ฝรั่ง ( Guava ) ผลไม้แสนอร่อย วิตามินซี่สูง สรรพคุณแก้ท้องเสีย ช่วยห้ามเลือด ระงับกลิ่นปาก รักษาฝี รักษาเหงือกบวม แก้ปวด บำรุงผิวพรรณ เป็นยาระบาย รักษาแผลพุพอง

ฝรั่ง สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณฝรั่ง

ต้นฝรั่ง เป็นไม้ผลชนิดหนึ่ง ที่คนไทยรู้จักกันดี ภาษาอังกฤษ เรียก Guava มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า psidium guajawa L ฝรั่งมีชื่อเรียก อื่นๆ เช่น จุ่มโป มะแกว มะกา มะมั่น มะปุ่น มะก้วย สีดา ชมพู่  ฝรั่งเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดที่ทวีปอเมริกากลาง คาดว่าเข้าสู่ประเทศไทยโดย พ่อค้าชาวโปรตุเกตและสเปน

ลักษณะของต้นฝรั่ง

ต้นฝรั่ง เป็นไม้ยืนต้น มีความสูงประมาณ 3 – 8 เมตร ต้นเกลี้ยงมัน เปลือกต้นเรียบ มีเปลือกของลำต้นสีน้ำตาล ใบของฝรั่ง เป็นใบเดี่ยว กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ยอดอ่อนมีขนสั้นๆ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-8 ซม. ยาว 6-14 ซม. ดอกของฝรั่ง เป็นดอกเดี่ยวหรือช่อ 2-3 ดอก ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ร่วงง่าย มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก ผลของฝรั่งจะมีสีเขียว ผลเป็นผลสด ผลดิบสีเขียว กินได้ เมื่อสุกเป็นสีเหลือง

พันธุ์ของฝรั่งที่นิยมกินสดๆ เป็นพันธุ์ฝรั่งที่นิยมปลูกเพื่อการค้า นั้น มี 5 พันธ์ โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ฝรั่งเวียดนาม ลูกใหญ่กว่าฝรั่งพื้นบ้าน ถึง 2 – 3 เท่า ถูกนำเข้าจากเวียดนามมาปลูกที่อำเภอสามพรานเมื่อ พ.ศ. 2521– 2523
  • ฝรั่งกิมจู เป็นฝรั่งไร้เมล็ด สีนวลสวย รสหวานกลมกล่อม กรอบ
  • ฝรั่งกลมสาลี่ เป็นพันธ์แรกๆที่นิยมปลูกกันมาก ต่อมามีพันธ์แป้นสีทองเข้ามา จึงปลูกน้อยลงเรื่อยๆ
  • ฝรั่งแป้นสีทอง ปลูกมากที่สุดในประเทศไทย ผลเมื่อโตเต็มที่จะขาว ฟู กรอบ เริ่มแรกปลูกที่อำเภอสามพราน ภายหลังได้แพร่กระจายไปทั่ว
  • ฝรั่งไร้เมล็ด ลักษณะลูกยาวๆ ไม่มีเมล็ด รสชาติด้อยกว่าฝรั่งแป้นสีทอง และกิมจู

คุณค่าทางโภชนาการของฝรั่ง

ฝรั่ง เป็น ผลไม้ที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูงมาก ในฝรั่ง 100 กรัม พบว่ามี ให้พลังงาน 51 กิโลแคลอรี วิตามิน B1 0.06 มิลลิกรัม วิตามิน B2 0.13 มิลลิกรัม วิตามิน C 160 มิลลิกรัม วิตามิน A 89 มิลลิกรัม แคลเซี่ยม 13 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 25 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต 11 กรัม โปรตีน 0.90 กรัม เส้นใยอาหาร 6 กรัม ไขมัน 0.11 กรัม ความชื้น 80.70% และมีสารเพคตินเป็นจำนวนมาก

เพคติน (pectin) เป็น พอลิแซ็กคาไรด์ (polysaccharide) ประเภท heteropolysaccharide ซึ่งมีหน่วยย่อย คือ กรด กาแล็กทูโรนิก เมทิลการแล็กทูโรเนต และน้ำตาล ทำหน้าที่ยึดเกาะผนังเซลล์ของร่างกายให้แน่น

สรรพคุณของฝรั่ง

เราสามารถนำฝรั่งมาใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร ตั้งแต่ ใบ ผล ราก รายละเอียด ดังนี้

  • ใบของฝรั่ง ใช้ในการ แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้ท้องเดิน ใช้ห้ามเลือดในแผลสด ระงับกลิ่นปาก รักษาฝี เป็นยาล้างแผล ดูดหนอง และถอนพิษบาดแผล บรเทาอาการเหงือกบวม แก้พิษเรื้อรัง แก้ปวด
  • ผลอ่อนของฝรั่ง ใช้ในการแก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้ท้องเดิน ระงับกลิ่นปาก รักษาอาการบิด รักษาอาการเลือดออกตามไรฟัน บำรุงเหงือกและฟัน บำรุงผิวพรรณ
  • ผลสุก สามารถใช้เป็นยาระบายได้ดี
  • รากของฝรั่ง สามารถใช้ รักษาฝี รักษาแผลพุพอง แก้เลือดกำเดาไหล

วิธีทำน้ำฝรั่ง

  1. เริ่มจากการคัดเเลือกผลฝรั่ง ที่สดๆ ก่อน การสังเกตุผลฝรั่งที่สด ดูจากผลฝรั่งแข็ง ไม่นุ่ม นำผลฝรั่งมาหั่นเป็นชิ้น เอาเมล็ดออก จากนั้นให้เตรียมน้ำเชื่อมโดย
  2. การเตรียมน้ำเชื่อม ให้นำน้ำสะอาดต้มสุก ใส่น้ำตาล และ เกลือลงไปต้ม ให้ได้รสชาติหวานแบบกลมกล่อม
  3. เมื่อเราได้น้ำเชื่อมและเนื้อฝรั่งแล้ว ก็เริ่ม โดยการ นำเนื้อฝรั่งมาใส่น้ำพอท่วมเนื้อฝรั่ง และ ปั่นให้ละเอียด เราจะได้น้ำฝรั่ง จากนั้น ให้ทำการกรองน้ำฝรั่ง เราจะได้น้ำสีเขียวของฝรั่ง
  4. นำน้ำฝรั่งมาปรุงรสกับน้ำเชื่อม ซึ่งขั้นตอนนี้ ความหวานของน้ำเชื่อมให้ใส่ได้ตามใจคนดื่มได้เลย
  5. จากนั้นให้นำน้ำฝรั่ง ที่เราปรุงรสเอาไว้แล้ว แช่เย็น เมื่อน้ำฝรั่งเย็นได้ที่ก็พร้อมสำหรับนำมาดื่มให้ความสดชื่นต่อร่างกาย

ฝรั่ง ( Guava ) ผลไม้ที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดี สรรพคุณของฝรั่ง คุณค่าทางสมุนไพรของฝรั่ง ใช้แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้ท้องเดิน ใช้ห้ามเลือดในแผลสด ระงับกลิ่นปาก รักษาฝี เป็นยาล้างแผล ใช้ดูดหนอง และถอนพิษบาดแผล บรรเทาอาการเหงือกบวม แก้พิษเรื้อรัง แก้ปวด รักษาอาการเลือดออกตามไรฟัน บำรุงเหงือกและฟัน บำรุงผิวพรรณ เป็นยาระบาย รักษาฝี รักษาแผลพุพอง แก้เลือดกำเดาไหล

หอมใหญ่ หอมหัวใหญ่ สมุนไพร ผักสวนครัว นิยมนำมาทำอาหาร ลักษณะของต้นหอมใหญ่ คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณบำรุงเลือด บำรุงหัวใจ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ โทษของหอมหัวใหญ่

หอมหัวใหญ่ สมุนไพร สรรพคุณหอมหัวใหญ๋

หอมหัวใหญ่ ( Onion ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของหอมใหญ่ คือ Allium cepa L. ต้นหอมใหญ่ มีถิ่นกำเนิดและมีเขตการกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชียกลาง บ้างก็บอกว่ามีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และสำหรับแหล่งผลิตที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และประเทศอินเดีย โดยจัดเป็นพืชล้มลุก

พืชมหัสจรรย์ ทำอาหารก็อร่อย สรรพคุณของหอมใหญ่ ช่วยรักษาเบาหวาน รักษาโรคหัวใจได้ ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยละลายลิ่มเลือด บำรุงระบบโลหิตได้ดี ช่วยขับลม แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ป้องกันมะเร็งได้ ขับสารพิษในร่างกาย ช่วยผ่อนคลาย แก้การนอนไม่หลับ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดความดับโลหิต ช่วยขับเสมหะ ในหอมหัวใหญ่พบว่ามีวิตามินซีสูง และสารอื่น ๆ เช่น สารเคอร์ซีทิน สามารถช่วยต่อต้านสารอนุมูลอิสระในร่างกาย ป้องกันโรคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

ลักษณะของต้นหอมหัวใหญ่

ต้นหอมหัวใหญ่ เป็นพืชล้มลุก สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ ลักษณะของต้นหอมหัวใหญ่ มีดังนี้

  • ต้นหอมใหญ่ มีความสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร มีหัวอยู่ใต้ดินคล้ายหัวหอม ลักษณะกลมป้อม มีเปลือกนอกบาง ๆ สีม่วงแดงหุ้มอยู่ แต่เมื่อแห้งแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
  • ใบหอมใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุก 3-4 ใบ ลักษณะเป็นรูปดาบ มีความกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร เส้นใบจีบตามยาวลักษณะคล้ายพัด
  • ดอกหอมใหญ่ ออกดอกเป็นช่อ แทงขึ้นมาจากลำต้นใต้ดิน กลีบดอกมีสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของหอมหัวใหญ่

สำหรับการบริโภคหอมหัวใหญ่นิยมรับประทานหัวหอมใหญ่ ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวหอมใหญ่ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 40 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 9.34 กรัม น้ำตาล 4.24 กรัม กากใยอาหาร 1.7 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม โปรตีน 1.1 กรัม น้ำ 89.11 กรัม วิตามินบี 1 0.046 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.027 มิลลิกรัม
วิตามินบี 3 0.116 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.123 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.12 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 19 ไมโครกรัม วิตามินซี 7.4 มิลลิกรัม
ธาตุแคลเซียม 23 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.21 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.129 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 29 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 146 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.17 มิลลิกรัม และ ธาตุฟลูออไรด์ 1.1 ไมโครกรัม

สรรพคุณของหอมหัวใหญ่

คุณประโยชน์ของหอมหัวใหญ่ เราได้รวบรวมมาให้เป็นความรู้ ดังนี้

การรับประทาน หัวหอมใหญ่ สามารป้องกันการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ เพราะ ว่า หอมหัวใหญ่ มีสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถช่วยแก้การนอนไม่หลับได้ ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยกำจัดสารตะกั่วและโลหะหนักที่ปนเปื้อนมากับอาหาร ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงของอัมพาต ช่วยรักษาโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด ช่วยในการขยายหลอดเลือด ช่วยทำให้เลือดไม่ไปอุดตันในหลอดหลอด ช่วยในการสลายลิ่มเลือดปกป้องหลอดเลือดเลี้ยงสมองเกิดการอุดตัน ลดความอ้วน ช่วยลดคอเลสเตอรอล ลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดความดันโลหิต แก้ความดันโลหิตสูง ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยรักษาไข้หวัด แก้หวัดคัดจมูก และช่วยลดน้ำมูก ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ หอมหืด คุณช่วยขับเสมหะได้ ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยแก้ท้องร่วง ช่วยขับพยาธิ ช่วยในการขับปัสสาวะ ช่วยแก้ลมพิษ ลดอาการปวดอักเสบ ช่วยฆ่าเชื้อโรค ช่วยรักษาผิวหนังที่ถูกน้ำร้อนลวกได้

วิธีปลูกหอมหัวใหญ่

สามารถปลูกได้จากการเพาะต้นกล้า โดยหว่านเมล็ดพันธุ์ให้ทั่วแปลงกล้า รดน้ำให้ทั่ว หลังจากที่เมล็ดงอกประมาณ 10-15 วัน ใช้หญ้าแห้งคลุมดินอย่าให้แปลงชื้น หรือร้อนเกินไป เมื่อกล้าอายุได้ 45 วัน ก็ย้ายเพื่อลงแปลงปลูก จัดเป็นแถว ห่างกัน 10 – 15 เซ็นติเมตร หมั่นพรวนดิน และกำจัดวัชพืช หลังจากย้ายกล้าลงแปลงปลูกประมาณ 90-100 วัน ก็ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว

โทษของหอมหัวใหญ่

สำหรับการรับประทานหอมหัวใหญ่ มีข้อควรระวังในการรับประทานหอมหัวใหญ่ ดังนี้

  • แม้ว่าสรรพคุณหัวหอมใหญ่จะมีอยู่มากมาย แต่เนื่องจากหอมใหญ่เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์อุ่นและมีรสเผ็ด การนำมาใช้ในแต่ละบุคคล ควรคำนึงถึงสภาพร่างกายและโรคของผู้ป่วยด้วย ซึ่งฤทธิ์ดังกล่าวสามารถช่วยขับความเย็น ทำให้หยางทะลุทะลวงไปยังส่วนต่าง ๆ ช่วยกำจัดพิษและปัจจัยที่กระทบจากภายนอกเนื่องจากความเย็นได้ดี แต่ไม่มีฤทธิ์ในการบำรุงหยางในร่างกาย เมื่อใช้ไปนาน ๆ อาจจะทำให้ร่างกายเสียพลังได้ง่าย เช่น ในกรณีผู้ป่วยหอบหืดที่มีพลังอ่อนแออยู่แล้ว แทนที่จะมีอาการหอบดีขึ้น แต่กลับจะทำให้อาการหอบหืดกำเริบมากขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น ดังนั้นจึงควรรู้ถึงข้อดีและข้อเสียเพื่อนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมด้วย จึงจะเกิดประโยชน์ต่อร่างกายอย่างสูงสุด
  • การรับประทานหัวหอมใหญ่ในปริมาณมากหรือรับประทานติดต่อกันนานเกินไป อาจจะทำลายจิตประสาท ทำให้จิตฟุ้งซ่าน ลืมง่าย ความจำเสื่อม มีอาการตามัว พลังและเลือดถูกทำลาย ทำให้เส้นเลือดไหลเวียนได้ไม่ดี ทำให้โรคต่าง ๆ ที่เป็นอยู่หายช้าและเรื้อรัง และยังไปทำลายสมรรถภาพทางเพศ
  • เมื่อคุณมีอาการปวดศีรษะเนื่องจากความเครียดหรือจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ มีคำแนะนำว่าไม่ควรจะรับประทานหัวหอมใหญ่
  • อย่างไรก็ตามไม่ควรรับประทานหัวหอมใหญ่สดในขณะที่ท้องว่าง เพราะอาจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง ทำให้เยื่อบุในกระเพาะเกิดการอักเสบได้
  • สำหรับผู้ที่ถูกสัตว์มีพิษมีเขี้ยวกัด ไม่ควรรับประทานหอมใหญ่ เพราะการรับประทานหัวหอมใหญ่จะทำให้มีอาการรุนแรงขึ้น ทำให้พิษแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว
  • สิ่งที่คุณควรรู้อีกเรื่องนั้นก็คือ หอมใหญ่เป็นหนึ่งในอาหารที่มีกลิ่นแรงและทำให้เกิดกลิ่นปาก
  • สำหรับผู้ที่มีกลิ่นตัวแรงอยู่แล้ว การรับประทานหัวหอมใหญ่มากเกินไปอาจจะทำให้มีกลิ่นตัวแรงยิ่งขึ้น
  • ว่ากันว่าในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ไม่ควรรับประทานหอมหัวใหญ่ เพราะจะทำให้อาการหอบหืดรุนแรงมากขึ้น

ต้นหอมหัวใหญ่ ภาษาอังกฤษ เรียก Onion เป็นพืชชนิดหัว (bulb) สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิดที่มีการระบายน้ำและอากาศดี เจริญได้ดี หอมหัวใหญ่ปลูกได้ในช่วงฤดูหนาว หอมหัวใหญ่มีชื่อ วิทยาศาสตร์ ว่า Allium cepa L. หอมใหญ่ หอมหัวใหญ่ สมุนไพร ผักสวนครัว นิยมนำหัวหอมใหญ่มาทำอาหาร ลักษณะของต้นหอมใหญ่เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของหอมใหญ่ สรรพคุณของหอมหัวใหญ่ เช่น บำรุงเลือด บำรุงหัวใจ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ โทษของหอมหัวใหญ่มีอะไรบ้าง


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove