมาต้มเป็นน้ำเก๊กฮวยมากที่สุด คือ เก๊กฮวยดอกขาว ที่ปลูกมากกว่าร้อยละ 90 ของเก๊กฮวยทั้งหมด โดยเฉพาะที่เมืองหังโจ ประเทศจีน ส่วนเก๊กฮวยสีเหลือง ไม่นิยมทำน้ำเก๊กฮวย เพราะน้ำให้รสขม แต่นิยมใช้เป็นยาสมุนไพรสำหรับแก้ร้อนใน

สำหรับดอกเก๊กฮวยที่ชาวยุโรปนิยมใช้ชงเป็นชาดื่มเหมือนกับเก๊กฮวยของชาวเอเชียจะเป็นดอกเก๊กฮวยที่อยู่ในวงศ์เดียวกันดาวเรืองหรือเก๊กฮวย คือ ดอกคาโมมายล์ (Chamaemelum nobile (L.) All. มีกลีบดอก 2 สี คือ สีขาว และสีเหลือง

สรรพคุณของเก็กฮวย

สามารถ ช่วยดับกระหาย ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยขับเหงื่อ ช่วยดูดซับสารก่อมะเร็งและจุลินทรีย์ ช่วยขยายหลอดเลือดแดง ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยป้องกันการโรคความดันโลหิตสูง ช่วยป้องกันการเกิดโรคเส้นเลือดตีบ ช่วยบำรุงเลือด ช่วยบำรุงสายตา ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ช่วยลดไข้  ช่วยแก้ไอ ช่วยระบายและย่อยอาหาร ช่วยขับลม บำรุงปอด บำรุงตับ บำรุงไต ใช้รักษาฝีเป็นหนอง ช่วยรักษาผมร่วง

ประโยชน์เก๊กฮวย

  • ดอกเก๊กฮวยแห้งนิยมใช้ต้มหรือชงเป็นชาดื่ม น้ำเก๊กฮวยจะมีสีเหลืองอ่อน และให้กลิ่นหอมน่าดื่ม น้ำ ซึ่งอาจใช้ทั้งดอกเก๊กฮวยแห้งหรือผงดอกเก๊กฮวย
  • ใช้เป็นส่วนผสมของยาสมุนไพร คือ เก๊กฮวยสีเหลือง ซึ่งให้รสขม
  • ใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์
  • ลำต้นเก๊กฮวย ใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน
  • ลำต้น และใบเก๊กฮวยที่เก็บดอกแล้ว ทำการไถกลบสำหรับเป็นปุ๋ยพืชสดหรือนำมาใช้ทำปุ๋ยหมัก

คำแนะนำในการบริโภคเก็กฮวย

  • เมล็ดพุด 1-2 เมล็ดจะให้น้ำสีเหลืองกำลังดี ถ้า 3 เมล็ดจะออกสีเหลืองมาก
  • วิธีทำน้ำเก๊กฮวยแบบถูกวิธีห้ามเคี่ยวดอกเก๊กฮวยเพราะจะทำให้น้ำมีรสขมได้
  • การกรองดอกเก๊กฮวยออกห้ามบี้เด็ดขาดเพราะจะทำให้น้ำมีรสขมได้
  • ถ้าต้มน้ำดอกเก๊กฮวยแล้วเปรี้ยว สาเหตุอาจมาจากการใส่ดอกเก๊กฮวยมากเกินไป หรือการใช้เวลาต้มนานจนเกินไป
  • การชงเก๊กฮวยแบบชงชาจะให้รสชาติที่ดีกว่าการนำมาต้มในน้ำเดือด ๆ นาน ๆ
  • ผู้ที่มีปัญหาเรื่องระบบขับถ่าย มีอาการท้องเสียง่าย ควรดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ
  • สำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร การดื่มชาเก็กฮวยอาจทำให้เกิดกรดในกระเพาะเพิ่มมากขึ้น

เกร็ดความรู้

เก๊กฮวยชงจะกินง่ายกว่าต้ม เพราะต้มแล้วรสชาติจะออกขม แนะนำให้ชงโดยนำดอกเก็กฮวยใส่ถ้วยพอประมาณ จากนั้นเทน้ำเดือดจัดๆ ลงไป ปิดถ้วยทิ้งไว้ให้เย็นแล้วจึงนำมาดื่ม หากรู้สึกว่าจืดไปให้เติมน้ำตาลกรวดลงไปเล็กน้อย หมดถ้วยแล้วก็เติมน้ำร้อนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจืด แต่เก็กฮวยมีข้อควรระวังคือ ผู้ที่มีอาการท้องร่วง ถ่ายบ่อย ควรรับประทานแต่น้อย

เมื่อพูดถึง สมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา และ มีฤทธิ์เป็นยาเย็น มีมากมายหลากหลายชนิด แต่ทว่า เก๊กฮวย นั้นนับได้ว่าเป็น สมุนไพร ที่ขึ้นชื่อเรื่องของ การเป็นยาเย็น เหมาะสมสำหรับการแก้อาการร้อนในและกระหายน้ำได้เป็นอย่างดีนั่นเอง

เก๊กฮวย เป็นพืช สมุนไพรจีน ที่ต้องเพราะปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศเย็นตลอดทั้งปี โดย เก๊กฮวยนั้นเป็นพืชที่มีดอกสีเหลือง กลิ่นหอมอ่อนๆ ซึ่งคนทั่วไปอาจจะรู้จักเพียงแค่การนำมาทำน้ำเก๊กฮวยรสชาติหอมหวานชื่นใจเท่านั้น ซึ่งหลายคนก็อาจจะยังไม่รู้ว่ามีประโยชน์อย่างไรซึ่งนอกจากจะนำมาทำน้ำดื่มที่มีสรรพคุณทางยามากมายแล้วนั้น

เก๊กฮวย มีสารฟลาโวนอยด์ในปริมาณที่สูงมาก โดยสารฟลาโวนอยด์ นั้นนับได้ว่าเป็นสารที่ดีและมีประโยชน์ต่อร่างกายชนิดหนึ่ง  โดย สรรพคุณหลักๆของเก๊กฮวย นั้นก็ คือ ช่วยลดอาการร้อนใน อีกทั้งยัง ช่วยแก้กระหายน้ำได้เป็นอย่างดี ซึ่งเก๊กฮวยนั้นจะมีคุณสมบัติ เป็นยาเย็น ช่วยในการฟื้นฟูสภาพและปรับสมดุลให้กับร่างกาย ได้เป็นอย่างดีนั่นเอง

นอกจากนั้น ดอกเก๊กฮวย ยังมีคุณสมบัติในการ ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย โดยการขับของเสียออกทางเหงื่อนั่นเอง อีกทั้งยัง ช่วยในการดูดซับของเสีย และ สารก่อมะเร็ง ที่ตกค้างอยู่ในร่างกายและขับออกจากร่างกายได้เป็นอย่างดี

จึงถือว่า ดอกเก๊กฮวย นั้นมี คุณประโยชน์ที่หลากหลาย นั่นเอง นอกจากนั้นแล้วดอกเก๊กฮวยยังมีคุณสมบัติในการช่วยบำรุงโลหิตและช่วยในการขยายหลอดเลือดและช่วยแก้ไขปัญหาโรคเลือดต่างๆได้เป็นอย่างดีอีกด้วย และล่าสุดก็ยังมีผลงานวิจัยที่รับรองเกี่ยวกับดอกเก๊กฮวยว่าสามารถช่วยในการยับยั้งเชื้อไวรัสเอดส์ได้เป็นอย่างดีนั่นเอง

เมื่อพูดไปแล้ว เก๊กฮวย นั้นนับได้ว่าเป็น สมุนไพรที่มีประโยชน์ อีกทั้งยังมี สรรพคุณ ที่เหมาะสมสำหรับใช้ใน การบำรุงร่างกาย ได้เป็นอย่างดี โดยผู้ที่ต้องการใช้ เก๊กฮวยเพื่อบำรุงร่างกาย นั้นก็สามารถทำได้ง่ายๆเพียงการใช้ดอกเก๊กฮวยเพียงเล็กน้อย ประมาณ 4-5 ดอก ชงกับน้ำร้อนเพื่อทำเป็นชาจิบได้ตลอดเวลา จะช่วยสร้างความผ่อนคลายให้กับผู้ดื่มได้เป็นอย่างดี อีกทั้งหากดื่มก่อนนอนเป็นประจำก็จะช่วยให้นอนหลับได้สบายมากยิ่งขึ้นเนื่องจากดอกเก๊กฮวยนั้นเป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมละมุนอ่อนๆ

ซึ่งจะสามารถสร้างความผ่อนคลายให้กับผู้ดื่มได้เป็นอย่างดี อีกทั้งน้ำดอกเก๊กฮวยก็ยังเหมาะสำหรับการดื่มในฤดูร้อนเพื่อช่วยคลายจากความเหนื่อยและความร้อนแรงของแสงแดดได้เป็นอย่างดีเช่นกัน จึงนับได้ว่า ดอกเก๊กฮวย นั้นเป็น สมุนไพร ที่มีความสามารถที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี อีกทั้ง เก๊กฮวย ก็เป็น ดอกไม้ที่มีราคาไม่สูง จนเกินได้ด้วย เช่นกัน จึงเหมาะสำหรับนำมาทำเป็น สมุนไพรบำรุงร่างกาย ได้เหมาะกับทุกเพศและทุกวัยนั่นเอง

เก็กฮวย มีหลายสายพันธ์ เช่น เก๊กฮวยขาว เก๊กฮวยเหลือง เก๊กฮวยป่า ดอกเก็กฮวย มีกลิ่นฉุน มีรสหวานขม ประโชยน์และสรรพคุณของเก็กฮวย เช่น ช่วยดับกระหาย ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยขับเหงื่อ โทษของเก็กฮวย มีอะไรบ้าง

ขมิ้น สมุนไพร นิยมใช้เหง้านำมาทำอาหาร ลักษณะของต้นขมิ้น คุณค่าทางโภชนาการของขมิ้น สรรพคุณของขมิ้น เช่น ช่วยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม โทษของขมิ้นมีอะไรบ้าง

ขมิ้น สมุนไพร สมุนไพรบำรุงผิว

ต้นขมิ้น ( Turmaric ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของขมิ้น คือ Curcuma longa Linn สมุนไพร สรรพคุณของขมิ้น ช่วยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม ป้องกันมะเร็ง รักษาโรคกระเพาะ รักษาลำไส้อักเสบ รักษาโรคผิวหนัง ลดไขมันในเลือด เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยาฆ่าเชื้อรา รักษาฝี รักษาแผลไฟไหม้ บำรุงตับ ช่วยย่อยอาหาร ลดไขมันในตับ ขมิ้นเป็นพืชที่ปลูกง่าย ลักษณะเหมือขิง

ต้นขมิ้น มีชื่อในภาษาอังกฤษ ว่า Turmaric ชื่อวิทยาศาสตร์ของขมิ้น คือ Curcuma longa Linn ชื่ออื่นๆของขมิ้น เช่น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว หมิ้น ขมิ้นป่า ขมิ้นทอง ขมิ้นดี ตายอ เป็นต้น

ลักษณะของต้นขมิ้น

ขมิ้น เป็นพืชล้มลุก มีความสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในเหง้ามีสีเหลืองเข้ม มีกลิ่นที่หอม ลักษณะใบ เป็นใบเดี่ยว ซึ่งแทงออกมาจากเหง้า ดอกของขมิ้นออกเป็นช่อ มีก้านชช่อแทงออกมาจากเหง้า กลีบดอกของขมิ้นมีสีเหลืองอ่อน

  • ลำต้นของขมิ้นชัน มีความสูงประมาณ  30 ถึง 95 เซ็นติเมตร
  • เหง้าของขมิ้นชัน เป็นลักษณะทรงรี รูปไข่ อยู่ใต้ดิน อ้วนและสั้น ในเนื้อของเหง้ามีสีเหลืองส้ม กลิ่นฉุน
  • ใบของขมิ้นชัน ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ตรงกลางใบมีสีแดงคล้ำ ออกมาจากเหง้า เรียงซ้อนทับกันเป็นวง ลักษณะใบเป็นรูปหอก  ดอกของขมิ้นชัน ดอกออกมาจากเหง้าขมิ้นชั้น แทรกขึ้นตามก้านใบ ดอกขมิ้นรูปทรงกระบอก สีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อน

คุณค่าทางโภชนาการของขมิ้น

ขมิ้น มีวิตามินเอ วิตามินอี และวิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งตับได้ ช่วยลดไขมันในตับ สมานแผลในกระเพราะอาหาร เปลี่ยนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ ทำความสะอาดลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร

ขมิ้นชัน อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และเกลือแร่ต่าง ๆ รวมไปถึงเส้นใย คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน เป็นต้น

สรรพคุณทางสมุนไพรของขมิ้น

เรานิยมใช้เหง้าของขมิ้นมาใช้ประโยชน์ ซึ่งเหง้าของขมิ้นมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดการอักเสบ ช่วยป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ รักษาฝี แผลพุพอง รักษาอาการอักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย รายละเอียดการนำเอาขมิ้นมาใช้เป็นยาต่างๆ ดังนี้

  • ยาแก้โรคกระเพาะ แก้ท้องร่วง แก้ท้องอืด โดยใช้เหง้าขมิ้นแก่ มาขูดเปลือกออกล้างให้สะอาด นำมาบดให้ละเอียด และคั้นเอาแต่น้ำ รับประทานวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ
  • ยาทาผิว ใช้แก้ผื่นคัน โรคผิวหนัง แผลพุพอง ชันนะตุ และหนังศรีษะที่เป็นผื่น โดยใช้เหง้าแก่ มาบดเป็นผง ใช้ทาตามบริเวณที่เป็นผื่นคัน
  • ยารักษาโรคกระเพาะ โดยใช้รับประทานเหง้าขมิ้น

ผลข้างเคียงจากการบิโภคขมิ้นชัน

การรับประทานขมิ้นเพื่อการรักษาโรคใด ๆ ก็ตาม ถ้าหากเรารู้ว่าเราเป็นโรคอะไร แล้วรับประทานไปเรื่อย ๆ จนโรคนั้นหายไปแล้ว ก็ควรหยุดรับประทาน ถึงแม้ขมิ้นจะมีประโยชน์ก็จริง แต่หากร่างกายได้รับมากเกินความต้องการอาจจะกลายเป็นโทษเสียเอง ขมิ้นชันมีผลข้างเคียงคืออาการแพ้ เช่น คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ ดังนั้นหากคุณรับประทานขมิ้นแล้วมีอาการดังกล่าว ควรหยุดรับประทานและหายาชนิดอื่นรับประทานแทน และยังมีความเชื่อเรื่องโทษและข้อเสียของขมิ้นในแถบภาคใต้ว่า การรับประทานขมิ้นที่มากเกินไปและถี่เกินไปนั้นแทนที่จะช่วยป้องกันโรคมะเร็ง อาจจะเป็นมะเร็งเสียเอง

อย่างไรก็ตาม คุณควรสังเกตอาการของตัวคุณเองด้วย เนื่องจากอาการท้องเสียนั้นเป็นอาการข้างเคียงทั่วไป อาจมีสาเหตุมาจากยาชนิดอื่นหรือจากภาวะของโรคที่เป็นอยู่แล้วร่วมด้วยก็เป็นได้ ดังนั้นคุณควรสังเกตอาการของตัวคุณเองด้วยว่าเดิมกินยาอื่นแล้วไม่มีปัญหาใช่หรือไม่ แต่เพิ่งมามีปัญหาเมื่อตอนรับประทานขมิ้นร่วมด้วย ก็ควรสงสัยไว้ก่อนว่าอาจเป็นผลข้างเคียงของขมิ้นก็ได้ แต่ทั้งนี้ถ้าคิดว่าเป็นผลข้างเคียงของขมิ้น คุณก็อาจจะรับประทานขมิ้นต่อไปได้ ด้วยการรับประทานซ้ำ และค่อย ๆ ปรับขนาดยา จาก 1 เม็ด เป็น 2 เม็ดต่อครั้ง แล้วดื่มน้ำตามมาก ๆ ก็อาจจะทำให้รับประทานขมิ้นต่อไปได้

ขมิ้นชันมีสรรพคุณทางยาที่รักษาอาการและโรคต่าง ๆ ได้หลายชนิด มีประวัติในการนำมาใช้ในการรักษามากกว่า 5,000 ปี สำหรับขมิ้นชันที่จะนำมาใช้ประโยชน์นั้น การเก็บเกี่ยวไม่ควรเก็บในระยะที่ขมิ้นเริ่มแตกหน่อ เพราะจะทำให้สารที่มีประโยชน์อย่างเคอร์คูมินในขมิ้นมีน้อย ส่วนเหง้าที่เก็บมาต้องมีอายุอย่างน้อย 9-12 เดือน และต้องไม่เก็บไว้นานเกินไป และไม่ให้ถูกแสงแดด เพราะน้ำมันหอมระเหยในขมิ้นจะหมดไปเสียก่อน


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove