บัวบก ( Gotu kola ) สมุนไพร ต้นบัวบกเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณรักษาแผล แก้ร้อนใน ลดความร้อนในร่างกาย เป็นยาเย็น ข้อควรระวังในการใช้ใบบัวบก

บัวบก สมุนไพร สรรพคุณของบัวบก ประโยชน์ของบัวบก

บัวบก (Gotu kola) สมุนไพร คุ้นหู มาทำความรู้จักกับ ต้นบัวบก และ สรรพคุณของบัวบก เป็นแผลให้ใบบัวบกช่วยให้หายได้เร็วขึ้น ประโยชน์และข้อควรระวังในการใช้ใบบัวบกในการรักษาโรคมีอะไรบ้าง ใบบัวบกเหมาะสำหรับคนที่ขี้ร้อน มีภาวะแกร่ง หรือมีความร้อนชื้น เพราะเป็น สมุนไพรที่มีฤทธิ์เป็นยาเย็น

ต้นบัวบก ภาษาอังกฤษ เรียก Gotu kola ชื่อวิทยาศาสตร์ของบัวบก คือ Centella asiatica (L.) Urb. เป็น พืชตระกูลเดียวกับผักชี สำหรับ บัวบก มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกหลายชื่อ ที่เรียกแตกต่างกันตามท้องถิ่น เช่น ผักหนอก , ผักแว่น , กะโต่ เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของบัวบก

ต้นบัวบก เป็น พืชล้มลุก เป็น ไม้เลื้อย ขึ้นตามพื้นดิน เป็น พืชคลุมดิน ใบเป็นใบเดียว ออกตามข้อของลำต้น ใบออกเป็นกระจุก ตามข้อของลำต้น ใบลักษณะคล้ายรูปไต ขอบใบมนๆ ดอกของบัวบกคล้ายร่ม ออกเป็นช่อ กลีบดอกมีสีม่วงอมแดง ผลของบัวบกเป็นผลแห้ง ลักษณะแบนและแตก

คุณค่าทางโภชนาการของบัวบก

นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของใบบัวบก สดปริมาณ 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารหลายชนิด ประกอบด้วย  วิตามินบี 1 แคลเซียม 146 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.9 มิลลิกรัม เบตาแคโรทีน 2,428 ไมโครกรัม และวิตามินซี 15 มิลลิกรัม

นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษา ใบบัวบก อย่างจริงจัง พบว่ามีสารสำคัญหลายชนิด เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 วิตามินเอ วิตามินเค ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโซเดียม สารบราโมซัยด์ สารบรามิโนซัยด์ สารไตรเตอพีนอยด์ สารมาดิแคสโซซัยด์ กรดมาดิแคสซิค  และกรดอะมิโน หลายตัว เช่น แอสพาเรต กรดกลูตามิก เซรีน ทรีโอนีน อะลานีน ไลซีน ฮีสทีดิน เป็นต้น

สรรพคุณของบัวบก

สำหรับการใช้ประโยชน์ของบัวบก ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นิยมใช้ ใบบัวบก ทั้งใบสดและใบแห้งมาใช้ประโยชน์ ซึ่งเราได้รวม สรรพคุณของใบบัวบก ดังนี้

  • ช่วยชะลดวัย ลดการเหี่ยวย่นของผิวพรรณ
  • ใบบัวบกเป็นยาอายุวัฒนะ
  • ใบบัวบกช่วยเสริมสร้าง และกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน
  • ใบบัวบกช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งในร่างกาย มีสารยับยั้งหรือชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง
  • ใบบัวบกช่วยบำรุงและรักษาสายตา รวมถึงฟื้นฟูโดยรอบของดวงตา
  • ช่วยรักษาอาการอักเสบและบวมแดงของตา
  • ใบบกช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยให้ความจำดีขึ้น ทำให้มีปฏิภาณไหวพริบดี ช่วยเพิ่มความจำสำหรับผู้สูงวัย ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ และสมองเสื่อม ช่วยเพิ่มการมีสมาธิ แก้ปัญหาสมาธิสั้นได้
  • ช่วยแก้อาการปวดหัว รักษาอาการไมเกรน แก้ปวดหัวข้างเดียว ลดอาการเวียนหัว
  • ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดความเครียด ให้นอนหลับสบาย ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า
  • ช่วยบำรุงเลือด ช่วยทำให้เลือดระบบเลือดทำงานได้ดีขึ้น ช่วยกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อของร่างกาย เป็นยาบำรุง
  • ช่วยบำรุงหัวใจ ระบบการทำงานของหัวใจสมดุลย์ ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
  • ช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายสำหรับคนป่วย
  • ช่วยให้ความชุ่มชื่นของลำคอ บำรุงเสียง ช่วยรักษาอาการเจ็บคอ ช่วยแก้กระหายน้ำ ช่วยแก้อาการร้อนใน ช่วยลดไข้ ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวานได้
  • รักษาโรคดีซ่าน รักษาโรคโลหิตจาง ช่วยรักษาอาการหอบหืด ช่วยรักษาโรคลมชัก
  • รักษาอาการเต้านมอักเสบ ที่เป็นหนองในระยะแรก
  • ช่วยเจริญอาหาร ป้องกันอาการท้องเสีย ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารเป็นแผล
  • ใบบัวบกใช้เป็นยาระบาย ช่วยระบายท้อง แก้ลม
  • ใบบัวบกใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการปัสสาวะติดขัด ป้องกันการเกิดนิ่ว ช่วยรักษาโรคนิ่วที่ทางเดินปัสสาวะ
    ช่วยรักษาอาการหนอง ที่ออกจากปัสสาวะ รักษาหนองใน
  • บำรุงม้าม รักษาโรคม้ามโต ช่วยแก้อาการน้ำดีที่มีมากเกินไปในร่างกาย
  • แก้อาการปวดข้อรูมาตอยด์ รักษาโรครูมาตอยด์ได้
  • ใช้เป็นยาห้ามเลือด รักษาแผลสด ทำให้แผลหายเร็วขึ้น แก้ฟกช้ำ
  • ใบบัวบกช่วยรักษาอาการแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยรักษาโรคผิวหนัง เช่น รักษาโรคเรื้อน รักษาโรคสะเก็ดเงิน รักษาหิด รักษาหัด เป็นต้น ช่วยระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยลดอาการอักเสบของแผลได้
  • ใบบัวบกใช้เป็นยาถอนพิษ ช่วยรักษาแผลน้ำร้อนลวก ลดอาการปวดแสบปวดร้อนจากแผลไฟไหม้ และยังช่วยป้องกันการเกิดแผลซ้ำ
  • ใบบัวบกช่วยบำรุงหนังศีรษะและเส้นผม ทำให้เส้นผมดกดำ รักษาอาการผมร่วง
  • ใบบัวบก เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางค์ ช่วยบำรุงผิว และป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่ผิว นำสารสกัดเป็นสบู่ใบบัวบก ช่วยรักษาสิว ทำให้ผิวขาว ใบหน้าเต่งตึง

ข้อควรระวังในการใช้บัวบก

  • ใบบัวบก ไม่เหมาะสำหรับคนที่มี ภาวะตัวเย็น จะทำให้ร่างกายยเย็นขึ้นและท้องอืด
  • การกินบัวบกมากเกินไป ไม่ดี เนื่องจากใบบัวบกเป้นยาเย็น หากมีปริมาณมากเกินไปจะทำให้ ร่างกายเสียสมดุลถ้ากิน ใบสด ปริมาณครั้งละ 10 ถึง 20 ใบต่อสัปดาห์ ถือว่าอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม แต่ไม่ควรกินทุกวันอาจเป็นพิษต่อร่างกายได้
  • ไม่ควรนำใบบักบกมาตากแห้ง เพราะจะเสียคุณค่าทางตัวยา ใบบัวบกจะนำมาสกัดให้อยู่ในรูปแบบน้ำมันหอมระเหย

ต้นบัวบก พืชสมุนไพร ที่มีต้นกำเนิดในแถบเอเชีย เป็น พืชล้มลุก มีขนาดเล็ก มีกลิ่นฉุน รสขมอมหวาน สามารถใช้รักษาโรคมากมาย บัวบก ทำให้แผลให้หายได้เร็วขึ้น และ ลดอาการอักเสบของแผล มีการศึกษาพบว่า ใน ใบบัวบก มี กรดมาเดคาสสิก กรดอะเซียติก และ สารอะเซียติโคไซด์ มีสรรพคุณช่วยในการสมานแผลและลดการอักเสบ

เราจะเห็นว่ามียาหลายชนิด ทั้ง ยาแผนปัจจุบัน และ ยาแผนโบราณ ที่มีส่วนผสมของใบบัวบก ซึ่งผลิตออกมาในรูปแบบ ครีม ผง ยาเม็ด เป็นต้น และยังมีการสกัดสารสำคัญที่ได้จากใบบัวบก ซึ่งสารที่สกัดได้จากใบบัวบก มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและต้านอนุมูลอิสระ

นอกจาก ใบบัวบก มีสรรพคุณทางยา ใบสดของบัวบก สามารถนำมาทำอาหาร รับประทานเป็นผักสดได้ อาหารไทย ก็ หลายมี เมนูอาหาร ที่มีบัวบกเป็นผัก เช่น ผัดไทย ผัดหมี่ หมี่กะทิ ขนมจีน ลาบ ยำ รวมถึงนำใบสดมาคั้นทำ น้ำใบบัวบก การกินใบบัวบกสดๆ ช่วยแก้อาการเวียนหัว ท้องร่วง รักษาอาการถ่ายเป็นเลือด รักษาอาการแขนขากระตุก

บัวบก ( Gotu kola ) สมุนไพร ลักษณะของต้นบัวบก เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของบัวบก ประโยชน์และสรรพคุณของบัวบก เช่น รักษาแผล แก้ร้อนใน ลดความร้อนในร่างกาย เป็นยาเย็น ข้อควรระวังในการใช้ใบบัวบก มีอะไรบ้าง

มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งทวารหนัก ( Colon Cancer ) เนื้อร้ายที่ลำไส้ใหญ่หรือทวารหนัก เกิดจากพฤติกรรมการกิน อาการปวดท้องเป็นๆหายๆ ท้องผูกสลับท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือดมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็ง

มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งทวารหนัก ( Colon Cancer ) เนื้อร้ายที่ลำไส้ใหญ่หรือทวารหนัก โรคอันดับ 3 ของโลก อาการปวดท้องเป็นๆหายๆ ท้องผูกสลับท้องเสีย ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน เกิดจากพฤติกรรมการกินที่ไม่ดีต่อสุขภาพ จากสถิติของผู้ป่วย โรคมะเร็ง พบว่ามีผู้ป่วย โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย เพศชายมีอัตราการเกิดโรคสูงกว่าเพศหญิง และแนวโน้มการเกิดโรคพบว่ามีเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สัญญาณอะไรบ้างบ่งบอกว่าท่านควรตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อ คัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

  • ปวดท้องเป็นพักๆ การปวดแบบเป็นๆหายๆ ปวดตามจังหวะการบีบตัวของลำไส้ อาการปวดจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆและปวดบ่อยมากขึ้น
  • ท้องผูกสลับท้องเสีย ระบบการขับถ่ายผิดปกติ มีอาการท้องผูกต่อเนื่องกันหลายวัน สลับกับท้องเสียจากการติดเชื้อ
  • อุจจาระมีเลือดปด เป็นมูก เป็นผลมาจากตัวเนื้องอก ที่ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
  • ก้อนอุจจาระมีขนาดเล็ก เนื่องจากรูของลำไส้ใหญ่มีขานดแคบลง
  • ปวดท้องถ่ายอุจจาระตลอดเวลา แต่ถ่ายไม่ออก ไม่มีอุจจาระแต่ปวดท้อง เนื่องมาจากการมีก้อนเนื้องอกในทวารหนัก ทำให้ร่างกายมีความรู้สึกเหมือนมีอุจจาระในทวารหนักตลอดเวลา

เรามาทำความรุ้จักกับ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ กันว่าเป็นอย่างไร

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นอีก โรคมะเร็ง ที่พบว่าเกิดกับ คนอายุ 55 ปีขึ้นไป โอกาสในการเกิดในเพศชายและหญิงมีอัตราเท่าๆกัน ลำไส้ใหญ่ เป็นอวัยวะในช่องท้อง

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ พบว่าปัจจัยด้านพฤติกรรมการกิน เป็นสาเหตุหลักของปัญหา และปัจจัยด้านการถ่ายทอดทางพันธุกรรม มีผลต่อการเกิดโรค เรามีปัจจัยการเกิดโรคมาให้ดังนี้

  • การกินอาหารที่มีไขมันสูง บ่อยและเป็นเวลานานสะสมหลายปี เนื่องจาก ไขมัน เป็นอาหารที่ไม่มีกากใยอาหาร ส่งผลเสียต่อระบบลำไส้ โดยเฉพาะ คนที่กิยอาหารที่มีกากาใยอาหารน้อย
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม จากสถิติ มีการพบว่าในผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เคยมี่บุคคลในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เหมือนกัน
  • ป่วนโรคติ่งเนื้อเมือกที่ลำไส้ใหญ่ ซึ่งเป็นเนื้องอกที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

สำหรับอาหารของผู้ป่วยที่เป็น โรคโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ พบว่ามีอาการผิดปรกติ เกี่ยวกับระบบการย่อยอาหารและขับถ่ายเริ่มมีอาการผิดปรกติ อาการผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มี ดังนี้

  • อุจจาระเป็นเลือด มีมูกปนเลือดในอุจจาระ
  • ท้องผูกสลับกับท้องเสีย โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ปวดท้องเรื้อรัง

ระยะของอาการโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

สำหรับ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เราพบว่ามีระยะการเกิดโรค 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ถึง ระยะที่ 4 ซึ่ง รายละเอียดของ โรคมะเร็ง ระยะต่างๆ มีดังนี้

  • โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ระยะที่ 1 จะมีก้อนเนื้อ และแผลขนาดเล็กที่ผนังลำไส้ใหญ่
  • โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ระยะที่ 2 ก้อนเนื้อและแผล ลุกลามไปจนถึงเยื่อหุ้มลำไส้ใหญ่
  • โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ระยะที่ 3 ก้อนเนื้อและแผล ลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง ที่อยู่ใกล้กับลำไส้ใหญ่
  • โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ระยะที่ 4 เชื้อมะเร็งเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง และลามสู่อวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย และกระแสเลือด

สำหรับ การวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เริ่มจากการ ตรวจสอบประวัติของผู้ป่วย และอาการผิดปรกติของร่างกาย ตรวจร่างกาย ตรวจทวารหนัก ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ และตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา

การตรวจเพื่อคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ นั้นสามารถตรวจเพื่อ คัดกรองโรคมะเร็ง ได้ เหมือน มะเร็งเต้านม การตรวจ คัดกรองโรคมะเร็ง มีความจำเป็น เนื่องจาก มะเร็งลำไส้ใหญ่ ส่วนมากจะตรวจพบในระยะที่มากกว่าระยะที่ 2 แล้ว การรักษาจะยาก

การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เราใช้การ ผ่าตัดชิ้นเนื้อออก และรักษาร่วมกับอาหารทำเคมีบำบัด การฉายแสง เพื่อให้เนื้อร้ายฝ่อ แต่การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่จะได้ผลดมากน้อย ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเนื้อร้าย และระยะของโรค

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ให้หลีกเลี้ยงปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรค ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อระบบการย่อยอาหารและการขับถ่าย หมั่นตรวจคัดกรอง โรคมะเร็ง เป็นระยะๆ


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove