กระเจี๊ยบเขียว นิยมรับประทานผลเป็นอาหาร ต้นกระเจี๊ยบเขียวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณเป็นยาระบาย บำรุงสมอง โทษของกระเจี๊ยบเขียวมีอะไรบ้างกระเจี๊ยบเขียว ผักสด สมุนไพร สรรพคุณของกระเจี๊ยบเขียว

ต้นกระเจี๊ยบเขียว ภาษาอังกฤษ เรียก Lady‘s Finger ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเจี๊ยบเขียว คือ Abelmoschus esculentus Moench. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกระเจี๊ยวเขียว เช่น กระเจี๊ยบมอญ กระเจี๊ยบ มะเขือมื่น ส้มพม่า มะเขือหวาย มะเขือมอญ มะเขือพม่า มะเขือละโว้ กระต้าด ถั่วเละ เป็นต้น กระเจี๊ยบเขียว สมุนไพร สรรพคุณ ขับสารพิษในร่างกาย บำรุงกระดูกและฟัน บำรุงสมอง ยาระบาย รักษาโรคกระเพาะ ลำไส้อักเสบ ลดความดันโลหิต ถ่ายพยาธิ แก้ท้องผูก บำรุงตับ

ผลกระเจี๊ยบเขียว นิยมนำมาทำอาหาร โดยใช้ลวกเป็นผักเคียงกับน้ำพริก นอกจากนี้ยังนิยานำมาทำอาหาร หลายชนิด เช่น แกงส้ม แกงใส่ปลาย่าง กระเจี๊ยบเขียวหากกินกับ น้ำพริกกะปิ ปลาทู จะให้รสชาติที่ดีมาก กรเจี๊ยบเขียวเส้นมีใยอาหารตามธรรมชาติ ช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย มีแคลเซียมช่วยในการบำรุงกระดูกและฟัน และยังมี วิตามินต่างๆสูง และนอกจากนั้นยังมีโฟเลตสูง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง บำรุงสมอง และจำเป็นต่อทารกในครรถ์

ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบเขียว

ต้นกระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชล้มลุก อายุสั้นเพียง 1 ปี สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบเขียว มีดังนี้

  • ลำต้นกระเจี๊ยบเขียว ลำต้นตั้งตรงความสูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะเป็นไม้เนื้ออ่อน เปลือกลำต้นบาง เนื้อลำต้นมีสีขาวนวล
  • ใบกระเจี๊ยบเขียว ลักษณะเป็นใบเดี่ยว คล้ายใบละหุ่ง คือ ใบกลมเป็นแฉกแบบร่องลึก ปลายใบแหลม ใบหยักแหลมคล้ายฟันเลื่อย โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ผิวใบหยาบสากมือ ใบมีสีเขียว
  • ดอกกระเจี๊ยบเขียว ลักษณะดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกตามซอกใบ ดอกมีสีเหลืองอมขาว บริเวณกลางดอกมีสีม่วง
  • ผลกระเจี๊ยบเขียว ลักษณะเป็นฝัก เจริญเติบโตมาจากดอก ฝักเรียวยาวปลายฝักแหลม เหมือนรูปนิ้วมือ ฝักมีขนอ่อนๆทั่วฝัก มีสันเป็นเหลี่ยมตามยาว 5 เหลี่ยม ฝักกระเจี๊ยบมีทรงยาวสีเขียว

คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบเขียว

กระเจี๊ยบเขียวนิยมรับประทานผลสดกระเจี๊ยบเขียวเป็นผักสด ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลกระเจี๊ยบเขียว ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน พลังงาน 33 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 7.45 กรัม น้ำตาล 1.48 กรัม กากใยอาหาร 3.2 กรัม ไขมัน 0.19 กรัม โปรตีน 1.93 กรัม น้ำ 89.58 กรัม วิตามินเอ 36 ไมโครกรัม วิตามินบี 1 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.06 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.215 มิลลิกรัม วิตามินซี 23 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.27 มิลลิกรัม วิตามินเค 31.3 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 82 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.62 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 57 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 299 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.58 มิลลิกรัม

ฝักของกระเจี๊ยบเขียว มีเมือก ซึ่งมีสารประเภท เพ็กติน ( Pectin ) และกัม ( Gum ) ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้  ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ รักษาระดับความดันให้สมดุล เป็นยาบำรุงสมองเป็นยาระบาย แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด

สรรพคุณของกระเจียบเขียว

สำหรับการใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพรจากกระเจี๊ยบเขียว สามารถใช้ประโยชน์จาก ฝักกระเจี๊ยบเขียว ใบกระเจี๊ยบเขียว รากกระเจี๊ยบเขียว และ เมล็ดกระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณของกระเจี๊ยบเขียว มีดังนี้

  • ฝักของกระเจี๊ยบเขียว มีเมือก ซึ่งมีสารประเภท เพ็กติน (Pectin) และกัม (Gum) ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้  ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ รักษาระดับความดันให้สมดุล เป็นยาบำรุงสมองเป็นยาระบาย แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด
    รับประทานฝักกระเจี๊ยบ 10 -15 ฝัก ตอนเย็นหรือก่อนนอน สามารถ ลดอาการท้องผูก
    รับประทานฝักกระเจี๊ยบ 3 – 5 ฝัก ก่อนอาหาร ทุกวัน สามารถ รักษา แผลในกระเพาะอาหาร
    รับประทานฝักกระเจี๊ยบ 10 – 15 ฝัก ทุกวัน สามารถ บำรุงตับ
    รับประทานฝักกระเจี๊ยบ 5 ฝัก ก่อนอาหาร 3 มื้อ ติดต่อกันทุกวัน สามารถ กำจัด พยาธิตัวจี๊ด
    รับประทานฝักกระเจี๊ยบ 30 – 40 ฝัก ตอนเย็น หรือ ก่อนนอน สามารถ ดีท็อกซ์ลำไส้ ขับสารพิษ อุจจาระตกค้าง
  • ใบกระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณ ลดอาการอักเสบปวดบวมได้ และช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น ช่วยขับเหงื่อ รักษาโรคปากนกกระจอก
  • รากกระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณรักษาแผลพุพอง ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคซิฟิลิส
  • เมล็ดกระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณแก้อาการคัน ช่วยขับปัสสาวะ
  • ยางจากฝักกระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณรักษาแผล ช่วยทำให้แผลหายเร็ว
  • ดอกกระเจี๊ยบ สรรพคุณรักษาฝี ช่วยขับปัสสาวะ

โทษของกระเจี๊ยบเขียว

การรับประทานกระเจี๊ยบเขียว หรือ ใช้ประโยชน์ส่วนต่างๆของกระเจี๊ยบเขียว ในการรักษาโรคมีข้อควรระวัง ดังนี้

  • สำหรับเมล็ดแก่ของกระเจี๊ยบเขียว มีความเป็นพิษ ในเมล็ดแก่สารพิษที่มีผลต่อระบบประสาท คือ gossypol จึงไม่ควรรับประทานเมล็ดจากฝักกระเจี๊ยบเขียวแก่
  • การรับประทานกระเจี๊ยบเขียว อาจทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร ปวดบีบท้อง ท้องอืด หรือ ท้องเสียได้ เนื่องจากกระเจี๊ยบเขียวมีคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร
  • การรับประทานกระเจี๊ยบเขียวมากเกินไป อาจทำให้เกิดนิ่วได้ ้เนื่องจากกระเจี๊ยบเขียวมีออกซาเลตสูง
  • กระเจี๊ยบเขียวมีวิตามินเค ที่สรรพคุณช่วยต้านการเกิดลิ่มเลือด สำหรับกลุ่มคนที่กำลังใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดไม่ควรรับประทานกระเจี๊ยบเขียว

กระเจี๊ยบเขียว ( Lady‘s Finger ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเจี๊ยบเขียว คือ Abelmoschus esculentus Moench. สมุนไพร คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบเขียว ประโยชน์และสรรพคุณของกระเจี๊ยบเขียว ขับสารพิษในร่างกาย บำรุงกระดูกและฟัน บำรุงสมอง ยาระบาย รักษาโรคกระเพาะ ลำไส้อักเสบ ลดความดันโลหิต ถ่ายพยาธิ แก้ท้องผูก บำรุงตับคุณ ชื่อเรียกอื่นๆของกระเจี๊ยวเขียว เช่น กระเจี๊ยบมอญ กระเจี๊ยบ มะเขือมื่น ส้มพม่า มะเขือหวาย มะเขือมอญ มะเขือพม่า มะเขือละโว้ กระต้าด ถั่วเละ เป็นต้น

กระเจี๊ยบเขียว พืชท้องถิ่น นิยมรับประทานผล ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบเขียว เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของกระเจี๊ยบเขียว เช่น เป็นยาระบาย บำรุงสมอง โทษของกระเจี๊ยบเขียว มีอะไรบ้าง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.

มะระ Bitter melon สมุนไพร ผลมะระมีรสขม นิยมนำมารับประทาน ลักษณะของต้นมระเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะระ  เช่น ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยเจริญอาหาร โทษของมะระ มีอะไรบ้าง

มะระ สมุนไพร พืชสวนครัว สรรพคุณของมะระ

ต้นมะระ ( Bitter melon ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะระ คือ Momordica charantia L. ชื่อเรียกอื่นๆของมะระ เช่น  ผักเหย ผักไห มะร้อยรู มะห่อย มะไห่ สุพะซู สุพะเด เป็นต้น มะระ เป็นพืชล้มลุก อายุเพียงปีเดียว ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน มีเถาเลื้อยยาวตามพื้นดินหรือตามต้นไม้ เป็นพืชตระกูลเดียวกับ ฟัก แตงกวาและบวบ สรรพคุณของมะระ บำรุงดวงตา บำรุงกระดูก แก้กระหายน้ำ รักษาเบาหวาน บำรุงเลือด ช่วยขับสารพิษ แก้หวัด ลดไข้ ขับเสมหะ เป็นยาระบายอ่อนๆ ขับพยาธิ รักษาผิวหนัง รักษาสิว บำรุงน้ำดี ช่วยสมานแผล ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม

มะระในประเทศไทย

สำหรับมะระในประเทศไทย นิยมปลูกมะระตามรั่วบ้าน เพื่อรับประทานผลมะระ และ ยอดอ่อนมะระเป็นอาหาร ในประเทศไทยมีปลูกมากในภาคเหนือ ซึ่งมะระ ที่พบเห็นได้ทั่วไปในประเทศไทย มีอยู่ 2 สายพันธ์ คือ มะระจีน และ มะระขี้นด รายละเอียดของมะระแต่ละสายพันธ์ มีดังนี้

  • มะระจีน ลักษณะพิเศษ คือ ผลขนาดใหญ่ สีเขียว ผิวขรุขระ เนื้อมาก นิยมนำมาทำอาหาร เช่น ต้มจืด ผัดมะระ เป็นต้น รวมถึงรับประทานเป็นผักสด
  • มะระขี้นก ลักษณะพิเศษ คือ ผลมีขนาดเล็ก รสขมมาก สามารถนำมารับประทานเป็นอาหารรวมถึงทานเป็นผักสดได้

ลักษณะของต้นมะระ

ต้นมะระ  เป็น ไม้เถา พืชตระกุลเดียวกับแตง พืชล้มลุกที่มีอายุเพียงปีเดียว การขยายพันธุ์ของมะระ จะขยายพันธ์โดยใช้เมล็ด ลักษณะของต้นมะระ มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นมะระ เป็นเถา ลำต้นเป็นเหลี่ยม สีเขียว มีขนเ และลำต้นจะสามารถเกาะตามต้นไม้หรือเสาได้โดยใช้รากเป็นตัวเกาะ
  • ใบมะระ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ในเป็นแฉกเว้าลึก 5 แฉก โคนใบกลม ก้านใบยาว ใบสีเขียว มีขนสากๆ
  • ดอกมะระ ลักษณะดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกตามซอกใบ ลักษณะคล้ายรูประฆัง กลีบดอกสีเหลือง ก้านดอกยาว
  • ผลมะระ ลักษณะยาวรี ผิวเปลือกบาง ผิวผลมะระขรุขระเป็นร่อง มีเนื้อผลหนา ฉ่ำน้ำ ผลดิบมีสีเขียว ผลสุกจะมีสีแดง
  • เมล็ดมะระ ลักษณะเมล็ดแบนรี ปลายเมล็ดแหลมทั้งสองด้าน เมล็ดอยู่ภายในผลจำนวนมาก

คุณค่าทางโภชนาการของมะระ

สำหรับการรับประทานมะระ นิยมรับประทานผลสดของมะระเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาผลสดมะระจีน ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน มากถึง 17 กิโลแคลอรี และมีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 2.8 กรัม โปรตีน 1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 3.7 กรัม ไขมัน 0.17 กรัม วิตามินเอ 380 มิลลิกรัม วิตามินB1 0.04 มิลลิกรัม วิตามินB2 0.4 มิลลิกรัม วิตามินB3 0.4 มิลลิกรัม วิตามิน B5 0.212 มิลลิกรัม วิตามินB6 0.043 มิลลิกรัม วิตามินซี 84 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.8 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 19 มิลลิกรัม ธาตุทองแดง 0.034 ไมโครกรัม ธาตุเหล็ก 0.43 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 17 มิลลิกรัม แมงกานีส 0.089 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 31 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 296 ไมโครกรัม และ โซเดียม 5 มิลลิกรัม

ผลมะระจีน มีสารสำคัญหลายชนิด เช่น แคแรนทิน ( charantin ) โพลีเปปไทด์ พี ( p-insulin ) และ วิซิน ( vicine ) ซึ่งมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด

รสขมของมะระ มาจากสารเคมี ที่มีชื่อว่า Momodicine สารชนิดนี้ มีประโยชน์ช่วยกระตุ้นความรู้สึกทำให้อยากกินอาหาร ช่วยให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารทำงานได้มีประสิทธิภาพ เป็นยาระบายอย่างอ่อนๆ

สรรพคุณของมะระ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะระ เพื่อการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้น สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ได้จาก ผล เถา เมล็ด ราก ใบ ซึ่งนำเอาไปใช้ประโยชน์ สรรพคุณของมะระ มีดังนี้

  • รากของมะระ สารารถนำมาใช้ปรุงเป็นยาบำรุง ฝาดสมาน แก้ริดสีดวงทวาร และเป็นยาธาตุ รักษาโรคกระเพาะอาหารช่วยแก้อาการบิด
  • เถาของมะระ ช่วยดับพิษร้อนภายในร่างกาย  ช่วยแก้อาการบิด
  • เมล็ดของมะระ สามารถช่วยปรับสมดุลของธาตุในร่างกาย ช่วยขับพยาธิตัวกลม
  • ใบสดของมะระ มีรสขม นำมาลวก หรือต้มดื่ม สามารถใช้เป็นยาฟอกเลือด ยาระบาย ช่วยเจริญอาหาร ช่วยแก้กระหายน้ำ ช่วยบรรเทาอาการหวัด ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยลดอาการฟกช้ำ ช่วยแก้อาการผดผื่นคัน
  • ใบแห้งของมะระ นำมาบดให้ละเอียดกับน้ำกินเป็นยา ช่วยขับพยาธิ ขับลม และบำรุงธาตุ
  • ผลสดของมะระ นิยมนำมาทำอาหาร ให้รสขม นำมารับประทาน ช่วยรักษาโรคเบาหวาน บำรุงธาตุ มีเบต้าแคโรทีนช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยทำให้ดวงตาสดใส ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ขับเสมหะ เป็นยาระบายอ่อน มะระช่วยแก้ตับ ม้ามพิการ บำรุงน้ำดี  ผลของมะระนำมาคั้นเอาน้ำใช้อมแก้อาการปากเปื่อย
  • ผลแห้งของมะระ นำมาบดให้ละเอียด โรยบริเวณที่เป็นแผล ใช้ทาแก้คัน หิด และโรคผิวหนัง
  • ผลสุกของมะระ นำมาทาหน้ารักษาสิวได้

โทษของมะระ

หากไม่อยากกินมะระที่ขมมากนัก ควรเริ่มตั้งแต่การเลือกซื้อ คือเลือกผลที่มีสีเขียวอ่อน อวบ และมีลายห่าง ๆ เพราะจะขมน้อยกว่าผลที่มีสีเขียวเข้มและลายถี่ และก่อนนำมะระไปปรุงอาหาร ให้ผ่าแล้วเอาเมล็ดและไส้ในออกจนหมด จากนั้นหั่นแล้วนำไปแช่น้ำเกลือสักพัก จะช่วยให้มะระลดความขมลงได้

มะระ ( Bitter melon ) คือ สมุนไพร พืชสวนครัว ผลมะระมีรสขม นิยมนำมารับประทาน ลักษณะของต้นมระเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะระ  เช่น ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยเจริญอาหาร โทษของมะระ มีอะไรบ้าง

Beezab.com แหล่งความรู้ด้านสุขภาพ สมุนไพร โรค แม่และเด็ก อาหารเพื่อสุขภาพ โยคะ ธรรมะครูบาอาจารย์ ดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยข้อมูลดีๆ เนื้อหาในเว็บไซต์นี้มีไว้เพื่อการศึกษาหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเท่านั้น เราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือ การรักษาโรคแต่อย่างใด หากคุณมีอาการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ควรคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งานของเรา

Beezab.com source of health knowledge, herbsdiseasesmothers and childrenhealthy foodyoga and Dhamma.  The content on this page is for educational purposes only. We are not intended to be a substitute for medical advice. Diagnosis of disease or treatment of disease in any way If you are sick, You should consult a doctor.


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove