งาดำ สมุนไพร เมล็ดงาดำนิยมนำมาบริโภค ลักษณะของต้นงาดำเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของงาดำ สรรพคุณช่วยชะลอวัย บำรุงผิวพรรณ บำรุงผม โทษของงาดำ มีอะไรบ้าง

งาดำ สมุนไพร สรรพคุณของงาดำ

งาดำ ( Sesamum ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของงาดำ คือ Sesamum indicum L สมุนไพร คุุณค่าทางโภชนาการของงาดำ สรรพคุณของงาดำ ช่วยชะลอความแก่  ช่วยบำรุงผิว ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ช่วยซ่อมแซมผิวพรรณ ช่วยบำรุงรากผม ช่วยให้ผมดกเงางาม ช่วยป้องกันการเกิดผมหงอก ช่วยบำรุงกำลัง ช่วยสลายไขมัน ใช้ลดความอ้วน ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในร่างกาย

นอกจากนั้น งาดำยังมีสรรพคุณ ช่วยป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยบำรุงสมอง ช่วยบำรุงโลหิต ลดความดันโลหิต ช่วยขยายหลอดเลือด ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว ช่วยให้นอนหลับสบาย  ป้องกันโรคหวัด ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยบรรเทาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยป้องกันโรคข้อเสื่อม เป็นยาระบายอ่อนๆ  งาดำสามารถช่วยบำรุงร่างกาย ได้มากมาย เช่น ผม ผิว กระดูก เล็บ การขับถ่าย ระบบเลือด บำรุงหัวใจ หรือผู้หญิงวัยทอง ซึ่งงาดำช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ได้ดี

งาดำ ถือเป็นพืชชนิดพืชล้มลุก งาดำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Sesamum indicum L งาเป็นพืชท้องถิ่นของเอเชีย และแถบตะวันออกของทวีปแอฟริกา ในปัจจุบันสามารถพบงานได้ในประเทศเขตร้อน ต้นงา จะมีความสูงประมาณ 2 เมตร เมื่อผลของงาเแห้งจะมีเมล็ดเล็กๆสีดำ สามารถนำมารับประทานได้ งาถือว่าเป็นพืชที่มีประโยชน์มาก หากรับประทานอย่างต่อเนื่องจะทำให้ร่างกายแข็งแรง ในงาดำ จะมาสารอาหารมากมายประกอบด้วย วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 วิตามินบี9 ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุสังกะสี และธาตุเหล็ก

ลักษณะของต้นงาดำ

ต้นงาดำ เป็นพืชล้มลุก เป็นไม้เนื้ออ่อน มีขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรงถึงยอด ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยมสีเขียวเข้มปนม่วง มีร่องตามยาวและมีขนปกคลุม อวบน้ำ สูงประมาณ 0.5-2 เมตร ใบมีลักษณะคล้ายกับใบหญ้างวงช้าง มีขนตลอดทั้งใบ เป็นใบเดียวรูปไข่ หรือรูปหอก ขอบใบเป็นจัก ใบมีสีเขียวอ่อนไปจนถึงเขียวเข้ม บางพันธุ์ใบอาจเป็นสีเหลือง ก้านใบยาว 5 เซนติเมตร ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลุ่มละ 1-3 ดอก ก้านดอกสั้น กลีบรองดอกมี 5 แฉก กลีบดอกมีสีขาว ขาวอมชมพู หรือม่วงอ่อน ผลหรือฝักขนาดค่อนข้างกลม รูปทรงกระบอกหรือแบน มีขนสั้น ๆ ปกคลุมรอบฝัก ปลายฝักมีจงอยแหลม เมล็ดมีรูปไข่ งาดำจะมีเมล็ดเป็นสีดำขนาดใหญ่กว่าเม็ดแมงลักเล็กน้อย ส่วนงาขาวจะมีสีนวล

คุณค่าทางโภชนาการของงาดำ

นักวิชาการได้ศึกษางาดำขนาด 100 กรัม พบว่า คุณค่าทางโภชนาการของงาดำต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 573 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 23.45 กรัม กากใยอาหาร 11.8 กรัม โปรตีน 17.73 กรัม น้ำ 4.69 กรัม น้ำตาล 0.30 กรัมไขมันรวม 49.67 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 18.759 กรัม กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 21.773 กรัม กรดไขมันอิ่มตัว 6.957 กรัม
กรดกลูตามิก 3.955 กรัม กรดแอสพาร์ติก 1.646 กรัม เมไธโอนีน 0.586 กรัม ทรีโอนีน 0.736 กรัม ซีสทีอีน 0.358 กรัม ซีรีน 0.967 กรัม ฟีนิลอะลานีน 0.940 กรัม อะลานีน 0.927 กรัม อาร์จินีน 2.630 กรัม โปรลีน 0.810 กรัม ไกลซีน 1.215 กรัม ฮิสทิดีน 0.522 กรัม ทริปโตเฟน 0.388 กรัม ไทโรซีน 0.743 กรัม วาลีน 0.990 กรัม ไอโซลิวซีน 0.763 กรัม ลิวซีน 1.358 กรัม ไลซีน 0.569 กรัม
ไฟโตสเตอรอล 714 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 5 ไมโครกรัม วิตามินเอ 9 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.25 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.791 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.247 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 4.515 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.050 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.790 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 97 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 975 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 14.55 มิลลิกรัม ธาตุซีลีเนียม 5.7 ไมโครกรัม ธาตุโซเดียม 11 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 629 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 7.75 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 468 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 351 มิลลิกรัม
ธาตุแมงกานีส 2.460 มิลลิกรัม และธาตุทองแดง 4.082 มิลลิกรัม

สรรพคุณของงาดำ

สำหรับ สรรพคุณทางยาของงาดำ ประกอบด้วย ช่วยชะลอความแก่  ช่วยบำรุงผิว ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ช่วยซ่อมแซมผิวพรรณ ช่วยบำรุงรากผม ช่วยให้ผมดกเงางาม ช่วยป้องกันการเกิดผมหงอก ช่วยบำรุงกำลัง ช่วยสลายไขมัน ใช้ลดความอ้วน ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลในร่างกาย ช่วยป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยบำรุงสมอง ช่วยบำรุงโลหิต ลดความดันโลหิต ช่วยขยายหลอดเลือด ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว ช่วยให้นอนหลับสบาย  ป้องกันโรคหวัด ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยบรรเทาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยป้องกันโรคข้อเสื่อม

ข้อควรระวังในการบริโภคงาดำ

  1. สำหรับคนที่ลดน้ำหนักโดยการกินงาดำ เนื่องจากงาดำมีน้ำหนักเบา ซึ่งทำให้น้ำหนักตัวลดมาก อาจไม่ดีต่อสุขภาพ
  2. การบริโภคเมล็ดงาดำ มากเกินไปทำให้ลำไส้ใหญ่ถูกทำลายได้ และเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
  3. เมล็ดงา ทำให้ลำไส้ใหญ่อักเสบได้ และอาจทำให้ท้องผูก ปวดท้องได้
  4. อาการแพ้งาดำ ในการบริโภคงาดำสามารถทำให้แพ้ได้ อาการการแพงงาดำ เช่น ระบบย่อยอาหารผิดปกติ ตาอักเสบ น้ำมูกไหล หายใจลำบาก เป็นต้น หรือบางรายมีอาการแพ้อย่างรุนแรง คือ หอบ ความดันโลหิตต่ำ รู้สึกแน่นหน้าอก และทางเดินหายใจตีบตัน อาจเสียชีวิตได้ในที่สุด
  5. การบริโภคงาดำมากเกินไปอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่ไส้ติ่งได้
  6. คุณสมบัติหนึ่งของาดำคือ เป็นยาระบาย ซึ่งถ้าบริโภคมากเกินไปจะทำให้มีการถ่ายท้องมากเกินไป
  7. งาดำมีสรรพคุณในการบำรุงผม แต่ถ้าหากใช้มากเกินไป จะทำให้ผมร่วงได้
  8. ในสตรีมีครรภ์ ช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ไม่ควรรับประทานงาดำ อาจทำให้แท้งบุตรได้

ความดันโลหิตสูง ( Hypertension ) ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแข็ง หลอดเลือดตีบ โรคยอดฮิต การรักษาต้องปรับพฤติกรรมการดำรงค์ชีวิต ลดความเครียด ออกกำลังกาย ลดอาหารมัน

ความดันโลหิตสูง โรค

โรคความดันโลหิตสูง โรคยอดฮิต และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การรักษาโรคนั้น นอกจากจะรักษาด้วยการทานยา แนะนำให้ ออกกำลังกายและรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อน เช่น ไตวาย เส้นเลือดในสมองอุดตันและหัวใจวาย เป็นต้น

โรคความดันโลหิตสูง หรือ โรคความดันสูง ซึ่งในทางการแพทย์ เรียกโรคนี้ว่า ภาวะความดันโลหิตสูง และภาษาอังกฤษ เรียกว่า Hypertension  หรือ High blood pressure เป็นโรคชนิดหนึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อ โรคนี้พบมากในผู้ใหญ่ เราพบว่าประมาณ 25 ถึง 30% ของประชากรผู้ใหญ่บนโลกทั้งหมดเป็นโรคนี้ และผู้ชายจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าผุ้หญิง  และหากอายุเกิน 60 ปี เราพบว่า 50% ของประชากรบนโลกเป็นภาวะความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตปรกติของมนุษย์ จะอยู่ที่ 90-119/60-79 มิลลิเมตรปรอท หากวัดได้สูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูง

สาเหตุของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง

เราสามารถแยกโรคความดันโลหิตสูงได้ เป็น 2 ชนิด คือ ชนิดไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ภาษาอังกฤษ เรียก Essential hypertension และชนิดที่ทราบสาเหตุ ภาษาอังกฤษ เรียก Secondary hypertension

  • ชนิดไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ชนิดนี้ 90% ของผู้ป่วยทั้งหมด เราพบว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน แต่ทางการแพทย์เชื่อว่า น่าเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น อิทธิพลของเอ็นไซม์  เรนิน (Renin) และฮอร์โมนแองจิโอเท็นซิน ( Angiotensin) ที่มาจากไต สารเหล่านี้ ส่งผลต่อการทำงานของต่อมใต้สมองทำให้เกิดการบีบตัวของหลอดเลือดในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง เรียกว่า กระบวนการ Renin-Angiotensin system นอกจากนี้ เรื่องพันธุกรรม อาหารการกิน ก็ส่งผลต่อความดัยโลหิตสูงเช่นกัน
  • ชนิดทราบสาเหตุ ชนิดนี้มี10% ของผู้ป่วนโรคนี้ สามารถรู้สาเหตุของภาวะความดันดลหิตสูง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง

สำหรับการเกิดโรคมีหลายปัจจัย รายละเอียด ดังนี้

  1. พันธุกรรม หากในครอบครัว หรือญาติพี่น้องที่มีคนป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โอกาสที่จะเกิดความดันโลหิตสูง จะมากกว่าคนที่ในครอบครัวไม่มีคนเป็นโรคนี้
  2. โรคเบาหวาน เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะมีภาวะตีบตันของหลอดเลือด ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงได้
  3. โรคอ้วน ในคนอ้วนจะมีไขมันไปเกาะตามผนังหลอดเลือด ก็จะมีความเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงมาก
  4. โรคไตเรื้อรัง จากที่กล่าวมาข้างต้น ไตมีหน้าที่สร้างเอ็นไซม์และฮอร์โมนที่ควบคุมความดันโลหิต
  5. การสูบบุหรี่ สารพิษจากควันบุหรี่ ทำให้หลอดเลือดตีบตันได้
  6. การดื่มสุรา สุราจะมำให้หัวใจเต้นแรงกว่าปกติ เราพบว่า 50% ของผู้ติดสุรา เป็นโรคความดันโลหิตสูง
  7. การรับประทานอาหารเค็ม
  8. การไม่ออกกำลังกาย
  9. การใช้ยากลุ่มสเตียรรอยด์บางชนิด มีผลข้างเคียงทำให้ความดันโลหิตสูง

อาการของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

เราพบว่าไม่มีอาการให้เห็นชัดเจน ส่วนใหญ่อาการของโรคความดันโลหิตสูงจะส่งผลให้เห็นในลักษณะ โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมอง โรคเบาหวาน อาการที่พบบ่อยได้ คือ ปวดหัว มึนงง วิงเวียน แน่นหน้าอก หายใจไม่ออกและเสียชีวิตได้

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นโรคความดันโลหิตสูง แพทย์จะทำการตรวจสอบจากประวัติ การใช้ยา วัดความดันโลหิต การตรวจร่างกาย และตรวจเลือด เพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจการทำงานของไต ตรวจหัวใจเพื่อดูการทำงานของหัวใจ

การรักษาโรคความดันโลหิตสูง

สามารถรักษาได้โดย ให้ยาลดความดันโลหิต และรักษาโรคอื่นๆที่เป็นภาวะเสี่ยงของโรค เช่น รักษาโรคเบาหวาน รักษาโรคไตเรื้อรัง รักษาโรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง

การดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

สามารถทำได้โดย ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตามแพทย์ อย่างเคร่งครัด กินยาตามหมอสั่ง ลดอาหารจำพวก แป้ง น้ำตาล ไขมัน และอาหารเค็ม ออกกำลังกาย ไม่เครียด ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา

การป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง

สามารถทำได้โดย ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่เครียด พักผ่อนให้เพียงพอ และเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ

สมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยควบคุมระดับความดันเลือด เช่น

ถั่วเขียว ถั่วงอก ธัญพืช สมุนไพรถั่วเขียว หญ้าปักกิ่ง สมุนไพร หญ้าเทวดา สรรพคุณหญ้าเทวดาหญ้าปักกิ่ง
มะกอก สรรพคุณของมะกอก น้ำมันมะกอก โทษของมะกอกมะกอก ทองพันชั่ง สมุนไพร พืชท้องถิ่น สรรพคุณของทองพันชั่งทองพันชั่ง
ตรีผลา สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณของตรีผลาตรีผลา ต้นพลูคาว พลูคาว สรรพคุณของพลูคาว ประโยชน์ของพลูคาวพลูคาว

ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove