หูดงอนไก่ ( Genital wart ) ติ่งเนื้อผิวหนังอวัยวะเพศเกิดจากติดเชื้อไวรัส HPV เรียก หูดอวัยวะเพศ หูดกามโรค อาการติ่งเนื้อที่อวัยวะเพศ ทวารหนัก ไม่เจ็บ ไม่อันตรายหูดหงอนไก่ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีติ่งเนื้อที่อวัยวะเพศ โรคติดต่อ

สาเหตุของการเกิดหูดหงอนไก่

สาเหตุของการเกิดติ่งเนื้อที่อวัยวะเพศ เกิดจากติดเชื้อไวรัสเอชพีวี ( HPV ) บางสายพันธุ์ ซึ่งร้อยละ 90 ของผู่ป่วยโรคหูดหงอนไก่ เกิดจากไวรัสเอชพีวีสายพันธุ์ย่อย 6 และ 11 ซึ่งการติดโรคหูดหงอนไก่ มักเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ โดยมักเกิดในวัยรุ่น เชื้อไวรัสเอชพีวีเมื่อเข้าสู่ร่างการ เชื้อโรคจะมีระยะในการฟักตัวของโรค 30 วัน ถึง 2 ปี แต่จากสถิติพบว่าส่วนมากจะแสดงอาการภายใน 120 วัน ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกาย เมื่อผิวหนังได้รับเชื้อผ่านทางการสัมผัสผิวหนัง เชื้อไวรัสก็จะเจริญเติบโตและแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการสร้างเซลล์ผิวหนังใหม่ที่ผิดปกติ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่

จากที่กล่าวมาข้างต้นว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี สายพันธ์ย่อยที่ 6 และ 11 โดยสามารถสรุปปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ ได้ดังนี้

  • การมีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ปลอดภัย ไม่สวมถุงยางอนามัย
  • การมีเพศสัมพันธ์กับคนมีเชื้อไวรัสเอชพีวี หรือ มีประวัติติดเชื้อโรคไวรัสเอชพีวี
  • การนิยมเปลี่ยนคู่นอน

อาการของหูดหงอนไก่

เมื่อได้รับเชื้อไวรัสเอชพีวีเข้าสู่ร่างการ เชื้อโรคจะมีระยะในการฟักตัวของโรค 30 วัน ถึง 2 ปี แต่จากสถิติพบว่าส่วนมากจะแสดงอาการภายใน 120 วัน ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกาย เมื่อผิวหนังได้รับเชื้อผ่านทางการสัมผัสผิวหนัง เชื้อไวรัสก็จะเจริญเติบโตและแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการสร้างเซลล์ผิวหนังใหม่ที่ผิดปกติ ทำให้เกิดอาการต่างๆมากมาย คือ เกิดเมือก ( Mucosa ) ที่อวัยวะเพศ ท่อปัสสาวะ ปากมดลูก ทวารหนัก ช่องปาก ในลำคอ จากนั้นจะเกิดรอยต่างๆ ลักษณะเป็นตุ่มเดียวหลายตุ่ม คล้ายดอกกะหล่ำ สีชมพู ผิวขรุขระ เพิ่มจำนวนมากขึ้น สร้างความรำคาญให้กับผู้ป่วย

การรักษาโรคหูดหงอนไก่

การรักษาเนื่องจากสาเหตุของการเกิดหูดหงอนไก่ คืิอ เชื้อไวรัสเอชพีวี การรักษาต้องกำจัดเชื้อไวรัส พร้อมๆกับการกำจัดติ่งเนื้อออกไป ด้วยใช้วิธีทางการแพทยต่างๆ เช่น ความร้อนจัด ความเย็นจัด หรือ ยาเคมีบำบัดบางชนิด วิธีรักษาหูดหงอนไก่ สามารถสรุปได้ดังนี้

  • ใช้ไฟฟ้าจี้ ( Electrocauterization ) จี้ด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ เพื่อตัดติ่งเนื้อออก ซึ่งวิธีนี้มีข้อเสีย คือ ควันที่เกิดจากการจี้ในระหว่างการรักษาหูดนั้น จะมีเชื้อไวรัส HPV ปนอยู่ หากสูดดมเข้าไป อาจทำให้เกิดการติดเชื้อ HPV ที่ทางเดินหายใจได้
  • ใช้ความเย็นจี้ ( Cryotherapy ) ใช้สำลีชุบไนโตรเจนเหลวป้ายที่รอยติ่งเนื้อ ความเย็นจะสัมผัสติ่งเนื้อประมาณ 15 วินาที อาจทำให้มีรอยดำหลังการรักษา และ มีอาการเจ็บ ขณะรักษา
  • การผ่าตัดหูดหงอนไก่ออก วิธีนี้ลดปัญหาการกลับมาเกิดซ้ำของหูดหงอนไก่ได้มากที่สุด ใช้ในกรณีผู้ป่วยไม่ตอบสนองจากวิธีอื่นๆ
  • ใช้การทาน้ำยาPodophyllin วิธีนี้อาจมีอาการระคายเคือง แสบผิวในจุดที่โดนแต้มยา
  • ใช้การทาด้วยน้ำยาTrichloroacetic acid การรักษาด้วยวิธีนี้อาจทำให้มีอาการแสบ และ ระคายเคืองที่ผิวตรงจุดที่โดนทา

ผลข้างเคียงของโรคหูดหงอนไก่

ผลข้างเคียงของการเกิดหูดหงอนไก่ นั้นสิ่งแรก คือ ไม่น่ามอก หรือ ไม่น่าสัมผัส ทำให้รู้สึกขยะแขยง อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งที่ระบบสืบพันธุ์ และ มะเร็งทวารหนักได้ ซึ่งสามารถสรุปผลข้างเคียงต่างๆ ได้ดังนี้

  • หากเกิดกับสตรีมีครรภ์ หูดหงอนไก่ อาจมีขนาดใหญ่จนเกิดการกีดขวางทางคลอด และเชื้อโรคมีโอกาสติดสู่เด็ทารกได้ ทำให้เกิดหูดในกล่องเสียง ทำให้เด็กทารกออกเสียง หรือ หายใจไม่สะดวก
  • หากเกิดกับชายในกลุ่ม รักร่วมเพศ มักพบหูดหงอนไก่รอบทวารหนัก หรือ เกิดในทวารหนัก ซึ่งการรักษายาก ทำให้เกิดภาวะทวารหนักตีบตัน ขับถ่ายยาก ทำให้ท้องผูก สามารถทำให้เกิดมะเร็งทวารหนักได้
  • หากเกิดหูดหงอนไก่ที่ทางเดินหายใจ ซึ่งพบมากที่สุด คือ เกิดหูดที่กล่องเสียง ทำให้เสียงแหบ และ เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

วิธีป้องกันการเกิดหูดหงอนไก่

การรักษาในปัจจุบัน ไม่สามารถรักษาให้หายขาด ดังนั้นการป้องกันการเกิดหูดหงอนไก่ เป็นสิ่งที่ควรทำ และ ทำได้ง่ายกว่าการรักษาโรค โดยต้องลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคทั้งหมด สามารถสรุปได้ ดังนี้

  • ไม่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่ใช่คู่นอนของตน
  • ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วยการสวมถุงยางอนามัย
  • เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสเอชพีวี

โรคหูดงอนไก่ ( Genital wart ) คือ การติ่งเนื้อ ก้อนผิวหนังที่อวัยวะเพศ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV เรียกอีกชื่อว่า หูดอวัยวะเพศ หรือ หูดกามโรค เกิดได้กับทุกเพศ อาการของโรค คือ เกิดติ่งเนื้อขรุขระที่อวัยวะเพศ หรือ ทวารหนัก  ไม่เจ็บ และ ไม่อันตราย สาเหตุ อาการ การรักษา และ การป้องกัรนโรคทำอย่างไร

เนื้องอกในสมอง เนื้อเยื่อผิดปรกติที่สมอง ทำให้เกิดอาการปวดหัวอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ชัก มีปัญหาการพูดและการฟัง รวมถึงการมองเห็น กลายเป็นมะเร็งสมองได้โรคเนื้องอกในสมอง เนื้องอกในสมอง โรคสมอง โรคระบบประสาทและสมอง

ชนิดของเนื้องอกที่สมอง

สำหรับการแบ่งชนิดของเนื้องอกที่สมองนั้น สามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ เนื้องอกที่เป็นเนื้อธรรมดา และ เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย ดดยรายละเอียดของเนื้องอก แต่ละประเภทมีรายละเอียด ดังนี้

  • เนื้องอกในสมองที่เป็นเนื้อธรรมดา ( Benign Brain Tumors ) ซึ่งเนื้องอกชนิดนี้ ไม่อันตรายและเจริญเติบโตช้า สามารถรักษาให้หายขาดได้
  • เนื้องอกในสมองที่เป็นเนื้อร้าย ( Malignant Brain Tumors ) ซึ่งเนื้องอกชนิดนี้ มีอันตรายเจริญเติบโตแบบผิดปกติ เป็น เซลล์มะเร็ง และจะลามเข้าสู่สมอง ไม่สามารถควบคุมการเจริญเติบโตได้

สาเหตุของการเกิดเนื้องอกในสมอง

สำหรับการเกิดเนื้องอกที่สมองนั้น เราสามารถแยกสาเหตุของโรคได้ 2 สาเหตุ แยกตามชนิดของเนื้องอก คือ สาเหตุของเนื้องอกในสมองแบบธรรมดา และ สาเหตุของเนื้องอกในสมองแบบเนื้อร้าย โยรายละเอียดของการเกิดเนื้องอกในสมอง มีดังนี้

  • สาเหตุการเกิดเนื้องอกในสมองแบบเนื้อธรรมดา พบว่าเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เซลล์มีการแบ่งตัวและเจริญเติบโตแบบผิดปกติ
  • สาเหตุการเกิดเนื้องอกในสมองแบบเนื้อร้าย เกิดจากเซลล์มะเร็งก่อที่สมอง โดยเซลล์มะเร็งจากอวัยวะอื่นลามเข้าสู่สมอง ทางกระแสเลือด จนเกิดเนื้อร้าย โดยเนื้อร้ายจะเจริญเติบโตได้เร็ว และเป็นอันตรายต่อร่างกาย

ระยะของการเกิดเนื้องอกในสมอง

ระยะของการเกิดเนื้องอกในสมอง มี 4 ระยะ เหมือนกับการเกิดมะเร็ง ซึ่งในการดูแลผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง จะไม่แบ่งระยะของมะเร็ง แต่จะแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่สามารถผ่าตัดรักษาได้ กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่ไม่สามารถผ่าตัดรักษาได้ และ กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่รักษาแล้วลับมาเป็นซ้ำ

อาการของผู้ป่วยโรคเนื้องอกในสมอง

เมื่อเกิดเนื้อร้ายขึ้นที่สมองนั้น จะแสดงอาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาทและสมอง โดยลักษณะอาการของโรคเนื้องอกในสมอง เป็นอาการที่แสดงออกอย่างรุนแรง ทำให้ผู้ป่วยได้รับความทรมาน โดยสามารถสรุปอาการของโรคได้ดังนี้

  • ปวดอย่างรุนแรง และ เพิ่มความปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีอาการง่วงซึม
  • ประสิทธิภาพในการพูดลดลง พูดจาติดขัด
  • ประสิทธิภาพการฟังลดลง ไม่ได้ยินเสียง
  • ประสิทธิภาพการมองเห็นลดลง มองเห็นเป็นภาพเบลอๆ หรือ มองเห็นภาพซ้อน
  • มีอาการสับสน มึนงง
  • ความจำไม่ดี
  • ประสิทธิภาพการทรงตัวลดลง
  • มีอาการชัก
  • แขนขาอ่อนแรง
  • อัมพาตครึ่งซีก

อาการต่างๆเหล่านี้ บ่งบอกถึงความผิดปรกติของการทำงานของสมองที่เชื่อมต่อกับระบบประสาท หากว่ามีอาการลักษณะดังกล่าว มีความเสี่ยงในการเกิดโรคเนื้องอกในสมองได้

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดเนื้องอกในสมอง

ปัจจัยต่างๆที่ทำให้มีโอกาสเกิดเนื้องอกในสมองนั้น มีหลายปัจจัย สามารถสรุปได้ ดังนี้

  • พันธุกรรม ในกรณีที่คนในครอบครัวมีประวัติการเกิดเนื้องอกในสมอง พบว่าคนในครอบครัวเดียวกันมีโอกาสการเกิดเนื้องอกในสมอง สูงกว่าคนในครอบครัวที่ไม่มีประวัติ
  • การได้รับรังสีอันตรายเป็นเวลานาน เช่น รังสีจากไมโครเวฟ คลื่นโทรศัพท์ รังสีจากการฉายแสงรักษามะเร็ง รังสีจากระเบิดปรมาณู แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานใดเชื่อมโยงว่ารังสีเหล่านี้ แต่การได้รับรังสีเข้าสู่ร่างกาย นั้นเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเนื้องอกในสมองได้
  • อายุ ซึ่งจากสถิติการเกิดโรคเนื้องอกในสมอง พบว่าเกิดขึ้นกับทุกเพศทุกวัย แต่อัตราการเกิดโรคของผู้ใหญ่มีสูงกว่าเด็ก

การวินิจฉัยโรคเนื้องอกในสมอง

เมื่อพบว่าระบบการทำงานของร่างกายผิดปรกติ ลักษณะคล้ายกับโรคเนื้องอกในสมอง นั้นแพทย์จะทำการวินิจฉัย โดยการซักประวัติ และ อาการโดยเบื้องต้น จากนั้นต้องทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด โดยมีวิธีการตรวจร่างกาย ดังนี้

  • การทำการเอกซเรย์สมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ( MRI ) หรือ การทำตรวจเอกซเรย์สมองทางคอมพิวเตอร์ (CT scan) จะทำให้แพทย์เห็นภาพเกี่ยวกับความผิดปรกติของสมองอย่างชัดเจน
  • การตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อตรวจให้ชัดเจนว่าเนื้องอกเป็นเนื้องอกชนิดใด
  • การตรวจเลือด เพื่อประเมินสภาพร่างกายโดยทั่วไปของผู้ป่วย
  • ตรวจเอกซเรย์ปอด เพื่อดูความผิดปกติในช่องอก ปอด และ การแพร่กระจายของโรคมะเร็งสู่ปอด

วิธีรักษาเนื้องอกในสมอง

การรักษาโรคเนื้องอกในสมอง นั้น มีความแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้องอก แบะ สภาพร่างกายของผู้ป่วย  โดยแนวทางการรักษาเนื้องอกในสมอง มีอยู่ 3 วิธีหลัก คือ การผ่าตัด การฉายรังสี การให้ยาเคมีบำบัด และการให้ยารักษาเพื่อบรรเทาอาการต่างๆ

  • การผ่าตัดเพื่อรักษาเนื้องอกในสมอง สามารถทำได้หากจุดที่เกิดเนื้องอกไม่กระทบต่อเนื้อเยื่อและเส้นประสาท ซึ่งการผ่าตันนั้แพทย์จะทำการผ่าตัดเอาเนื้องอกออกให้มากที่สุด
  • การฉายแสงเพื่อรักษาเนื้องอกในสมอง เป็นการใช้รังสีพลังงานสูง ทำลายเนื้องอกที่สมอง การฉายรังสีนั้นสามารถทำได้ทั้งวิธีการฉายรังสีจากภายนอก และ การฝังรังสี
  • การให้เคมีบำบัด เป็นการใช้ยาเพื่อทำบายเซลล์เนื้องอก โดยการให้เคมีบำบัดมีทั้งรูปแบบยากิน และ ยาฉีด ซึ่งการให้เคมีบำบัดนั้นต้องอยู่ในวินิจฉัยของแพทย์

ภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดเนื้องอกในสมอง

สิ่งที่ต้องระวังจากการเกิดโรคเนื้องอกในสมอง คือ ภาวะแทรกซ้อน ซึ่งภาวะแทรกซ้อนของโรคเนื้องอกในสมองมีความอันตรายถึงชีวิต โดยสามารถสรุป ได้ดังนี้

  • การตกเลือดที่สมอง ณ จุดที่มีเนื้องอกอยู่
  • ภาวะการอุดตันของน้ำไขสันหลัง ทำให้โพรงสมองคั่งน้ำ
  • ภาวะสมองเคลื่อนตัวจากฐานกะโหลก ทำให้ความดันสมองเพิ่มขึ้นอย่างเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิต
  • อาการชัก เมื่อเนื้องอกในสมองขยายตัว หรือ สมองมีอาการบวม เสี่ยงต่อการเกิดลมชัก แพทย์จะให้ทานยาต้านอาการชัก

การป้องกันการเกิดเนื้องอกในสมอง

เนื่องจากในปัจจุบัน การศึกษาทางการแพทย์ยังไม่ทราบยืนยันสาเหตุของการเกิดโรคเนื้องอกในสมองได้ แต่ปัจจัยการเกิดโรค คือ พันธุกรรม การรับรังสีอันตราย และ อายุของผู้ป่วยและภูมิต้านทานต่อโรคของแต่ละคน ดังนั้น ในปัจจัยการเกิดโรคบางอย่างสามารถป้องกันได้ โดยสามารถสมุนปแนวทางการป้องกันการเกิดโรคเนื้องอกในสมอง ได้ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้รังสีอันตราย เป็นเวลานาน เช่น รังสีไมโครเวฟ รังสีปรมณู
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และ ทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น ที่มีควันบุหรี่ สถานที่สกปรกไม่ถูกหลักอนามัย
  • หมั่นตรวจร่างกาย คัดกรองโรค เพื่อให้สามารถรักษาโรคได้ทันท่วงที
  • หากมีอาการผิดปรกติ ปวดหัวรุนแรง ให้พบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของโรค

โรคเนื้องอกในสมอง การเกิดเนื้อเยื่อผิดปรกติที่สมอง ทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ปวดหัวอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน ชัก มีปัญหาการพูดและการฟัง รวมถึงการมองเห็น สามารถกลายเป็นมะเร็งสมองได้ หากไม่ได้รับการรักษา


ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove